สุเทพ พงษ์พิทักษ์ | รับทำเงินเดือน สุเทพ พงษ์พิทักษ์ | รับทำเงินเดือน

การหักค่าใช้จ่ายตามจริงของเงินได้บุคคลธรรมดาต่างมาตรา

ประเด็นการนำผลขาดทุนของประเภทเงินได้หนึ่งไปหักกลบกับเงินได้พึงประเมินอีกประเภทเงินได้หนึ่ง นั้น ผมเคยได้อ่านตำราของท่านศาตราจารย์ไพจิตร โรจนวนิช เล่มเก่าๆ นานมากแล้ว ได้ความว่าเป็นแนวทางวินิจฉัยของกรมสรรพากรที่ไม่อนุญาตให้ผู้มีเงินได้่ที่ประกอบกิจการหลายประเภทเงินได้ หรือประเภทที่ 8 ด้วยกันแต่มีหลายรายการเงินได้ซึ่งกำหนดให้เลือกหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาหรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรก็ได้ว่า หากเลือกหักค่าใข้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรหรือค่าใช้จ่ายจริงแล้วเกิดเป็นผลขาดทุนในบางประเภทเงินได้จะนำผลขาดทุนนั้นไปหักกลบกับเงินได้ประเภทอื่นไม่ได้ ซึ่งแตกต่างจากกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล ครั้นพอได้อ่านฉบับปัจจุบันไม่พบปัญหาดังกล่าวแล้ว

แต่อย่างไรก็ตาม ในความเห็นส่วนต้วผมยังคงเห็นได้กับแนวความคิดข้างต้นดังนี้

1. กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจำแนกประเภทเงินได้ออกเป็น 8 ประเภทตามมาตรา 40 (1) – (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งในบางประเภทเงินได้พึงประเมิน เช่น เงินได้ตามมาตรา 40 (5)(ก) หรือ (6) และโดยเฉพาะ (8) แห่งประมวลรัษฎากร มีรายการเงินได้ที่กำหนดให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาแตกต่างกันไปหลายการ ซึ่งในแต่ละรายการเงินได้พึงประเมินหรือเงินได้พึงประเมินประเภทเดียวกันนั้น ผู้มีเงินได้มีสิทธิที่จะเลือกหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาหรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรหรือค่าใช้จ่ายจริงอย่างไรก็ได้

2. การจำแนกประเภทเงินได้ก็ด้วยมุ่งหวังที่จะแยกคำนวณภาษีเงินได้ตามหลักความสามารถเป็นรายประเภทเงินได้

3. ตามเจตนารมณ์ของการกำหนดให้เลือกหักค่าใช้จ่ายก็เพื่ออำนวยให้เกิดความเป็นธรรมในการเสียภาษี เนื่องจากไม่มีกฎหมายบังคับให้ผู้มีเงินได้ต้องจัดทำบัญชีและเก็บรักษาเอกสารหลักฐาน ซึ่งต่างจากการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น นอกจากต้องจัดทำบัญชีและเก็บรักษาเอกสารหลักฐานตามมาตรฐานการบัญชีหรือหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปแล้ว มิได้มีการจำแนกประเภทรายได้ออกเป็นประเภทโดยละเอียดตามที่มาหรือบ่อเกิดของเงินได้ดังเช่นกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เว้นแต่จำแนกตามลักษณะกว้างๆ คือ รายได้จากกิจการและรายได้เนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีเท่านั้น

4. การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามุ่งที่จะจัดเก็บภาษีเงินได้เป็นรายปีภาษี ให้จบสิ้นไปในแต่ละปีภาษี จึงกำหนดให้มีการเปรียบเทียบจำนวนเงินภาษีที่คำนวณได้จากวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้สุทธิ (ตามหลักความสามารถ) และการคำนวณจากเงินได้พึงประเมิน (ตามหลักความมั่งคั่ง) แล้วเสียภาษีเงินได้จากจำนวนที่มากกว่า ในการหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร แม้จะได้มีข้อกำหนดให้นำความตามมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร มาบังคับใช้อนุโลมก็ตาม แต่ก็มิได้มุ่งหวังให้นำค่าใช้จ่ายของประเภทเงินได้หนึ่งไปหักออกจากอีกประเภทเงินได้หนึ่ง และนำผลขาดทุนสุทธิไปหักข้ามรอบระยะเวลาบัญชี ดังเช่นกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล
ดังนั้น แม้จะมิได้มีข้อกำหนดห้ามมิให้นำผลขาดทุนของประเภทเงินได้หนึ่งไปหักออกจากเงินได้ของอีกประเภทเงินได้หนึ่ง แต่ตามรายละเอียดของการหักค่าใช้จ่ายเป็นรายประเภทเงินได้ การกำหนดให้สิทธิในการเลือกหักค่าใช้จ่ายในแต่ละรายการเงินได้พึงประเมิน ตลอดจนการเปรียบเทียบจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียตามมาตรา 48 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นรายปีภาษี จึงเป็นการบังคับให้ผู้มีเงินได้ต้องหักค่าใช้จ่ายเป็นรายประเภทเงินได้เท่านั้น การขอนำผลขาดทุนของประเภทเงินได้หนึ่งไปหักออกจากเงนิได้ของอีกประเภทเงินได้หนึ่ง ย่อมไม่อาจเป็นไปได้เลย

ที่มา.Facebook.com/Suthep.Pongptiak

ประเด็นความผิดที่พบจากการตรวจสอบ การปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี

ขอ นำประเด็นความผิดที่คณะกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีตาม มาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร มาปุจฉา – วิสัชนา ดังนี้

ปุจฉา มีประเด็นความผิดทั่วไปที่ตรวจพบโดยคณะกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีตาม มาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากรอย่างไร

วิสัชนา มีความผิดในประเด็นทั่วไปที่ตรวจพบดังนี้

1. ไม่ให้ความร่วมมือในการส่งมอบเอกสาร

1.1 ผู้ตรวจสอบไม่ได้มาพบและส่งมอบเอกสารตามกำหนดเวลา เจ้าหน้าที่ได้มีหนังสือเตือน 2 ครั้ง
  1.2 ส่งมอบเอกสารเกินกำหนดเวลาได้ขอเลื่อนการส่งมอบเอกสารหลายครั้ง โดยไม่มีเหตุอันสมควร มีลักษณะเป็นการประวิงเวลา

2. หน่วยปฏิบัติที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลได้ตรวจสอบการเสียภาษีอากรของผู้ ตรวจสอบและรับรองบัญชี ผลการตรวจสอบเสียภาษีอากรของตนเองไม่ถูกต้องครบถ้วน ตามข้อ 8 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544

3. มีการจัดตั้งคณะบุคคลเพื่อกระจายเงินได้พึงประเมินให้ฐานภาษีมีจำนวนลดลง โดยรายได้ที่ได้รับเป็นของผู้ตรวจสอบเพียงผู้เดียว ผู้ร่วมจัดตั้งไม่มีหน้าที่ใดที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ และหรือไม่ได้รับส่วนแบ่งจากการประกอบกิจการ

4. ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีไม่ปฏิบัติตามข้อ 2.2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 122/2545 เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ในประเด็นการแจ้งรายชื่อกิจการที่ตรวจสอบและรับรองบัญชีตามแบบ ภ.07/08 ดังนี้

  4.1 ไม่แจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชี
  4.2 แจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชีเกินวันที่ 30 มิถุนายนของทุกปี
  4.3 แจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชีหลังจากลงลายมือชื่อแล้ว

ปุจฉา   มีประเด็นความผิดเกี่ยวกับการสอบทานการจัดทำงบดุลตามมาตรฐานการบัญชีและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างไร

