ธันวาคม, 2009 | รับทำเงินเดือน ธันวาคม, 2009 | รับทำเงินเดือน

สรุปภาษีอากรจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์

ภาษีอากร

   
       

เมื่อ นักลงทุนเข้ามาซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ นักลงทุนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ถูกต้อง ในส่วนนี้จึงสรุปการเสียภาษีอากรที่เกี่ยวข้องไว้เพื่อเป็นข้อมูลดังปรากฏ ต่อไปนี้

1.ภาษีอากรของนักลงทุนไทยและนักลงทุนต่างชาติที่ประกอบกิจการในประเทศไทย

ประเภทเงินได้จากการลงทุน
ในตลาดหลักทรัพย์
/ตลาดอนุพันธ์
อัตราภาษี
กำไรจากการขายหลักทรัพย์ (Capital Gain) *
  • บุคคลธรรมดา
  • นิติบุคคล
  • ได้รับยกเว้นภาษีี
  • ไม่มีภาษีหัก ณ ที่จ่าย แต่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
เงินปันผล :
  • บุคคลธรรมดา
  • 10% ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ถ้าได้รับเงินปันผลจากบริษัทจดทะเบียน หรือบริษัทจำกัด
  • เลือกให้หัก 10% ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หรือเลือกนำเงินปันผลไปรวมเสียภาษีปลายปี ถ้าได้รับเงินปันผลจากกองทุนรวม
  • ได้รับยกเว้นภาษี ถ้าได้รับเงินปันผลจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริม BOI
  • นิติบุคคล
  • 10% ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ถ้าผู้มีเงินได้ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียน
  • ได้รับยกเว้นภาษี ถ้าผู้มีเงินได้เป็นบริษัทจดทะเบียนและได้ถือหุ้นเป็น เวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนจ่าย และ 3 เดือนหลังจ่ายเงินปันผล จากบริษัทไทยหรือกองทุนรวม
  • ได้ รับยกเว้นภาษี ถ้าผู้มีเงินได้ถือหุ้นในบริษัทผู้จ่ายเงินปันผลอย่างน้อย 25 % ของหุ้นทั้งหมดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนจ่าย และ 3 เดือนหลังจ่ายเงินปันผล และบริษัทดังกล่าวมิได้ถือหุ้นในบริษัท ผู้มีเงินได้้
  • ได้รับยกเว้นภาษี ถ้าได้รับเงินปันผลจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
ดอกเบี้ย :
  • บุคคลธรรมดา
  • 15% ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
  • นิติบุคคล
  • 1% ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หรือ
  • ไม่มีภาษีหัก ณ ที่จ่าย ถ้าเป็นกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้รับดอกเบี้ยจาก ธนาคารพาณิชย์


2.ภาษีอากรของนักลงทุนต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย

ประเภทเงินได้จากการลงทุน
ในตลาดหลักทรัพย์/ตลาดอนุพันธ์
อัตราภาษี
กำไรจากการขายหลักทรัพย์ (Capital Gain) * :
  • บุคคลธรรมดา
  • นิติบุคคล
  • ได้รับยกเว้นภาษี
  • 15 % ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
เงินปันผล :
  • บุคคลธรรมดา
  • นิติบุคคล
  • 10% ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
  • 10 % ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ดอกเบี้ย :
  • บุคคลธรรมดา
  • นิติบุคคล
  • 15% ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
  • 15 % ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

* หมายเหตุ : กำไรจากการซื้อ/ขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดอนุพันธ์ ผู้ลงทุนมีภาระภาษีเช่นเดียวกับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์


3. อนุสัญญาภาษีซ้อน

กรม สรรพากรได้ตระหนักถึงภาระภาษีอากร ที่ผู้ลงทุนต่างประเทศมีหน้าที่ต้องเสียภาษี ซึ่งบางกรณีผู้เสียภาษีอาจมีหน้าที่ต้องเสียภาษีในประเทศของตนด้วย ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาและขจัดการเสียภาษีซ้ำซ้อน ป้จจุบันกรมสรรพากรได้ดำเนินการเจรจาและจัดทำอนุสัญญาภาษีซ้อนในนามประเทศ ไทยกับประเทศต่างๆ จำนวน 52 ประเทศ ซึ่งมีประเทศที่ได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับกำไรจากการขายหลักทรัพย์ ตามอนุสัญญาภาษีซ้อน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 28 ประเทศ ดังต่อไปนี้

ปรับปรุงล่าสุด 24 กุมภาพันธ์ 2552
1) แคนาดา * 15) สเปน *
2) คูเวต 16) สวิสเซอร์แลนด์ *
3) ไซปรัส * 17) สิงคโปร์
4) เดนมาร์ก 18) สโลวีเนีย *
5) ตุรกี * 19) อังกฤษ และไอร์แลนด์เหนือ *
6) นอร์เวย์ 20) อิตาลี
7) เนเธอร์แลนด์ * 21) อินเดีย
8) บังคลาเทศ 22) อินโดนีเซีย
9) เบลเยี่ยม 23) อิสราเอล *
10) ปากีสถาน 24) อุซเบกิสถาน *
11) ฝรั่งเศส * 25) เอมิเรตส์
12) มอริเชียส 26) แอฟริกาใต้
13) เยอรมัน 27) โอมาน
14) ลาว 28) ฮ่องกง *

หมาย เหตุ : ประเทศที่มีเครื่องหมาย * คือ ประเทศที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินกำไรจากการขายหลักทรัพย์โดยมีเงื่อนไขตามที่ ระบุไว้ในอนุสัญญาภาษีซ้อน ทั้งนี้ โปรดศึกษาและตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการ ยกเว้นภาษีเงินได้ตามอนุสัญญาภาษีซ้อน ในเว็ปไซต์ของกรมสรรพากรที่ www.rd.go.th ก่อนตัดสินใจลงทุน

4.ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ลงทุนจะถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการเป็น นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์/ตราสารอนุพันธ์ ในอัตรา 7% ของค่าธรรมเนียมหรือค่านายหน้าในการซื้อขายที่บริษัทหลักทรัพย์นั้นเรียก เก็บ

5.อากรแสตมป์

ในการโอนใบหุ้น, ใบหุ้นกู้ และพันธบัตรที่มีตราสารการโอน ผู้โอนจะต้องติดอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาทสำหรับทุกจำนวน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท โดยคิดตามราคาหุ้นที่ชำระแล้วหรือตามราคาในตราสารโอน (แล้ว แต่อย่างใดจะมากกว่า) ยกเว้นถ้าเป็นการโอนหลักทรัพย์จดทะเบียนที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นนายทะเบียน หรือเป็นการโอนพันธบัตรรัฐบาล และหน่วยลงทุนไม่ต้องติดอากรแสตมป์

 

ที่มา..http://www.set.or.th/th/regulations/tax/tax_p1.html