เงินได้จากการเลิกจ้าง ที่ได้รับการยกเว้นภาษี | รับทำเงินเดือน เงินได้จากการเลิกจ้าง ที่ได้รับการยกเว้นภาษี | รับทำเงินเดือน

เงินได้จากการเลิกจ้าง ที่ได้รับการยกเว้นภาษี

ผมเองค่อนข้างสับสนอยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีเงินได้จากการเลิกจ้าง ก็เลยเขียนเป็นบทความสรุปเอาไว้อีกครั้ง ดังนี้

1. เงินชดเชยจากการเลิกจ้างที่ได้รับตามกฎหมายแรงงาน แต่ไม่รวมถึงค่าชดเชยที่ลูกจ้างหรือพนักงานได้รับเพราะเหตุเกษียณอายุหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง เฉพาะส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือน ค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้ายแต่ไม่เกิน 300,000 บาท (อ้างอิง กฎกระทรวงฉบับที่ 126 ข้อ 51 ซึ่งถูกแก้ไขแล้วตาม กฎกระทรวงฉับที่ 217)

กรณีข้างต้นจะเห็นได้ว่าต้องเป็นเงินชดเชยที่ได้รับจากการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน และต้องมีหนังสือรับรองจากนายจ้างเป็นหลักฐาน โดยต้องมีข้อความดังต่อไปนี้

  • ออกจากงานเพราะสาเหตุใด
  • ผู้ออกจากงานเริ่มทำงานและออกจากงานวัน เดือน ปีใด
  • เงินเดือน 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงานแต่ละเดือน

ค่าชดเชยส่วนที่เหลือจากการยกเว้น (กรณีได้รับเงินชดเชยเกิน 300,000 บาท) ให้นำไปรวมคำนวณในแบบ ภงด.91 แต่ถ้าลูกจ้างหรือพนักงานทำงานมาไม่น้อยกว่า 5 ปี สามารถเลือกที่จะนำเงินชดเชยส่วนที่เหลือไปแยกคำนวณภาษีตามใบแนบ ภงด.91 แยกต่างหากได้ ซึ่งจะทำให้เสียภาษีน้อยลง (ส่วนที่แยกคำนวณนี้จะไม่ได้รับการยกเว้นเงินได้ 150,000 บาทแรก)

เงินชดเชยอื่นๆ ที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี หากทำงานมาไม่น้อยกว่า 5 ปี สามารถใช้สิทธิแยกคำนวณภาษีตามใบแนบแบบ ภงด.91 ได้ (รวมถึงเงินชดเชยจากการเกษียณอายุด้วย)

อ่านบทความภาษีเงินได้ออกจากงานเพิ่มเติม

 

2. เงินได้ที่จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะมีอยู่ 3 กรณีคือ

  1. ลาออกจากกองทุนโดยไม่ได้ลาออกจากงาน กรณีจะไม่ได้รับการยกเว้นภาษี
  2. ลาออกจากกองทุนและลาออกงาน ถ้าอายุงานไม่ถึง 5 ปีจะไม่ได้รับการยกเว้นภาษี ถ้าอายุงานเกิน 5 ปี ยกเว้นภาษีจากเงินได้ให้ครึ่งหนึ่ง เงินได้ส่วนที่เหลือสามารถใช้สิทธิแยกยื่นภาษีเงินได้โดยใช้ใบแนบ ภงด.91 ได้
  3. เกษียณอายุ ได้รับการยกเว้นภาษีทั้งจำนวน แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขคือ เป็นสมาชิกกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี อายุไม่น้อยกว่า 55 ปีและเลิกจ้างเพราะเกษียนอายุ

อ่านบทความลาออกจากกองทุนเพิ่มเติม

Comments

  1. ตอบคุณ GS

    หมายถึง อายุงานในที่ทำงานสุดท้ายครับ

  2. รบกวนขอคำแนะนำค่ะ ได้รับเงินจากการเลย์ออฟมาก้อนนึง

    ตอนนี้ได้งานทำใหม่แล้ว ซึ่งปีหน้านี้จะต้องยื่นภาษี

    อายุงานที่ทำบริษัทที่ถูกเลิกจ้าง คือ 1 ปี แต่หากนับอายุงานตั้งแต่ทำงานมาและเสียภาษีให้รัฐคือ 9 ปี ( ทำมาหลายบริษัท แต่บรืษัทที่โดนเลย์ออฟ เพิ่งทำได้แค่ปีเดียวค่ะ )

    อยากทราบว่า ที่ระบุว่าอายุงานต้อง ถึง 5 ปี นั้น

    สามารถลดหย่อนภาษีได้ 5 ปีนี้ หมายถึงอายุงาน ในความหมายอย่างไรค่ะ ขอคำแนะนำด้วยค่ะ

  3. ตอบคุณ am

    หลักฐานที่ได้มาถ้าแจ้งว่าเป็นเงินได้ตาม 40(1) ก็ต้องเป็นไปตามนั้นครับ (ไม่รู้จะเชื่อใคร ก็คงต้องเชื่อตามเอกสารที่นำมาแสดง)

