การรับรู้ภาษีมูลค่าเพิ่มของตัวแทนช่วง? | รับทำเงินเดือน การรับรู้ภาษีมูลค่าเพิ่มของตัวแทนช่วง? | รับทำเงินเดือน

การรับรู้ภาษีมูลค่าเพิ่มของตัวแทนช่วง?

คุณ Patipron Rugmai ได้โพสต์ไปเมื่อวันศุกร์ที่ 12 ก.ค. 2556 ว่า
"ขอเรียนถามอาจารย์ ดังนี้ค่ะ
บริษัท ก. เป็นตัวแทนให้กับ บจ.เทเลวิทฯ และได้ว่าจ้าง บริษัท ข. มาดำเนินการแทนในการจำหน่ายสินค้าในเครือของ AIS และรับชำระค่าบริการทั้งรายเดือนและค่าบริการอื่นแทนบริษัท ก. อีกทีหนึ่ง ซึ่งระหว่างดำเนินการขั้นต้น บริษัท ข.ได้ลงทุนดำเนินการในด้านการลงทุน คือ การตกแต่งร้านภายใต้แบรนด์ของ AIS ซึ่งค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ เกิดขึ้น บริษัท ข. เป็นผู้ดำเนินการทั้งสิ้น แต่ บริษัท ก. มาบอกบริษัท ข. ให้บริษัท ข. บอกกับผู้รับเหมาของบริษัท ข. ออกใบกำกับภาษีซื้อในนามของบริษัท ก. แทนที่จะเป็นของบริษัท ข. (ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างฯและเป็นผู้ชำระเงินค่าจ้างฯ)
อยากทราบว่า
1. บริษัท ข. ต้องเข้าข่ายจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
2. การกระทำของบริษัท ก. สมควรเป็นตามที่บริษัท ก. ร้องขอหรือไม่
3. บริษัท ข. จะรับรู้รายได้ แบบส่วนแบ่งทางการตลาดหรือไม่
รบกวนด้วยค่ะ"
เรียน คุณ Patipron Rugmai
กรณีตัวแทน (บริษัท ก.) จัดตั้งตัวแทนช่วง (บริษัท ข.) ให้ดำเนินการแทนตน การกระทำใดๆ ของบริษัท ข. ตัวแทนช่วง ย่อมถือเสมือนเป็นการกระทำของตัวแทน บริษัท ก. เมื่อบริษัท ข. ได้ว่าจ้างผู้รับเหมาให้มาทำการตกแต่งร้านภายใต้แบรนด์ของ AIS ก็ถือว่า กระทำในนามของบริษัท ก. เพราะทั้งหมดภายในร้านเป็นสิทธิของบริษัท ก. แต่การจ่ายเงินอาจกระทำได้สองวิธิคือ
วิธีที่ 1 บริษัท ข. จ่ายทดรองไปก่อนในนามของบริษัท ข. โดยทำการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและในส่งในนามของตัวเอง แล้วนำหลักฐานไปเรียกเก็บเงินชดเขย และค่าโสหุ้ยอื่นๆ จากบริษัท ก. ซึ่งกรณีนี้ เป็นไปได้สูงมากที่บริษัท ก. จะคำนวณหักภาษีเงินได้ณ ที่จ่ายจากบริษัท ข. โดยถือเป็นค่าบริการจ้างทำของ
วิธีที่ 2 บริษัท ข. จ่ายในนามของบริษัท ก. ตามที่บริษัท ก. แจ้งมา การคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเป็นหน้าที่ของบริษัท ก. รวมทั้งการขอคืน VAT ตามหลักฐานใบกำกับภาษีที่ได้จากผู้รับจ้าง
ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า
1. การให้บริการของบริษัท ข. อยู่ในข่ายที่ต้องเสีย VAT จึงต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เว้นแต่มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะยังไม่จดทะเบียน VAT ก็ได้ หรือจะเลือกใช้สิทธิขอเข้ามาจดทะเบียน VAT เลยก็ได้ตามมาตรา 81/3 (2) แห่งประมวลรัษฎากร
2. ได้ตอบให้แล้วข้างต้น
3. รายได้ของบิรษัท ข. เป็นตามข้อกำหนดที่ตกลงกับบริษัท ก. ว่าจะกำหนดกันเป็นอย่างไร

ที่มา..www.facebook.com/Suthep.Pongpitak

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.