วิสัชนา งบการเงินจัดประเภทรายการบัญชีไม่ถูกต้อง

1. รายการเงินกู้ยืมจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน เป็นยอดคงเหลือยกมาจากปีก่อน และไม่มีรายการเคลื่อนไหวในปีปัจจุบัน ไม่ได้จัดประเภทรายการอยู่ในหนี้สินไม่หมุนเวียน
2. แสดงรายการเจ้าหนี้เช่าซื้อรถยนต์ รวมในรายการเจ้าหนี้การค้า ซึ่งเป็นรายการที่มีนัยสำคัญ และรายการดังกล่าวมีลักษณะและหน้าที่แตกต่างกัน แต่ไม่ได้แยกแสดงรายการ
3. รายการลูกหนี้เงินทดรองผู้เป็นหุ้นส่วน เป็นยอดคงเหลือยกมาจากปีก่อน และไม่มีรายการเคลื่อนไหว แต่จัดประเภทรายการอยู่ในสินทรัพย์หมุนเวียน
4. รายการเงินกู้ยืมจากหุ้นส่วนมียอดคงเหลือยกมาจากปีก่อน ไม่ได้จัดประเภทรายการอยู่ในหนี้สินไม่หมุนเวียน
5. แสดงรายการเจ้าหนี้เงินกู้ยืมหุ้นส่วนรวมในรายการค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ประเภทหนี้สินหมุนเวียน
6. แสดงรายการสิทธิการเช่าอาคารอยู่ในรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
7. ทำสัญญาซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แต่บันทึกบัญชีสินทรัพย์เป็นอาคารทั้งจำนวน โดยไม่ได้แยกมูลค่าของที่ดินออกจากอาคาร
8. จัดประเภทรายการเงินเบิกเกินบัญชี และเจ้าหนี้ธนาคาร ซึ่งมีระยะเวลาการกู้ยืมเกินกว่า 1 ปี ไว้ในรายการหนี้สินหมุนเวียน
9. รายการค่าใช้จ่ายค้างจ่าย แสดงรายการโดยรวมรายการเงินกู้ยืมจากหุ้นส่วน ซึ่งมีจำนวนเงินที่มีสาระสำคัญ ไม่ได้แสดงรายการแยกต่างหากจากรายการค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

(1)

ในการประกอบ ธุรกิจต่างๆ นั้น โดยทั่วไปผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี ตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีหรือพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 เป็นปกติอยู่แล้ว

อย่าง ไรก็ตาม เพื่อประโยชน์ในการบริหารการจัดเก็บภาษีอากรของกรมสรรพากร โดยเฉพาะตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร และผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย บางกรณีต้องจัดทำบัญชีพิเศษเพิ่มเติม นอกเหนือจากบัญชีที่ต้องจัดทำตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี จึงขอนำมาเป็นประเด็น ปุจฉา – วิสัชนา ดังนี้

ปุจฉา กำไรสุทธิทางบัญชีกับกำไรสุทธิทางภาษีอากร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

วิสัชนา กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางบัญชีหรือทางการเงิน เป็นจำนวนผลต่างของรายได้กับรายจ่ายที่กิจการได้กระทำในระหว่างรอบระยะเวลา บัญชี ซึ่งโดยทั่วไปมีกำหนดเวลา 12 เดือน เพื่อแสดงผลการดำเนินกิจการในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ในอันที่จะเปรียบเทียบในกิจการเดียวกันหรือในระหว่างผู้ประกอบกิจการทั้ง หลาย

กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากรเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายทั้งสิ้นในการประกอบกิจการเพื่อหารายได้ ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องรับรู้รายได้และรายจ่ายตามเกณฑ์สิทธิ เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะกำหนดเป็นอย่างอื่น

สำหรับเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในทางภาษีอากร ที่แตกต่างจากการคำนวณกำไรและขาดทุนสุทธิทางบัญชีหรือทางการเงินมีสามรายการ คือ

1. เงื่อนไขเกี่ยวกับรายได้ ประกอบด้วย

(1) มาตรา 65 ประเภทรายได้ และเกณฑ์รับรู้รายได้

(2) มาตรา 65 ทวิ (4) เงื่อนไขการรับรู้รายได้จากการขายทรัพย์สิน รวมทั้งสินค้า การให้บริการและการให้กู้ยืมเงิน ซึ่งโดยทั่วไปต้องเป็นไปตามราคาตลาด

(3) มาตรา 65 ทวิ (10) รายได้เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่บริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยได้รับ

(4) มาตรา 65 ทวิ (11) ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว

(5) มาตรา 65 ทวิ (12) เงินปันผลที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว

(6) มาตรา 65 ทวิ (14) ภาษีขายซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้รับหรือพึงได้รับ

(7) มาตรา 65 จัตวา รายได้ที่เป็นค่าภาษีเงินได้ซึ่งโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลังได้เสียแทนให้ เนื่องจากการเป็นผู้ค้าส่งหรือผู้ค้าปลีกสินค้ายาสูบของโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง

(8) มาตรา 70 ตรี กรณีที่กฎหมายถือเป็นการขายสินค้าในราชอาณาจักร อันเนื่องมาจากการส่งสินค้าออกไปต่างประเทศให้แก่หรือตามคำสั่งของ สำนักงานใหญ่ สาขา ตัวการ ตัวแทน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน นายจ้าง ลูกจ้างในต่างประเทศ

(9) มาตรา 74 (2)(3) การนำสำรองกลับมาถือเป็นรายได้ กรณีเลิก ควบหรือโอนกิจการ

2. เงื่อนไขเกี่ยวกับรายจ่าย

(1) มาตรา 65 ทวิ (1) เท่ากันมาตรา 65 ตรี (1) ถึง (20) รายจ่ายต้องห้าม

(2) มาตรา 65 ทวิ (2) การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน

(3) มาตรา 65 ทวิ (7) ราคาทุนของสินค้าที่ส่งเข้ามาจากต่างประเทศ

(4) มาตรา 65 ทวิ (8) ราคาทุนของสินค้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศ

(5) มาตรา 65 ทวิ (9) การจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้

3. หลักเกณฑ์ในการตีราคาทรัพย์สินและหนี้สิน

(1) มาตรา 65 ทวิ (3) การตีราคาทรัพย์สินทั่วไปให้ใช้ตามราคาทุนเดิม

(2) มาตรา 65 ทวิ (5) การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ

(3) มาตรา 65 ทวิ (6) การตีราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

(4) มาตรา 74 (1) การตีราคาทรัพย์สิน ณ วันเลิก ควบหรือโอนกิจการ

ดังนั้น เมื่อต้องการคำนวณเงินได้สุทธิหรือกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร ก็เพียงแต่นำกำไรสุทธิทางบัญชีมาทำการปรับปรุงด้วยเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน ประมวลรัษฎากร ก็จะได้กำไรหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร เพื่อนำไปยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ต่อไป

(2)

ปุจฉา  มีประเด็นความผิดเกี่ยวกับงบการเงินแสดงรายการไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีอย่างไร

วิสัชนา  งบการเงินแสดงรายการไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี มีดังนี้

