สิงหาคม, 2009 | รับทำเงินเดือน สิงหาคม, 2009 | รับทำเงินเดือน

ทำบัญชีอย่างไร ให้สรรพากรยอมรับได้

ทำบัญชีอย่างไรให้สรรพากรยอมรับได้

  • มีความรู้ในธุรกิจที่ทำ
  • มีระบบบัญชีที่ดี
  • มีเอกสารหลักฐานถูกต้อง ครบถ้วน ตามพรบ บัญชี
  • มีเอกสารหลักฐานถูกต้อง ครบถ้วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์
  • มีเอกสารหลักฐานถูกต้อง ครบถ้วน ตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
  • มีเอกสารหลักฐานถูกต้อง ครบถ้วน ตามประมวลรัษฎากร
  • เตรียมความพร้อมเมื่อถูกสรรพากรตรวจสอบ

ประเภทธุรกิจที่แตกต่างกัน

  • ซื้อมาขายไป
  • บริการ(รับเหมาก่อสร้าง/โรงแรม/ร้านอาหาร/นายหน้าตัวแทน/ขนส่ง ฯลฯ)
  • ผลิตสินค้า
  • นำเข้า-ส่งออก
  • ลิสซิ่ง/เช่าซื้อ
  • อสังหาริมทรัพย์(ซื้อขาย/ให้เช่า)
  • อื่นๆ เช่น คลังสินค้า

การจัดการบัญชีที่ดี ที่น่าเชื่อถือได้

  • จัดทำบัญชีเพื่อวัตถุประสงค์อะไร
  • ระบบข้อมูลทางบัญชี คืออะไร
  • ใครใช้ข้อมูลและข้อมูลให้ประโยชน์อย่างไร
  • ทำอย่างไรให้มีการจัดการระบบข้อมูลบัญชีที่ดี
  • กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทางบัญชีมีอะไรบ้าง

วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชี

  • เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ
    • ในการใช้ทรัพยากรอย่างจำกัด
    • ในเหตุการณ์ที่มีภาวะสำคัญ หรืออันตราย
    • ในการพิจารณาเป้าหมายและวัตถุประสงค์
  • เพื่อช่วยให้การสั่งการ การอำนวยการ และการควบคุมบุคคลากร และทรัพยากรที่สำคัญขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล
  • เพื่อให้แน่ใจว่ามีการรายงานและการดำรงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรขององค์กร
  • เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการควบคุมและเพื่อหน้าที่ทางสังคม

ทำความเข้าใจระบบข้อมูลทางบัญชีเพื่อจัดทำงบการเงิน

ใครใช้ข้อมูลและข้อมูลให้ประโยชน์อะไรบ้าง

  • การจัดทำข้อมูลสำหรับภายใน (Management Accounting)
  • จัดทำเพื่อเป็นข้อมูลประกอบสำหรับ
    • การตัดสินใจ (ทรัพยากร / ฉุกเฉิน)
    • การวางแผน (เป้าหมาย)
    • การสั่งการหรือการอำนวยการ (ประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล)
    • การควบคุม (ติดตาม/รายงานผล)
  • บริหารทุกระดับเป็นผู้ใช้ข้อมูลภายใน
  • การจัดทำข้อมูลสำหรับภายนอก (Financial Accounting)
  • จัดทำเพื่อเป็นข้อมูลประกอบสำหรับ
    • การจัดทำงบการเงินที่ตีพิมพ์
    • การจัดทำรายงานการเงินที่ตีพิมพ์
  • ผู้ใช้ข้อมูลภายนอก เช่น ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ นักวิเคราะห์ หน่วยงานรัฐ

ทำอย่างไรให้มีการจัดการบัญชีที่ดี

  • การจัดองค์กรที่ดี
    • มีการจัดสายงานที่ดี
    • มีระบบการทำงานแต่ละระบบและระบบการทำงานที่ร่วมกัน
    • มีการระบุหน้าที่ความรับผิดชอบชัดเจน
    • มีการใช้คนให้เหมาะสมกับงาน
  • มีการจัดการที่ดีในทุกระบบงาน แม้ในหน่วยงานบัญชีเอง
    • Planning (goal/วิธีที่จะนำสู่เป้าหมาย) Strategic Planning การวางแผนอย่างมีกลยุทธ์
    • Organizing (จัดวางคนให้เหมาะสมกับทรัพยากรที่มี)
    • Directing (Works Flow)
    • Leading (จูงใจให้ทำงานสู่เป้า/เข้าใจคน)
    • Controlling (Well Plan/well done/Max. Achievement) (Internal Control)

