สวัสดิการพนักงาน | รับทำเงินเดือน สวัสดิการพนักงาน | รับทำเงินเดือน

รายจ่ายค่าสวัสดิการพนักงาน

ดังได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับรายจ่ายในการดำเนินกิจการตามมาตรา 65 ทวิ 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรว่า

ต้อง เป็นรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการประกอบกิจการ และเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะและมีเหตุผลอันสมควรในอัน ที่จะจ่ายรายจ่ายนั้น ที่สิ้นเปลืองหมดไป

ไม่ ก่อให้เกิดสิทธิหรือทรัพย์สินใดๆ อันมีอายุการใช้งานเกินหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งต้องมีหลักฐานการจ่ายที่สามารถพิสูจน์ผู้รับได้ เมื่อเกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีปีใด ก็ให้ถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปีนั้นเว้นแต่ในกรณีที่ไม่สามารถ กำหนดจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใดก็ให้ถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ รายจ่ายนั้นกำหนดจำนวนที่แน่นอนได้ และต้องเป็นรายจ่ายที่ไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามตามเงื่อนไขแห่ง ประมวลรัษฎากร

ในสัปดาห์นี้จึงขอนำประเด็นรายจ่ายค่าสวัสดิการพนักงานมาเป็นประเด็นปุจฉา-วิสัชนา ดังต่อไปนี้

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับรายจ่ายค่าสวัสดิการพนักงานที่จะนำมาถือเป็นรายจ่ายใน การดำเนินงานสำหรับการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร

วิสัชนา รายจ่ายค่าสวัสดิการพนักงาน หมายถึง รายจ่ายเพื่อประโยชน์ของพนักงานในอันที่จะให้เกิดผลดีแก่การดำเนินงานโดยรวม ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอาจแบ่งเป็น

1.รายจ่ายค่าสวัสดิการทั่วไป อาทิ กาแฟ เครื่องดื่ม น้ำดื่มยารักษาโรคเบื้องต้น

2.รายจ่ายค่าสวัสดิการที่มีระเบียบข้อบังคับกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น

บริษัท มีนโยบายคิดค่าสวัสดิการให้กับพนักงานทุกคนและทุกตำแหน่งไม่ว่าจะเป็น พนักงานทดลองงานพนักงานรายวันหรือพนักงานรายเดือนที่ยังคงสภาพเป็นพนักงาน ของบริษัท ณ วันที่ 31 สิงหาคม ของทุกปีเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงาน และเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องสวัสดิการต่างๆ

เช่น งานกีฬาสี การจัดงานเลี้ยงเทศกาลปีใหม่ ฯลฯ และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานโดยตรง ในอัตราคนละ 3,000 บาท โดยบริษัท จะนำเงินทั้งหมดเข้าบัญชี “คณะกรรมการสวัสดิการ” ซึ่งแยกออกจากบัญชีของบริษัท มีคณะกรรมการ ซึ่งได้รับการเลือกตั้งมาจากลูกจ้างในบริษัท ตามมาตรา 96

แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นผู้ดูแลบัญชีสวัสดิการพนักงานดังกล่าว และเป็นผู้ควบคุมเรื่องการเบิกจ่าย

มีการทำบัญชีเก็บไว้เป็นหลักฐาน

เช่น นี้เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นประโยชน์เพิ่มอันถือเป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 39 และเข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)

ซึ่ง พนักงานผู้ได้รับสวัสดิการดังกล่าวต้องนำประโยชน์ที่ได้รับมารวมคำนวณเพื่อ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่สวัสดิการจัดเลี้ยงในเทศกาลปีใหม่ถือเป็นเงินได้ ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียม ประเพณีได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา42(10) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทสามารถนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร (หนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0706/9276 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2548)

กรณี บริษัท จ่ายค่าศึกษาอบรม ค่าพาหนะเดินทาง และค่าที่พักให้แก่นาย พ.ในขณะที่นาย พ.มิได้เป็นกรรมการหรือพนักงานของบริษัท ถือเป็นการให้เนื่องจากผู้รับไม่มีหน้าที่หรือความผูกพันในทางธุรกิจของ บริษัท โดยตรงดังนั้นรายจ่ายดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วน ตัว

