มีนาคม, 2010 | รับทำเงินเดือน มีนาคม, 2010 | รับทำเงินเดือน

เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน

เงินได้ที่นาย จ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร

(1)

ซึ่งผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามบทบัญญัติมาตรา 50 (1) วรรคสาม ซึ่งมีรายละเอียดที่ต้องศึกษาเป็นอันมาก จึงขอนำมาเป็นประเด็น ปุจฉา – วิสัชนา ดังต่อไปนี้

ปุจฉา เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน มีลักษณะอย่างไร

วิสัชนา ลักษณะของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ได้แก่ เงินได้ดังต่อไปนี้ โดยผู้มีเงินได้ต้องปฏิบัติงานกับนายจ้างหรือหน่วยงานที่จ่ายเงินได้เป็น เวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์

1. เงินบำเหน็จที่ทางราชการกระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การของรัฐบาล เป็นผู้จ่าย ตามกฎหมายว่าด้วย บำเหน็จบำนาญข้าราชการ

2. เงินได้ที่คำนวณตามหลักเกณฑ์ และวิธีการเช่นเดียวกับวิธีการคำนวณบำเหน็จตามกฎหมายว่าด้วย บำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งจ่ายโดยนายจ้างอื่นใดที่มิใช่กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การของรัฐบาล

3. เงินที่จ่ายจากกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ได้แก่ เงินได้ส่วนที่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบและผลประโยชน์ต่างๆ ที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  เช่น ดอกเบี้ย ในนามของลูกจ้างหรือผู้มีเงินได้แต่ละคน เป็นต้น

4. เงินที่จ่ายจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กองทุน กบข.) ได้แก่ เงินได้ส่วนที่เป็นเงินที่ทางราชการจ่ายสมทบ และผลประโยชน์ต่างๆ ที่ได้จากกองทุน กบข. เช่น เงินประเดิม ดอกเบี้ยในนามของข้าราชการหรือผู้มีเงินได้แต่ละคน เป็นต้น

เงินที่จ่ายจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการในกรณีนี้ มีกฎหมายยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) โดยให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2540 เป็นต้นไป

5. เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานหรือพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้แก่ กรณีที่นายจ้างเลิกจ้างงาน โดยที่ลูกจ้างไม่ปรากฏความผิด ซึ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

6. เงินได้พึงประเมินที่จ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานที่มีวิธีการคำนวณ แตกต่างไปจากวิธีการตาม 1. ถึง 5. เช่น นายจ้างจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนหนึ่งเท่าครึ่งหรือสองเท่าของ เงินบำเหน็จปกติที่คำนวณตามหลักเกณฑ์การคำนวณบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเพิ่มจำนวนปีที่ทำงานในการคำนวณบำเหน็จให้แก่ลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างทำงานอยู่กับนายจ้างเป็นระยะเวลาตามที่ตกลงกันไว้ หรือเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะ เหตุออกจากงานสุดแต่ความพอใจของนายจ้าง เป็นต้น

ปุจฉา เงินบำเหน็จที่ทางราชการกระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การของรัฐบาล เป็นผู้จ่าย ตามกฎหมายว่าด้วย บำเหน็จบำนาญข้าราชการ มีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขอย่างไร

วิสัชนา เงินบำเหน็จดังกล่าว มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้

บำเหน็จ =  เงินเดือนเดือนสุดท้าย x จำนวนปีที่ทำงาน

เงินเดือนเดือนสุดท้าย หมายความว่า เงินเดือนที่ได้รับจากเงินงบประมาณประเภทค่าใช้จ่าย

      เงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ออกจากราชการ รวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชาและหรือเงินเพิ่มการเลื่อนฐานะ และหรือเงินสำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ และหรือสำหรับการสู้รบ และหรือสำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิด แต่ไม่รวมถึงเงินเพิ่มอย่างอื่น

