เกษียณอายุล่วงหน้ากับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | รับทำเงินเดือน เกษียณอายุล่วงหน้ากับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | รับทำเงินเดือน

เกษียณอายุล่วงหน้ากับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

เนื่องจากผมค่อนข้างได้รับคำถามค่อนข้างบ่อยเกี่ยวกับการโครงการเกษียนอายุก่อนกำหนดกับสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลจากเงินได้ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ถ้าเป็นการเลิกจ้างจากการเกษียณอายุตามปกติ (ตามระเบียบของบริษัท) ก็จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาอะไร

แต่ถ้าเป็นการเกษียณอายุก่อนกำหนดนี่สิ มักจะมีปัญหาค่อนข้างมาก เนื่องจากสรรพากรเคยมองกรณีแบบนี้ไว้ว่า ไม่สามารถได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จนเป็นคดีฟ้องร้องขึ้นสู่ศาลฎีกา ตามคำพิพากษาเลขที่ 2077 พศ.2548

เนื่องจากพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งได้ขอเกษียณอายุเมื่ออายุ 56 ปี ทั้งนี้ตามระเบียบบริษัท ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กำหนดอายุเกษียนของพนักงานไว้เป็น 2 กรณีคือ

  1. พนักงานจะเกษียณอายุเมื่อครบ 60 ปีบริบูรณ์
  2. บริษัทอาจอนุญาตให้พนักงานเกษียณอายุก่อนครบ 60 ปีบริบูรณ์ ได้โดยมีเงื่อนไข 3 ประการ คือ หนึ่ง-บริษัทกับพนักงานต้องมีข้อตกลงเป็นหนังสือ, สอง-พนักงานที่ขอเกษียณอายุต้องมีอายุครบ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และ สาม-พนักงานผู้ขอเกษียณอายุต้องมีอายุการทำงานอย่างน้อย 15 ปี

สำหรับข้อสรุปการพิจาษณาของศาล เป็นดังนี้

การได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเนื่องจากออกจากงาน กรณีเกษียณอายุก่อนกำหนด เนือ่งจากตามประกาศไม่ได้ให้คำนิยามศัพท์ คำว่า เกษียณอายุไว้ จึงต้องแปลความหมายตามพจนานุกรมว่า ครบกำหนดอายุรับราชการ สิ้นกำหนดเวลารับราชการหรือการทำงาน การครบหรือสิ้นอายุการทำงาน จึงหมายถึงการที่นายจ้างให้พนักงาน ลูกจ้างออกจากงานเนื่องจากสูงอายุตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างด้วย (ระเบียบริษัทต้องกำหนดเรื่องการเกษียณอายุก่อนกำหนดไว้ด้วย)

เมื่อศาลพิจาณาแล้วเห็นว่าป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ สำหรับกรณีลูกจ้างออกจากงาน เพราะเกษียณอายุ กล่าวคือ

  1. กรณีเกษียณอายุ ลูกจ้างผู้นั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ (พนักงานลาออกเมื่ออายุ 56 ปี) และ
  2. เข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ
  3. เข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในระหว่างวันที่ 13 กันยายน 2537 ถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2538 และได้ออกจากงานเพราะเกษียณอายุก่อนวันที่ 2 ธันวาคม 2543 ซึ่งมีระยะเวลาที่ทำงานกับนายจ้างนั้นก่อนเกษียณอายุไม่น้อยกว่า 5 ปี (พนักงานทำงานกับบริษัทอายุงาน 18 ปีเศษ เป็นสมาชิกกองทุนเพียง 2 ปี 1 เดือน แต่สมัครเข้ากองทุนเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2538 (ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุว่าต้องสมัครระหว่างวันที่ 13 กันยายน 2537 – 2 ธันวาคม 2538) และเกษียณอายุวันที่ 1 พฤษภาคม 2540 (ซึ่งก็เป็นไปตามข้อกำหนดเช่นกันที่ระบุว่าต้องลาออกออกวันที่ 2 ธันวาคม 2543)

สรุปคือพนักงานสามารถได้รับสิทธิยกเว้น ไม่ต้องนำเงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เนื่องจากเป็นไปหลักเกณฑ์ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร อีกทั้งระเบียบบริษัทก็มีกำหนดไว้ให้เกษียณอายุก่อนกำหนดได้

อ้างอิง: คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2548
อ้างอิง : ประการศกรมสรรพากรฉบับที่ 52 และ ประกาศกรมสรรพากรฉบับที่ 151

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.