การ ให้โดยเสน่หา และมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายใน การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา65 ตรี (3) และมาตรา 65 ตรี(13) แห่งประมวลรัษฎากร(หนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0706/1924 ลงวันที่ 7 มีนาคม 2549)

กรณี บริษัท ได้จัดสวัสดิการให้แก่พนักงานเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลโดย ระเบียบของบริษัท กำหนดวงเงินกรณีเจ็บป่วยทั่วไปของพนักงานทุกระดับไว้ไม่เกินคนละ 40,000 บาทต่อปี แต่ปรากฏว่า ในบางกรณีค่ารักษามีจำนวนเกิน 40,000 บาท ซึ่งเกินกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบของบริษัท แม้จะมีเหตุผลว่าพนักงานผู้นั้น เป็นผู้ที่ทำงานให้กับบริษัท มาเป็นเวลานาน และเป็นผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญในการปฏิบัติงานของบริษัท เป็นอย่างมากก็ตามเงินค่ารักษาพยาบาลส่วนที่เกิน 40,000 บาท ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว และมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ

บริษัท จึงไม่มีสิทธินำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร

อย่าง ไรก็ตามค่ารักษาพยาบาลที่พนักงานได้รับจากบริษัท เข้าลักษณะเป็นเงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้หรือจ่าย แทนลูกจ้าง

ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(4)(ก) แห่งกฎกระทรวง

ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) (หนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0706/10504 ลงวันที่ 16 ธ.ค.2548)

กล่าว โดยสรุปรายจ่ายค่าสวัสดิการหากเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลที่กำหนดไว้เป็นการทั่วไปที่มิใช่เป็นการเลือกปฏิบัติย่อม ถือเป็นรายจ่ายในการดำเนินงานสำหรับการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากรแต่ต้องพิจารณาต่อไปว่า ค่าสวัสดิการที่พนักงานได้รับนั้นถือเป็นประโยชน์เพิ่มที่เป็นเงินได้พึง ประเมินที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือได้รับยก เว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร

ที่มา…กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

สวัสดิการ ประโยชน์เพิ่มที่นายจ้างให้และภาระภาษีสำหรับพนักงาน

ใน การทำงานของลูกจ้างให้กับนายจ้างด้วยการใช้แรงกายแลกกับสินจ้างเป็นการตอบ แทน ลูกจ้างอาจได้รับทั้งที่เป็นตัวเงิน ประโยชน์ สิทธิ หรือบริการใดๆ จากนายจ้าง ซึ่งตัวที่เสริมเข้ามานอกเหนือจากสินจ้าง ก็จะเรียกว่า “สวัสดิการ”  (welfare)  โดยเป็นการให้เปล่าแก่พนักงาน ถ้าพนักงานจำเป็นต้องเสียเงินค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้มา ก็จะถูกกว่าราคาในท้องตลาดทั่วไปในสินค้าหรือบริการชนิดนั้นๆ แต่แง่ของกฎหมายภาษีอากรแล้ว บรรดาประโยชน์เพิ่มหรือสวัสดิการที่พนักงานได้รับจากนายจ้าง อาจถือเป็นเงินได้พึงประเมินของพนักงานและต้องนำไปรวมเสียภาษีกับสินจ้างพวก เงินเดือน/ค่าจ้าง ตามความหมายของคำว่า “เงินได้พึงประเมิน” ตามประมวลกฎหมายรัษฎากรมาตรา 29 ที่ระบุเงินได้พึงประเมิน “ให้รวมถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน” โดยพิจารณาได้จากประเภทขอเงินได้พึงประเมินเนื่องจากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40 (1)  แห่งประมวลรัษฎากร

ประมวลรัษฎากรมาตรา 40 เงินได้พึงประเมินนั้นคือ เงินได้ประเภทต่อไปนี้ รวมถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ ประเภทต่างๆ ดังกล่าวไม่ว่าในทอดใด

(1)  เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่า เช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน

The Revenue Code Section 40. Assessable income shall be income of the following categories including any amount of tax and duty paid. At whatever stage. For the-payer by the payer of income or by any other person:

(1)  Income derived by virtue of hire of service, whether in the form of salary, wage , perdiem , bonus , bounty , gratuity , pension , house rent allowance , monethary value of rent-free vesidence provided  by an employer, payment made by an employeer for settlement  of any obligation duo from an employee , or and money, property or benefits derived by virture of hire or service.