      เวลาราชการสำหรับการคำนวณบำเหน็จ หมายความว่า เวลาราชการที่ข้าราชการรับราชการมาตั้งแต่ต้นจนถึงวันสุดท้ายที่ได้รับเงิน เดือน ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ  โดยให้นับแต่จำนวนปีเท่านั้น สำหรับเศษของปีถ้าถึงครึ่งปี ให้นับเป็น หนึ่งปี การนับระยะเวลาดังกล่าวสำหรับเดือนหรือวันให้คำนวณตามวิธีการจ่ายเงินเดือน และให้นับสิบสองเดือนเป็นหนึ่งปี สำหรับจำนวนวันถ้ามีรวมกันหลายระยะให้นับ 30 วันเป็นหนึ่งเดือน และในกรณีที่กฎหมายให้นับเวลาราชการทวีคูณ ก็สามารถนำเวลาราชการทวีคูณมาคำนวณบำเหน็จได้ด้วย   

ปุจฉา ข้าราชการมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติเพราะเหตุออกจากงานเนื่องจากกรณีใด บ้าง

วิสัชนา ข้าราชการมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติเพราะเหตุออกจากงานเนื่องจากกรณี ดังต่อไปนี้
1. เหตุทดแทน ได้แก่ การที่ข้าราชการออกจากประจำการเพราะเลิกหรือยุบตำแหน่งหรือซึ่งคำสั่งให้ออก โดยไม่มีความผิด

2. เหตุทุพพลภาพ ได้แก่ การที่ข้าราชการป่วยเจ็บ ทุพพลภาพ ซึ่งแพทย์ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าไม่สามารถที่จะรับราชการ ในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไป

3. เหตุสูงอายุ ได้แก่ การที่ข้าราชการมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้วหรือถ้าข้าราชการ  ผู้ได้มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์แล้วประสงค์จะลาออกจากราชการก็ให้ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ลาออก จากราชการเพื่อรับบำเหน็จเพราะสูงอายุได้

4. เหตุรับราชการนาน ได้แก่ การที่ข้าราชการรับราชการครบ 30 ปีบริบูรณ์ แต่ถ้าข้าราชการผู้ใดรับราชการครบ 25 ปีบริบูรณ์แล้ว ประสงค์จะลาออกจากราชการก็ให้ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ลาออกเพื่อรับบำเหน็จ ปกติเพราะเหตุรับราชการนานได้

(2)

ปุจฉา กรณีข้าราชการที่รับราชการครบ 10 ปีบริบูรณ์แล้วลาออกจากราชการ มีสิทธิได้รับบำเหน็จหรือไม่อย่างไร
วิสัชนา กรณีข้าราชการที่รับราชการครบ 10 ปีบริบูรณ์แล้วลาออกจากราชการ แม้จะไม่มีสิทธิรับบำเหน็จปกติเพราะเหตุรับราชการนาน ก็ยังคงได้รับบำเหน็จเพราะ เหตุทดแทน หรือ เหตุทุพพลภาพ หรือ เหตุสูงอายุ ตามเกณฑ์เช่นเดียวกับกรณีรับราชการนาน

นอกจากนี้ สำหรับลูกจ้างประจำของทางราชการ หรือพนักงาน หรือลูกจ้างประจำขององค์การของรัฐบาลก็มีสิทธิได้รับบำเหน็จปกติตามหลัก เกณฑ์ดังกล่าวเช่นเดียวกับข้าราชการ สำหรับระยะเวลาการปฏิบัติงานกรณีรับราชการนานแล้วลาออก เมื่อได้ปฏิบัติงานมาครบ 5 ปีบริบูรณ์ ก็ให้มีสิทธิรับบำเหน็จด้วยเช่นกัน

