ธันวาคม, 2012 | รับทำเงินเดือน ธันวาคม, 2012 | รับทำเงินเดือน

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดที่มีคนต่างด้าวร่วมลงทุนหรือมีคนต่างด้าวเป็นกรรมการ

จากเดิมบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดที่มีคนต่างด้าวถือหุ้นตั้งแต่ 40% ขึ้นไป กำหนดให้ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทที่เป็นคนไทยทุกคน ต้องส่งหลักฐานแสดงที่มาของเงินลงทุนประกอบคำขอจดทะเบียน เช่น สำเนาสมุดเงินฝากธนาคารหรือสำเนาใบแจ้งยอดบัญชีธนาคาร 6 เดือน หรือเอกสารที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะการเงินของผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น หรือสำเนาหลักฐานที่แสดงแหล่งที่มาของเงินลงทุนหรือถือหุ้น หลักฐานดังกล่าว จะต้องแสดงจำนวนเงินที่สอดคล้องกับจำนวนเงินที่ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นนำมาลงหุ้นหรือถือหุ้นแต่ละราย แต่ถ้าคนต่างด้าวถือหุ้นไม่ถึง 40% ก็ไม่ต้องแสดงที่มาของเงินลงทุน แต่ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2556 เป็นต้นไป ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัดที่มีคนต่างด้าวถือหุ้น หุ้นส่วนหรือผู้ร่วมก่อตั้งคนไทยทุกคนต้องส่งหลักฐานแสดงที่มาของเงินลงทุน (Bank Statemenet)

—————————————————————-

ประกาศสำนักทะเบียนธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์

ด้วยปรากฏว่ามีชาวต่างชาติประกอบธุรกิจบางประเภทโดยมิได้รับอนุญาต โดยจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจํากัดโดยให้คนไทยลงทุนหรือถือหุ้นแทนคนต่างด้าว (นอมินี) ดังนั้นเพื่อให้การจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจํากัดที่มีคนต่างด้าวร่วมลงทุน หรือคนต่างด้าวเป็นกรรมการผู้มีอํานาจลงนามหรือร่วมผูกพันบริษัท เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น สํานักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง จึงได้ออกคําสั่งที่ 205/2555 ให้ผู้ขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าว ส่งเอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให้ เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะการเงินของผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยทุกคนประกอบคําขอจดทะเบียนโดยเอกสารดังกล่าว ต้องแสดงจํานวนเงินที่สอดคล้องกับจํานวนเงินที่นํามาลงหุ้นหรือถือหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นแต่ละราย ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้

(1) กรณีห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจํากัดมีผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นที่เป็นคนต่างด้าวลงหุ้นหรือถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจํากัดไม่ถึงร้อยละ 50 ของเงินลงหุ้นหรือทุนจดทะเบียน

(2) กรณีบริษัทจํากัดไม่มีคนต่างด้าวเป็นผู้ถือหุ้น แต่คนต่างด้าวเป็นกรรมการผู้มีอํานาจลงนาม หรือร่วมลงนามผูกพันบริษัท

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2556 เป็นต้นไป

………………………………………………………..

ฝ่ายบริหารทั่วไป สํานักทะเบียนธุรกิจ

อนุมัติปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2556

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติมาตรการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อส่งเสริมความเป็นธรรม และให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

โดยสาระสำคัญของมาตรการดังกล่าวเพื่อเป็นการปรับปรุงบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากเดิม 5 ขั้น เป็น 7 ขั้นอัตรา และลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากอัตราสูงสุดที่ร้อยละ 37 เหลือร้อยละ 35

สำหรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาฉบับใหม่ แบ่งเป็น
– ผู้มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 0- 300,000 บาท กำหนดอัตราภาษีไว้ที่ร้อยละ 5  โดยในส่วนนี้กระทรวงการคลังจะกำหนดให้มีการยกเว้นภาษีดังกล่าวสำหรับผู้มีเงินได้สุทธิ 0-150,000 บาทแรก โดยการตราพระราชกฤษฎีกายกเว้นภาษีไว้เหมือนเช่นเดิมในลำดับต่อไป
– ผู้มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 300,001-500,000 บาท กำหนดอัตราภาษีไว้ที่ร้อยละ 10
– ผู้ที่มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 500,001-750,000 บาท กำหนดอัตราภาษีที่ร้อยละ 15 จากเดิมที่ร้อยละ 20
– ผู้มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 750,001-1,000,000 บาท กำหนดอัตราภาษีที่ร้อยละ 20
– ผู้มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 1,000,001-2,000,000 บาท กำหนดอัตราภาษีที่ร้อยละ 25 จากเดิมที่ร้อยละ 30
– ผู้มีเงินได้สุทธิที่ 2,000,001-4,000,000 บาท กำหนดอัตราภาษีที่ร้อยละ 30
– ผู้มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 4,000,001 บาท ขึ้นไป กำหนดอัตราภาษีไว้ที่ร้อยละ 35 จากเดิมที่ร้อยละ 37

ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินในปีภาษี 2556 ที่จะต้องยื่นรายการในปี 2557 เป็นต้นไป สำหรับมาตรการฯ นี้คาดว่าจะกระทบรายได้รัฐในปีงบประมาณ 56 ราว 25,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคในการใช้สิทธิยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยมาตรการดังกล่าวเป็นการแก้ไขหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยา ดังนี้

ให้สิทธิผู้เสียภาษีเลือกยื่นรายการและเสียภาษี โดยจะยื่นรายการและเสียภาษีรวมกันหรือแยกต่างหากจากคู่สมรสก็ได้ ซึ่งต่างจากเดิมที่กำหนดให้ถือเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามีและให้สามีเป็นผู้ยื่นรายการและเสียภาษี โดยภริยาจะสามารถแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีได้เฉพาะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) อันได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้าง เท่านั้น

ส่วนค่าลดหย่อนการเลี้ยงดูบุตรนั้น คู่สมรสสามารถนำมาหักค่าลดหย่อนได้เต็มจำนวนทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งกรณีที่คู่สมรสอยู่ร่วมกัน หรือหย่าร้างกัน

อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังได้วิเคราะห์ผลกระทบของมาตรการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อรายได้ภาษีอากรในปีงบประมาณ 2556 ประมาณ 7,000 ล้านบาท

ดังนั้นรัฐบาลจะสูญเสียรายได้จากปรับโครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดาใหม่นี้ รวมเป็นจำนวนเงิน 3.2 หมื่นล้านบาท

ข้อมูลจาก สำนักข่าวไทย / suthichaiyoon.com

แนวปฏิบัติการแยกยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภริยา

การยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีภริยาในปีภาษี 2555 จากเดิมเงินได้ของภรรยาให้ถือเป็นเงินได้ของสามี แต่ในปีภาษี 2555 เป็นต้นไป เงินได้ทุกประเภท (ทุกมาตรา) ของภรรยาไม่ถือเป็นเงินได้ของสามีอีกแล้ว จึงทำให้ภริยามีสิทธิแยกยื่นเสียภาษีในนามของตนเอง โดยไม่ต้องนำเงินได้ไปรวมกับสามีอีกแล้ว ยกเว้นว่าเป็นเงินได้ที่เกิดจากการประกอบกิจการร่วมกันให้ยื่นเสียภาษีในนามคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลแทน

คำชี้แจงกรมสรรพากร
เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยา

โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 17/2555 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 ว่าการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยาตามมาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร เป็นการจำกัดสิทธิสามีและภริยาในการยื่นรายการและเสียภาษี ถือว่า ไม่ส่งเสริมความเสมอภาคของชายและหญิง กรณีจึงขัดหรือแย้งต่อมาตรา ๓๐ ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ บทบัญญัติตามมาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ แห่ง ประมวลรัษฎากร จึงเป็นอันใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๖ ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลให้มีผลในวันอ่าน คือ ตั้งแต่วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ตามข้อ ๕๕ ของข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๕๐ ดังนั้น กรมสรรพากรจึงไดกำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากสามีและภริยาเพื่อให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 การเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยา สำหรับปีภาษี 2555 เป็นต้นไปนั้น มิให้ถือว่าเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี

กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ในนามตนเอง ส่วนกรณีเงินได้พึงประเมินที่เกิดจากการทำกิจการร่วมกัน หรือที่มิได้พิสูจน์ว่าเป็นเงินได้ของฝ่ายใด ให้ยื่นรายการและเสียภาษีในนามคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

ข้อ 2 การยื่นรายการของสามีหรือภริยา ให้หักลดหย่อนได้ ดังต่อไปนี้

(1) สำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร

ตัวอย่างที่ ๑ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีหักลดหย่อนสำหรับ ผู้มีเงินได้ 30,000 บาท

ัวอย่างที่ ๒ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาท

(2) สำหรับสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 30,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร 30,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๓ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีหักลดหย่อนภริยาได้

ัวอย่างที่ ๔ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีและภริยาต่างฝ่ายต่าง หักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาทแล้ว จึงไม่มีสิทธิหักลดหย่อนสามีหรือภริยา

(3) สำหรับบุตรและการศึกษาบุตรตามมาตรา 47 (1) (ค) (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร

(ก) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตร 2,000 บาท

ัวอย่างที่ ๕ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ มีบุตรด้วยกัน 1 คน สามีหักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตรอีก 2,000 บาท

(ข) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ ตลอดปีภาษีให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตร 2,000 บาท แต่ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักได้กึ่งหนึ่ง

ตัย่างที่ ๖ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย มีบุตรด้วยกัน 1 คน

ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีและภริยาหักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และ การศึกษาบุตรอีก 2,000 บาท (ฝ่ายละ 17,000 บาท) แต่ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอด ปีภาษี สามีและภริยาหักได้ฝ่ายละ 8,500 บาท

(4) สำหรับเบี้ยประกันชีวิต ตามมาตรา 47 (1) (ง) แห่งประมวลรัษฎากร

(ก) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ในกรณีที่ความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ผู้มีเงินไดมีสิทธิหักเบี้ยประกันชีวิตของสามีหรือภริยาได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท

ัวอย่างที่ สามีมีเงินไดแ้ต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท สามีหักลดหย่อน 10,000 บาท

ัวอย่างที่ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท ภริยาจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท และส่วนของภริยา 10,000 บาท (รวม 20,000 บาท) แต่ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีหักลดหย่อนได้เฉพาะส่วนของตน 10,000 บาท

(ข) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตส่วนของตนตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท

ย่างที่ ๙ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท ภริยาจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท ภริยาหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท

(5) สำหรับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามมาตรา 47 (1) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร

ย่างที่ ๑๐ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 10,000 บาท สามีหักได้ 10,000 บาท

ัวอย่างที่ ๑๑ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 10,000 บาท ภริยาจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท ภริยาหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท

(6) สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47 (1) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร

(ก) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้สามีหรือภริยาฝ่ายที่มีเงินได้หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เฉพาะส่วนของตน

ย่างที่ ๑๒ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีกู้ยืมและจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืม 10,000 บาท ภริยากู้ยืมและจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืม 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เฉพาะส่วนของตน 10,000 บาท

(ข) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียวและร่วมกันกู้ยืม ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เต็มจำนวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท

ย่างที่ ๑๓ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ ถ้าสามีภริยา

ร่วมกันกู้ยืมและจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นจ านวน 10,000 บาท สามีมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ย เงินกู้ยืมได้ทั้งจ านวน 10,000 บาท

(ค) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และต่างฝ่ายต่างมีสิทธิหัก

ลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาสมรสกัน ให้ต่างฝ่ายต่างยังคงหักลดหย่อนดอกเบี้ย เงินกู้ยืมส่วนของตนได้ตามจ านวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยา จะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม

ย่ที่ ๑๔ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และมีสิทธิหัก ลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมอยู่ก่อนแล้วฝ่ายละ 10,000 บาท ต่อมาสมรสกัน สามีและภริยายังคงหัก ลดหย่อนได้ฝ่ายละ 10,000 บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะไดมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม

(ง) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่ายและร่วมกันกู้ยืม ให้ต่างฝ่ายต่าง หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้กึ่งหนึ่งของจ านวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันไม่เกิน 10,000 บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม

ย่างที่ ๑๕ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ถ้าสามีภริยาร่วมกัน กู้ยืมและได้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นจ านวน 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนได้ 5,000 บาท ภริยาหักลดหย่อนได้ 5,000 บาท

(7) ส าหรับเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมตาม มาตรา 47 (1) (ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร

ัวอย่างที่ ๑๖ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีหักเงินสมทบกองทุนประกันสังคมได้ตามจำ นวนที่จ่ายจริง

ตัย่างที่ ๑๗ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนเงินสมทบกองทุนประกันสังคมได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง

(8) ส าหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาตามมาตรา 47 (1) (ญ) แห่งประมวลรัษฎากร

(ก) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท และบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ คนละ 30,000 บาท

ัวอย่างที่ ๑๘ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตน สามีหักลดหย่อนบิดาของตน 30,000 บาท และมารดาของตน 30,000 บาท (รวม 60,000 บาท) และถ้าสามีได้อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของภริยาด้วย สามีมีสิทธิหักลดหย่อนบิดา ของภริยา 30,000 บาท และมารดาของภริยา 30,000 บาท (รวม 120,000 บาท)

(ข) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อน ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนได้คนละ 30,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๑๙ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีภริยาต่างฝ่ายต่างอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตน สามีหักลดหย่อนบิดาของตน 30,000 บาท และมารดาของตน 30,000 บาท (รวม 60,000 บาท) ส่วนภริยาหักลดหย่อนบิดาของตน 30,000 บาท และมารดาของตน 30,000 บาท (รวม 60,000 บาท)

(9) สำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพตามมาตรา 47 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร

(ก) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนค่าอุปการะ เลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลได้คนละ 60,000 บาท และให้หักลดหย่อนบุตร ชอบด้วยกฎหมายที่เป็นคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่สามีหรือภริยาเป็นผู้ดูแลได้คนละ 60,000 บาท

ัวอย่างที่ ๒๐ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดู คนพิการหรือคนทุพพลภาพ 1 คน สามีหักลดหย่อนได้ 60,000 บาท

ัวอย่างที่ ๒๑ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดู คนพิการหรือคนทุพพลภาพ 1 คน และภริยาอุปการะเลี้ยงดูบุตรชอบด้วยกฎหมายที่เป็นคนพิการ หรือทุพพลภาพ 1 คน สามีหักลดหย่อนคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท และมีสิทธิหักลดหย่อนบุตรที่ภริยาเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท (รวม 120,000 บาท)

(ข) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่า อุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้คนละ 60,000 บาท

ย่างที่ ๒๒ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีอุปการะเลี้ยงดู คนพิการหรือคนทุพพลภาพ 1 คน ส่วนภริยาอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพอีก 1 คน สามีหักลดหย่อนคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท ภริยาหักลดหย่อน คนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท

ข้อ 3 การเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยาก่อนปีภาษี 2555 เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 48/2545 ลงวันที่ 12 กันยายน 2545 ว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 80 ดังนั้น การจัดเก็บภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยาก่อนปีภาษี 2555 ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญที่ 48/2545 ลงวันที่ 12 กันยายน 2545 และบังคับใช้บทบัญญัติในมาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากรต่อไป โดยไม่ขัดหรือแย้งต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 17/2555 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2555

จึงขอชี้แจงและประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

กรมสรรพากร / 19 กันยายน 2555
สำนักกฎหมาย โทร. 0-2272-8288