จะเห็นได้ว่า เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามกฎหมายภาษีอากรดังกล่าว ไม่ว่าลูกจ้างจะได้รับเป็นตัวเงิน อาทิ เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด หรือบำเหน็จบำนาญ หรือได้รับประโยชน์เพิ่มในรูปสวัสดิการจากนายจ้าง เช่น เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่า เช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระและเงิน  ทรัพย์ หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ลูกจ้างได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงาน ลูกจ้างก็ต้องนำทั้งหมด ที่ได้รับมาเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีตามหลัก “เกณฑ์เงินสด” (Cash Basis) ในปีภาษี ( 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม)

ประเด็นพิจารณา

ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับแรงาน และกฎหมายแรงงานมักเข้าใจสับสนในคำว่า “สินจ้าง” กับ “ ไม่เป็นสินจ้าง” อันถือว่าเป็นสวัสดิการนั้นไม่ต้องเสียภาษี เพราะถือว่าสวัสดิการไม่เป็นสินจ้าง ความเข้าใจนี้ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แต่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายภาษี (รัษฎากร) เนื่องจากตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานตัวสินจ้างจะไปเป็นฐานในการคิดเงินค่าตอบ แทนแก่ลูกจ้างกรณีต่างๆ เช่น การทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด หรือค่าชดเชยตามกฎหมาย ซึ่งกรณีนี้เป็นปัญหาข้อพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเสมอ เพราะนายจ้างไม่อยากให้สวัสดิการเหล่านั้นเป็นสินจ้าง แต่ตัวลูกจ้างก็อยากให้เป็นส่วนหนึ่งของสินจ้าง แต่ในทางกลับกันเมื่อต้องเสียภาษีตามกฎหมาย ทางลูกจ้างก็ไม่อยากให้สวัสดิการที่ตนได้รับจากนายจ้างต้องนำมารวมกับ สินจ้างเพื่อคำนวณภาษี เพราะจะทำให้ต้องเสียภาษีมากขึ้น ประเด็นเรื่อง “สวัสดิการ” ของลูกจ้าง ก็ไม่ใช่ว่าทางสรรพากรโดยประมวลกฎหมายรัษฎากรจะนำมารวมเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทุกกรณีไป ก็ยังมีการบัญญัติกฎหมายยกเว้นให้บางกรณีที่เห็นว่าจำเป็นและเหมาะสมกับ ภาวการณ์ ทั้งนี้เพราะถ้ามีการยกเว้นให้มากๆ ก็สร้างความไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้างอีกจำนวนหนึ่งที่เขาไม่ได้รับสวัสดิการ เนื่องจากไม่มีกฎหมายใดมาบังคับให้นายจ้างต้องใส่สวัสดิการแก่ลูกจ้างนั่น เอง

ประเด็นที่ไม่ควรมองข้าม

บรรดาสินจ้างและสวัสดิการที่นาย จ้างได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างไปนั้น ย่อมถือเป็นรายจ่ายของกิจการของนายจ้าง ซึงถ้าเป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมายในเรื่อง “บัญชีภาษีอากร” (Tax Accounting) นายจ้างก็สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายเพื่อให้ตนเสียภาษีลดลงได้ ดังนั้นนักบัญชีทางด้านนี้ก็จะต้องทำระเบียบรองรับการจ่ายเงินค่าสวัสดิการ ลูกจ้าง โดยนึกถึงความมุ่งหมายที่ชัดเจนของคำว่า “เพื่อกิจการ ไม่เป็นการส่วนตัว และไม่เลือกปฏิบัติรวมทั้งผ่านมติที่ประชุมตามวาระของเรื่อง” ฉะนั้นเมื่อสินจ้างและสวัสดิการเป็นรายจ่ายของนายจ้าง ก็ย่อมเป็นเงินได้พึงประเมินของลูกจ้างนั่นเอง (ตามหลักเกณฑ์ทางการบัญชี)