ปุจฉา เงินบำนาญมีหลักเกณฑ์ในการคำนวณอย่างไร

วิสัชนา สำหรับเงินบำนาญ มีหลักเกณฑ์ในการคำนวณดังนี้

บำนาญ  =  เงินเดือนเดือนสุดท้าย x จำนวนปีที่ทำงาน หารด้วย 50 หรือ 55

      ข้าราชการที่ออกจากงานด้วยเหตุทดแทน เหตุทุพพลภาพ หรือเหตุสูงอายุ ต้องรับราชการครบ 10  ปีบริบูรณ์ จึงจะมีสิทธิ รับบำนาญ สำหรับข้าราชการที่ออกจากงาน เพราะเหตุรับราชการนาน ต้องรับราชการครบ 25 ปีบริบูรณ์ จึงจะมีสิทธิรับบำนาญข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีเวลาราชการไม่ถึง 25 ปีบริบูรณ์ ให้หารด้วย 55 แต่ถ้ามีเวลาราชการครบ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรือกรณีข้าราชการทหาร ตำรวจ ให้หารด้วย 50

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับสำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยง ชีพ เมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย อย่างไร

วิสัชนา สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยง ชีพ เมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) ลงวันที่ 16 ก.พ. 2538 ดังต่อไปนี้

ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 195 (พ.ศ. 2538) โดยให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ 1 ม.ค. 2537 เป็นต้นไป

1. กรณีเกษียณอายุ ลูกจ้างผู้นั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมาย ว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

2. กรณีทุพพลภาพ ต้องเป็นกรณีที่แพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจ และแสดงความเห็นว่าลูกจ้างนั้นไม่สามารถที่จะทำงานในตำแหน่งหน้าที่ซึ่ง ปฏิบัติอยู่นั้นต่อไป ไม่ว่าเหตุทุพพลภาพนั้นจะเกิดเนื่องจากการปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างหรือไม่ก็ ตาม

3. กรณีตาย ไม่ว่าการตายนั้นจะเกิดจากการปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างหรือไม่

    ทั้งนี้ ลูกจ้างต้องมีหลักฐานจากนายจ้าง เพื่อรับรองว่าลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย แล้วแต่กรณีมาแสดงด้วย

ปุจฉา เงินที่จ่ายจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ได้แก่ เงินประเภทใดบ้าง

วิสัชนา เงินที่จ่ายจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุน กบข. ได้แก่ เงินได้ส่วนที่เป็นเงินที่ทางราชการจ่ายสมทบ และผลประโยชน์ต่างๆ ที่ได้จากกองทุน กบข. เช่น เงินประเดิม ดอกเบี้ยในนามของข้าราชการ หรือผู้มีเงินได้แต่ละคน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ข้าราชการได้รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 70) ลงวันที่ 19 ม.ค. 2541 ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 209 (พ.ศ. 2540) โดยให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 27 ม.ค. 2540 เป็นต้นไป

1. กรณีเกษียณอายุ สำหรับสมาชิกซึ่งออกจากราชการเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้ว หรือลาออกเมื่ออายุครบ 50 ปีบริบูรณ์แล้ว

2. กรณีทุพพลภาพ สำหรับสมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะป่วยเจ็บ ทุพพลภาพ ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าไม่สามารถที่จะรับ ราชการในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไป

3. กรณีเหตุทดแทน สำหรับสมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะทางราชการเลิก หรือยุบตำแหน่ง หรือมีคำสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิดหรือทหาร ซึ่งออกจากกองหนุนเบี้ยหวัด

4. กรณีตาย สำหรับสมาชิกซึ่งออกจากราชการ เพราะถึงแก่ความตายในระหว่างรับราชการ

 

(3)

ปุจฉา เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานหรือพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ได้แก่ เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างในกรณีใด

วิสัชนา เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานหรือพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ได้แก่ กรณีที่นายจ้างเลิกจ้างงาน โดยที่ลูกจ้างไม่ปรากฏความผิด ซึ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มีเจตนาคุ้มครองลูกจ้าง โดยบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้าง ในอัตราดังนี้

