ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนเปิดบริษัทบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่ | รับทำเงินเดือน ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนเปิดบริษัทบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่ | รับทำเงินเดือน

ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนเปิดบริษัทบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่

Marnit Aongphisud ได้โพสต์ไปจากบริเวณ Bangkok เมื่อวันศุกร์ที่ 12 ก.ค. 2556 ว่า

"เรียนอาจารย์สุเทพครับ รบกวนสอบถามอาจารย์สุเทพประเด็นค่าใช้จ่ายก่อนการจัดตั้งกิจการ กรณีที่ผู้ถือหุ้นได้จ้างให้สำนักงานกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการให้ และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเกิดขึ้นก่อนที่บริษัทฯจะจัดตั้งเสร็จเรียบร้อย ซึ่งสำนักงานกฎหมายได้ระบุไว้ในรายงานการประชุมก่อตั้งบริษัทฯแล้ว

ประเด็นคำถามครับ เอกสารค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนเปิดบริษัทฯเป็นใบแจ้งหนี้และใบเสร็จรับเงินที่ออกในนามผู้ถือหุ้นและผู้เริ่มก่อการ อยากทราบว่าเอกสารดังกล่าวสามารถเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่ครับ หรือมีข้อควรระวังเรื่องเอกสารหลักฐานเป็นพิเศษหรือเปล่าครับ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าสำหรับความรู้ และความคิดเห็นที่อาจารย์แบ่งปันนะครับ — กับ Kamolthip Katutat"

เรียน Marnit Aongphisud
ประเด็นรายจ่ายก่อนการจัดตั้งกิจการบริษัทฯ หากที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้ถือเป็นรายจ่ายในการดำเนินกิจการ บริษัทฯ ก็สามารถนำมาบันทึกเป็นรายจ่ายในการดำเนินกิจการได้เช่นเดียวกับรายจ่ายที่เกิดขึ้นนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทฯ และในทางภาษีอากรก็ใช้หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการพิจารณารายจ่ายที่จะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียเงินได้นิติบุคคลเช่นเดียวกับรายจ่ายในการดำเนินกิจการทั่วไป กล่าวคือ

1. ต้องพิจารณาแยกให้ได้ว่า รายจ่ายนั้นเป็นรายจ่ายฝ่ายทุน หรือเป็นรายจ่ายในการดำเนินกิจการทั่วไป
หากเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนก็ย่อมต้องคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคานับแต่วันที่ได้มาซึ่งสินทรัพย์นั้น เฉพาะส่วนที่เป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคมในช่วงเวลาก่อนที่จะได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทฯ เท่านั้น ที่สามารถนำมาถือเป็นรายจ่ายได้ เมื่อจัดตั้งบริษัทฯ เรียบร้อยแล้วก็ให้คิดค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาต่อเนื่องไป
2. สำหรับรายจ่ายในการดำเนินกิจการให้นำหลักเกณฑ์ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร มาเป็นหลักในการพิจารณา ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
(1) ต้องเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการประกอบกิจการ และ
(2) ต้องเป็นรายจ่ายที่ได้จ่ายไปโดยมีเหตุผลความจำเป็นที่ต้องจ่ายรายการรายจ่ายนั้น และ
(3) ต้องเป็นรายจ่ายเป็นไปเพื่อกิจการหรือเพื่อการหากำไรโดยเฉพาะ และ
(4) ต้องเป็นรายจ่ายสิ้นเปลืองหมดไปในรอบระยะเวลาบัญชี โดยไม่ก่อให้เกิดกรรมสิทธิ์หรือสิทธิใดๆ ที่มีอายุการใช้งานเกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี และ
(5) ต้องเป็นรายจ่ายที่มีหลักฐานการจ่ายที่พิสูจน์ผู้รับได้ว่าเป็นบุคคลใด และ
(6) ต้องเป็นรายจ่ายที่ไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

กรณ๊เอกสารรายจ่ายที่เกิดขึ้นก่อนเปิดบริษัทฯ เป็นใบแจ้งหนี้และใบเสร็จรับเงินที่ออกในนามผู้ถือหุ้นและผู้เริ่มก่อการ นั้น ขอเรียนว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว และ (18) รายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ รวมทั้งอาจมีข้อสงสัยว่า เป็นรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง ตามมาตรา 65 ตรี (9) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น จึงควรที่ต้องมีเอกสารประกอบการจ่ายรายจ่ายทั้งหลายเหล่านั้น ตามหลักการควบคุมภายในที่ดี ประกอบการเหตุผลความจำเป็นที่ต้องจ่าย เพราะเหตุผลประการหนึ่งของการรวมตัวกันตั้งบริษัทฯ ก็เพื่อวัตถุประสงค์ในการมุ่งค้าและหากำไรมาแบ่งปันกัน หาใช่การที่จะมาฉกฉวยเอาจากบริษัทฯ ครับ

ที่มา..ที่มา..www.facebook.com/Suthep.Pongpitak

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.