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทางบัญชี

  • พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543
  • มาตรฐานการบัญชี
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการจัดการห้างหุ้นส่วนและบริษัท
  • พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ
  • ประมวลรัษฎากร
  • กฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น พรบ.โรงงาน พรบ.ภาษีป้าย
  • พรบ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พรบ.เครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์ พรบ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พรบ.สิ่งแวดล้อม ฯลฯ

พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543

  • นิดของบัญชี
  • อความ & รายการ
  • ระยะเวลาลงรายการ
  • เอกสารประกอบ
  • การปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี
  • คุณสมบัติของผู้ทำบัญชี
  • ผู้ที่ต้องจัดทำบัญชี
  • หน้าที่ผู้จัดทำบัญชี
  • การจัดรักษาเอกสารบัญชี
  • การจัดทำงบการเงิน
  • การนำส่งงบการเงิน
  • บทกำหนดโทษ

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

  • ผู้ที่ต้องจัดทำบัญชี (ม. 8) (ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้น ในกิจการร่วมค้านั้น)
  • ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน (ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย)
  • บริษัทจำกัด (ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย)
  • บริษัทมหาชนจำกัด (ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย)
  • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
  • กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
  • บุคคลธรรมดา หรือ ห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย ที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุ เบกษา ให้เป็นผู้ที่ต้องจัดทำบัญชี

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

  • วันเริ่มทำบัญชี (ม.9)
  • ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน/บ จ./บ ม จ. เริ่มทำบัญชีวันที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
  • นิติฯ ต ป ท.ประกอบธุรกิจในไทย เริ่มทำบัญชีวันที่เริ่มต้นประกอบธุรกิจในไทย
  • กิจการร่วมค้าฯ เริ่มทำบัญชีวันที่เริ่มต้นประกอบกิจการ
  • ปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน

หน้าที่ผู้จัดทำบัญชี

  • ให้มีการทำบัญชี (ม. 7,8,9,10,11)
  • ส่งมอบเอกสารให้ทำให้ถูกต้องครบถ้วน (ม.12)
  • เก็บรักษาบัญชีและเอกสาร (ม.14,18) การส่งมอบบัญชีเมื่อเลิกกิจการ (ม.17)
  • บัญชีเอกสารสูญหาย (ม.15,16)
  • ควบคุมดูแลผู้ทำบัญชี (คุณสมบัติ ม. 7) (ทำถูกต้อง ม.12)
  • หน้าที่ผู้จัดทำบัญชี-ให้มีการทำบัญชี
  • บัญชีต้องมีรายการตามกฎหมาย (ชนิด/ข้อความ/เวลา/เอกสาร) (ม.7) (ประกาศกรมทะเบียนการค้า 19/6/44)
  • ทำตามมาตรฐานการบัญชี (ม.12)(ประกาศ ก บ ช. ฉ.42 gd28.12.43 ม ฐ.28 ฉบับ ตีความ 4 เรื่อง แม่บท 1 ฉบับ/#47gd.11.11.45 ยกเว้น ม ฐ.7ฉบับ/#48gd.20.12.45 ม ฐ.2ฉบับ)
  • จัดทำงบการเงิน ได้แก่งบดุล งบกำไรขาดทุน งบกำไรสะสม งบกระแสเงินสด งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบประกอบหรือหมายเหตุประกอบงบ (ม.4,11)(ประกาศกรมทะเบียนการค้า 14/9/44)

ประกาศกรมทะเบียนการค้า-ชนิดบัญชีที่ต้องจัดทำ

  • บัญชีรายวัน (บัญชีเงินสด/ธนาคารแต่ละเลขบัญชีธนาคาร/รายวันซื้อ/รายวันขาย/รายวันทั่วไป)
  • บัญชีแยกประเภท(สินทรัพย์ หนี้สินและทุน/รายได้และค่าใช้จ่าย/ลูกหนี้/เจ้าหนี้)
  • บัญชีสินค้า
  • บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภทอื่น/ย่อยตามจำเป็น

