ค่าลดหย่อนปี 2551 | รับทำเงินเดือน ค่าลดหย่อนปี 2551 | รับทำเงินเดือน

สรุปค่าลดหย่อน-ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผมนำตารางค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่อัพเดทล่าสุดแล้วสำหรับปี 2551 โดยตารางที่เห็น Capture มาจากโปรแกรมคิดเงินเดือน ที่สำนักงานบัญชีของผม รับทำเงินเดือน (Payroll Outsource Service) และลงตารางอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท

Update-Personal-Tax- 2551

NewPersonalTax_2551

อัตราภาษีเดิมก่อนยกเว้น 150,000 บาทจะเป็นดังนี้

เงินได้สุทธิ ช่วงเงินได้แต่ละขั้น อัตราภาษี ภาษีแต่ละขั้น   ภาษีสะสม
1-100,000    100,000      5%      5,000        5,000
100,001-150,000    50,000     10%      5,000       10,000
150,001-500,000    350,000     10%     35,000       45,000
500,001-1,000,000    500,000     20%   100,000     145,000
1,000,0001-4,000,000    3,000,000     30%   900,000   1,045,000
4,000,0001 ขึ้นไป       37%    

มาดูรายการที่ได้รับการยกเว้น

ตาราง ข รายการเงินได้ที่ได้รับการยกเว้น

1.เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (บริษัท) ไม่เกินร้อยละ 15% ของเงินได้พึงประเมิน โดยยอดเงินที่หักลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท ในตาราง ข.ข้อ 1 นี้ลงไว้ 490,000 บาท ส่วนอีก 10,000 บาท อยู่ที่ตาราง ค.ข้อ 7 (ที่โปรแกรมต้องแยกไว้ เป็นไปตามแบบ ภงด.91)

2.เงินสะสม กบข. (กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สูงสุดหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท

3.เงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน คือ เงินได้ที่อำนวจการ ผู้บริหาร ครูหรือบุคคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเอกชน จ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท

4 ผู้มีเงินได้อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ในส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท

5. คู่สมรสของผู้มีเงินได้อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปก็ได้รับการยกเว้นเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท

6.เงินชดเชยที่ได้รับตามกฎหมายแรงงาน คือเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานรวมทั้งเงินที่ชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เฉพาะส่วนที่ไม่เกินค่าจ้าง หรือเงินค่าเดือนค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้าย แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ทั้งนี้ต้องมีระยะเวลาในการทำงาน 5 ปีขึ้นไป

ตาราง ค รายการหักค่าลดหย่อน

1.ผู้มีเงินได้หักค่าลดหย่อนได้ ปีละ 30,000 บาท

2.คู่สมรสของผู้มีเงินได้ (มีทะเบียนสมรส) และไม่มีเงินได้ (ไม่ทำงาน) หักลดหย่อนได้ปีละ 30,000 บาท

3.บุตของผู้มีเงินได้ กรณียังไม่เข้าเรียน หักลดหย่อนได้คนละ 15,000 บาท กรณีเข้าเรียนแล้วหักลดหย่อยได้คนละ 17,000 บาท การหักค่าลดหย่อนบุตรหักได้ไม่เกิน 3 คน

4.บิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สามารถนำมาหักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท (บิดามารดา ต้องไม่มีเงินได้ในปีนั้นเกิน 15,000 บาท)

5.เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา คือเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักรตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท

6.เบี้ยประกันชีวิต ผู้มีเงินได้สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับเบี้ยประกันของคู่สมรส ถ้าคู่สมรสไม่มีเงินได้ สามารถนำมาหักได้เพียง 10,000 บาท

7.เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 10,000 บาท ถ้ามีมากกว่านี้ให้นำไปกรอกที่ตาราง ข.ข้อ 1

8.ค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF ผู้มีเงินได้สามารถซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน โดยเมื่อรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือ กองทุน กบช.แล้วจะสามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท

9.หุ้นระยะยาว LTF คือ ผู้มีเงินได้สามารถซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้น LTF และสมารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ จำนวนเงินสูงสุดที่หักลดหย่อนไม่เกิน 500,000 บาท

10.ค่าซื้ออาคาร/ดอกเบี้ยกู้ยืม คือ จำนวนเงินดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยที่ผู้มีเงินได้ ได้ชำระให้สถาบันการเงินในปีนั้น โดยผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานดอกเบี้ยที่ชำระและต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านที่กู้ยืมนั้น สามารถนำมาหักลดหย่อยได้ ไม่เกิน 100,000 บาท

ในปี 2551 นี้ มีการปรับเพิ่มค่าลดหย่อนหลายรายการ ซึ่งผมได้ update ข้อมูลให้ล่าสุดแล้ว ไว้ถ้ามีตัวไหนเปลี่ยนแปลงจะเข้ามา update ให้ใหม่นะครับ

วันที่โพสบทความ : 26/09/2551

สนใจบริการรับทำเงินเดือน (Payroll Outsourcing) ติดต่อได้นะครับ คิดราคาไม่แพง