1. งบการเงินปรากฏรายการวัตถุดิบต้นงวดกับปลายงวดมีจำนวนเท่ากัน ไม่มี การเคลื่อนไหว และไม่ปรากฏรายการผลิตระหว่างงวด ไม่มีการพิจารณาการเสื่อมสภาพ หรือด้อยค่าของวัตถุดิบ
2. งบการเงินมียานพาหนะมูลค่าเกิน 1 ล้านบาท แต่แสดงรายการค่าเสื่อมราคาเฉพาะราคาทุน 1 ล้านบาท ตามหลักเกณฑ์ทางประมวลรัษฎากร
3. งบการเงินแสดงรายการลูกหนี้เงินทดรองผู้เป็นหุ้นส่วน ไม่มีรายการดอกเบี้ยรับ แต่กระดาษทำการระบุว่ามีการคิดดอกเบี้ยซึ่งได้นำไปปรับปรุงรายการในแบบ ภ.ง.ด.50 โดยไม่มีการบันทึกบัญชี
4. งบการเงินปรากฏรายการเจ้าหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ แต่ไม่ปรากฏรายการดอกเบี้ยจ่ายรอตัดจ่ายและรายการดอกเบี้ยจ่าย
5. งบการเงินไม่ปรากฏรายการค่าใช้จ่ายค้างจ่ายประเภทค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า และค่าโทรศัพท์ ในรายการหนี้หมุนเวียนอื่น ซึ่งมีค่าใช้จ่ายของเดือนธันวาคม ต้องมีการจ่ายชำระในเดือนมกราคมของปีถัดไป
6. งบการเงินแสดงการรับรู้รายการสินทรัพย์เริ่มแรกของยานพาหนะบันทึกบัญชีด้วย ราคาที่รวมดอกผลเช่าซื้อ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทางประมวลรัษฎากร จึงมีผลให้งบการเงินแสดงมูลค่าสินทรัพย์และค่าเสื่อมราคาประจำปีสูงไป
7. งบการเงินแสดงรายการสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น รายการค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี ซึ่งกิจการได้บอกเลิกสัญญากับบริษัทที่ให้ใช้บริการร้านสะดวกซื้อแล้ว แต่ไม่ได้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน
8. งบการเงินบันทึกรายการสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ และยานพาหนะ รวมอยู่ในรายการอาคาร และได้คำนวณค่าเสื่อมราคาในอัตราร้อยละ 5 ของยอดมูลค่าอาคารดังกล่าว
9. งบการเงินแสดงค่าใช้จ่ายในการซื้อที่ดินจากกรรมการผู้จัดการหรือหุ้นส่วน แต่ไม่ปรากฏรายการที่ดินเป็นสินทรัพย์
10. ห้างฯ มีกำไร (ขาดทุน) สะสมยกมาต้นงวด แต่งบดุลไม่ปรากฏกำไร (ขาดทุน) สะสมยกมาจากปีก่อน ปรากฏเพียงกำไร (ขาดทุน) ปีปัจจุบัน
11. งบการเงินแสดงรายการค่าเสื่อมราคา โดยนำค่าเสื่อมราคาของปีก่อนบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในปีปัจจุบัน ไม่ได้นำมาปรับปรุงกับรายการกำไรสะสมยกมาต้นงวด

ปุจฉา มีประเด็นความผิดเกี่ยวกับงบการเงินแสดงรายการไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงอย่างไร
วิสัชนา งบการเงินแสดงรายการไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงมีดังนี้

(1) งบการเงินแสดงรายการเงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน แต่ไม่มีบัญชีเงินฝากสถาบันการเงิน ซึ่งไม่ได้เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน มีผลให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิดได้
(2) งบการเงินแสดงรายการรายได้จากการบริการ ไม่ได้นำรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม มาแสดงเป็นรายได้ด้วย
(3) ลักษณะธุรกิจประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างกับหน่วยงานราชการ และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจมีมูลค่าการบริการครั้งละประมาณ 100,000 บาทขึ้นไป ซึ่งต้องมีการจ่ายค่าจ้าง/ค่าบริการเป็นเช็ค แต่งบการเงินไม่ปรากฏรายการเงินฝากสถาบันการเงิน
(4) ลักษณะธุรกิจประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างกับหน่วยงานราชการ แต่งบการเงินไม่ปรากฏบัญชีเงินประกันผลงาน
(5) งบการเงินไม่ปรากฏรายการสินค้าคงเหลือที่ก่อให้เกิดรายได้
(6) งบการเงินแสดงรายการรายได้ค้างรับ มีการวางบิลกับลูกค้าแล้ว แต่ไม่ได้แสดงรายการดังกล่าวเป็นลูกหนี้
(7) งบการเงินไม่ปรากฏรายการ ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องใช้สำนักงาน
(8) งบการเงินไม่ปรากฏรายการสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้
(9) งบการเงินไม่ปรากฏรายการสินทรัพย์ (อาคาร) หรือรายการค่าเช่าสำนักงาน ที่ใช้ในการประกอบกิจการ
(10) งบการเงินแสดงรายการทุนที่มีการเพิ่มทุน แต่ในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนผู้ถือหุ้นแสดงรายการทุนเดิมที่ยังไม่มีการ ปรับปรุงการเพิ่มทุน

(3)

ปุจฉา มีประเด็นความผิดเกี่ยวกับงบการเงินแสดงรายการไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงอย่างไร
วิสัชนา งบการเงินแสดงรายการไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เพิ่มเติมจากสัปดาห์ก่อนดังนี้
11. งบการเงินปรากฏรายการตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งเป็นการออกตั๋ว เพื่อเป็นหลักฐานในการกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง  แต่กระดาษทำการระบุว่าเป็นการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน เพื่อเป็นหลักฐานในการประกันเงินกู้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน
12. งบการเงินไม่ปรากฏรายการเงินฝากสถาบันการเงิน เนื่องจากกิจการใช้บัญชีของผู้เป็นหุ้นส่วน ซึ่งไม่สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์
13. งบการเงินปรากฏรายจ่ายค่าน้ำมัน แต่ไม่ปรากฏรายการรถยนต์ในทะเบียนทรัพย์สิน และไม่ปรากฏรายการค่าเช่ารถยนต์
14. งบการเงินปรากฏรายการเงินสด แต่ไม่ปรากฏรายการเงินฝากสถาบันการเงิน ซึ่งกิจการมีการรับเงินจากผู้ซื้อโดยการรับโอนเงินผ่านบัญชีเงินฝากของ กิจการ 
15. ลักษณะธุรกิจประกอบกิจการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ แต่ไม่ปรากฏรายการเงินฝากสถาบันการเงิน
ปุจฉา มีตัวอย่างเกี่ยวกับงบการเงินแสดงรายการไม่เป็นไปตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือไม่อย่างไร
วิสัชนา ตัวอย่างเกี่ยวกับงบการเงินแสดงรายการไม่เป็นไปตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า อาทิเช่น 

1. การใช้ถ้อยคำไม่ถูกต้อง เช่น รายการสินทรัพย์-ราคาสุทธิ ควรแสดงเป็น "ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์-สุทธิ" และแสดงอยู่ในหมวดสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
  รายการสินค้าคงคลัง และรายการสินทรัพย์ถาวร

(2) แสดงรายการไม่ถูกต้อง เช่น รายการเจ้าหนี้การค้า เป็นเจ้าหนี้ที่เกิดจากการค้างชำระค่าสินค้าที่ซื้อมาเพื่อขายโดยปกติ แสดงรายการโดยนำไปรวมอยู่ในส่วนของหนี้สินหมุนเวียนอื่น
ปุจฉา กรณีงบกำไรขาดทุนจัดประเภทรายการบัญชีไม่ถูกต้อง มีการตรวจพบรายการใดบ้าง
วิสัชนา กรณีงบกำไรขาดทุนจัดประเภทรายการบัญชีไม่ถูกต้องมีตัวอย่างดังนี้

1. แสดงรายการค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโดยตรง (ต้นทุนขาย ต้นทุนผลิต ต้นทุนบริการ และต้นทุนรับเหมา) ไว้ในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

  (1) แสดงรายการค่าจ้างทำของ ซึ่งเป็นต้นทุนอยู่ในรายการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
  (2) แสดงรายการค่าเสื่อมราคาของเล้าเป็ด ระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ที่ใช้ในฟาร์ม ซึ่งเป็นต้นทุนเลี้ยงเป็ด อยู่ในรายการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
  (3) แสดงรายการค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์ล้างอัดภาพ เครื่องพิมพ์ล้างรูป เครื่องอัดรูปดิจิทัล อยู่ในรายการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
  (4) แสดงรายการค่าระวาง ค่าขนส่งสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นต้นทุนขาย อยู่ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
  (5) แสดงรายการค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ซึ่งเป็นต้นทุนขาย อยู่ในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
  (6) แสดงรายการค่าอากรขาเข้า ค่าระวาง และค่าใช้จ่ายในการออกของ ซึ่งเป็นต้นทุนขาย อยู่ในรายการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

