สวัสดิการกับการเสียภาษี | รับทำเงินเดือน สวัสดิการกับการเสียภาษี | รับทำเงินเดือน

การคำนวณเงินค่าภาษีอากรที่นายจ้างหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้

นายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ เงินค่าภาษีที่ออกให้ถือเป็นประโยชน์เพิ่ม ถือเป็นเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) ซึ่งลูกจ้างต้องนำเงินได้ดังกล่าวมาคำนวณเพื่อเสียภาษี โดยออกภาษีแทนในปีใด ให้ถือเป็นเงินได้ของปีนั้น จริงๆ แล้วเงินค่าภาษีถือเป็นเงินได้ของผู้รับ เพราะฉะนั้นกรณีมีภาษีขอคืน หรือเบี้ยปรับเงินเพิ่ม ลูกจ้างต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

คำสั่งกรมสรรพากร

ที่ ป. 7/2528

เรื่อง  การคำนวณเงินค่าภาษีอากรที่นายจ้างหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร

เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับกรณี คำว่า “เงินได้พึงประเมิน” ตามบทนิยามในมาตรา 39 และประเภทเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 ในบางกรณี กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ ยกเลิกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.2/2526 เรื่อง การคำนวณค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกให้เป็นเงินได้พึงประเมินของลูกจ้างตาม มาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2526 แต่ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะ ในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนปีภาษี พ.ศ.2528

ข้อ 2 กรณี นายจ้างออกเงินค่าภาษีเงินได้แทนให้ลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษีใด โดยลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้ด้วยตนเองเลย ให้นำเงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้าง ที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษีนั้นแล้วคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร จนกว่าจะไม่มีเงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างอาจใช้ตารางการคำนวณภาษีเงินได้ ที่กรมสรรพากรจัดทำขึ้นซึ่งจะได้ผลเท่ากัน และลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมในการคำนวณภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวในปีภาษีนั้นอีก

ข้อ 3 กรณี นายจ้างออกเงินค่าภาษีเงินได้แทนให้ลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน เช่น เท่ากับจำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่นำส่งไว้แล้วให้นำเงินค่าภาษีเงินได้ทีนายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงิน เดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษีนั้น แล้วคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีดังกล่าวถ้ามีภาษีจะต้องเสียเพิ่มเติมในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับปีภาษีนั้น ลูกจ้างต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมนั้นด้วยตนเอง

ข้อ 4 ความ ในข้อ 2 และข้อ 3 ให้ใช้บังคับแก่กรณีที่นายจ้างหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่น ออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้ผู้มีเงินได้สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรทุกประเภท

ข้อ 5 กรณี นายจ้างหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้ออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้ผู้มีเงินได้สำหรับ เงินได้ตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากรของปีภาษีก่อน พ.ศ.2528 แต่ได้ออกให้ตั้งแต่ พ.ศ. 2528 เป็นต้นไป ให้ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) และ(2) แห่งประมวลรัษฎากรของผู้มีเงินได้ในปีภาษี พ.ศ. 2528 ด้วย

กรณีนายจ้างผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้ ผู้มีเงินได้สำหรับเงินได้ประเภทใด ๆ ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ว่าจะออกแทนให้ในทอดใด ๆ และออกแทนให้ในปีภาษีใดก็ตาม ให้ถือว่าเงินค่าภาษีอากรดังกล่าว เป็นเงินได้ของประเภท และของปีภาษีเดียวกับเงินได้ที่มีการออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้ เช่นนายจ้างออกเงินค่าภาษีเงินได้ให้ลูกจ้างสำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ ลูกจ้างได้รับในปีภาษี พ.ศ. 2528 โดยออกให้ในปี พ.ศ. 2529 กรณีเช่นนี้ให้ถือว่า เงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกให้เป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากรของลูกจ้างสำหรับปีภาษี พ.ศ. 2528 นั้น การออกภาษีเงินได้ในกรณีเช่นนี้อาจทำให้ผู้เงินได้ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่ม ภาษีอากรตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร

สั่ง ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2528

วิทย์ ตันตยกุล

อธิบดีกรมสรรพากร

รายจ่ายค่าสวัสดิการพนักงาน

ดังได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับรายจ่ายในการดำเนินกิจการตามมาตรา 65 ทวิ 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรว่า

ต้อง เป็นรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการประกอบกิจการ และเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะและมีเหตุผลอันสมควรในอัน ที่จะจ่ายรายจ่ายนั้น ที่สิ้นเปลืองหมดไป

