รับทำเงินเดือน | รับทำเงินเดือน - Part 2 รับทำเงินเดือน | รับทำเงินเดือน - Part 2

โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.90/91 ของสรรพากร

ในช่วงต้นเดือนที่ต้องมีการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.91) เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงานให้ฟัง เนื่องจากผมเองทำงานบริษัทในเครือ (มีบริษัทแม่) นโยบายส่วนใหญ่ก็มักจะเอามาจากบริษัทแม่ ผมเองทำงานอยู่แผนกบัญชี นอกจากเรื่องของการจัดทำบัญชี ปิดงบรายเดือนแล้ว แผนกบัญชีที่นี่ต้องทำบัญชีเงินเดือนให้พนักงานด้วย โดยมีพนักงานในบริษัทประมาณ 500 กว่าคน คิดดูนะครับว่า ถ้าต้องยื่นแบบ ภงด.91 ให้แล้วนี่ มันจะต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก และในช่วงสิ้นปีที่แผนกบัญชีเองก็มีงานทำค่อนข้างมาก ต้องปิดงบประจำปี เช็ค Stock สิ้นปี มีการตรวจงบประจำปีของผู้สอบบัญชีภายนอก (External Auditor)

ผมเองก็เลยปฏิเสธที่จะไม่ยื่น ภงด.91 ให้พนักงาน โดยถือว่าแบบ ภงด.91 เป็นหน้าที่ของผู้มีเงินได้ที่จะต้องเป็นผู้จัดทำและยื่นแบบเสียภาษีเอง แต่ก็ยังมีหน้าที่ต้องพิมพ์รายงานแสดงผลการคำนวณภาษีเงินได้ประจำปีของพนักงานออกมา โดยในครั้งแรกที่ทำแบบนี้ ทางแผนกบุคคลรับที่จะเป็นคนยื่นแบบ ภงด.91 ให้พนักงานรายวันเอง ส่วนพนักงานรายเดือนต้องไปยื่นแบบเสียภาษีกันเอง ทั้งนี้ผมยกเว้นให้ในส่วนของระดับบริหาร (ผู้จัดการ) โดยผมยังคงเป็นผู้จัดทำและยื่นแบบให้

ผลจากการที่ผมทำแบบนี้ ที่จริง..งานน่าจะลดลงนะครับแต่ที่ไหนได้ งานกลับมากขึ้นแล้วก็ดูวุ่นวายมาก ผมเองต้องรับโทรศัพท์และมีพนักงานมาขอพบเพื่อสอบถามการกรอกแบบบ่อยมากโดยเฉพาะช่วงใกล้ปิดรับแบบ ทำเอาไม่เป็นอันทำงานกันเลย อีกทั้งพนักรายเดือนยังบ่นให้ได้ยินอีกว่า ทำไมยื่นแบบให้แต่ฝ่ายบริหาร (ผู้จัดการ) ไม่ยุติธรรมเลย

สุดท้ายในปีต่อมาผมก็ต้องยกเลิก แต่ตกลงกับทางแผนกบุคคลว่า พนักงานรายวันทางบุคคลจะเป็นผู้กรอกแบบ ภงด.91 ให้เอง โดยผมจะเป็นผู้พิมพ์แบบแสดงการคำนวณภาษีเงินได้ส่งให้พร้อมกับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ส่วนพนักงานรายเดือนและผู้จัดการ ทางแผนกบัญชีจะเป็นคนจัดการให้เอง ซึ่งก็ Happy กันทุกคน งานเพิ่มขึ้นแต่ดูจะเป็นระเบียบมากกว่า

มาตอนหลังสรรพากรเปิดให้ยื่นแบบเสียภาษีทางอินเตอร์เน็ต ผมก็เลยยื่นแบบทางอินเตอร์เน็ตซึ่งก็สะดวกดีและได้ภาษีคืนไวมาก (2-3 วันก็ได้เช็คกันแล้ว)  นอกจากนี้สรรพากรยังเปิดให้ download โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ซึ่งผมก็มักจะนำมาทดสอบผลการคำนวณก่อน ก่อนนำไปยื่นต่อในอินเตอร์เน็ต ซึ่งก็ประหยัดเวลาตอนยื่นแบบทางอินเตอร์เน็ต เนื่องจากโปรแกรมทำงานในแบบ offline และสามารถ upload ไฟล์ที่ save ไว้จากโปรแกรมได้ด้วย

ผมเองมีโปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ดาวน์โหลดมาไว้ตั้งแต่ปี 2547-2551

  • pnd91_47vbsetup โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด. 91 ปี 2547
  • pnd91_48vbsetup โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.91 ปี 2548
  • pnd90_setup(2548) โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.90 ปี 2548
  • pnd91_49vbsetup โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.91 ปี 2549
  • pnd90_49vbsetup โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.90 ปี 2549
  • pnd91_50vbsetup โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.91 ปี 2550
  • pnd90_cal50setup โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.90 ปี 2550
  • pnd91_cal08setup โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.91 ปี 2551
  • pnd90_com51setup โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.90 ปี 2551
  • pnd91_cal52 โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.91 ปี 2552
  • pnd90_cal52 โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.90 ปี 2552
  • pnd91_cal53 โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.91 ปี 2553
  • pnd90_cal53 โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.90 ปี 2553
  • pnd91_cal54 โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.91 ปี 2554
  • pnd90_cal54 โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.90 ปี 2554
  • Pnd9091_SetUp_14012556 โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.90 และ ภงด.91 ปี 2555
  • PND9091Setup_V255700 โปรแกรมคำนวณภาษีเงินไ้ด้บุคคลธรรมดา ภงด.90 และ ภงด.91 ปีภาษี 2556 (New) สำหรับยื่นแบบระหว่าง 1 มค.-31 มีค.2557

ลิงค์หน้าคำนวณภาษี ภงด.91 ของธนาคาร ใช้ง่ายดีเหมือนกัน ลองดูนะครับ คลิ๊ก

สำหรับใครที่ยังไม่ได้ยื่นภาษีในปีใด ก็สามารถนำไปใช้เพื่อคำนวณภาษีย้อนหลังได้นะครับ เพราะค่าลดหย่อนในแต่ละปี ไม่เท่ากันจะได้ไม่ต้องไปเช็คอีกว่าปีไหนได้ค่าลดหย่อนเท่าไหร่

ซึ่งผมเองก็เอามาช่วยงานที่ผมรับทำให้ลูกค้า งานรับทำบัญชี รับทำเงินเดือน สำหรับลูกค้าบางรายที่ต้องการให้ช่วยคำนวณภาษีในปีก่อนๆ

ลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ตอน..เมื่อถึงเวลายื่นภาษีประจำปี (2 มี.ค. 50)

สวัสดีค่ะ.. ผู้ที่ติดตามอ่านสรรหามาเล่าทุกท่าน ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการยื่นแบบชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีแล้วนะ คะ  เชื่อว่าทุกท่านคงจะได้รับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายกันครบถ้วนแล้วใช่ไหมคะ และนั่นหมายความว่าเราพร้อมที่จะยื่นแบบชำระภาษีกันได้แล้วล่ะค่ะ สรรหามาเล่าฉบับนี้ขอนำสาระเกี่ยวกับภาระภาษีของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มาเล่าให้ฟังแบบทุกแง่ทุกมุมเลยค่ะ

สำหรับท่านที่ยังเป็นสมาชิกอยู่ในกองทุน  ท่านสามารถนำเงินที่จ่ายสะสมเข้ากองทุนในปีนั้นมาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษี  แต่หากสมาชิกมีการลงทุนใน  RMF ด้วย เงินที่ได้รับยกเว้นทั้งสองกองทุนรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทค่ะ

สำหรับท่านที่สิ้นสมาชิกภาพและได้รับเงินจากกองทุน ลองพิจารณาดูว่าท่านตรงกับกรณีใดใน 3 กรณีดังนี้