ประกาศกรมทะเบียนการค้า ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี

  • ปกด้านหน้าของสมุดบัญชี
    • ชื่อนิติบุคคล/ชื่อทางการค้า(กรณีไม่ใช่นิติบุคคล)
    • ชนิดของบัญชี
    • ลำดับเล่มบัญชีแต่ละชนิด เรียงลำดับต่อเนื่อง เลขไทย/อารบิค
  • บัญชีรายวัน/แยกประเภท/สินค้า ต้องมีรายการ
    • ชื่อบัญชี วดป. เลขที่เอกสารหรือหน้าบัญชีหรือรหัสอ้างอิง รายการ จำนวนเงิน
    • หน้าบัญชี เรียงลำดับทุกหน้า เลขไทย/อารบิค
    • รายการจำนวนเงิน ต้องเป็นหน่วยเงินตราไทย
  • บัญชีเงินสด/ธนาคาร มีรายละเอียดการได้มาจ่ายไป
  • บัญชีรายวันซื้อ/รายวันขาย มีรายละเอียด ชนิด ประเภท จำนวนและราคาของสินค้า/บริการ
  • บัญชีรายวันทั่วไป มีคำอธิบายรายการบัญชี
  • บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน มีรายละเอียดการเพิ่ม/ลด อ้างอิงชนิด บ/ช และหน้า บ/ช หรือรหัสอ้างอิง
  • บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย มีรายละเอียดที่มา อ้างอิงชนิด บ/ช และหน้า บ/ช หรือรหัสอ้างอิง
  • บัญชีแยกประเภทลูกหนี้/เจ้าหนี้ มีชื่อลูกหนี้/เจ้าหนี้ รายละเอียดก่อหนี้/ระงับหนี้ อ้างอิงชนิด บ/ช และหน้า บ/ช หรือรหัสอ้างอิง
  • บัญชีสินค้า ให้มี ชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ รายละเอียดการได้มา/จ่ายไป

ประกาศกรมทะเบียนการค้า ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี

  • บัญชีรายวัน ลงภายใน 15 วัน นับแต่วันที่รายการนั้นเกิดขึ้น
  • บัญชีแยกประเภท (มาจากรายวัน) ลงภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่รายการนั้นเกิดขึ้น ยอดคงเหลือต้องลงรายการภายใน 60 วันนับแต่วันปิดบัญชี
  • บัญชีสินค้า ลงภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่รายการนั้นเกิดขึ้น ยอดคงเหลือต้องลงรายการภายใน 60 วันนับแต่วันปิดบัญชี

ประกาศ ก.บช. เรื่อง มาตรฐานการบัญชี

  • ประกาศฉบับที่ 42 มีมาตรฐาน 29 ฉบับ ตีความตามมาตรฐาน จำนวน 4 เรื่อง (ประกาศราชกิจจานุ เ บก ษา28 ธันวาคม 2543)
  • ประกาศฉบับที่ 46 แก้ไขวันบังคับใช้ย่อหน้า 38 ของมาตรฐาน 32 เริ่มใช้ปี 2550 (โอนส่วนเกินตีราคาไปกำไรสะสมไม่ใช่กำไรขาดทุน) (ประกาศราชกิจจานุเบก ษา 1 พฤษภาคม 2545)
  • ประกาศฉบับที่ 47 การยกเว้นการบังคับใช้มาตรฐาน 7 ฉบับสำหรับบริษัทที่ไม่ใช่บริษัทมหาชน (ประกาศราชกิจจานุเบกษา 11 พฤศจิกายน 2545)
  • ประกาศฉบับที่ 48 ให้ใช้มาตรฐาน 2 ฉบับ คือมาตรฐานฉบับที่ 34 และฉบับที่ 49 (ประกาศราชกิจจานุเบกษา 20 ธันวาคม 2545)
  • ประกาศฉบับที่ 49 แก้ไขมาตรฐานฉบับที่ 46 เรื่องรายงานการเงินเกี่ยวกับส่วนได้เสียในการร่วมค้า (ประกาศราชกิจจานุเบกษา 28 กุมภาพันธ์ 2546)
  • ประกาศฉบับที่ 50 แก้ไขมาตรฐานฉบับที่ 40 (ประกาศราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2546)
  • ประกาศฉบับที่ 51 เรื่องการตึความมาตรฐาน เรื่องสินทรัพย์ที่โอนให้เพื่อชำระหนี้ (ประกาศ ตุลาคม 2546)