ไม่ ก่อให้เกิดสิทธิหรือทรัพย์สินใดๆ อันมีอายุการใช้งานเกินหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งต้องมีหลักฐานการจ่ายที่สามารถพิสูจน์ผู้รับได้ เมื่อเกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีปีใด ก็ให้ถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปีนั้นเว้นแต่ในกรณีที่ไม่สามารถ กำหนดจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใดก็ให้ถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ รายจ่ายนั้นกำหนดจำนวนที่แน่นอนได้ และต้องเป็นรายจ่ายที่ไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามตามเงื่อนไขแห่ง ประมวลรัษฎากร

ในสัปดาห์นี้จึงขอนำประเด็นรายจ่ายค่าสวัสดิการพนักงานมาเป็นประเด็นปุจฉา-วิสัชนา ดังต่อไปนี้

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับรายจ่ายค่าสวัสดิการพนักงานที่จะนำมาถือเป็นรายจ่ายใน การดำเนินงานสำหรับการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร

วิสัชนา รายจ่ายค่าสวัสดิการพนักงาน หมายถึง รายจ่ายเพื่อประโยชน์ของพนักงานในอันที่จะให้เกิดผลดีแก่การดำเนินงานโดยรวม ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอาจแบ่งเป็น

1.รายจ่ายค่าสวัสดิการทั่วไป อาทิ กาแฟ เครื่องดื่ม น้ำดื่มยารักษาโรคเบื้องต้น

2.รายจ่ายค่าสวัสดิการที่มีระเบียบข้อบังคับกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น

บริษัท มีนโยบายคิดค่าสวัสดิการให้กับพนักงานทุกคนและทุกตำแหน่งไม่ว่าจะเป็น พนักงานทดลองงานพนักงานรายวันหรือพนักงานรายเดือนที่ยังคงสภาพเป็นพนักงาน ของบริษัท ณ วันที่ 31 สิงหาคม ของทุกปีเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงาน และเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องสวัสดิการต่างๆ

เช่น งานกีฬาสี การจัดงานเลี้ยงเทศกาลปีใหม่ ฯลฯ และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานโดยตรง ในอัตราคนละ 3,000 บาท โดยบริษัท จะนำเงินทั้งหมดเข้าบัญชี “คณะกรรมการสวัสดิการ” ซึ่งแยกออกจากบัญชีของบริษัท มีคณะกรรมการ ซึ่งได้รับการเลือกตั้งมาจากลูกจ้างในบริษัท ตามมาตรา 96

แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นผู้ดูแลบัญชีสวัสดิการพนักงานดังกล่าว และเป็นผู้ควบคุมเรื่องการเบิกจ่าย

มีการทำบัญชีเก็บไว้เป็นหลักฐาน

เช่น นี้เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นประโยชน์เพิ่มอันถือเป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 39 และเข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)

ซึ่ง พนักงานผู้ได้รับสวัสดิการดังกล่าวต้องนำประโยชน์ที่ได้รับมารวมคำนวณเพื่อ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่สวัสดิการจัดเลี้ยงในเทศกาลปีใหม่ถือเป็นเงินได้ ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียม ประเพณีได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา42(10) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทสามารถนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร (หนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0706/9276 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2548)

กรณี บริษัท จ่ายค่าศึกษาอบรม ค่าพาหนะเดินทาง และค่าที่พักให้แก่นาย พ.ในขณะที่นาย พ.มิได้เป็นกรรมการหรือพนักงานของบริษัท ถือเป็นการให้เนื่องจากผู้รับไม่มีหน้าที่หรือความผูกพันในทางธุรกิจของ บริษัท โดยตรงดังนั้นรายจ่ายดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วน ตัว

การ ให้โดยเสน่หา และมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายใน การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา65 ตรี (3) และมาตรา 65 ตรี(13) แห่งประมวลรัษฎากร(หนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0706/1924 ลงวันที่ 7 มีนาคม 2549)

กรณี บริษัท ได้จัดสวัสดิการให้แก่พนักงานเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลโดย ระเบียบของบริษัท กำหนดวงเงินกรณีเจ็บป่วยทั่วไปของพนักงานทุกระดับไว้ไม่เกินคนละ 40,000 บาทต่อปี แต่ปรากฏว่า ในบางกรณีค่ารักษามีจำนวนเกิน 40,000 บาท ซึ่งเกินกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบของบริษัท แม้จะมีเหตุผลว่าพนักงานผู้นั้น เป็นผู้ที่ทำงานให้กับบริษัท มาเป็นเวลานาน และเป็นผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญในการปฏิบัติงานของบริษัท เป็นอย่างมากก็ตามเงินค่ารักษาพยาบาลส่วนที่เกิน 40,000 บาท ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว และมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ

บริษัท จึงไม่มีสิทธินำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร

อย่าง ไรก็ตามค่ารักษาพยาบาลที่พนักงานได้รับจากบริษัท เข้าลักษณะเป็นเงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้หรือจ่าย แทนลูกจ้าง

ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(4)(ก) แห่งกฎกระทรวง

ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) (หนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0706/10504 ลงวันที่ 16 ธ.ค.2548)

กล่าว โดยสรุปรายจ่ายค่าสวัสดิการหากเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลที่กำหนดไว้เป็นการทั่วไปที่มิใช่เป็นการเลือกปฏิบัติย่อม ถือเป็นรายจ่ายในการดำเนินงานสำหรับการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากรแต่ต้องพิจารณาต่อไปว่า ค่าสวัสดิการที่พนักงานได้รับนั้นถือเป็นประโยชน์เพิ่มที่เป็นเงินได้พึง ประเมินที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือได้รับยก เว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร

ที่มา…กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและที่พัก ที่จ่ายให้พนักงาน

ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 42 (1) ได้กำหนดยกเว้นภาษีเงินได้ในกรณีค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าที่พักไว้ ดังนี้

(1) ค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าพาหนะซึ่งลูกจ้างหรือผู้รับหน้าที่หรือตำแหน่งงานหรือ ผู้รับทำงานให้ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการ ตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น

เนื่องจากบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรไม่ได้มีการให้ คำนิยามศัพท์หรือความหมายของคำว่า “ เบี้ยเลี้ยง ” ไว้จึงต้องใช้ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถานที่ว่า หมายถึง เงินที่จ่ายให้เป็นค่าอาหารประจำวันในกรณีที่ออกทำงานนอกสถานที่ตั้งประจำ ด้วยเหตุนี้ ค่าเบี้ยเลี้ยงจึงหมายถึงเฉพาะแต่ค่าอาหารประจำวันเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเดินทางของลูกค้าก็อาจจะมีการพักในระหว่างที่ไปปฏิบัติงานทั้งใน ประเทศหรือต่างประเทศด้วย ดังนั้นในความหมายของคำว่าเบี้ยเลี้ยงที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ จึงรวมไปถึงค่าที่พักที่เกี่ยวเนื่องกับการไปปฏิบัติงานดังกล่าว

ประเด็นที่ควรพิจารณา : เมื่อความหมายของคำว่า “ เบี้ยเลี้ยง ” ตามพจนานุกรมฯ ได้กล่าวถึงการจ่ายเฉพาะกรณีที่ “ ออกทำงานนอกสถานที่ตั้งประจำ ” ก็แสดงว่า การทำงานของพนักงานหรือลูกจ้างจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการคือ ฝ่ายที่ทำงานในสำนักงานเป็นหน้าที่ประจำ กับฝ่ายที่ออกไปทำงานนอกสำนักงานเป็นหน้าที่ประจำ อาที ฝ่ายที่ทำบัญชีประจำสำนักงาน หรือฝ่ายประชาสัมพันธ์/ต้อนรับจะอยู่ประจำสำนักงาน ส่วนฝ่ายที่ต้องจัดส่งหนังสือหรือฝ่ายการตลาดที่ต้องออกจากสำนักงานอยู่เป็น ประจำตามหน้าที่ กรณีฝ่ายหลังนี้จะไม่อยู่ในความหมายของคำว่า“ เบี้ยเลี้ยง ” ตามพจนานุกรมฯ ดังนั้น การยกเว้นภาษีเงินได้ในค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวมค่าที่พัก ) ตามมาตรา 42 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ทางกรมสรรพากรจึงพิจารณายกเว้นภาษีเงินได้ให้เฉพาะค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวมค่าที่พัก ) ที่พนักงานหรือลูกจ้างได้ออกไปปฏิบัติการตามหน้าที่ของตนตามคำสั่งของนาย จ้างเป็น “ บางครั้ง/บางคราว ” เท่านั้น โดยหน้าที่ประจำของพนักงานหรือลูกจ้างผู้นั้น เป็นหน้าที่ที่ต้องทำงานประจำสำนักงาน ดังพิจารณาได้จากคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 59/2538 เรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อสังเกต: จะเห็นได้จากคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.59/2538 ฯ ซึ่งมีข้อความที่ว่า “… ต้องปฏิบัติงานตามหน้าที่นอกสำนักงานหรือนอกสถานที่เป็นครั้งคราว ” จึงจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ไม่ต้องรวมคำนวณกับเงินได้อื่นเพื่อเสียภาษี ดังนั้นถ้าให้เบี้ยเลี้ยงเดินทางเป็นประจำเพราะมีหน้าที่ที่ลูกจ้างต้องออก ไปเป็นประจำ ก็จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในเบี้ยเลี้ยงเดินทางนั้นๆ ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ต่อไป นอกจากนี้ คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.59/2538ฯ ยังได้อ้างอิงเทียบเคียงกับอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงสูงสุด ที่ทางราชการกำหนดให้ข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกาฯ ในลักษณะของการเบิกจ่ายที่เป็นการ “ เหมาจ่าย ” ไม่ต้องมีหลักฐานมาพิสูจน์การจ่ายเงิน แต่ถ้าจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงเกินกว่าอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงสูงสุดของทางราชการ กฎหมายก็ไม่ได้ห้ามว่าจะกระทำไม่ได้ แต่ต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินมาพิสูจน์ในส่วนที่เกินนั้นด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อดูความสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่พนักงาน หรือลูกจ้างต้องไปปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้นจริงๆนั่นเอง

