การคำนวณเงินค่าภาษีอากรที่นายจ้างหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ | รับทำเงินเดือน การคำนวณเงินค่าภาษีอากรที่นายจ้างหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ | รับทำเงินเดือน

การคำนวณเงินค่าภาษีอากรที่นายจ้างหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้

นายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ เงินค่าภาษีที่ออกให้ถือเป็นประโยชน์เพิ่ม ถือเป็นเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) ซึ่งลูกจ้างต้องนำเงินได้ดังกล่าวมาคำนวณเพื่อเสียภาษี โดยออกภาษีแทนในปีใด ให้ถือเป็นเงินได้ของปีนั้น จริงๆ แล้วเงินค่าภาษีถือเป็นเงินได้ของผู้รับ เพราะฉะนั้นกรณีมีภาษีขอคืน หรือเบี้ยปรับเงินเพิ่ม ลูกจ้างต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

คำสั่งกรมสรรพากร

ที่ ป. 7/2528

เรื่อง  การคำนวณเงินค่าภาษีอากรที่นายจ้างหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร

เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับกรณี คำว่า “เงินได้พึงประเมิน” ตามบทนิยามในมาตรา 39 และประเภทเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 ในบางกรณี กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ ยกเลิกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.2/2526 เรื่อง การคำนวณค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกให้เป็นเงินได้พึงประเมินของลูกจ้างตาม มาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2526 แต่ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะ ในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนปีภาษี พ.ศ.2528

ข้อ 2 กรณี นายจ้างออกเงินค่าภาษีเงินได้แทนให้ลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษีใด โดยลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้ด้วยตนเองเลย ให้นำเงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้าง ที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษีนั้นแล้วคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร จนกว่าจะไม่มีเงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างอาจใช้ตารางการคำนวณภาษีเงินได้ ที่กรมสรรพากรจัดทำขึ้นซึ่งจะได้ผลเท่ากัน และลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมในการคำนวณภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวในปีภาษีนั้นอีก

ข้อ 3 กรณี นายจ้างออกเงินค่าภาษีเงินได้แทนให้ลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน เช่น เท่ากับจำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่นำส่งไว้แล้วให้นำเงินค่าภาษีเงินได้ทีนายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงิน เดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษีนั้น แล้วคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีดังกล่าวถ้ามีภาษีจะต้องเสียเพิ่มเติมในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับปีภาษีนั้น ลูกจ้างต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมนั้นด้วยตนเอง

ข้อ 4 ความ ในข้อ 2 และข้อ 3 ให้ใช้บังคับแก่กรณีที่นายจ้างหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่น ออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้ผู้มีเงินได้สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรทุกประเภท

ข้อ 5 กรณี นายจ้างหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้ออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้ผู้มีเงินได้สำหรับ เงินได้ตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากรของปีภาษีก่อน พ.ศ.2528 แต่ได้ออกให้ตั้งแต่ พ.ศ. 2528 เป็นต้นไป ให้ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) และ(2) แห่งประมวลรัษฎากรของผู้มีเงินได้ในปีภาษี พ.ศ. 2528 ด้วย

กรณีนายจ้างผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้ ผู้มีเงินได้สำหรับเงินได้ประเภทใด ๆ ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ว่าจะออกแทนให้ในทอดใด ๆ และออกแทนให้ในปีภาษีใดก็ตาม ให้ถือว่าเงินค่าภาษีอากรดังกล่าว เป็นเงินได้ของประเภท และของปีภาษีเดียวกับเงินได้ที่มีการออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้ เช่นนายจ้างออกเงินค่าภาษีเงินได้ให้ลูกจ้างสำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ ลูกจ้างได้รับในปีภาษี พ.ศ. 2528 โดยออกให้ในปี พ.ศ. 2529 กรณีเช่นนี้ให้ถือว่า เงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกให้เป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากรของลูกจ้างสำหรับปีภาษี พ.ศ. 2528 นั้น การออกภาษีเงินได้ในกรณีเช่นนี้อาจทำให้ผู้เงินได้ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่ม ภาษีอากรตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร

สั่ง ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2528

วิทย์ ตันตยกุล

อธิบดีกรมสรรพากร

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.