ประกาศกรมทะเบียนการค้า กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน

  • ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน (ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย) ใช้แบบ 1
  • บริษัทจำกัด (ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย) ใช้แบบ 2
  • บริษัทมหาชนจำกัด (ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย) ใช้แบบ 3
  • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย ใช้แบบ 4
  • กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ใช้แบบ 5

ประกาศกรมทะเบียนการค้า หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน

  • กำหนดเวลายื่น
    • ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคลต่างประเทศประกอบธุรกิจในไทย ยื่นภายใน 5 เดือนนับแต่วันปิดบัญชี
    • บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ยื่นภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ ซึ่งต้องประชุมภายใน 4 เดือนนับแต่วันปิดบัญชี
  • การแจ้งรายชื่อธุรกิจของผู้สอบบัญชี
  • เอกสารที่ต้องยื่น
    • ส บ ช. 3 จำนวน 3 ชุด (ผู้ทำบัญชี/ผู้มีอำนาจทำการแทน)
    • งบการเงิน ที่มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตรับรอง จำนวน 2 ชุด (ผู้มีอำนาจลงชื่อทุกหน้า)(หน้างบดุล งบการเงินได้รับอนุมัติจากประชุมผู้ถือหุ้นครั้ง…วันที่..)
    • บ อ จ. 5 วันประชุมใหญ่อนุมัติงบ จำนวน 1 ชุด (บจ. ภายใน 14 วันนับแต่วันประชุมใหญ่) (บ ม จ. ภายใน 1 เดือนนับแต่วันประชุม)
    • สำเนารายงานการประชุมเฉพาะที่อนุมัติงบ จ่ายปันผล จำนวน 1 ชุด (กรณีเป็นบริษัทมหาชนจำกัด)
    • รายงานประจำปี จำนวน 1 ชุด (กรณีเป็นบริษัทมหาชนจำกัด)
  • การส่งรายงานประจำปีและยื่นบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัทมหาชนจำกัดในรูปแบบข้อมูลอีเล็กทรอนิกส์ ให้ทำหนังสือนำส่งพร้อมรับรองความถูกต้องของข้อมูลโดยผู้มีอำนาจทำการแทนและประทับตรา จำนวน 1 ชุด และอย่างน้อยหนึ่งคนลงชื่อกำกับไว้ในแผ่นข้อมูล
  • งบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่ไม่ต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตรับรอง (แต่ส่งสรรพากรยังคงต้องมีผู้สอบบัญชีภาษีอากร) ถ้า
    • ทุนไม่เกิน ห้าล้านบาท
    • สินทรัพย์รวมไม่เกิน สามสิบล้านบาท
    • รายได้รวมไม่เกิน สามสิบล้านบาท

หน้าที่ของผู้จัดทำบัญชี – เอกสารหลักฐานบัญชี

  • ส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน (ม.12)
  • ให้บัญชีที่จัดทำแสดงตามความเป็นจริง และ ตามมาตรฐานการบัญชี (ม.12)
  • หลักฐานเอกสารประกอบการลงบัญชีตามประกาศกรมทะเบียนการค้าถ้าออกให้คนภายนอกอย่างน้อยต้องมีสำเนา1 ฉบับ
  • การลงบัญชีรายวันและบัญชีสินค้า ต้องมีเอกสารประกอบทุกรายการ และให้ใช้เอกสารเรียงลำดับจาก “นอกเข้าใน” “ในออกนอก” และ “ในใช้เอง”