1. จำนวน 30 วันของค่าจ้างสุดท้ายก่อนออกจากงาน กรณีที่ลูกจ้างทำงาน ตั้งแต่ 120 วันขึ้นไป แต่ไม่ถึง 1 ปี
2. จำนวน 90 วันของค่าจ้างสุดท้ายก่อนออกจากงาน กรณีที่ลูกจ้างทำงาน ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 3 ปี
3. จำนวน 180 วันของค่าจ้างสุดท้ายก่อนออกจากงาน กรณีที่ลูกจ้างทำงาน ตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 6 ปี 
4. จำนวน 240 วันของค่าจ้างสุดท้ายก่อนออกจากงาน กรณีที่ลูกจ้างทำงาน ตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 10 ปี
5. จำนวน 300 วันของค่าจ้างสุดท้ายก่อนออกจากงาน กรณีที่ลูกจ้างทำงาน ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

ปุจฉา เงื่อนไขของเงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจาก งาน
วิสัชนา เงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานที่จะนำมา คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) วรรคสาม และเลือกเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 48 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

1.  ต้องเป็นเงินได้ที่จ่ายให้เนื่องจากผู้มีเงินได้ได้ทำงานกับนายจ้าง โดยมีระยะเวลาทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์
การคำนวณจำนวนปีที่ทำงาน กรณีเงินบำเหน็จ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ทางราชการจ่าย ระยะเวลาทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี ให้ถือจำนวนปีที่ใช้เป็นเกณฑ์คำนวณเงินบำเหน็จ หรือเงินอื่นในลักษณะเดียวกันนั้น ตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับของทางราชการ โดยให้นับแต่จำนวนปีเท่านั้น สำหรับเศษของปีถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็นหนึ่งปี การนับระยะเวลาดังกล่าวสำหรับเดือนหรือวัน ให้คำนวณตามวิธีการจ่ายเงินเดือน และให้นับสิบสองเดือนเป็นหนึ่งปี สำหรับจำนวนวันถ้ามีรวมกันหลายระยะให้นับ 30 วันเป็นหนึ่งเดือน และในกรณีที่กฎหมายให้นับเวลาราชการทวีคูณ ก็สามารถนำเวลาราชการทวีคูณมาคำนวณบำเหน็จได้ด้วย

การคำนวณจำนวนปีที่ทำงานกรณีอื่นนอกจากเงินบำเหน็จที่จ่ายตามเกณฑ์ของทาง ราชการ ดังกล่าวข้างต้น เมื่อนับระยะเวลาทำงานได้ไม่น้อยกว่า 5 ปีแล้ว ถ้ามีเศษของปีถึง 183 วันให้ถือเป็นหนึ่งปี ถ้าไม่ถึง 183 วันให้ปัดทิ้ง

2. ในกรณีที่มีการจ่ายเงินได้ดังกล่าวจากผู้จ่ายรายเดียวกันหลายครั้ง ไม่ว่าจะแบ่งจ่ายจากเงินประเภทเดียวกันหรือหลายประเภท ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีตามมาตรา 48 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ได้เฉพาะเงินได้ที่นายจ้างหรือบุคคลอื่นจ่ายให้ในปีภาษีแรกที่มีการจ่ายเงิน ได้ดังกล่าวเท่านั้น (สำหรับเงินได้ที่ได้รับในปีภาษีถัดไป ให้ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ผู้จ่ายเงินได้ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น)

3. การเลือกเสียภาษี
ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีในกรณีนี้ได้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่นำเงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้ง เดียวเพราะเหตุออกจากงานดังกล่าวไปรวมคำนวณกับเงินได้พึงประเมินในประเภท อื่นๆ ตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

ในการนำเงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ไปรวมคำนวณกับเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นๆ ดังกล่าว ให้คำนวณหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุ ออกจากงาน โดยรวมกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และหรือ (2) ในอัตราร้อยละ 40 แต่ไม่เกิน 60,000 บาท

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์ในการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจาก งานอย่างไร