กรณีแรก ถ้าท่านลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงาน  ให้ท่านนำเงินที่ได้รับจากกองทุนเฉพาะส่วนที่เป็นเงินสมทบ ผลประโยชน์ของเงินสะสม และผลประโยชน์ของเงินสมทบไปรวมคำนวณกับเงินได้ทุกประเภทเพื่อชำระภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาประจำปี โดยเงินได้สุทธิจำนวน 150,000 บาทแรกได้รับยกเว้นภาษี

กรณีที่สอง ถ้าท่านลาออกจากงาน ให้ดูว่าท่านมีระยะเวลาทำงานกี่ปี หากท่านมีระยะเวลาทำงานน้อยกว่า 5 ปี ท่านมีหน้าที่เสียภาษีเช่นเดียวกับกรณีแรก  หรือถ้าท่านมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ท่าน สามารถเลือกเสียภาษีโดยนำเงินที่ได้รับจากกองทุนไปรวมคำนวณกับเงินได้ทุก ประเภทเพื่อชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีเช่นเดียวกับกรณีแรก หรือจะไม่นำไปรวมคำนวณกับเงินได้ประเภทอื่นก็ได้ ซึ่งหากท่านไม่นำไปรวมคำนวณ ให้นำเงินที่ได้รับจากกองทุนเฉพาะส่วนที่เป็นเงินสมทบ ผลประโยชน์ของเงินสะสม และผลประโยชน์ของเงินสมทบไปคำนวณภาษี โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้เท่ากับ 7,000 บาท คูณจำนวนปีที่ทำงาน เหลือเท่าใดหักได้อีกร้อยละ 50 แล้วคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่มีข้อสังเกตว่าการคำนวณภาษีในกรณีนี้จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ สุทธิจำนวน 150,000 บาทแรก และอย่าลืมกรอกใบแนบ ภงด. 91 หรือ 90 ตามแบบของกรมสรรพากรด้วย ท่านที่ไม่คุ้นเคยกับใบแนบ ลองเข้าไปดูได้ตาม ลิงค์ นี้ได้ค่ะ การกรอกใบแนบก็เพื่อให้สรรพากรทราบว่าท่านเลือกใช้สิทธิแยกคำนวณภาษีค่ะ

กรณีที่สาม ถ้า ท่านเกษียณอายุ  ให้ดูว่าท่านเป็นสมาชิกกองทุนกี่ปี หากเป็นสมาชิกกองทุนน้อยกว่า 5 ปี  เงินที่ท่านได้รับจากกองทุนไม่เข้าข่ายได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี จึงต้องเสียภาษีเช่นเดียวกับกรณีแรก หรือถ้าท่านเป็นสมาชิกกองทุนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ให้ดูเพิ่มเติมว่าท่านมีอายุขณะเกษียณตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไปหรือไม่ เพราะ เงินที่ได้รับจากกองทุนจะได้รับยกเว้นภาษีทั้งจำนวนหากท่านเป็นสมาชิกกองทุน ตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป และมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์

สำหรับท่านที่อยากทราบจำนวนภาษีที่ต้องชำระ  ลองเข้าโปรแกรมช่วยคำนวณภาษีที่อยู่บนเว็บไซต์ thaipvd.com ดูก็ได้ค่ะ คลิก

สำหรับท่านที่ลาออกจากงานโดยขอคงเงินไว้ในกองทุนเดิมเพื่อรอโอนย้ายไปเข้ากองทุนของนายจ้างรายใหม่ กรณีนี้ท่านไม่มีเงินได้เกิดขึ้น  จึงยังไม่มีหน้าที่ยื่นแบบชำระภาษีจากเงินจำนวนดังกล่าว อย่างไรก็ดี หากครบ 1 ปีแล้วยังไม่มาแจ้งว่าให้โอนเงินดังกล่าวไปเข้ากองทุนใหม่  ท่านต้องรับเงินออกจากกองทุนและมีหน้าที่ชำระภาษีจากเงินจำนวนดังกล่าว ส่วนวิธีคำนวณจะเป็นอย่างไร ต้องพิจารณาว่าท่านมีอายุงานกี่ปี โดยพิจารณาแบบเดียวกันกับกรณีที่สอง