    เงินชดเชยตามกฎหมายต้องจ่ายตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น เช่น ต้องจ่าย 6 เดือน ก็ต้องจ่าย 6 เดือน จ่ายมากกว่าหรือน้อยกว่าไม่ได้ ส่วนเงินพิเศษอื่นๆ ไม่ได้รับการยกเว้นอยู่แล้ว เช่น ค่าตกใจ ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ฯลฯ

  4. แล้วในกรณีที่ได้รับค่าชดเชยตามกฏหมายจริง แต่ไม่ได้มีหนังสือรับรองตามที่กล่าวข้างต้น แล้วทางบริษัทก็ไม่ได้แยกเป็นเงินชดเชยตามกฏหมายให้ในหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย(50 ทวิ) แต่ออกให้เป็นเงินได้ 40(1) ทั้งจำนวน โดย ภ.ง.ด. 1 ที่นำส่งสรรพากร ก็ไม่ได้แยกให้เช่นกัน อย่างนี้แล้วเงินชดเชยตามกฏหมายก้อนนี้ เป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้น ได้หรือไม่ค่ะ แต่ทางบริษัท มีเอกสารการจ่ายเงินที่ชี้แจงเป็นค่าชดเชยเท่าไหร่ ค่าตกใจเท่าไหร่ แต่ไม่ได้เข้าหลักเกณฑ์ตามที่กล่าวข้างต้น และอีกอย่างคือบริษัท ปิดกิจการ ไปแล้วค่ะ

  5. ตอบคุณ Noona

    ต้องแยกเงินได้ 2 เรื่องออกจากกันครับ เงื่อนไขคนละแบบกันครับ
    1. เงินชดเชยจากการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน ยกเว้นให้ไม่เกิน 300,000 บาทเท่านั้น เงินส่วนที่เหลือเสียภาษีตามปกติ ไม่จำเป็นต้องทำงานครบ 5 ปี ใดๆ ทั้งสิ้น ทำงานกี่ปีก็ได้ครับ เพียงแต่ว่าเงินที่ได้รับชดเชยต้องเป็นไปตามที่กฎหมายแรงงานกำหนดเท่านั้นถึงจะไ้ด้รับการยกเว้น เช่น ควรจะได้ 2 เดือน แต่อาจจะแถมให้อีก 1 เดือน (จ่ายพิเศษ) แบบนี้ ก็จะยกเว้นให้ที่ 2 เดือนเท่านั้น

    2. เงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ยกเว้นให้ถ้าเกษียณอายุ ถ้าไม่ถึง 5 ปีั เสียภาษีตามปกติ ถ้าเกิน 5 ปี สามารถใช้สิทธิแยกยื่นได้ (ในแบบแยกยื่น วิธีคำนวณจะหัก ค่าใช้จ่ายได้ 7,000 บาท x ปีที่ทำงาน เหลือเท่าไหร่ ให้หักได้อีก 50% ครับ ที่เหลือคือเงินได้ที่ต้องเสียภาษี)

  6. หนูนามีคำถามเรื่องเงินได้จากการเลิกจ้างที่ได้รับการยกเว้นภาษี อ่านจากบทความข้างบนที่คุณบันทึก

    1. เงินชดเชยจากการเลิกจ้างที่ได้รับตามกฏหมายแรงงาน หนูนาได้รับการยกเว้น 300,000 บาท เพราะทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี และมีหนังสือรับรองจกานายจ้างเป็นหลักฐาน และสามารถใช้สิทธิแยกยื่นภาษีเงินได้ โดยใช้ใบแนบ ภงด. 91 ได้

    2. เงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หนูนาอ่านจากบทความข้างบน เขียนไว้ว่า ลาออกจากกองทุนและลาออกจากงาน ถ้าอายุงานเกิน 5 ปี ยกเว้นภาษีเงินได้ให้ครึ่งหนึ่ง เงินได้ส่วนที่เหลือ สามารถใช้สิทธิแยกยื่นภาษีเงินได้ โดยใช้ใบแนบ ภงด. 91 ได้ ข้อนี้อ้างอิงกฏกระทรวงข้อไหนคะทราบไหม หนูนาให้พนักงานที่สรรพากรลองคำนวณภาษีให้ เค้าคิดภาษีเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเต็มจำนวนคะ เลยสับสนว่าอันไหนถูกต้องกันแน่

    ขอบคุณมากคะ

    นา

  7. ตอบคุณ Noona

    ลองโหลดใบแนบ ภงด.90-91 มาดูก่อนก็ได้ครับ เพราะเค้าออกแบบมาให้แยกยื่นอยู่แล้ว โดยรายละเอียดการหักค่าใช้จ่ายก็จะเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดด้วยครับ

  8. สวัสดีคะ

    ขอบคุณมากเลยนะคะสำหรับข้อความข้างบน เนื่องจากดิฉันเข้าข่ายข้อ 2 ในบทความที่คุณเขียนเอาไว้ ดิฉันลาออกจากกองทุนและลาออกจากงาน มีอายุการทำงาน 21 ปี ตามที่คุณเขียนไว้ดิฉันจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ครึ่งหนึ่ง และส่วนที่เหลือสามารถใช้สิทธิแยกยื่นภาษีโดยใช้ใบแนบ ภงด.91 ได้ จะอ้างอิงด้วยกฏกระทรวงข้อไหนคะ ขอความช่วยเหลือตอบด่วนคะ

    ขอบคุณมากคะ

    หนูนา

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.