สิงหาคม, 2010 | รับทำเงินเดือน สิงหาคม, 2010 | รับทำเงินเดือน

การให้บริการเริ่มต้นธุรกิจ ณ จุดเดียว (Single Point)

วันที่ 19 สิงหาคม 2553

เรื่อง การให้บริการเริ่มต้นธุรกิจ ณ จุดเดียวกัน (Single Point)ในโครงการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลการเริ่มต้นธุรกิจ (e- Starting Business

การให้บริการเริ่มต้นธุรกิจ ณ จุดเดียวกัน (Single Point)

โครงการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลการเริ่มต้นธุรกิจ (e- Starting Business)

———————————————————————————————

1. ที่มา และแนวทางความร่วมมือดำเนินการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลการเริ่มต้นธุรกิจ (e- Starting Business)

1.1 ตามที่รัฐบาลมีนโยบายด้านเศรษฐกิจในการเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันและการสร้างความ เชื่อมั่นด้านการลงทุน ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 ได้เห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการปรับปรุงกระบวนการให้บริการเพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจภายในประเทศ และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนต่างประเทศที่จะเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งตามรายงานผลการประกอบธุรกิจ (Doing Business) ของธนาคารโลก (World Bank) ในปี 2553 ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในลำดับที่ 12 จากจำนวน 183 ประเทศ รัฐบาลจึงมีนโยบายที่ต้องการให้ประเทศไทย เป็นประเทศที่ง่ายต่อการทำธุรกิจ (Ease of Doing Business) อันจะส่งผลต่อการจัดอันดับของประเทศไทยให้สูงขึ้นจากเดิมในลำดับที่ 12 เป็นลำดับที่ 9 ของโลก

1.2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายอลงกรณ์ พลบุตร) จึงได้มอบหมายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประสานความร่วมมือกับกรมสรรพากร และสำนักงานประกันสังคม ซึ่งเป็น 3 หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับการเริ่มต้นธุรกิจ โดยได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553 เพื่อพัฒนาระบบออกเลขทะเบียนของทั้ง 3 หน่วยงาน ได้แก่ เลขทะเบียนนิติบุคคล (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (กรมสรรพากร) และเลขที่บัญชีนายจ้าง (สำนักงานประกันสังคม)

1.3 โครงการดังกล่าวได้กำหนดแนวทางดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 การให้บริการ ณ จุดเดียวกัน (Single Point) การใช้แบบฟอร์มร่วมกัน (Single Form) การใช้เอกสารประกอบชุดเดียวกัน(Single Document) โดยให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้บริการจดทะเบียนนิติบุคคล ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และเลขที่บัญชีนายจ้าง

ระยะที่ 2 การใช้ระบบเลขทะเบียนเดียวกัน (Single Number) ทั้ง 3 หน่วยงาน กำหนดแล้วเสร็จปี 2554

ขณะนี้ระยะที่ 1 ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ และได้จัดให้มีมีพิธีเปิดบริการเริ่มต้นธุรกิจ ณ จุดเดียวกัน (Single Point) เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2553 โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ได้กรุณาให้เกียรติเป็นประธาน

2.การให้บริการ Single Point

  1. สามารถเปิดให้บริการ ณ จุดเดียวกัน(Single Point) ณ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง(สนามบินน้ำ) ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2553
  2. สามารถเปิดให้บริการ ณ จุดเดียวกัน (Single Point) ในเขตกรุงเทพมหานคร ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 1-5 (ปิ่นเกล้า, พระราม 6, รัชดาภิเษก, สีลม, สุรวงศ์) และสำนักงานสาขา (หอการค้าไทย, ศูนย์ส่งออกเบ็ดเสร็จ และศูนย์ OSOS) ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2553
  3. กำหนดเปิดให้บริการ ณ จุดเดียวกัน (Single Point) ในส่วนภูมิภาค ณ สำนักพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดทั้ง 75 จังหวัด ในวันที่ 1 ตุลาคม 2553

3.ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการฯ

  1. ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ
    1. ลดขั้นตอนการเริ่มต้นธุรกิจจาก 7 ขั้นตอน เหลือ 5 ขั้นตอน
    2. ลดระยะเวลาการจดทะเบียนเริ่มต้นธุรกิจจาก 4 วัน เหลือ 90 นาที
    3. ประหยัดเวลาของประชาชนที่ต้องติดต่อ 3 หน่วยงาน เหลือ 1 หน่วยงาน
    4. ผู้ประกอบการที่ขอจดจัดตั้งนิติบุคคลจะได้รับเลขทะเบียนนิติบุคคลพร้อมเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และเลขที่บัญชีนายจ้าง ทั้งนี้เลขทะเบียนนิติบุคคลจะเป็นเลขเดียวกัน กับเลขที่บัญชีนายจ้าง ซึ่งมีผลทางกฎหมายเมื่อผู้ประกอบการมีลูกจ้างเท่านั้น
  2. ประโยชน์ที่ประเทศชาติได้รับ
    1. เป็นประเทศที่ง่ายต่อการเริ่มต้นธุรกิจ
    2. เป็นจุดเริ่มต้นการบูรณาการของภาครัฐในการให้บริการแบบ Single Point อย่างแท้จริง
    3. เป็นจุดเริ่มต้นของการแลกเปลี่ยนข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ
    4. ใช้ทรัพยากรของรัฐอย่างคุ้มค่า เช่น บุคลากร เทคโนโลยี
    5. ลดการใช้กระดาษ (Less Paper)
    6. นำไปสู่ e-Government