2. แสดงรายการค่าใช้จ่ายอื่นๆ อยู่ในค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโดยตรง (ต้นทุนขาย ต้นทุนผลิต ต้นทุนบริการ และต้นทุนรับเหมา) เช่น

  (1) แสดงรายการค่าเช่าสำนักงาน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารอยู่ในหมวดค่าใช้จ่ายในการผลิต
  (2) แสดงรายการค่าโฆษณาและค่ารับรอง ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร อยู่ในส่วนของต้นทุนบริการขนส่งสินค้า
3. ไม่ปรากฏรายการค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโดยตรง (ต้นทุนขาย ต้นทุนผลิต ต้นทุนบริการ และต้นทุนรับเหมา)

(4)

ปุจฉา มีการตรวจพบรายการในงบกำไรขาดทุนที่แสดงรายการไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีอย่างไร
วิสัชนา มีตัวอย่างรายการในงบกำไรขาดทุนที่แสดงรายการไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีดังนี้

1. ประกอบกิจการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ แต่บันทึกรายการขาย (ส่งออก) เป็นรายได้ ณ วันที่ได้รับชำระเงินจากลูกค้า
2. งบการเงินไม่ปรากฏการคำนวณค่าเสื่อมราคาประจำปีของรายการสินทรัพย์
3. งบการเงินแสดงรายการค่าใช้จ่ายที่ไม่ถือเป็นรายจ่ายในส่วนของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
4. งบการเงินปรากฏรายการเจ้าหนี้เช่าซื้อ แต่ไม่ปรากฏรายการดอกเบี้ยจ่าย
5. งบการเงินแสดงรายการค่าใช้จ่ายในการให้บริการและบริหารรวมเป็นรายการเดียวกัน ทำให้ผู้ใช้งบการเงินขาดความเข้าใจได้
6. งบการเงินแสดงรายการรายได้จากการให้บริการและรายได้จากการขายรวมกัน ซึ่งรายได้ดังกล่าวมีเกณฑ์การรับรู้รายได้และเงื่อนเวลาที่เกิดความรับผิดใน การเสียภาษีต่างกัน
7. ประกอบกิจการผลิตเพื่อขาย แต่ไม่ปรากฏรายการต้นทุนการผลิต
8. ประกอบกิจการซื้อขายสินค้ากับต่างประเทศ แต่ไม่ปรากฏรายการกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
9. งบการเงินรายการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารแสดงรายการรายจ่ายต้องห้ามสรรพากร ซึ่งเป็นการแสดงรายการตามประมวลรัษฎากร
10. กิจการเปิดเผยนโยบายการบัญชีการคำนวณค่าเสื่อมราคาอาคารโดยวิธีเส้นตรง อายุการใช้งาน 20 ปี แต่คำนวณค่าเสื่อมราคาอาคารในอัตราร้อยละ 20 ต่อปี

ปุจฉา มีการตรวจพบรายการในงบกำไรขาดทุนที่แสดงรายการไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงอย่างไร
วิสัชนา มีตัวอย่างรายการในงบกำไรขาดทุนที่แสดงไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงดังนี้

1. งบการเงินไม่ปรากฏรายการค่าสอบบัญชีในการตรวจสอบและรับรองบัญชี
2. แสดงค่าเสื่อมราคาในหมายเหตุประกอบงบการเงินไม่ตรงกับค่าเสื่อมราคาที่แสดงในงบกำไรขาดทุน
3. งบการเงินไม่ปรากฏรายการค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ อยู่ในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
4. ประกอบกิจการสถานีจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งตามกฎหมายมีข้อกำหนดว่าต้องมีการทำประกันวินาศภัย แต่ไม่ปรากฏรายการค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
5. กิจการมีการซื้อเครื่องใช้สำนักงานและอุปกรณ์ในปีก่อน แต่หมายเหตุประกอบ งบการเงินแสดงรายการค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ดังกล่าวเพิ่มขึ้นในปี ปัจจุบัน
6. งบการเงินปรากฏรายการยานพาหนะ แต่ไม่ปรากฏรายการค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
7. งบการเงินแสดงรายการรายได้จากการขายและรับจ้าง แต่กิจการมีรายได้จากการรับจ้างเพียงอย่างเดียว
8. งบการเงินไม่ปรากฏรายการทางบัญชีที่เป็นรายจ่ายในการบริหารงาน เช่น เงินเดือนค่าจ้าง ค่าบริการทำบัญชี ค่าเช่าสำนักงาน
9. งบการเงินแสดงรายได้จากการขายหักรายได้จากการขายที่ได้รับยกเว้นภาษี ทำให้แสดงรายการรายได้จากการดำเนินงานทางบัญชีต่ำไป ซึ่งรายการที่ได้รับยกเว้นต้องนำไปปรับปรุงในแบบ ภ.ง.ด. 50
10. งบการเงินปรากฏรายการค่าเช่าอาคาร โดยสัญญาเช่าอาคารระบุว่ามิได้รวมค่าไฟฟ้า และน้ำประปา แต่งบกำไรขาดทุนไม่ปรากฏรายการค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา

(5)

ปุจฉา มีการตรวจพบรายการในหมายเหตุประกอบงบการเงินไม่ถูกต้องอย่างไร
วิสัชนา มีตัวอย่างรายการในหมายเหตุประกอบงบการเงินไม่ถูกต้องดังนี้

1. กิจการทำสัญญากู้เงินจากสถาบันการเงิน ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของกิจการเป็น หลักประกัน แต่ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลการนำหลักทรัพย์ไปค้ำประกันหนี้สินดังกล่าว
2. ไม่ได้เปิดเผยนโยบายการบัญชี และรายละเอียดเกี่ยวกับรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
3. รายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ แสดงมูลค่ายกมาไม่ตรงกับยอดคงเหลือของงวดบัญชีก่อน
4. เปิดเผยนโยบายการบัญชีในส่วนของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ โดยอ้างอิงอายุการใช้งานไม่เกินอัตราที่ประมวลรัษฎากรกำหนด
5. ไม่เปิดเผยนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการตีราคาสินค้าคงเหลือและวิธีที่ใช้ในการคำนวณราคาทุน ตามมาตรฐานการบัญชี

6. เปิดเผยนโยบายการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับสินค้าคงเหลือว่า “ราคาทุน” ไม่ได้ระบุว่า “สินค้าคงเหลือตีราคาตามราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับแล้วแต่ ราคาใดจะต่ำกว่า”
7. เปิดเผยนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับวิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือว่า “คำนวณตามราคาทุนหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า”
8. ระบุนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือว่า “แสดงในราคาทุนถัวเฉลี่ย”
9. ไม่เปิดเผยรายการหนี้สินภายใต้สัญญาเช่าซื้อ
10. ไม่เปิดเผยภาระผูกพันรายการเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมเงิน

11. ไม่เปิดเผยการนำหลักทรัพย์ไปค้ำประกันกับองค์การของรัฐบาล
12. กิจการสร้างอาคารบนที่ดินของผู้อื่น แต่ไม่ได้เปิดเผยว่าอาคารก่อสร้างบนที่ดินของผู้ใด
13. กิจการประกอบการมีผลขาดทุนสะสมเกินกึ่งหนึ่งของทุนหรือเกินทุน ซึ่งแสดงถึงความเสี่ยงทางการเงิน แต่ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานต่อเนื่อง
14. เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ โดยไม่ได้เปิดเผยราคาตามบัญชีก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสม ค่าเสื่อมราคาสะสมของสินทรัพย์ ณ วันต้นงวดและสิ้นงวด หรือเปิดเผยข้อมูลไม่ครบถ้วนเกี่ยวกับจำนวนของสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นหรือลด ลงระหว่างวันต้นงวดถึงวันสิ้นงวด
15. เปิดเผยนโยบายการบัญชีในส่วนของการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายว่ารับรู้ราย ได้จากการขายหรือให้บริการเมื่อได้ส่งมอบสินค้าหรือบริการแก่ลูกค้าแล้ว และบันทึกค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์สิทธิ โดยไม่เป็นไปตามข้อสมมติทางการบัญชีของแม่บทการบัญชี