วิสัชนา การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ให้ปฏิบัติดังนี้

1. นำเงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามหลัก เกณฑ์ดังกล่าว มาคำนวณหักค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเท่ากับ 7,000 บาท คูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน แต่ไม่เกินเงินได้พึงประเมิน เหลือเท่าใดให้หักค่าใช้จ่ายอีกร้อยละ 50 ของเงินที่เหลือนั้น แล้วคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ (อัตราก้าวหน้า)

2. ในกรณีเงินได้พึงประเมินดังกล่าวจ่ายในลักษณะเงินบำเหน็จจำนวนหนึ่ง และเงินบำนาญอีกจำนวนหนึ่ง ให้ถือว่าเฉพาะเงินที่จ่ายในลักษณะเงินบำเหน็จ เป็นเงินซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน และให้ลดค่าใช้จ่ายจำนวน 7,000 บาท ลงเหลือ 3,500 บาท

 

(4)

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข เกี่ยวกับจำนวนเงินได้พึงประเมิน ที่จะใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าใช้จ่าย เพื่อการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย อย่างไร

วิสัชนา จำนวนเงินได้พึงประเมินที่จะใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงาน

1. กรณีได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงานดังต่อไปนี้ ให้นำเงินได้พึงประเมินดังกล่าวมาคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยหักค่าใช้จ่าย 7,000 X จำนวนปีที่ทำงาน ส่วนที่เหลือหักค่าใช้จ่ายได้อีก 50% ได้ทั้งจำนวน โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้มีเงินได้จะได้รับเงินเดือนสำหรับระยะเวลาเต็มเดือน 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงานเท่ากันตลอดหรือไม่

(1) เงินบำเหน็จที่ทางราชการ กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การของรัฐบาลเป็นผู้จ่าย ตามกฎหมายว่าด้วย บำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(2) เงินได้ที่คำนวณตามหลักเกณฑ์ และวิธีการ เช่นเดียวกับวิธีการคำนวณบำเหน็จตามกฎหมายว่าด้วย  บำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งจ่ายโดยนายจ้างอื่นใดที่มิใช่ กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การของรัฐบาล
(3) เงินที่จ่ายจากกองทุนตามกฎหมายว่าด้วย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(4) เงินที่จ่ายจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(5) เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะ เหตุออกจากงาน              XXX บาท 
                  (ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด)                           
             หัก ค่าใช้จ่าย                                                   
                  ส่วนที่ 1  7,000* X จำนวนปีที่ทำงาน                    XXX         
                  (แต่ไม่เกินเงินได้ที่ได้รับ)                               
                  ส่วนที่ 2  50% ของเงินได้ส่วนที่เหลือ (ถ้ามี)           XXX         XXX บาท 
                  เงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย                                              XXX บาท 
                  นำไปคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามอัตราภาษีเงินได้ (อัตราก้าวหน้า) 
              *  ให้ลดค่าใช้จ่ายจำนวน 7,000 บาท ลงเหลือ 3,500 บาท ในกรณีที่จ่ายเงิน
             บำเหน็จจำนวนหนึ่ง และเงินบำนาญอีกจำนวนหนึ่ง

2. กรณีได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ที่จ่ายในลักษณะอื่น นอกจากกรณีตามข้อ 1. เช่น นายจ้างจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนหนึ่งเท่าครึ่งหรือสองเท่าของ เงินบำเหน็จปกติ ที่คำนวณตามหลักเกณฑ์การคำนวณบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือเพิ่มจำนวนปีที่ทำ งานในการคำนวณบำเหน็จให้แก่ลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างทำงานอยู่กับนายจ้างเป็นระยะเวลาตามที่ตกลงกันไว้ หรือเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงานสุดแต่ความพอใจของนายจ้าง เป็นต้น ให้เปรียบเทียบเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงานดังกล่าวกับจำนวนเงินเดือนสำหรับระยะเวลาเต็มเดือน สุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน จำนวนใดน้อยกว่าให้ใช้จำนวนนั้นเป็นฐานในการคำนวณค่าใช้จ่าย เพื่อการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายต่อไป