ถึงตอนนี้ท่านคงพร้อมที่จะยื่นแบบชำระภาษีกันแล้วใช่ไหมคะ   สรรหามาเล่าจะเสนอสาระเรื่องภาษีของสมาชิกกองทุนที่เกษียณแล้วแต่ได้รับการว่าจ้างให้ทำงานต่อมาเล่าให้ฟังในฉบับต่อๆไป  ติดตามอ่านให้ได้นะคะ.. แล้วพบกันใหม่ สวัสดีค่ะ

ผมเองมีประสบการณ์ในเรื่องนี้ และก็เคยสอบถามถึงการเสียภาษีไปทาง TISCO (ที่ทำงานเก่าใช้ของที่นี่) ซึ่งก็เป็นไปตามบทความ เนื่องจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินที่หักจากการทำงานบริษัท ถ้าท่านลาออกจากงาน ก็ต้องลาออกจากกองทุนโดยปริยาย แต่ทั้งนี้ท่านสามารถโอนย้ายกองทุนได้ภายใน 1 ปี

Kiatchai Accounting & Payroll รับทำเงินเดือน รับทำบัญชี ในราคาไม่แพง

หมายเหตุ ในส่วนที่เป็นสีแดงคือส่วนที่ผมแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายที่ปรับปรุงในปี 2551

ที่มาบทความ..http://www.thaipvd.com/thaipvd_v3/sunha/article05-50.shtml

ตัวอย่างการการคำนวณภาษี

กรณีที่หนึ่ง ลาออกจากงานและมีอายุงานน้อยกว่า 5 ปี
กรณีนี้จะไม่ได้รับการยกเว้น ต้องเสียภาษีเงินได้ตามปกติ โดยนำ ส่วนของเงินสมทบของนายจ้าง + ผลประโยชน์ของ เงินสะสม + ผลประโยชน์ของเงินสมทบ มารวมเป็นเงินได้ เพื่อเสียภาษี
ตัวอย่างเช่น : สมมติว่ามีสมาชิกลาออกจากกองทุน หลังจากทำงานมาแค่ 4 ปี และได้รับเงินจากกองทุน 150,000 บาท โดยเป็นเงินสะสม 40,000 บาท ดังนั้น เงินได้ที่ต้องนำคำนวณเพื่อเสียภาษี จะเท่ากับ 150,000 – 40,000 = 110,000 บาท

กรณีที่สอง ลาออกจากงานแต่มีอายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
เสียภาษีเงินได้โดยนำส่วนเงินสมทบของนายจ้าง+ผลประโยชน์ จากเงินสะสม + ผลประโยชน์จากเงินสมทบ มาคำนวณเพื่อ เสียภาษี โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ปีละ 7,000 บาท เหลือเท่าใดให้หักค่าใช้จ่ายได้อีกครึ่งหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น : สมมติว่ามีสมาชิกลาออกจากกองทุน หลังจาก ที่ทำงานมาแล้ว 6 ปี และได้รับเงินจากกองทุน 250,000 บาท โดยเป็นส่วนของเงินสะสม 50,000 บาท ดังนั้น
เงินได้ที่นำมาคำนวณภาษีได้                                                        200,000
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนแรก (7,000 * 6 ปี)                                            (42,000)
คงเหลือ 158,000 หัก ค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2 (158,000/2)               (79,000)
คงเหลือเป็นเงินได้สุทธิที่ต้องเสียภาษี                                            79,000

การเลือกโปรแกรมเงินเดือน (Payroll Program)