ประเด็นสวัสดิการลูกจ้างตามประมวลรัษฎากร

แนวปฏิบัติของกรมสรรพากรเกี่ยว กับเรื่องนี้ก็คือ ถ้าจะมีการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับสวัสดิการตัวใดที่ลูกจ้างได้ รับ จะต้องมีบทบัญญัติของกฎหมายรองรับไว้ชัดเจน มิฉะนั้นแล้วตัวของลูกจ้างจะต้องนำไปรวมกับเงินเดือน/ค่าจ้างเพื่อการเสีย ภาษี ทั้งการถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดารประจำปี

ประโยชน์เพิ่มของพนักงาน

ประโยชน์เพิ่มของพนักงาน หมายความถึง ประโยชน์ ,ทรัพย์ ,สิทธิ หรือ บริการใดๆ ที่นายจ้างได้ให้แก่พนักงานอันเนื่องมาจากการทำงานในตำแหน่งหน้าที่ทั้งที่ เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินซึ่งการให้ประโยชน์ดังกล่าว อาจอยู่ในรูปของสวัสดิการหรือการให้เปล่า ในแง่ภาษีอากร ประโยชน์เพิ่มนี้อาจถือเป็นเงินได้พึงประเมินของพนักงาน และต้องนำไปเสียภาษีตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรที่ระบุว่าเงินได้พึงประเมิน “ให้รวมถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน”

อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ว่าประโยชน์เพิ่มที่พนักงานได้รับในรูปแบบต่างๆ จะต้องเสียภาษีเงินได้ทุกกรณีไป ประโยชน์เพิ่งบางอย่าง กฎหมายบัญญัติให้ได้รับยกเว้นโดยพนักงานไม่ต้องนำไปคำนวณเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาเช่นกันตารางต่อไปนี้คือตัวอย่างของประโยชน์เพิ่มที่นายจ้างให้ และภาระภาษีสำหรับพนักงาน

ตัวอย่าง ประโยชน์เพิ่มที่นายจ้างให้และภาระภาษีสำหรับพนักงาน

ลำดับ
รายการประโยชน์
เสียภาษี
ยกเว้นภาษี
หมายเหตุ
1
ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและที่พัก
/
ม.42(1)
2
ช่วยค่าน้ำมันรถพนักงานฯ
/
นำรถมาใช้ในกิจการนายจ้าง
3
จ่ายค่าพาหนะและค่าทางด่วนให้
/
ทำตามคำสั่งนายจ้าง
4
รถรับ/ ส่งพนักงาน
/
เพื่อกิจการนายจ้างโดยตรง
5
จัดฝึกอบรมพนักงาน
/
เพื่อกิจการของนายจ้างโดยตรง
6
จ่ายเบี้ยประกันภัยให้ลูกจ้าง
/
พนักงานเป็นผู้รับประโยชน์
7
ให้พนักงานกู้ยืมเงิน
/
ม.42 (10) อุปการะธรรมจรรยา
8
เครื่องแบบพนักงาน
/
2 ชุด / เสื้อนอก 1 ตัว
9
ค่ารักษาพยาบาลสำหรับลูกจ้าง
/
กฎกระทรวง ฉบับ 126ฯ
10
ช่วยเหลืองานสมรส/คลอดบุตรและงานศพของพนักงาน
/
ม.42 (10) ตามประเพณี
11
เบี้ยขยัน
/
ม.40(1)  เหมือนโบนัส
12
อยู่บ้านนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่า
/
คิดร้อยละ 20 ของเงินเดือน
13
ออกภาษีแทนลูกจ้าง
/
ม.40 (1) ประโยชน์เพิ่ม
14
ลูกจ้างรับประทานอาหารฟรี
/
ม.40 (1) ประโยชน์เพิ่ม
15
พนักงานซื้อหุ้น/แลกหุ้น
/
ม.40 (1) ประโยชน์เพิ่ม
16
สมาชิกกอล์ฟคลับ/สโมสรกีฬา หรือสโมสรเพื่อการพักผ่อน
/
คำสั่ง ป.56/2538
ไม่เฉพาะตัวบุคคล
17
ช่วยค่าเล่าเรียนบุตรพนักงาน
/
ม.40 (1) ประโยชน์เพิ่ม
18
ให้ทุนการศึกษาแก่พนักงาน
/
ม.42 (11) กลับมาทำงาน
19
เงินชดเชย
/
กฎกระทรวง ฉบับ 126 ฯ
20
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
/
เกษียณอายุ/ตาย/ทุพพลภาพกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ฯ