หมายเหตุ : ในการเดินทางไปปฏิบัติงานตามหน้าที่ของลูกจ้างตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.59/2538ฯ ทางลูกจ้างต้องมีหลักฐานการได้รับอนุมัติให้เดินทางไปปฏิบัติงานนอกสำนักงาน หรือนอกสถานที่จากนายจ้าง โดยต้องระบุลักษณะงานที่ทำและระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามหน้าที่นั้นๆด้วย อีกทั้งกรณีของหลักฐานที่ลูกจ้างต้องนำมาพิสูจน์เมื่อได้รับค่าเบี้ยเลี้ยง เกินกว่าอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงของทางราชการ ถ้าผู้รับเงินที่ลูกจ้างได้จ่ายให้ไปไม่มีหลักฐานใบเสร็จรับเงินออกให้ ตัวลูกจ้างก็ควรนำหลักฐานใบสำคัญจ่ายเงินของนายจ้างไปให้บุคคลผู้นั้นเซ็น ชื่อรับเงินพร้อมที่อยู่และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่รับรองความถูกต้อง แล้ว เพื่อให้ทางกรมสรรพากรสามารถตรวจสอบได้ต่อไป

หนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากรที่ กค 0802/16936 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2527 : กรณีพนักงานได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาเป็นรายเดือน ไม่เข้าลักษณะเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงที่ได้รับยกเว้นภาษีดาตามมาตรา 42 (1)แห่งประมวลรัษฎากร

หนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากรที่ กค 0802/6054 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2529 : บริษัทจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเข้ามา เป็นวิทยากร ค่าใช้จ่ายที่บริษัทจ่ายให้เป็นค่าที่พัก  ค่าอาหารของวิทยากรขณะที่พักอยู่ในประเทศไทย โดยบริษัทให้โรงแรมส่งบิลมาเรียกเก็บจากบริษัทโดยตรง และค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับของวิทยากร โดยบริษัทจะส่งตั๋วไปให้หรือให้วิทยากรซื้อตั๋วเองแล้วมาเบิกจากบริษัท ค่าอาหาร ค่าที่พัก และค่าตั๋วเครื่องบินดังกล่าว บริษัทผู้จ่ายไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย เพราะได้รับยกเว้นตามมาตรา 42 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนการจ่ายค่าบรรยาย บริษัทผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

หนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากรที่ กค 0802/3548 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2534 : เงิน ค่าเบี้ยเลี้ยงที่จะได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้ส่วนบุคคลธรรมดาของลูกจ้างตามมาตรา 42 (1) จะต้องเป็นกรณีที่ลูกจ้างออกไปทำงานนอกสำนักงานเป็นการชั่วคราว หากเป็นการปฏิบัติงานตามหน้าที่นอกสำนักงานเป็นประจำหรือเป็นการถาวรแล้วไม่ ได้รับยกเว้นภาษี กรณีที่บริษัทได้รับโครงการในต่างจังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานโครงการระยะยาว มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี บริษัทต้องส่งพนักงานออกไปปฏิบัติงานประจำโครงการที่ต่างจังหวัด ได้จ่ายเบี้ยเลี้ยงเป็นการเหมาจ่ายให้แก่พนักงานในระดับต่างๆ ค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวเป็นการจ่ายตอบแทนให้แก่ลูกจ้างที่มีลักษณะต้อง ปฏิบัติหน้าที่นอกสำนักงานประจำ จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 (1) แห่งประมวลรัษฎากร