อนึ่ง เงินเดือนสำหรับระยะเวลาเต็มเดือน เดือนสุดท้ายดังกล่าว จะต้องไม่เกินเงินเดือนถัวเฉลี่ยของ 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงาน บวกด้วยร้อยละ 10 ของเงินเดือนถัวเฉลี่ยนั้น

ดังนั้น กรณีได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงานที่มิได้คำนวณจ่ายในลักษณะเดียวกับบำเหน็จตามกฎหมายว่า ด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือมิใช่เงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้า ราชการ หรือเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ให้ผู้จ่ายเงินดำเนินการดังนี้

(1) พิจารณาว่าเงินเดือนสำหรับระยะเวลาเต็มเดือน 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงานเท่ากันตลอดหรือไม่
(ก) ในกรณีที่เงินเดือนสำหรับระยะเวลาเต็มเดือน 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงานเท่ากันตลอด ให้นำเงินเดือนสำหรับระยะเวลาเต็มเดือน เดือนสุดท้าย คูณด้วยจำนวนปีที่ทำงานเปรียบเทียบกับเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงาน จำนวนใดน้อยกว่าให้ใช้จำนวนนั้นเป็นฐานในการคำนวณค่าใช้จ่าย เพื่อการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายต่อไป
(ข) ในกรณีที่เงินเดือนสำหรับระยะเวลาเต็มเดือน 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงานไม่เท่ากันตลอด ให้ถัวเฉลี่ยเงินเดือนสำหรับระยะเวลาเต็มเดือน 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงาน บวกด้วยร้อยละ 10 ของเงินเดือนถัวเฉลี่ยนั้น แล้วเปรียบเทียบกับเงินเดือนสำหรับระยะเวลาเต็มเดือน เดือนสุดท้าย จำนวนใดน้อยกว่าให้ใช้จำนวนนั้นเป็นฐาน เพื่อคูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน ได้เป็นจำนวนเท่าใด ให้เปรียบเทียบกับจำนวนเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจาก งาน จำนวนใดน้อยกว่าให้ใช้จำนวนนั้นเป็นฐานในการคำนวณค่าใช้จ่าย เพื่อการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายต่อไป
(2) การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ให้นำเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายที่คำนวณได้ตาม (1) มาคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามอัตราภาษีเงินได้ (อัตราก้าวหน้า)

 

(5)

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข เกี่ยวกับจำนวนเงินได้พึงประเมินที่จะใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าใช้จ่าย เพื่อการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตาม 1. แล้วยังได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานประเภท อื่นๆ อีก อย่างไร

วิสัชนา กรณีได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตาม 1. แล้วยังได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานประเภท อื่นๆ อีก โดยจ่ายให้พร้อมกันหรือทยอยจ่ายให้ แต่อยู่ในปีภาษีเดียวกันให้ผู้จ่ายเงินดำเนินการดังนี้

1. สำหรับเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน กรณีที่ตาม 1 ไม่ว่าจะจ่ายประเภทเดียวหรือหลายประเภทก็ตาม และไม่ว่าเงินเดือนสำหรับระยะเวลาเต็มเดือนสิบสอง เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงานจะเท่ากันตลอดหรือไม่ก็ตาม ให้นำเงินได้ที่ได้รับดังกล่าวไปใช้เป็นฐานในการคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายต่อไป ทั้งจำนวน

2. สำหรับเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานที่ จ่ายในลักษณะอื่นนอกจากกรณีตาม 1. ให้เปรียบเทียบเงินได้ดังกล่าวกับจำนวนเงินเดือนสำหรับระยะเวลาเต็มเดือนสุด ท้ายคูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน จำนวนใดน้อยกว่าให้ใช้จำนวนนั้นไปรวมคำนวณกับเงินได้ตาม 3 (1) เพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายต่อไป