16. ไม่สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ เช่น การรับรู้รายได้ ค่าใช้จ่าย สินค้าคงเหลือ ฯลฯ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจถึงลักษณะของรายการและเหตุการณ์ทางบัญชี
17. รายการเงินกู้ยืมระยะยาวจากบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องไม่มีการคิดดอกเบี้ย จ่าย แต่ไม่ได้เปิดเผยเงื่อนไขให้เข้าใจได้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
18. รายการอุปกรณ์ ไม่ได้เปิดเผยเกี่ยวกับเกณฑ์การวัดมูลค่าวิธีการคิดค่าเสื่อมราคา อายุการใช้งาน หรืออัตราค่าเสื่อมราคา
19. เปิดเผยนโยบายการบัญชีในการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายของธุรกิจรับเหมาก่อ สร้างว่ารับรู้รายได้ตามค่างวดที่ถึงกำหนดชำระและรับรู้ต้นทุนตามต้นทุนที่ เกิดขึ้นจริง โดยไม่ได้ใช้เกณฑ์การรับรู้รายได้ตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สัญญาก่อสร้าง
20. เปิดเผยรายการรายได้ดอกเบี้ยรับและรายได้จากการปัดเศษภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมอยู่ในรายการเงินกู้ยืมระยะยาวอื่น

21. เปิดเผยข้อมูลรายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ไม่ตรงกับกระดาษทำการ
22. เปิดเผยรายการเงินให้กู้ยืมแก่ผู้เป็นหุ้นส่วน โดยคิดดอกเบี้ย แต่ไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาในการให้กู้ยืม
23. ไม่ได้เปิดเผยเกณฑ์การหยุดรับรู้รายได้ เนื่องจากผิดชำระค่างวด
24. เปิดเผยนโยบายบัญชีที่เกี่ยวกับการตีราคาสินค้าคงเหลือไม่เหมาะสมกับลักษณะสินค้าคงเหลือ
25. เปิดเผยนโยบายการคำนวณค่าเสื่อมราคาไม่สอดคล้องกับวิธีปฏิบัติในการคำนวณค่า เสื่อมราคาจริง เช่น งบการเงินคำนวณค่าเสื่อมราคาโดยวิธีเส้นตรง แต่เปิดเผยว่าคำนวณโดยวิธียอดลดลง
26. ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับรายการเงินกู้ยืมระยะยาว ซึ่งเป็นภาระผูกพันและข้อมูลทางการเงินเพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจได้

(6)

วิสัชนา มีตัวอย่างรายการในหมายเหตุประกอบงบการเงินไม่ถูกต้องต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้ 
     27. งบการเงินไม่ปรากฏรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ หรือค่าเช่าสำหรับรายการดังกล่าว ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนยินยอมให้ใช้เป็นสถานประกอบการโดยไม่คิดค่าตอบแทน แต่ไม่เปิดเผยข้อมูลให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจได้
     28. เปิดเผยข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง และไม่ครบถ้วน โดยไม่ระบุวันเดือนปีที่จดทะเบียนจัดตั้ง ลักษณะการประกอบธุรกิจ ที่ตั้งสถานประกอบการ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีสาระสำคัญ หรือระบุวันเดือนปีที่จดทะเบียนไม่ถูกต้อง
     29. หมายเหตุประกอบงบการเงินแสดงรายการบัญชีและมูลค่า ไม่สอดคล้องกับงบการเงิน
     30. เปิดเผยนโยบายการบัญชี ในส่วนของภาษีเงินได้ว่า กิจการบันทึกภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ค้างชำระตามประมวลรัษฎากร (ถ้ามี) ซึ่งไม่ได้กำหนดให้เปิดเผยไว้ในมาตรฐานการบัญชี
     31. เปิดเผยรายการลูกหนี้กรมสรรพากร โดยกิจการไม่ได้ขอคืนภาษีอากร ไม่ได้แสดงรายการเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
     32. งบการเงินไม่ปรากฏหมายเหตุประกอบงบการเงิน
     33. งบการเงินไม่ปรากฏรายการยานพาหนะ และมีการนำรถของกรรมการหรือหุ้นส่วนมาใช้ในกิจการ แต่ไม่ได้เปิดเผยข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าใจได้
     34. ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับรายการลูกหนี้เงินให้กู้ยืมแก่ผู้เป็นหุ้น ส่วน และรายการเจ้าหนี้เงินกู้ยืมหุ้นส่วน เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจได้
    35. เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือไม่ครบถ้วน เช่น ราคาตามบัญชีของสินค้าคงเหลือแต่ละประเภท
    36. กิจการมีรายการลูกหนี้การค้าต่างประเทศ แต่มิได้เปิดเผยนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับรายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ

ปุจฉา มีการตรวจพบรายการการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี เกี่ยวกับแผนการสอบบัญชีโดยรวม และการประเมินความเสี่ยงโดยไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดอย่างไร
วิสัชนา มีตัวอย่างรายการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับแผนการสอบบัญชีโดยรวม และการประเมินความเสี่ยงดังนี้  
     1. ไม่มีการจัดทำแผนการสอบบัญชีและหรือไม่มีการประเมินความเสี่ยงเป็นลายลักษณ์ อักษร ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่องกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจสอบและรับรอง บัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร
     2. ไม่ได้บันทึกรายละเอียดของการวางแผนการตรวจสอบในแต่ละหัวข้อว่ามีแผนการปฏิบัติงานอย่างไรบ้าง
     3.  แผนการสอบบัญชีมีรูปแบบไม่สมบูรณ์ เช่น ไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการตรวจสอบ และเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบ
     4. รายการเงินสด คิดเป็นร้อยละ 78.76 ของสินทรัพย์รวม ถือว่าเป็นรายการที่มีนัยสำคัญ และเป็นจุดอ่อนมีความเสี่ยงสูงมากที่งบดุลจะมีโอกาสแสดงรายการด้วยมูลค่าที่ สูงกว่าความเป็นจริง และมีความเป็นไปได้ที่เงินสดจะสูญหายหรือถูกยักยอกเนื่องจากเงินสดอยู่ใน ความดูแลของผู้เป็นหุ้นส่วนเพียงคนเดียว แต่ในแผนการสอบบัญชีโดยรวมไม่ได้กำหนดให้เป็นเรื่องสำคัญที่ควรตรวจสอบ เพื่อที่จะลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับต่ำที่พอจะยอมรับได้ และไม่ได้จดบันทึกการแจ้งจุดอ่อนไว้เป็นหลักฐาน
     5. แผนการสอบบัญชีโดยรวมที่จัดทำขึ้นกำหนดหัวข้อเกี่ยวกับธุรกิจไว้ แต่ไม่ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับธุรกิจที่รับงานตรวจสอบฯ ที่บ่งบอกถึงความรู้ ความสามารถ โดยเฉพาะหัวข้อสำคัญๆ เช่น การประเมินความเสี่ยงและเรื่องสำคัญที่ควรตรวจสอบ มิได้กำหนดสาระสำคัญของ   การประเมินความเสี่ยงของธุรกิจว่ามีความเสี่ยงสูงหรือต่ำ กรณีมีความเสี่ยงสูงควรเลือกใช้วิธีการตรวจสอบใดเพื่อขจัดความเสี่ยงให้ลดลง

