ภาษีมูลค่าเพิ่ม | รับทำเงินเดือน ภาษีมูลค่าเพิ่ม | รับทำเงินเดือน

การขายทองคำและการนำเข้าทองคำ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร

โดยปกติการขายทองคำประเภททองรูปพรรณหรือมิใช่ทองรูปพรรณ หรือการนำเข้าทองคำ จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามปกติ กล่าวคือ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขายทองคำ ก็จะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อ หรือกรณีเป็นผู้นำเข้าทองคำ ก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยกรมศุลกากรเป็นผู้จัดเก็บ

กฎหมายได้มียกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือมีการใช้ฐานภาษีที่นำมาคำนวณภาษีขายเมื่อขายทองคำแตกต่างไปบ้าง ดังนี้
ทองคำที่มิใช่ทองรูปพรรณ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่มีความประสงค์จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าหรือการขาย ทองคำที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นทองรูปพรรณหรือของรูปพรรณ ทองคำจะต้องมีน้ำหนักเนื้อทองไม่น้อยกว่าร้อยละ 96.50

กรณีเป็น ผู้นำเข้าทองคำ จะต้องแสดงเอกสารหรือหลักฐาน เกี่ยวกับการนำเข้าต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ในเวลายื่นใบขนสินค้า เพื่อผ่านพิธีการศุลกากร และจะต้องมีเอกสารหรือหลักฐานจากผู้ขายในต่างประเทศว่า ผู้นำเข้าเป็นผู้ซื้อทองคำดังกล่าวจากผู้ขายใน ต่างประเทศ

กรณีเป็น ผู้ขายทองคำ จะต้องมีเอกสารหรือหลักฐานที่แสดงการเป็นสมาชิกของสมาคมที่เกี่ยวข้องกับ การค้าทองคำหรืออัญมณี สมาคมใดสมาคมหนึ่ง
ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 311

ทอง รูปพรรณ เช่น สร้อยคอ แหวน ฯลฯ หากส่งออกก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 0 แต่ถ้าขายในประเทศ โดยปกติจะใช้ราคาขายมาคิดคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 แต่เนื่องจากมีร้านทองที่จำหน่ายทองคำโดยรับซื้อและขายกับบุคคลทั่วไป ขณะที่ซื้อจากคนทั่วไปที่นำทองคำมาขายหรือมาแลกเปลี่ยน ก็จะไม่มีใบกำกับภาษีซื้อ แต่เมื่อร้านทองขายออกไปก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กฎหมายจึงได้กำหนดให้มูลค่าของทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้อคืน ในวันที่ขายทองรูปพรรณ ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าฐานภาษี (ประกาศอธิบดีภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 40) แต่ทั้งนี้ ผู้ขายทองคำต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกิจการขายทองรูป พรรณ ซึ่งมีใบอนุญาตค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่า ดังนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะต้องเสียจากการขายทองรูปพรรณในกรณีนี้จะคำนวณจากราคา ขายทองรูปพรรณรวมกำเหน็จ หักออกด้วยราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศกำหนด ผลลัพธ์ส่วนต่าง ให้นำมาคิดภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 ก็จะได้ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายทองรูปพรรณนั้น

การขายทองคำหรือการนำเข้าที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด หากไม่เข้าหลักเกณฑ์ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับการขายสินค้าทั่วไป.

http://www.customscarecenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539622828&Ntype=4

ที่มา..www.facebook.com/Suthep.Pongpitak

การรับรู้ภาษีมูลค่าเพิ่มของตัวแทนช่วง?

คุณ Patipron Rugmai ได้โพสต์ไปเมื่อวันศุกร์ที่ 12 ก.ค. 2556 ว่า
"ขอเรียนถามอาจารย์ ดังนี้ค่ะ
บริษัท ก. เป็นตัวแทนให้กับ บจ.เทเลวิทฯ และได้ว่าจ้าง บริษัท ข. มาดำเนินการแทนในการจำหน่ายสินค้าในเครือของ AIS และรับชำระค่าบริการทั้งรายเดือนและค่าบริการอื่นแทนบริษัท ก. อีกทีหนึ่ง ซึ่งระหว่างดำเนินการขั้นต้น บริษัท ข.ได้ลงทุนดำเนินการในด้านการลงทุน คือ การตกแต่งร้านภายใต้แบรนด์ของ AIS ซึ่งค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ เกิดขึ้น บริษัท ข. เป็นผู้ดำเนินการทั้งสิ้น แต่ บริษัท ก. มาบอกบริษัท ข. ให้บริษัท ข. บอกกับผู้รับเหมาของบริษัท ข. ออกใบกำกับภาษีซื้อในนามของบริษัท ก. แทนที่จะเป็นของบริษัท ข. (ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างฯและเป็นผู้ชำระเงินค่าจ้างฯ)
อยากทราบว่า
1. บริษัท ข. ต้องเข้าข่ายจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
2. การกระทำของบริษัท ก. สมควรเป็นตามที่บริษัท ก. ร้องขอหรือไม่
3. บริษัท ข. จะรับรู้รายได้ แบบส่วนแบ่งทางการตลาดหรือไม่
รบกวนด้วยค่ะ"
เรียน คุณ Patipron Rugmai
กรณีตัวแทน (บริษัท ก.) จัดตั้งตัวแทนช่วง (บริษัท ข.) ให้ดำเนินการแทนตน การกระทำใดๆ ของบริษัท ข. ตัวแทนช่วง ย่อมถือเสมือนเป็นการกระทำของตัวแทน บริษัท ก. เมื่อบริษัท ข. ได้ว่าจ้างผู้รับเหมาให้มาทำการตกแต่งร้านภายใต้แบรนด์ของ AIS ก็ถือว่า กระทำในนามของบริษัท ก. เพราะทั้งหมดภายในร้านเป็นสิทธิของบริษัท ก. แต่การจ่ายเงินอาจกระทำได้สองวิธิคือ
วิธีที่ 1 บริษัท ข. จ่ายทดรองไปก่อนในนามของบริษัท ข. โดยทำการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและในส่งในนามของตัวเอง แล้วนำหลักฐานไปเรียกเก็บเงินชดเขย และค่าโสหุ้ยอื่นๆ จากบริษัท ก. ซึ่งกรณีนี้ เป็นไปได้สูงมากที่บริษัท ก. จะคำนวณหักภาษีเงินได้ณ ที่จ่ายจากบริษัท ข. โดยถือเป็นค่าบริการจ้างทำของ
วิธีที่ 2 บริษัท ข. จ่ายในนามของบริษัท ก. ตามที่บริษัท ก. แจ้งมา การคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเป็นหน้าที่ของบริษัท ก. รวมทั้งการขอคืน VAT ตามหลักฐานใบกำกับภาษีที่ได้จากผู้รับจ้าง
ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า
1. การให้บริการของบริษัท ข. อยู่ในข่ายที่ต้องเสีย VAT จึงต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เว้นแต่มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะยังไม่จดทะเบียน VAT ก็ได้ หรือจะเลือกใช้สิทธิขอเข้ามาจดทะเบียน VAT เลยก็ได้ตามมาตรา 81/3 (2) แห่งประมวลรัษฎากร
2. ได้ตอบให้แล้วข้างต้น
3. รายได้ของบิรษัท ข. เป็นตามข้อกำหนดที่ตกลงกับบริษัท ก. ว่าจะกำหนดกันเป็นอย่างไร

ที่มา..www.facebook.com/Suthep.Pongpitak