เงินเดือนสำหรับระยะเวลาเต็มเดือนเดือนสุดท้ายดังกล่าว จะต้องไม่เกินเงินเดือน ถัวเฉลี่ยของ 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงาน บวกด้วยร้อยละ 10 ของเงินเดือนถัวเฉลี่ยนั้น

ดังนั้น กรณีได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานที่จ่ายใน ลักษณะอื่นนอกจากกรณีตาม 1. ให้ผู้จ่ายเงินดำเนินการดัง นี้                                                 

ให้พิจารณาว่าเงินเดือนสำหรับระยะเวลาเต็มเดือน  12  เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงานเท่ากันตลอดหรือไม่ 
(1) ในกรณีที่เงินเดือนสำหรับระยะเวลาเต็มเดือน  12  เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงานเท่ากันตลอด ให้นำเงินเดือนสำหรับระยะเวลาเต็มเดือนเดือนสุดท้าย คูณด้วยจำนวนปีที่ทำงานเปรียบเทียบกับเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน จำนวนใดน้อยกว่าให้นำไปรวมกับเงินได้ตามข้อ 3 (1) เพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ในข้อ 3 คงเหลือเท่าใดให้นำไปคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายต่อไป

(2) ในกรณีที่เงินเดือนสำหรับระยะเวลาเต็มเดือน 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงานไม่เท่ากันตลอด ให้ถัวเฉลี่ยเงินเดือนสำหรับระยะเวลาเต็มเดือน 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงาน บวกด้วยร้อยละ 10 ของเงินเดือนถัวเฉลี่ยนั้น แล้วเปรียบเทียบกับเงินเดือนสำหรับระยะเวลาเต็มเดือนเดือนสุดท้าย จำนวนใดน้อยกว่าให้ใช้จำนวนนั้นเป็นฐานนำไปคูณกับจำนวนปีที่ทำงานได้ เป็นจำนวนเท่าใด ให้นำไปเปรียบเทียบกับเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ในลักษณะอื่นนอกจากกรณีตาม ข้อ 1. จำนวนใดน้อยกว่าให้นำไปรวมกับเงินได้ตามข้อ 4 (1) เพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ในข้อ 3 ต่อไป ได้จำนวนค่าใช้จ่ายเท่าใด ให้นำไปหักออกจากเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานทั้งจำนวน คงเหลือเท่าใดให้นำไปคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายต่อไป

3. การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ให้นำเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายที่คำนวณได้ตามข้อ 4 (2) มาคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามอัตราภาษีเงินได้ (อัตราก้าวหน้า)

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์ในการเลือกเสียภาษีสำหรับเงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานอย่างไร

วิสัชนา ผู้มีเงินได้ที่ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น ให้มีสิทธิเลือกเสียภาษีได้ 2 กรณี คือ
1. เลือกเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 48 (5) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่นำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่น
  (1) ในกรณีเงินได้พึงประเมินดังกล่าว ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานที่ได้รับจากนาย จ้างรายเดียว และผู้มีเงินได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังกล่าวข้างต้น  ผู้มีเงินได้ย่อมที่จะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้จากการนี้เพิ่มเติม แต่ต้องแสดงรายละเอียดการคำนวณภาษีหัก  ณ  ที่จ่าย ในแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ที่ยื่น

  (2) ในกรณีเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานที่ได้รับ จาก     นายจ้างต่างรายกัน ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีเงินได้ โดยไม่นำเงินได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณกับ    เงินได้อื่นตามมาตรา 48 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ก็ได้ โดยให้นำเงินได้พึงประเมินดังกล่าวทั้งสิ้นมารวมกัน แล้วคำนวณภาษีเงินได้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนด และแสดงรายละเอียดการคำนวณในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกครั้ง หนึ่ง สำหรับจำนวนปีที่ทำงานให้ถือจำนวนปีที่ทำงานกับนายจ้างในรายการที่มีจำนวนปี ที่ทำงานมากที่สุด ได้เป็นเงินภาษีเท่าใด ให้นำภาษีเงินได้ที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายมาหักออก จำนวนเงินภาษีที่ขาดอยู่อีกเท่าใดให้ผู้มีเงินได้ชำระพร้อมกับการยื่นแบบ แสดงรายการ