(7)

ปุจฉา มีการตรวจพบรายการการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี เกี่ยวกับการจัดทำแนวทางการสอบบัญชี โดยไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดอย่างไร

วิสัชนา มีตัวอย่างรายการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีดังนี้ 

1. ไม่มีการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีเป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับรายการที่มีสาระสำคัญในงบดุล งบกำไรขาดทุน และภาษีอากร
2. แนวทางการสอบบัญชีมีการจัดทำขึ้นเป็นรูปแบบมาตรฐานของสำนักงาน ซึ่งไม่มีการปรับให้สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจของแต่ละนิติบุคคล

3. แนวทางการสอบบัญชีมีรูปแบบไม่สมบูรณ์ เช่น
  (1) ไม่ระบุวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ
  (2) ไม่กำหนดระยะเวลาที่ประมาณว่าจะใช้ในการตรวจสอบและเวลาที่ใช้ไปจริง
  (3) ไม่ระบุวันที่ตรวจสอบหรือสอบทานแล้วเสร็จในแต่ละเรื่อง ลายมือชื่อ ผู้ตรวจสอบและผู้สอบทานพร้อมวันที่
  (4) ไม่กำหนดขอบเขตการตรวจสอบ และระดับความมีสาระสำคัญ
  (5) ไม่กำหนดขนาดของตัวอย่าง วิธีการเลือกตัวอย่าง
  (6) ไม่ปรากฏเครื่องหมายใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่าได้เลือกใช้วิธีการตรวจสอบใด หรือไม่เลือกใช้วิธีการตรวจสอบใด
  (7) ไม่มีการมอบหมายงานให้ผู้ช่วยปฏิบัติงาน
  (8) ไม่ระบุปัญหาและความเสี่ยงในงานตรวจสอบ
  (9) ไม่กำหนดดัชนีอ้างอิงกระดาษทำการไปยังกระดาษทำการที่เกี่ยวข้อง

4. แนวทางการสอบบัญชีกำหนดวิธีการตรวจสอบไม่สอดคล้องกับการประกอบธุรกิจ และวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบของรายการบัญชี เช่น
  (1) รายการเงินสด ไม่ได้ตรวจนับเงินสด เพื่อให้แน่ใจว่าเงินสดดังกล่าวมีอยู่จริง
  (2) รายการสินค้าคงเหลือไม่ได้กำหนดวิธีการตรวจสอบเกี่ยวกับวิธีการคำนวณราคาทุน ของสินค้าว่าเป็นไปตามนโยบายการบัญชีที่กำหนดไว้หรือไม่
  (3) ประกอบกิจการให้บริการ แต่แนวการสอบบัญชีรายการรายได้ไม่ได้กำหนดวิธีการตรวจสอบสัญญาจ้างงาน
  (4) รายการรายได้และรายการซื้อ เน้นกำหนดวิธีการตรวจสอบทางด้านภาษีอากร โดยไม่ได้กำหนดวิธีการตรวจสอบทางด้านบัญชี เช่น การตรวจตัดยอดขาย/ยอดซื้อ เพื่อให้ได้ความมั่นใจว่า บัญชีขาย บัญชีซื้อ บันทึกถูกต้องครบถ้วนตรงตามงวดบัญชี และการตรวจสอบวงจรรายได้/รายจ่าย
  (5) รายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ไม่ได้กำหนดวิธีการตรวจสอบเอกสารสิทธิ เพื่อให้แน่ใจว่าทรัพย์สินที่มีเป็นของกิจการและมีการใช้งานจริง

  (6) ไม่กำหนดวิธีการตรวจสอบความครบถ้วนของรายได้
  (7) ไม่กำหนดวิธีการปันส่วนรายจ่ายในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเป็นต้น ทุนบริการ เช่น รายการเงินเดือน  เงินสมทบประกันสังคม รายการค่าน้ำ-ไฟฟ้า
  (8) แนวการสอบบัญชีลูกหนี้การค้า ไม่ได้กำหนดวิธีการตรวจสอบเกี่ยวกับการเกิดขึ้นจริงของรายการ (สัญญาซื้อ-ขาย) ไม่ได้กำหนดวิธีการตรวจสอบการแสดงมูลค่าลูกหนี้การค้าในแต่ละปี
  (9) แนวการสอบบัญชีรายได้ ไม่ได้กำหนดวิธีการตรวจสอบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของรายการลูกหนี้กับยอดขาย แหล่งที่มาของรายได้ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าซื้อ วิธีการรับรู้รายได้ที่ต้องยื่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และการยื่นรายรับตามแบบ ภ.พ. 30
  (10) แนวการสอบบัญชีรายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น กำหนดวิธีการตรวจสอบไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การตรวจสอบ
  (11) แนวการสอบบัญชีรายการค่าสิทธิ ไม่กำหนดวิธีการตรวจสอบเพื่อให้แสดงรายการได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานการ บัญชี โดยไม่แสดงค่าสิทธิตัดจ่าย

(8)

ปุจฉา มีการตรวจพบรายการการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี เกี่ยวกับการจัดทำแนวทางการสอบบัญชี โดยไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดอย่างไร

วิสัชนา มีตัวอย่างรายการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีดังนี้ 

1. แนวการสอบบัญชีภาษีอากร มุ่งเน้นการตรวจสอบภาษีเงินได้ ไม่ได้ตรวจสอบกับรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย
2. แนวการสอบบัญชีรายการเจ้าหนี้เช่าซื้อ ไม่ได้กำหนดวิธีการตรวจสอบกรณีเจ้าหนี้เช่าซื้อที่ครบกำหนดชำระภายใน 1 ปี และไม่ได้กำหนดวิธีการตรวจสอบดอกเบี้ยจ่าย
3. แนวการสอบบัญชีรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ไม่กำหนดวิธีการตรวจสอบการตรวจนับ การตรวจสอบเอกสารสิทธิ
4. แนวการสอบบัญชีรายการเจ้าหนี้การค้า ไม่กำหนดวิธีการยืนยันยอดเจ้าหนี้การค้า
5. แนวการสอบบัญชีรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจ่ายล่วงหน้า ไม่กำหนดวิธีการตรวจสอบกับรายการที่สัมพันธ์กัน (รายได้จากการขาย)

6. แนวการสอบบัญชีรายการเงินสด กำหนดเพียงการตรวจนับเงินสดย่อย ไม่ได้กำหนดวิธีการตรวจสอบอื่น
7. แนวการสอบบัญชีรายการเงินเบิกเกินธนาคาร ไม่กำหนดวิธีการทดสอบการคำนวณดอกเบี้ยจ่าย
8. แนวการสอบบัญชีรายการรายได้และค่าใช้จ่าย ไม่ได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบเกี่ยวกับการแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูล
9. แนวการสอบบัญชีรายการรายได้ค่าเช่า ไม่ได้กำหนดวิธีการตรวจสอบกับทะเบียนผู้เข้าพัก หรือสัญญาเช่า

ปุจฉา ผลการตรวจสอบพบแนวทางการสอบบัญชีที่ไม่ปรากฏวิธีการตรวจสอบเลือกใช้ในการ ตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ของผู้สอบบัญชีภาษีอากร อย่างไร

วิสัชนา มีตัวอย่างแนวทางการสอบบัญชีที่ไม่ปรากฏวิธีการตรวจสอบได้เลือกใช้ในการตรวจ สอบและรับรองบัญชี ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าว เช่น

1. การสุ่มตรวจสอบรายการรับ/จ่าย อย่างน้อย 20 รายการ
2. การขอข้อมูลธนาคาร
3. การตรวจเอกสารสิทธิ
4. การยืนยันการออกใบกำกับภาษีซื้อ
5. การสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ
6. การยืนยันยอดเจ้าหนี้/ลูกหนี้