ผมเองมีประสบการณ์ในการทำเงินเดือนมานาน จำได้ว่าเริ่มทำเงินเดือนให้พนักงานรายวัน เนื่องจากพี่ที่ทำค่าแรงซึ่งเป็นผู้หญิง ท้องและลาคลอด ผมก็เลยต้องไปทำงานแทนให้เค้า ที่จริงงานประจำเดิมที่ผมทำอยู่ตอนนั้นคือ ทำบัญชี ตัดสต๊อคการ์ดวัตถุดิบ (Stock Card) แบบ Manual

สำหรับการทำค่าแรงต้องทำจ่ายให้พนักงานทุกสัปดาห์ และผมเองก็มีหน้าที่ต้องไปเบิกเงินสดที่ธนาคาร และนำมาใส่ซอง และส่งต่อให้บุคคลนำไปจ่ายต่ออีกทีหนึ่ง

โปรแกรมทำเงินเดือนครั้งแรกสำหรับผมก็คือ Lotus ไม่รู้ว่ายังมีใครจำโปรแรมนี้ได้อยู่หรือเปล่า สมัยนั้นยังไม่มี excel โปรแกรมตัวนี้เป็นที่นิยมใช้กันมาก ผมใช้โปรแกรมนี้ได้ในระดับ Advance คือสามารถใช้ Macro ได้คล่อง ผมสามารถนำ Lotus มาทำโปรแกรมเงินเดือน คิดภาษีและพิมพ์ Slip ได้ ยังมีโปรแกรมสต๊อคสินค้าด้วย เอารายงานการรับในแต่ละวัน ใบเบิกมาคีย์ตามบรรทัดนี่ล่ะ แล้วสั่งให้มัน Sort จากนั้นก็ให้ Group ตามรหัสสินค้าเพื่อสรุปยอดแล้วก็ Link ไปยังไฟล์รายงานสรุป เพื่อใส่ตัวเลขสรุปรับเข้า-จ่ายออก และหายอดคงเหลือให้ ที่จริงยังมีโปรแกรมบัญชีด้วยนะครับ ซึ่งก็ใช้หลักการเดียวกัน

มาต่อด้วยเรื่องโปรแกรมทำเงินเดือน ส่วนใหญ่แล้วผมก็ยังใช้ Excel ในการจัดทำเงินเดือนอยู่ จนกระทั้งหลังๆ เริ่มมีโปรแกรมคิดเงินเดือนออกมาทำตลาดหลายตัว โปรแกรมคิดเงินเดือนที่ผมเคยใช้ต่อมาก็คือ Genius ซึ่งทำงานบน Dos และใช้โปรแกรมนี้ทำค่าแรงเงินเดือนให้พนักงานมากกว่า 300 คน ทั้งรายวันและรายเดือน (ส่วนบริษัทแม่ใช้โปรแกรมตัวนี้ในการจัดทำค่าจ้างให้พนักงานมากกว่า 1,000 คน) การจัดทำค่าแรงยังเป็นแบบ Manual อยู่ คือบุคคลจะสรุปวันทำงาน ชั่วโมงการทำงาน จากบัตรตอก และส่งมาให้แผนกบัญชีคีย์ข้อมูลในโปรแกรมทำเงินเดือน  ซึ่งทางบัญชีจะต้องเอาประวัติและข้อมูลอื่นที่จำเป็นมาคีย์ หลังๆ พนักงานเริ่มมีมากขึ้น ผมเองก็เริ่มขี้เกียจคีย์ แล้วก็เบื่อที่ต้องมาตรวจ เพราะข้อมูลเยอะมาก เริ่มจะทำไม่ไหว (เนื่องจากงานมากขึ้น ลูกน้องก็มีอยู่จำกัด) ก็เลยทำ Budget ขอซื้อโปรแกรมใหม่รวมถึงเครื่องรูดบัตร

หลังจากนั้นทาง IT ก็ไปเสาะหาโปรแกรมและบริษัทจำหน่ายมา ซึ่งทาง IT หามาให้หลายบริษัทมาก และได้นัดให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามาฟัง DEMO เพื่อซักถามข้อสงสัย จะได้หาข้อสรุปในการเลือกโปรแกรม ผมเองเข้าไปฟังได้ 3-4 บริษัท ที่ประชุมก็มีข้อสรุปในการเลือกโปรแกรมแล้ว ที่จริงยังมีอีกหลายบริษัทที่ยังไม่ได้เข้ามา DEMO แต่เนื่องจากการเข้าฟัง DEMO ค่อนข้างเสียเวลามาก เพราะต้องเข้าฟังกันหลายคน หลายบริษัท แต่ละบริษัทก็ไม่ได้อยู่ที่เดียวกัน ต้องเดินทางมา ก็เลยต้องสรุปจากการฟัง DEMO 3-4 บริษัทที่มา ข้อสรุปที่ได้คือ เลือกโปรแกรมคิดเงินเดือนของ Tigersoft ซึ่งก็ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน (บริษัทในเครือใช้กันหลายบริษัท)

ข้อดีของโปรแกรมก็คือ ทำให้งานของแผนกบัญชีสบายขึ้นเยอะคือไม่ต้องคีย์ประวัติแล้ว คีย์เฉพาะช่องเงินเดือนและเลขที่บัญชีธนาคาร ที่เหลือทางบุคคลจัดการคีย์มาให้หมด เมื่อถึงวันตัดค่าจ้าง-โอที ทางบุคคลจะประมวลผลแล้วส่งข้อมูลมาให้ ทางบัญชีก็มีหน้าที่ไปดึงข้อมูลมา ไม่ต้องมานั่งคีย์เองให้เสียเวลาแล้ว ที่เหลืออาจจะต้องมาคีย์ เงินเพิ่มเงินหัก เพิ่มเติม เช่น เงินกู้ หักค่าเครื่องมือ รายได้ค้างจ่าย(ตกหล่น) ก็เป็นอันเสร็จ

ปัจจุบันได้ลาออกมาเปิด สำนักงานบัญชี รับทำบัญชีและรับทำเงินเดือนด้วย (Payroll Outsorce Service) แต่เนื่องจากโปรแกรมนี้ใช้งานมานานแล้ว(ตอนทำงานบริษัท) ก็เลยอยากลองหาดูว่ามีโปรแกรมใหม่ๆ ทีดีกว่านี้อีกหรือไม่ เพราะโปรแกรมนี้ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ในบางเรื่อง สำหรับข้อพิจารณาในการเลือกโปรแกรมทำเงินเดือนใหม่ ที่ผมตั้งไว้ก็คือ

1.กรณีที่พนักงานเข้าใหม่หรือลาออกกระหว่างงวด โปรแกรมจะต้องสามารถคำนวณหาจำนวนวันที่ได้รับในเดือนนั้นได้ และหาจำนวนวันของเดือนที่มีการรับพนักงานใหม่หรือลาออกได้ เช่น ถ้าเดือนนั้นมี 28,30,31 การคำนวณจะต้องสามารถใช้ฐานวันของเดือนที่รับพนักงานเข้าใหม่หรือที่ลาออกได้

ตัวอย่างเช่น ถ้ารับพนักงานเข้าทำงานในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งมีวันทำงาน 28 วัน ผมเองต้องมาถั่วเฉลี่ยค่าจ้างเอง โดยใช้ฐาน 28 เฉพาะการจ่ายค่าจ้างงวดแรก หรืองวดที่พนักงานลาออก

2.กรณีพนักงานมีการปรับเงินเดือนระหว่างงวด โปรแกรมจะต้องสามารถคำนวณหาค่าจ้างใหม่และค่าจ้างเก่าได้ (รวมถึงเงินโอทีด้วย) หรือบางทีการปรับค่าแรงในช่วงสิ้นปี ไม่ตรงกับงวดการตัดค่าจ้าง โปรแกรมจะต้องสามารถคำนวณหาค่าจ้างเก่าและค่าจ้างใหม่ได้เช่นกัน

ตัวอย่างเช่น การปรับค่าจ้างใหม่ ณ วันที่ 1 มกราคม งวดการตัดค่าจ้าง เริ่มวันที่ 21 ธันวาคม ถึง 20 มกราคม โปรแกรมจะต้องสามารถคำนวณหาค่าจ้างเก่า 11 วัน (21-31 ธันวาคม) และค่าจ้างใหม่ 20 วัน (1-20 มกราคม) ได้

