สรุปค่าลดหย่อน-ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | รับทำเงินเดือน สรุปค่าลดหย่อน-ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | รับทำเงินเดือน

สรุปค่าลดหย่อน-ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผมนำตารางค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่อัพเดทล่าสุดแล้วสำหรับปี 2551 โดยตารางที่เห็น Capture มาจากโปรแกรมคิดเงินเดือน ที่สำนักงานบัญชีของผม รับทำเงินเดือน (Payroll Outsource Service) และลงตารางอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท

Update-Personal-Tax- 2551

NewPersonalTax_2551

อัตราภาษีเดิมก่อนยกเว้น 150,000 บาทจะเป็นดังนี้

เงินได้สุทธิ ช่วงเงินได้แต่ละขั้น อัตราภาษี ภาษีแต่ละขั้น   ภาษีสะสม
1-100,000    100,000      5%      5,000        5,000
100,001-150,000    50,000     10%      5,000       10,000
150,001-500,000    350,000     10%     35,000       45,000
500,001-1,000,000    500,000     20%   100,000     145,000
1,000,0001-4,000,000    3,000,000     30%   900,000   1,045,000
4,000,0001 ขึ้นไป       37%    

มาดูรายการที่ได้รับการยกเว้น

ตาราง ข รายการเงินได้ที่ได้รับการยกเว้น

1.เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (บริษัท) ไม่เกินร้อยละ 15% ของเงินได้พึงประเมิน โดยยอดเงินที่หักลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท ในตาราง ข.ข้อ 1 นี้ลงไว้ 490,000 บาท ส่วนอีก 10,000 บาท อยู่ที่ตาราง ค.ข้อ 7 (ที่โปรแกรมต้องแยกไว้ เป็นไปตามแบบ ภงด.91)

2.เงินสะสม กบข. (กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สูงสุดหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท

3.เงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน คือ เงินได้ที่อำนวจการ ผู้บริหาร ครูหรือบุคคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเอกชน จ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท

4 ผู้มีเงินได้อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ในส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท

5. คู่สมรสของผู้มีเงินได้อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปก็ได้รับการยกเว้นเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท

6.เงินชดเชยที่ได้รับตามกฎหมายแรงงาน คือเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานรวมทั้งเงินที่ชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เฉพาะส่วนที่ไม่เกินค่าจ้าง หรือเงินค่าเดือนค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้าย แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ทั้งนี้ต้องมีระยะเวลาในการทำงาน 5 ปีขึ้นไป

ตาราง ค รายการหักค่าลดหย่อน

1.ผู้มีเงินได้หักค่าลดหย่อนได้ ปีละ 30,000 บาท

2.คู่สมรสของผู้มีเงินได้ (มีทะเบียนสมรส) และไม่มีเงินได้ (ไม่ทำงาน) หักลดหย่อนได้ปีละ 30,000 บาท

3.บุตของผู้มีเงินได้ กรณียังไม่เข้าเรียน หักลดหย่อนได้คนละ 15,000 บาท กรณีเข้าเรียนแล้วหักลดหย่อยได้คนละ 17,000 บาท การหักค่าลดหย่อนบุตรหักได้ไม่เกิน 3 คน

4.บิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สามารถนำมาหักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท (บิดามารดา ต้องไม่มีเงินได้ในปีนั้นเกิน 15,000 บาท)

5.เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา คือเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักรตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท

6.เบี้ยประกันชีวิต ผู้มีเงินได้สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับเบี้ยประกันของคู่สมรส ถ้าคู่สมรสไม่มีเงินได้ สามารถนำมาหักได้เพียง 10,000 บาท

7.เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 10,000 บาท ถ้ามีมากกว่านี้ให้นำไปกรอกที่ตาราง ข.ข้อ 1

8.ค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF ผู้มีเงินได้สามารถซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน โดยเมื่อรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือ กองทุน กบช.แล้วจะสามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท

9.หุ้นระยะยาว LTF คือ ผู้มีเงินได้สามารถซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้น LTF และสมารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ จำนวนเงินสูงสุดที่หักลดหย่อนไม่เกิน 500,000 บาท