ปุจฉา มีการจัดทำกระดาษทำการไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างไร

วิสัชนา มีตัวอย่างการตรวจสอบการจัดกระดาษทำการไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เช่น

1. แฟ้มกระดาษทำการที่ส่งมอบมีเพียงสำเนารายงานการสอบบัญชี สำเนางบทดลอง สำเนางบการเงิน และรายละเอียดเอกสารทางการบัญชี แม้มีเครื่องหมายตรวจสอบแต่ไม่ได้อธิบายวิธีการตรวจสอบตามเครื่องหมายนั้น ไม่มีการสรุปผลการตรวจสอบ ไม่มีกระดาษทำการตรวจทานการปฏิบัติงานของผู้ช่วยฯ
2. ไม่ปรากฏการจัดทำกระดาษทำการเป็นลายลักษณ์อักษร สำหรับรายการบัญชีที่มีสาระสำคัญในงบดุล งบกำไรขาดทุน และภาษีอากร
3. ไม่ปรากฏกระดาษทำการสนับสนุนการตรวจสอบตามดัชนีอ้างอิงการตรวจสอบ
4. กระดาษทำการมีรูปแบบไม่สมบูรณ์หรือมีแต่กรอกรายละเอียดไม่ครบ   
5. จำนวนและข้อมูลในกระดาษทำการไม่สอดคล้องกับแนวทางการสอบบัญชี

6. กระดาษทำการไม่ปรากฏหลักฐานการตรวจสอบตามวิธีการตรวจสอบที่กำหนด
7. จัดทำกระดาษทำการไม่สมบูรณ์สำหรับรายการบัญชีที่มีสาระสำคัญทางบัญชี 
8. ไม่ปรากฏกระดาษทำการการตรวจสอบการปรับปรุงกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิทางบัญชี เป็นกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีอากร หรือปรากฏการตรวจสอบการปรับปรุงกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิทางบัญชีเป็นกำไร สุทธิและขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีอากรแต่ไม่ถูกต้อง
9. ไม่ปรากฏกระดาษทำการแสดงการตรวจสอบการจัดทำบัญชีพิเศษและการหักภาษี ณ ที่จ่าย

(9)

ปุจฉา  มีตัวอย่างการตรวจสอบการจัดกระดาษทำการไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในแต่ละประเด็น อย่างไร
วิสัชนา มีตัวอย่างการตรวจสอบการจัดกระดาษทำการไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในแต่ละประเด็นดังนี้  

1. กรณีกระดาษทำการมีรูปแบบไม่สมบูรณ์หรือมีแต่กรอกรายละเอียดไม่ครบ เช่น 

  (1) ไม่ปรากฏเครื่องหมายการตรวจสอบว่าได้ทำการตรวจสอบกับเอกสารประกอบการลงบัญชีประเภทใด
  (2) ปรากฏเพียงกระดาษทำการหลัก (LEAD SCHEDULE) แสดงรายละเอียดของบัญชีตามงบทดลองเพื่อจัดงบการเงิน แต่ไม่ปรากฏกระดาษทำการประกอบการตรวจสอบที่แสดงถึงที่มาของรายการบัญชี เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เพียงพอต่อการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี

2. จำนวนและข้อมูลในกระดาษทำการไม่สอดคล้องกับแนวทางการสอบบัญชี เช่น

  (1) แนวทางการสอบบัญชีเงินสดกำหนดว่าจะตรวจนับเงินสดในมือ แต่กระดาษทำการปรากฏเพียงหนังสือรับรองจากผู้เป็นหุ้นส่วนว่ามีเงินสด ณ วันสิ้นงวด อยู่จริง
  (2) แนวทางการสอบบัญชีเงินฝากธนาคารกำหนดว่าจะขอคำยืนยันยอดเงินฝากจากธนาคาร แต่ในกระดาษทำการปรากฏเพียงการตรวจสอบกับบัญชีแยกประเภท และสมุดบัญชี คู่ฝาก
  (3) แนวทางการสอบบัญชีลูกหนี้การค้ากำหนดว่าจะวิเคราะห์อายุลูกหนี้การค้า การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับลูกหนี้การค้าที่ค้างชำระมานานเกิน 1 รอบบัญชี การขอคำยืนยันยอดแบบวิธีตอบกลับ แต่ในกระดาษทำการปรากฏเพียงการตรวจสอบยอดคงเหลือจากรายละเอียดลูกหนี้คง เหลือที่ห้างเป็นผู้จัดทำขึ้น และตรวจสอบกับบัญชีแยกประเภท ณ วันสิ้นงวด

3. กระดาษทำการไม่ปรากฏหลักฐานการตรวจสอบตามวิธีการตรวจสอบที่กำหนดไว้ตาม ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่องกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจสอบและรับรอง บัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร เช่น

  (1) ไม่ปรากฏหลักฐานการส่งยืนยันการออกใบกำกับภาษีซื้อ
  (2) ไม่ปรากฏหลักฐานการขอคำยืนยันยอดลูกหนี้/เจ้าหนี้
  (3) ไม่ปรากฏหลักฐานการตรวจสอบเอกสารสิทธิ
  (4) ไม่ปรากฏหลักฐานการสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ
(5) ไม่ปรากฏหลักฐานการขอคำยืนยันยอดจากสถาบันการเงิน   
(6) ไม่ปรากฏหลักฐานการตรวจสอบรายการรับ-จ่าย ขาย-ซื้อ อย่างน้อย 20 รายการ

4. จัดทำกระดาษทำการไม่สมบูรณ์สำหรับรายการบัญชีที่มีสาระสำคัญทางบัญชี เช่น

  (1) กระดาษทำการตรวจสอบรายการที่มีนัยสำคัญในงบการเงิน ปรากฏเพียงวิธีการตรวจสอบกับบัญชีแยกประเภททั่วไป และการทดสอบการบวกเลข แต่ไม่ปรากฏวิธีการตรวจสอบอื่นร่วมด้วย
  (2) กระดาษทำการไม่ปรากฏหลักฐานการสอบทานการจัดทำงบการเงินรวมถึงการเปิดเผย ข้อมูลต่างๆ ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน และการแจ้งให้ผู้มีอำนาจของกิจการทำการปรับปรุงรายการ
  (3) กระดาษทำการเน้นเฉพาะการตรวจสอบความถูกต้องจากการยื่นแบบแสดงรายการทางด้าน ภาษีอากร ซึ่งไม่ปรากฏวิธีการตรวจสอบความครบถ้วนของรายการตามข้อเท็จจริง
  (4) กระดาษทำการเงินสด ไม่ปรากฏใบตรวจนับเงินสดในมือ ไม่ปรากฏหลักฐานอื่นๆ ที่พิสูจน์ความมีอยู่จริง และสรุปผลการตรวจสอบ
  (5) กระดาษทำการเงินสด ปรากฏเพียงหนังสือรับรองความมีอยู่จริง ณ วันสิ้นงวดจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  (6) กระดาษทำการลูกหนี้การค้าปรากฏการตรวจสอบโดยวิธีการตรวจสอบการรับชำระเงิน ภายหลังวันสิ้นงวด ซึ่งไม่มีการกำหนดขนาดตัวอย่างและวิธีการเลือกตัวอย่างไว้ มีผลให้ลูกหนี้บางรายที่มีจำนวนเงินสูงไม่ได้รับการคัดเลือก ซึ่งลูกหนี้การค้าที่ผู้ตรวจสอบ เลือกเป็นตัวอย่างมียอดเงินที่แตกต่างกันไปโดยไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน
  (7) ไม่มีหลักฐานแสดงการตรวจสอบรายการที่เกิดขึ้นระหว่างงวดของรายการลูกหนี้การ ค้าและเจ้าหนี้การค้า แม้ว่างบการเงิน ณ วันสิ้นงวดจะไม่ปรากฏรายการดังกล่าว
  (8) กระดาษทำการเงินให้กู้ยืมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกัน ไม่ปรากฏหลักฐานการตรวจสอบรายการเคลื่อนไหวระหว่างปี ไม่ปรากฏหลักฐานการทดสอบการคำนวณดอกเบี้ย
  (9) กระดาษทำการสินค้าคงเหลือ แนบเพียงหนังสือยืนยันยอดสินค้าคงเหลือจากผู้เป็นหุ้นส่วน รายละเอียดสินค้าคงเหลือแผ่นสุดท้าย และการสรุปผลการตรวจสอบ