3.การตัดงวดค่าจ้าง เช่น รายวันจ่ายเดือนละ 2 ครั้ง รายเดือนมีทั้งแบบจ่ายเดือนละ 1 ครั้ง กับแบบจ่ายเดือนละ 2 ครั้ง ต้องสามารถกำหนดได้

4.ต้องสามารถดึงข้อมูลสรุปวันทำงาน ชั่วโมงโอที จากโปรแกรมอื่นได้ จะเป็น Format แบบไหนก็ได้ ถ้าเป็น xls ได้ก็ยิ่งดี แต่จะเป็น csv, txt ก็ได้ และถ้าสามารถดึงประวัติพนักงานมาด้วยได้ก็จะยิ่งดีมาก

ที่ผมไป Seach หาและไปฟัง DEMO มา ตัว HR-Pro ก็น่าสนใจเพียงแต่ไม่สามารถรับข้อมูลสรุปจากโปรแกรมอื่นได้ เนื่องจากโปรแกรมคำนวณค่าจ้างทุกวันที่มีการส่งประมวลผล ถ้ามีการปรับค่าจ้างมันก็จะคำนวณค่าจ้างใหม่ โอทีใหม่ได้ทันที เพียงแต่ว่างานของผม ต้องรับข้อมูลแบบสรุปมาทำ ทำให้ไม่สะดวกที่จะนำมาใช้งาน

โปรแกรม Payroll ของ BusinessPlus น่าจะใกล้เคียงกับความต้องการของผมมากที่สุด แต่โปรแกรมนี้การคีย์ข้อมูลค่อนข้างคีย์ยากกว่าโปรแกรม TigerSort เรื่องรายงานก็เหมือนกัน ทาง TigerSort จัดทำรายงานได้ดีกว่า พิมพ์รายงานใช้กระดาษน้อยกว่า พิมพ์รายงานแบบเดียวได้ข้อมูลครบ

จากการใช้งานมาได้ระยะหนึ่งก็พบว่า โปรแกรม BusinessPlus ไม่สามารถคำนวณภาษีในแบบสะสมยอดได้ ซึ่งค่อนข้างจะมีปัญหามากในตอนสิ้นปีถ้าไม่ได้ใช้โปรแกรมนี้มาตั้งแต่ต้นปี เนื่องจากโปรแกรมจะไม่นำรายได้และภาษีก่อนหน้าการใช้โปรแกรมมารวมคำนวณ แต่จะนำมารวมคำนวณให้ในตอนสิ้นปีเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ยอดภาษีตอนสิ้นปีอาจจะสูงหรือต่ำไปมากก็ได้ ถ้าการคำนวณภาษีก่อนหน้านี้คิดไว้ไม่ถูกต้อง วิธีการคำนวณภาษีของโปรแกรมจะใช้วิธีการคำนวณภาษีแบบคงที่ (ไม่นำรายได้และภาษีก่อนหน้ามาคำนวณใหม่ แต่จะคำนวณตามฐานเงินเดือนปัจจุบันเท่านั้น หรือในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าลดหย่อนโปรแกรมก็ไม่สามารถปรับยอดภาษีใหม่สำหรับเดือนที่เหลือได้)

ถ้าใครมีคำแนะนำดีๆ ในเรื่องของโปรแกรม Payroll ช่วยแจ้งด้วยนะครับ เพื่อเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ ที่ต้องการหาข้อมูล

ยังอาจมีโปรแกรมอื่นๆ ที่ดีกว่านี้ ไว้ถ้ามีข้อมูลใหม่หรือได้ไปดู DEMO มาก็จะมาเล่าให้ฟัง อ้อ ที่เลือก Payroll ของ BusinessPlus นอกจากคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการแล้ว ก็มาจากราคาที่ไม่แพงด้วยนะครับ โดยเฉพาะสำนักงานบัญชี