10.ค่าซื้ออาคาร/ดอกเบี้ยกู้ยืม คือ จำนวนเงินดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยที่ผู้มีเงินได้ ได้ชำระให้สถาบันการเงินในปีนั้น โดยผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานดอกเบี้ยที่ชำระและต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านที่กู้ยืมนั้น สามารถนำมาหักลดหย่อยได้ ไม่เกิน 100,000 บาท

ในปี 2551 นี้ มีการปรับเพิ่มค่าลดหย่อนหลายรายการ ซึ่งผมได้ update ข้อมูลให้ล่าสุดแล้ว ไว้ถ้ามีตัวไหนเปลี่ยนแปลงจะเข้ามา update ให้ใหม่นะครับ

วันที่โพสบทความ : 26/09/2551

สนใจบริการรับทำเงินเดือน (Payroll Outsourcing) ติดต่อได้นะครับ คิดราคาไม่แพง

Comments

  1. อยากทราบภาษีเรื่องเกีษณงาน ครบอายุ 60 ปี

  2. การเกีษญงานอายุ 60 ปี เงินเดือนประมาณ 70000 บาท ต้องเสียภาษีประมาญเท่าไร???

  3. รับปรึกษาเรื่องการวางแผนภาษีอย่างถูกกฎหมายฟรี!!! คะ
    โทร 0854441101

  4. นางสาวประธิดา มูลเหลา says:

    ต้องการตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย 40(1)
    ที่เป็นฐานอัตราภาษี ที่ update แล้ว ณ ปัจจุบันค่ะ รบกวนส่งตัวอย่างตามเมลล์ข้างบนนี้เลยค่ะ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ เนื่องจากทำงานเกี่ยวกับภาษีและตอนที่เรียนมามันนานแล้ว ฐานภาษีก็เปลี่ยนแล้วค่ะ ขอรบกวนส่งตัวอย่างด้วยนะค่ะ รบกวนผู้รู้ที่ค่ะ

  5. ถูกต้องครับ กฎหมายยกเว้นเงินได้สำหรับผู้สูงอายุเพิ่มเติมให้อีก 190,000 บาท

  6. อยากสอบถามนิดนะครับ
    – คุณพ่ออายุ66ปี มีบำนาญครับประมาณ4 แสนกว่าๆครับ อยากทราบว่า
    จากข้างบน

    ข้อ4. ผู้มีเงินได้อายุ 65 ปีขึ้นไปได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท

    อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจครับหมายถึงนำมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้ 190,000 บาทเลยใช่ไหม?ครับ

  7. เกียรติชัย says:

    การหักลดหย่อยเงินสมทบประกันสังคมหักได้ไม่เกิน 9,000 บาท การที่คุณคีย์ยอดเงินประกันสังคมของภรรยาได้เพียง 1,800 บาท เนื่องจากโปรแกรมไม่อนุญาตให้หักประกันสังคมเกินจากอัตรา 5% ของเงินได้ครับ

  8. การลดหย่อนประกันสังคม มีกำหนดไว้ไม่เกินเท่าไรไหมครับ ของผม9000บาท ของภรรยาจ่ายจริง3600บาท แต่ในช่องของกรมสรรพากรลงได้แค่1800บาทเองครับ ทำยังไงดีครับ

  9. สวัสดีค่ะ ขอบคุณความรู้ใน website นี้นะคะ
    รบกวนปรึกษาค่ะว่า
    ดิฉันทำการยื่นภาษีทาง net ให้แฟน
    จะมีดอกเบี้ยที่เกิน 100000 บาท
    ซึ่งแฟนเป็นคนยื่นกู้เรื่องบ้านคนเดียว
    แต่ในระบบอนุญาตให้พิมพ์แค่ 50000
    เป็นเพราะเหตุใดคะ

    ตัวดิฉันมีรายได้ แยกยื่นภาษีค่ะ
    เกี่ยวหรือเปล่า ที่ทางกรมสรรพากร
    หาร 2 สำหรับคู่สมรส (แต่ชื่อแฟนเป็นคนกู้คนเดียว)

    รบกวนปรึกษาด้วยค่ะ
    ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.