ปัญหาภาษีดอกเบี้ยเงินกู้ยืม | รับทำเงินเดือน ปัญหาภาษีดอกเบี้ยเงินกู้ยืม | รับทำเงินเดือน

ปัญหาภาษีดอกเบี้ยเงินกู้ยืม

ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นอกจากค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา หรือค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงและสมควรแล้ว กฎหมายยังให้หักลดหย่อนได้อีก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีเงินได้ของผู้มีเงินได้ ซึ่งจะแตกต่างการประกอบกิจการในรูปของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอย่าง มาก ที่กำหนดให้หักเฉพาะค่าใช้จ่ายเท่านั้น เหลือเท่าไรเป็นกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลทันที

ปัจจุบัน การหักลดหย่อนเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีมากหลายรายการ ไม่ว่าจะเป็นค่าลดหย่อนส่วนบุคคล ทั้งในส่วนที่เป็นลดหย่อนส่วนตัวผู้มีเงินได้ คู่สมรส บุตร และบุพการีของผู้มีเงินได้ หรือค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย ค่าลดหย่อนเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่าลดหย่อนเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ค่าลดหย่อนเงินบริจาค

มี ปัญหาเกี่ยวกับค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย ถึงขนาดเป็นความกัน แม้จำนวนเงินจะไม่มาก แต่เป็นประเด็นข้อกฎหมายที่สำคัญ กล่าวคือ ผู้มีเงินได้มีคู่สมรส ภายหลังจากที่ผู้มีเงินได้ได้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย และในปีที่ยื่นรายการนั้นคู่สมรสหรือภริยามีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 และใช้สิทธิแยกคำนวณภาษีเงินได้ต่างหากจากสามีหรือผู้มีเงินได้ แต่ในการคำนวณหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ผู้มีเงินได้ผู้เป็นสามีได้นำดอกเบี้ยเงินกู้ยืมมาหักลดหย่อนแต่เพียงฝ่ายเดียว ทำให้เสียภาษีเงินได้ต่ำไปตามฐานการหักลดหย่อนดังกล่าว กรมสรรพากรตรวจสอบแบบแสดงรายการแล้ว เห็นว่าไม่ถูกต้องจึงทำการประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้จากผู้มีเงินได้เพิ่ม เติม โจทก์ผู้มีเงินได้จึงอุทธรณ์ และนำคดีขึ้นสู่ศาลภาษีอากรกลาง และคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาตามลำดับ โดยในชั้นศาลภาษีอากรกลาง พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ไม่ต้องจ่ายค่าภาษีเงินได้ที่กรมสรรพากรประเมินเรียกเก็บไป

เมื่อ ศาลฎีกาได้พิเคราะห์ตามข้อกฎหมายแล้วพิพากษาว่า ตามกฎหมายกำหนดให้ผู้มีเงินได้ที่มีคู่สมรส และคู่สมรสแยกคำนวณและเสียภาษีต่างหากนั้น ได้สิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้กึ่งหนึ่ง ไม่ว่าจะได้ร่วมกู้หรือไม่ก็ตาม

ดังนั้น การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ชอบแล้ว เพราะได้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายแล้ว คำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา อุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้าฟังขึ้น ทั้งนี้ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 9759/2542
เป็นอุทาหรณ์ ให้ท่านที่มีดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้พิจารณาก่อนยื่นแบบภาษีเงินได้ครับ.

บทความโดย : สุเทพ พงษ์พิทักษ์  ที่มา : นสพ.เดลินิวส์ วันที่ 10 มีนาคม 2551

สรุปให้อีกที

ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมซื้อบ้าน ถึงแม้่ว่าจะทำเรื่องกู้ยืมก่อนสมรส ซึ่งต่อมาได้มาได้สมรสกัน และถึงแม้ว่าคู่สมรสจะไม่ได้เป็นผู้กู้ร่วม ถ้าคู่สมรสแยกยื่นภาษีเงินได้ สามารถนำดอกเบี้ยเงินกู้ยืมมาหักลดหย่อนได้ครึ่งหนึ่ง ส่วนผู้มีเงินได้จะมีสิทธิหักลดหย่อนได้เพียงครึ่งหนึ่งเช่นกัน

มาดูข้อกฎหมายที่สรรพากรเขียนไว้อีกที่นะครับ ผมก๊อบปี้ข้อความมาให้อ่านนะครับอยู่ในข้อ 1.6 ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ข้อย่อย (9)

(9) กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาได้สมรสกัน ให้ยังคงหักลดหย่อนได้ดังนี้
(ก) ถ้าความเป็นสามีภริยา มิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อน ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
(ข) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้ มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อน และสามีภริยายื่นรายการโดยรวมคำนวณภาษี ให้หักลดหย่อนรวมกันตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
(ค) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้ มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อน และภริยายื่นรายการโดยแยกคำนวณภาษี ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนได้กึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท

Comments

  1. สวัสดีค่ะ รบกวนอีกแล้ว
    หลังจากที่ได้คำตอบที่ชัดเจนและเข้าใจจากคุณเกียรติชัยไป
    ในคำถามแรกที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยเงินกู้บ้าน
    ขอบคุณมากๆ ค่ะ

    มีอีกคำถามค่ะ
    ดิฉันออกจากงานปลายปี 51
    ได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งหมด
    จำนวน 130,000 บาท

    เราต้องนำจำนวนเงินนี้ไปคิดการคำนวณภาษีใน ภงด 91 ด้วยหรือไม่ค่ะ
    รบกวนแนะนำด้วยค่ะ

    เราได้รับใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
    แสดงว่า จำนวนเงินที่บริษัทสมทบให้เรา 55000 บาท
    หักภาษีไว้ 500 บาท ค่ะ

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.