(10)

ที่มา..bangkokbiznews.com / อ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์

การบัญชีภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร

ในการประกอบธุรกิจต่างๆ นั้น โดยทั่วไปผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี ตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือ พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 เป็นปกติอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เพื่อประโยชน์ในการบริหารการจัดเก็บภาษีอากรของกรมสรรพากร โดยเฉพาะตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร และผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย บางกรณีต้องจัดทำบัญชีพิเศษเพิ่มเติม นอกเหนือจากบัญชีที่ต้องจัดทำตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี จึงขอนำมาเป็นประเด็น ปุจฉา – วิสัชนา ดังนี้

ปุจฉา การบัญชีเพื่อประโยชน์แห่งการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร หรือเรียกย่อๆ ว่า “การบัญชีภาษีอากร” หมายความว่าอย่างไร

วิสัชนา “การบัญชีภาษีอากร” หมายความว่า การจัดทำบัญชีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แห่งการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ซึ่งอาจจำแนกรายละเอียด “การบัญชีภาษีอากร” ได้ดังนี้

1. บัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน
2. บัญชีรายรับรายจ่าย
3. บัญชีรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆ
4. รายงานเงินสดรับ – จ่าย  
5. เอกสารหลักฐานและรายงานในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
6. รายงานภาษีธุรกิจเฉพาะ 
7. บัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่ายและการนำส่ง
8. บัญชีพิเศษสำหรับผู้ผลิตหรือผู้รับจ้างผลิตซีดี
9. บัญชีพิเศษสำหรับกิจการโรงสีขนาดเล็ก
10. บัญชีพิเศษสำหรับกิจการสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
11. บัญชีพิเศษสำหรับกิจการค้าของเก่าประเภทรถยนต์ 
12. ใบรับ ใบส่งของ
13. การแสดงรายการหรือแจ้งข้อความใดๆ ตามประมวลรัษฎากร
14. การคำนวณและการยื่นรายการเพื่อชำระหรือนำส่งภาษีอากร
15. การปิดแสตมป์บริบูรณ์
16. การขอคืนภาษีอากร
17. การปฏิบัติหน้าที่อื่นตามประมวลรัษฎากร อาทิ การขอมีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร การจดทะเบียน การออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

ปุจฉา บัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน มีวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์ในการจัดทำอย่างไร
วิสัชนา บัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำดังนี้ 

1. เพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ ต้องทำการปรับปรุงกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางบัญชีหรือทางการเงิน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร ตามมาตรา 65 มาตรา 65 ทวิ มาตรา 65 ตรี มาตรา 65 จัตวา มาตรา 70 ตรี และมาตรา 74 โดยทำการปรับปรุงจากจำนวนกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางการเงิน

2. เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ของบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยเจ้าพนักงานประเมิน  ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิจัดทำบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  1. รูปแบบของบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน สอดคล้องกับการจัดทำบัญชีดังกล่าวตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี
  2. บัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรอง (มาตรา 68 ทวิ)
  3. พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 50 ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องแนบบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน ที่มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามมาตรา 3 สัตต ตรวจสอบและรับรอง ด้วย (มาตรา 69)

(1)

ปุจฉา กำไรสุทธิทางบัญชีกับกำไรสุทธิทางภาษีอากร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

วิสัชนา กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางบัญชีหรือทางการเงิน เป็นจำนวนผลต่างของรายได้กับรายจ่ายที่กิจการได้กระทำในระหว่างรอบระยะเวลา บัญชี ซึ่งโดยทั่วไปมีกำหนดเวลา 12 เดือน เพื่อแสดงผลการดำเนินกิจการในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ในอันที่จะเปรียบเทียบในกิจการเดียวกันหรือในระหว่างผู้ประกอบกิจการทั้ง หลาย

กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากรเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายทั้งสิ้นในการประกอบกิจการเพื่อหารายได้ ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องรับรู้รายได้และรายจ่ายตามเกณฑ์สิทธิ เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะกำหนดเป็นอย่างอื่น

สำหรับเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในทางภาษีอากร ที่แตกต่างจากการคำนวณกำไรและขาดทุนสุทธิทางบัญชีหรือทางการเงินมีสามรายการ คือ

1. เงื่อนไขเกี่ยวกับรายได้ ประกอบด้วย

(1) มาตรา 65 ประเภทรายได้ และเกณฑ์รับรู้รายได้
(2) มาตรา 65 ทวิ (4) เงื่อนไขการรับรู้รายได้จากการขายทรัพย์สิน รวมทั้งสินค้า การให้บริการและการให้กู้ยืมเงิน ซึ่งโดยทั่วไปต้องเป็นไปตามราคาตลาด
(3) มาตรา 65 ทวิ (10) รายได้เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่บริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยได้รับ
(4) มาตรา 65 ทวิ (11) ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว
(5) มาตรา 65 ทวิ (12) เงินปันผลที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว
6) มาตรา 65 ทวิ (14) ภาษีขายซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้รับหรือพึงได้รับ
(7) มาตรา 65 จัตวา รายได้ที่เป็นค่าภาษีเงินได้ซึ่งโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลังได้เสียแทนให้ เนื่องจากการเป็นผู้ค้าส่งหรือผู้ค้าปลีกสินค้ายาสูบของโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง
(8) มาตรา 70 ตรี กรณีที่กฎหมายถือเป็นการขายสินค้าในราชอาณาจักร อันเนื่องมาจากการส่งสินค้าออกไปต่างประเทศให้แก่หรือตามคำสั่งของ สำนักงานใหญ่ สาขา ตัวการ ตัวแทน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน นายจ้าง ลูกจ้างในต่างประเทศ
(9) มาตรา 74 (2)(3) การนำสำรองกลับมาถือเป็นรายได้ กรณีเลิก ควบหรือโอนกิจการ

2. เงื่อนไขเกี่ยวกับรายจ่าย

(1) มาตรา 65 ทวิ (1) เท่ากันมาตรา 65 ตรี (1) ถึง (20) รายจ่ายต้องห้าม
(2) มาตรา 65 ทวิ (2) การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน
(3) มาตรา 65 ทวิ (7) ราคาทุนของสินค้าที่ส่งเข้ามาจากต่างประเทศ
(4) มาตรา 65 ทวิ (8) ราคาทุนของสินค้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
(5) มาตรา 65 ทวิ (9) การจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้

3. หลักเกณฑ์ในการตีราคาทรัพย์สินและหนี้สิน

(1) มาตรา 65 ทวิ (3) การตีราคาทรัพย์สินทั่วไปให้ใช้ตามราคาทุนเดิม
(2) มาตรา 65 ทวิ (5) การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
(3) มาตรา 65 ทวิ (6) การตีราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
(4) มาตรา 74 (1) การตีราคาทรัพย์สิน ณ วันเลิก ควบหรือโอนกิจการ

ดังนั้น เมื่อต้องการคำนวณเงินได้สุทธิหรือกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร ก็เพียงแต่นำกำไรสุทธิทางบัญชีมาทำการปรับปรุงด้วยเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน ประมวลรัษฎากร ก็จะได้กำไรหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร เพื่อนำไปยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ต่อไป

(2)

ที่มา..bangkokbiznews.com / อ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์