สำนักทะเบียนธุรกิจ
ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านทะเบียนธุรกิจ

DBD E-Newsletter

เงินชดเชยกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้รับไม่พร้อมกัน

คำพิพากษาฎีกา ที่43/2547

นายอัษฎางค์ อนันตวราศิลป์ โจทก์

กรมสรรพากร จำเลย

เรื่อง  ภาษีเงินได้กรณีที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง: ประมวลรัษฎากร มาตรา 48 (5) / ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษี เงินได้ (ฉบับที่ 45) พ.ศ.2535

โจทก์ได้รับเงินได้เพราะเหตุออกจากงานสองประเภท ประเภทที่หนึ่งเป็นเงินชดเชยการเลิกจ้างจำนวน 1,022,825 บาท ซึ่งเป็นเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานที่ถือว่าเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้ง เดียวเพราะเหตุออกจากงานตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) ข้อ 1 (ค) โดยนายจ้างจ่ายให้โจทก์ในวันที่ 30 ธันวาคม 2541 ประเภทที่สองเป็นเงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 1,527,855 บาท โดยจ่ายวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2542 ซึ่งเป็นเงินที่จ่ายจากกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) ข้อ 1 (ข) ผู้ที่จ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์ คือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหาก ไม่ใช่นายจ้างของโจทก์เป็นผู้ที่จ่าย เห็นได้ว่าเงินชดเชยการเลิกจ้างกับเงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ผู้ที่จ่ายเงินให้แก่โจทก์ไม่ใช่  ผู้จ่ายรายเดียวกัน จึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีตามมาตรา 48 (5) แห่งประมวลรัษฎากรได้เฉพาะเงินได้   ที่จ่ายในปีภาษีแรกที่มีการจ่ายเงินได้เท่านั้น ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) ข้อ 2 (ข)

ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้รับเงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปีภาษี 2542 ซึ่งเป็นคนละปีภาษีกับที่โจทก์ได้รับเงินชดเชยการเลิกจ้าง โจทก์จึงชอบที่จะนำเงินได้ที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 1,527,855 บาท ที่ได้รับในปีภาษี 2542 มาเลือกเสียภาษีแยกต่างหากจากเงินได้อื่น ตามมาตรา 48 (5) แห่งประมวลรัษฎากรได้ พิพากษากลับให้เพิกถอนหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความให้รวม 2,000 บาท

 

ที่มา..กรมสรรพากร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเลิกจ้างและจ่ายเงินชดเชยหลายประเภท

เลขที่หนังสือ : กค 0702/2575

วันที่ : 31 มีนาคม 2552

เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเลิกจ้างและจ่ายเงินชดเชยหลายประเภท

ข้อกฎหมาย : มาตรา 40(8) มาตรา 42 และมาตรา 77/1(5)(10) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ
          นาย ก. ได้ทำงานอยู่กับบริษัทฯ เป็นระยะเวลา 1 ปี ต่อมาบริษัทฯ ได้เลิกจ้างนาย ก. โดยให้พ้นจากสภาพการเป็นพนักงาน ของบริษัทฯ ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2551 เป็นต้นไป และได้จ่ายเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน จำนวน 268,533.33 บาท โดยแยกได้ ดังนี้
          1. ค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนดจำนวน 127,200 บาท
          2. ค่าชดเชยกรณีการบอกเลิกจ้างจำนวน 42,400 บาท
          3. ค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้ใช้จำนวน 14,133.33 บาท
          4. เงินสมทบที่นายจ้างจ่ายให้เป็นพิเศษจำนวน 84,800 บาท
          นาย ก. จึงขอทราบว่า เงินได้ที่บริษัทฯ จ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตาม 1 ถึง 4 ถือเป็นค่าชดเชยตามกฎหมาย แรงงานที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ใช่หรือไม่ และกรณีที่นาย ก. ถูกบริษัทฯ คำนวณหัก ภาษี ณ ที่จ่ายไว้และนำส่งไว้เกินจะขอคืนได้หรือไม่อย่างไร

แนววินิจฉัย
          กรณีบริษัทฯ เลิกจ้างนาย ก. โดยได้จ่ายเงินได้ให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน เฉพาะเงินชดเชยที่นาย ก. ได้รับตาม 1. จำนวน 127,200 บาทเท่านั้น ที่เข้าลักษณะเป็นค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรง งาน นาย ก. มีสิทธิได้ รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้งนี้ เฉพาะค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของ การทำงานสามร้อยวันสุดท้าย แต่ไม่เกินสามแสนบาท ตามข้อ 2(51) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

          สำหรับเงินชดเชยกรณีการบอกเลิกจ้าง เงินค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้ใช้ และ เงินสมทบที่นายจ้างจ่ายให้เป็นพิเศษ ที่นาย ก. ได้รับ ตาม 2 ถึง 4 นั้น เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่ง ประมวลรัษฎากร นาย ก. ต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้นำ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่บริษัทฯ ได้หักและนำส่งไว้ไป หักออกจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จะต้องเสียในการยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและหากมีภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้เกินไป ก็มีสิทธิขอคืนภาษีดังกล่าวได้ ภายใน 3 ปีนับแต่วันสุดท้าย แห่งปีซึ่งได้ถูกหักภาษีเกินไป ตามมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร

เลขตู้ : 72/36512

 

ที่มา..ข้อหารือกรมสรรพากร

space