    2. ในกรณีผู้มีเงินได้เลือกนำเงินได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่น ซึ่งผู้มีเงินได้จะไม่มีสิทธิคำนวณภาษีตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขข้างต้น ให้นำเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานไป รวมคำนวณกับเงินได้ตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร คำนวณหักค่า ใช้จ่ายร้อยละ 40   แต่ไม่เกิน 60,000 บาท แล้วคำนวณภาษีเงินได้ตามปกติ ซึ่งย่อมจะทำให้ผู้มีเงินได้ อาจต้องเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมอีกเป็นจำนวนมากกว่ากรณีเลือกเสียภาษีเงิน ได้ตามกรณีที่ 1

 

ที่มา.. bangkokbiznew

วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี

“วันนี้…คุณยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปี 2552 หรือยัง”เป็นคำถามสุดฮิต        

วันที่ 15 ก.พ. มีความสำคัญอย่างไรกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด. โดยเฉพาะท่านที่มีเงินได้เป็นเงินเดือนค่าจ้างอย่างเดียว  คือ วันที่ 15 ก.พ 53 นี้ เป็นวันสุดท้ายที่นายจ้างต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายให้แก่พนักงานลูกจ้างที่ทำงานกับตนมาจนตลอดปี 52 ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ตามมาตรา 50 ทวิ กำหนดให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ได้หักไว้แล้วในปีภาษีให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2 ฉบับ มีข้อความตรงกันในกรณีและตามกำหนดเวลาดังต่อไปนี้

1. ในกรณีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร หรือตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 อาทิ ค่าเช่าทรัพย์สิน เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้ค่าบริการ และการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (2) (3) หรือ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ออกในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย

2. ในกรณีตามมาตรา 50 (1) อาทิ การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับเงินเดือนค่าจ้าง เบี้ยประชุม ค่านายหน้า ให้ออกภายในวันที่ 15 ก.พ.ของปีถัดจากปีภาษี หรือภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายออกจากงานในระหว่างปีภาษีหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ใช้ตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด  หากผู้จ่ายเงินได้ฝ่าฝืน ไม่ออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หรือไม่จัดทำหนังสือรับรองฯ ให้เป็นไปตามที่กำหนด อาจต้องรับผิดเสียค่าปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาทต่อกระทงความผิด ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งในทางปฏิบัติ กรมสรรพากรลดหย่อนโทษให้เหลือเพียง 500 บาทต่อกระทง ครับ.

 

ที่มา..http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=470&contentID=48780

หน้าที่ทางภาษีของนิติบุคคลตั้งใหม่

คำถาม: : เมื่อจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว จะต้องปฏิบัติในทางภาษีอย่างไร

คำตอบ: :
          1. ยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ด้วยแบบ ล.ป.10.3 ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
          2. ถ้ามีรายรับที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือธุรกิจเฉพาะ   
                     มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มหรือธุรกิจ เฉพาะแล้วแต่กรณี ด้วยแบบ ภ.พ.01 หรือ ภ.ธ.01 
                     มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 หรือ ภ.ธ.40 แล้วแต่กรณี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
          3. ถ้ามีการจ่ายเงินได้ที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องหัก ณ ที่จ่ายและนำส่งด้วยแบบ ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.2, ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53 หรือ ภ.ง.ด.54 แล้วแต่กรณี ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปจากเดือนที่มีการจ่ายเงินได้นั้น
          4. มีหน้าที่ยื่นแบบเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้  
                     ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 สำหรับเงินได้งวด 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ภายใน 2 เดือนนับแต่วันสุดท้ายของระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี  
                     ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับเงินได้รอบระยะเวลาบัญชี ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี