มกราคม, 2012 | รับทำเงินเดือน มกราคม, 2012 | รับทำเงินเดือน

บริการขอหนังสือรับรองบริษัทผ่านธนาคารพาณิชย์

กระทรวงพาณิชย์ จับมือ 6 ธนาคารชั้นนำ ให้บริการออกหนังสือรับรองนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ e-Certificate

กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า  ร่วมมือกับ 6 ธนาคารชั้นนำของประเทศ  สร้างมิติใหม่ของนวัตกรรมการให้บริการอย่างมืออาชีพ  ภายใต้โครงการ  “บริการหนังสือรับรองนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์   (e-Certificate) ผ่านธนาคาร” 

นายศิริวัฒน์  ขจรประศาสน์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับดูแลที่มีหน้าที่ให้บริการออกหนังสือรับรองนิติบุคคล  รับรองสำเนาเอกสารทะเบียนนิติบุคคล  บัญชีรายชื่อ  ผู้ถือหุ้น   และงบการเงิน ตลอดจนการบริการตรวจค้นข้อมูลทะเบียนนิติบุคคล  ซึ่งเดิมผู้รับบริการต้องเดินทางไปติดต่อด้วยตนเองที่หน่วยงานของกรมฯ  ทั้ง  86 แห่ง ทั่วประเทศ ได้พัฒนาโดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้สนับสนุนและพัฒนาช่องทางการให้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวก  ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายให้กับผู้ใช้บริการ มาอย่างต่อเนื่อง

ในปี 2555 ได้ผลักดันเพิ่มช่องทางการให้บริการภาคธุรกิจ ที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น โดยได้เล็งเห็นประโยชน์ของการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  จึงจัดทำโครงการให้บริการออกหนังสือรับรองนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์  หรือ  e-Certificate  ผ่านธนาคารขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการให้บริการแก่ผู้ประกอบธุรกิจ  ซึ่งโครงการดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือระหว่างกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากับธนาคารพาณิชย์  6  ธนาคารประกอบด้วย  ธนาคารกรุงเทพ  ธนาคารกรุงไทย  ธนาคารออมสิน  ธนาคารกสิกรไทย  ธนาคารไทยพาณิชย์  และธนาคารธนชาต  โดยใช้สาขาของธนาคารเป็นจุดให้บริการทั่วประเทศ  เพื่อยกระดับการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ในการออกหนังสือรับรองนิติบุคคล เพื่อเตรียมรองรับจำนวนนิติบุคคลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกปี 

โดยผู้รับบริการสามารถทำรายการผ่านเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า   www.dbd.go.th    จากนั้นเลือกช่องทางการชำระเงินและขอรับเอกสารได้ที่ธนาคารพันธมิตรใกล้บ้านได้ภายใน  15 นาที  ซึ่งจะช่วยให้ภาคธุรกิจมีความสะดวก  คล่องตัว  ประหยัดเวลา  และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง  อันจะส่งผลให้การดำเนินธุรกิจมีประสิทธิภาพ  ทันต่อสถานการณ์และสอดคล้องกับความต้องการในการดำเนินธุรกรรมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐในการประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่าย  และทรัพยากรบุคคลในการให้บริการ ซึ่งพร้อมเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ

โดยได้รับเกียรติจากท่านรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายกิตติรัตน์  ณ ระนอง) เป็นประธาน พิธีเปิดการให้บริการ ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สนามบินน้ำ ในวันที่  20  มกราคม 2555 โดยในระยะแรกนี้ ผู้รับบริการสามารถใช้บริการได้ที่ธนาคารกรุงเทพ เฉพาะสาขาในกรุงเทพฯ  34  สาขา ธนาคารกรุงไทย  120  สาขา ธนาคารออมสิน  190  สาขา และแต่ละธนาคารจะทยอยเปิดให้บริการให้ครบทุกสาขาทั่วประเทศต่อไป

ที่มา..กระทรวงพาณิชย์

กฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบประกันสังคม ปี 2555

กฎกระทรวง

กำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกับสังคม พ.ศ.2555

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ และมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซี่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับ การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซี่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี่ให้ใช้บังคับตั้งแต่,วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2555 เป็นต้นไป

ข้อ ๒ ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๕๒

ข้อ ๓ ให้รัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ ออกเงินสมทบเข้ากองทุน เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรีอเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ ตามบัญชีอัตราเงินสมทบท้ายกฎกระทรวงนี้ ดังต่อไปนี้

(๑) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ค. 2555 ให้เป็นไป ตามอัตราในบัญชี ก.

(๒) ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ให้เป็นไป ตามอัตราในบัญชี ข.

(๓) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ให้เป็นไปตามอัตราในบัญชี ค.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕

(นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

บัญชีอัตราเงินสมทบ บัญชี ก.

ผู้ออกเงินสมทบ อัตราเงินสมทบเป็นร้อยละของค่าจ้าง ของผู้ประกันตน
๑.เงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บปวย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีคลอดบุตร(๑) รัฐบาล  0.5
(๒) นายจ้าง 0.5
(๓) ผู้ประกันตน 0.5
๒. เงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีขราภาพ(๑) รัฐบาล 2.0
(๒) นายจ้าง 2.0
(๓) ผู้ประกันตน 2.0

 

บัญชีอัตราเงินสมทบ บัญชี ข.

ผู้ออกเงินสมทบ อัตราเงินสมทบเป็นร้อยละของค่าจ้าง ของผู้ประกันตน
๑.เงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บปวย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีคลอดบุตร(๑) รัฐบาล  0.5
(๒) นายจ้าง 0.5
(๓) ผู้ประกันตน 0.5
๒. เงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีขราภาพ(๑) รัฐบาล  2.0
(๒) นายจ้าง 3.0
(๓) ผู้ประกันตน 3.0

 

บัญชีอัตราเงินสมทบ บัญชี ค.

ผู้ออกเงินสมทบ อัตราเงินสมทบเป็นร้อยละของค่าจ้าง ของผู้ประกันตน
๑.เงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บปวย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีคลอดบุตร(๑) รัฐบาล  1.5
(๒) นายจ้าง 1.5
(๓) ผู้ประกันตน 1.5
๒. เงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีขราภาพ(๑) รัฐบาล  1.0
(๒) นายจ้าง 3.0
(๓) ผู้ประกันตน 3.0

 

กฎกระทรวง

กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทน

ในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการลดอัตราเงินลมทบ (ฉบับที่ ๒)

พ.ศ. ๒๕๕๕

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ค. ๒๕๓๓ ซี่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ โดยอาคัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นตันไป

ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๒/๑ แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะใบช่วงเวลาที่มีการลดอัตราเงินสมทบ พ.ศ. ๒๕๕๒

“ข้อ ๒/๑ การจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพให้แก่ผู้ประกันตนซี่งออกเงินสมทบเข้ากองทุนในช่วงเวลา ที่มีการลดอัตราเงินสมทบตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ค. ๒๕๕๕ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้คำนวณจากอัตราเงินสมทบเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ ๑ ของค่าจ้างที่มีตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เพื่อจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้นจากอัตราที่กำหนดในข้อ ๖ (๒) แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พ.ศ. ๒๕๕๐”

ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕

(นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

ดูกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบประกันสังคมปี 2555

ประกันสังคม ลดอัตราเงินสมทบปี 2555

คณะกรรมการประกันสังคมเห็นชอบลดอัตราเงินสมทบปี 2555 ช่วยเหลือนายจ้าง ลูกจ้าง ประสบอุทกภัย          
          สำนักงานประกันสังคม  เผยมติคณะกรรมการประกันสังคมเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือนายจ้าง และผู้ประกันตน ม.33 และม.39 ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์อุทกภัยในวงกว้าง โดยลดอัตราเงิน สมทบกองทุนประกันสังคมปี 2555 เตรียมเร่งยื่นเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ เพื่อออกกฎกระทรวงบังคับใช้ต่อไป
          นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทรัพย์สินต่อบ้านเรือน บริษัทห้างร้านสถานประกอบการต่างๆ และส่งผลกระทบต่อนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมได้รับความเดือดร้อนโดยทั่วกัน ดังนั้น สำนักงานประกันสังคมจึงได้มีมาตรการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อน แก่ นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันสังคม โดยคณะกรรมการประกันสังคมได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 เห็นชอบให้ลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมแก่นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน เป็นระยะเวลา 1 ปี ในปี 2555 โดยลดจากอัตราเงินสมทบที่จ่ายในปัจจุบันฝ่ายละร้อยละ 5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน ดังนี้         
ครึ่งปีแรก (1 มกราคม -  30 มิถุนายน 2555) จ่ายในอัตราฝ่ายละร้อยละ 3 ลดลงจากเดิม ฝ่ายละร้อยละ 2 
ครึ่งปีหลัง (1 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม 2555) จ่ายในอัตราฝ่ายละร้อยละ 4 ลดลงจากเดิม ฝ่ายละร้อยละ 1
          ทั้งนี้ รัฐบาลยังคงจ่ายสมทบในอัตราเดิม คือ 2.75 การลดอัตราเงินสมทบในครั้งนี้ จะช่วยแบ่งเบาภาระนายจ้างและผู้ประกันตน ฝ่ายละประมาณ 16,700 ล้านบาท ในส่วนของผู้ประกันตนแบ่งเบาภาระ ได้เฉลี่ยคนละประมาณ 1,700 บาท/ปี (คำนวณจากค่าจ้างเฉลี่ยของผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39)
           การลดอัตราเงินสมทบดังกล่าวผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนเดิมทุกกรณี โดยเฉพาะการรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ

           ทั้งนี้ มีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลได้ที่ สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง)

ที่มาข่าว…ประกันสังคม