ประกาศกรมทะเบียนการค้า เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

เอกสารที่ต้องใช้ ได้แก่ บันทึก หนังสือ เอกสารใด ๆ

  • เอกสารจากภายนอก เช่น ใบสั่งซื้อของลูกค้า ใบเสร็จรับเงินจากผู้ขาย ใบกำกับภาษีจากผู้ขาย ฯลฯ
  • เอกสารภายในส่งให้บุคคลภายนอก เช่นใบสั่งซื้อของบริษัท ใบเสร็จรับเงินของบริษัท ใบกำกับภาษีของบริษัท ฯลฯ
  • เอกสารภายในทำขึ้นใช้เอง เช่น ใบสำคัญรับเงิน ใบสำคัญจ่ายเงิน ใบรายงานการตรวจนับสินค้า ใบเบิกสินค้า ฯลฯ

เอกสารทุกประเภท ต้องมีรายการตามที่กำหนดทุกข้อ

  • ชื่อของผู้จัดทำเอกสาร (ชื่อที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ)
  • ชื่อของเอกสาร
  • เลขที่ของเอกสาร และเล่มที่ (ถ้ามี)
  • วัน เดือน ปี ที่ออกเอกสาร
  • จำนวนเงินรวม

เอกสารในการรับเงิน/รับฝากเงิน/รับชำระเงิน-ตั๋วเงิน ต้องมีรายการเพิ่มดังนี้

  • เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของกิจการที่ทำเอกสาร
  • สถานที่ตั้งของกิจการที่ทำเอกสาร
  • รายละเอียดเกี่ยวกับการรับเงินหรือตั๋วเงิน
  • ชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ ราคาต่อหน่วย และราคารวมของสินค้าหรือบริการแต่ละรายการ เว้นแต่มีการระบุรายละเอียดไว้ต่างหาก
  • ลายมือชื่อผู้รับเงิน/ตั๋วเงิน เว้นแต่เอกสารที่ทำและส่งมอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

เอกสารหลักฐานในการจำหน่าย จ่าย โอน ส่งมอบสินค้า/บริการ เพิ่ม

  • เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของกิจการที่ทำเอกสาร
  • สถานที่ตั้งของกิจการที่ทำเอกสาร
  • รายละเอียดเกี่ยวกับการรับเงินหรือตั๋วเงิน
  • ชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ ราคาต่อหน่วย และราคารวมของสินค้าหรือบริการแต่ละรายการ
  • ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อ/ผู้รับสินค้า/ผู้รับบริการ
  • ลายมือชื่อผู้จัดทำเอกสาร
  • ลายมือชื่อผู้รับสินค้า/ผู้รับบริการ

เอกสารจัดทำเพื่อใช้ในกิจการ ต้องเพิ่ม

  • คำอธิบายรายการ
  • วิธีการและการคำนวณต่าง ๆ
  • ลายมือชื่อผู้อนุมัติรายการ โดย “ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี” หรือ “ผู้ที่ได้รับมอบหมาย”

หน้าที่ของผู้จัดทำบัญชี – การเก็บรักษาบัญชีและเอกสาร

  • กรณีปกติ ต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ไม่น้อยกว่า ห้าปี นับแต่วันปิดบัญชี (ม. 14)
  • กรณีเลิกกิจการ ต้องเก็บไว้จนกว่าจะส่งมอบให้สารวัตรบัญชีและสารวัตรบัญชีเก็บไว้อีกอย่างน้อย ห้าปี (ส่งมอบภายใน 90 วัน ขยายได้ไม่เกิน 180 วัน) (ม. 17)
  • กรณีถูกตรวจสอบ อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้เก็บเกิน ห้าปี แต่ไม่เกิน เจ็ดปี (ม. 14)

สถานที่เก็บรักษา บัญชีและเอกสาร (ม. 13 )

  • สถานที่ทำการ
  • สถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิต
  • สถานที่ที่ใช้เป็นที่เก็บสินค้าเป็นประจำ
  • สถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานเป็นประจำ
  • สถานที่ที่มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังสถานที่ข้างต้น
  • สถานที่อื่น ๆ ต้องขออนุญาตสารวัตรบัญชีก่อน ใช้แบบ ส.บช. 1 (ถ้าย้ายกลับ/มีกำหนดเวลา ก็ต้องแจ้งภายใน 15 วันที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกครั้ง)

หน้าที่ของผู้จัดทำบัญชี – บัญชีและเอกสารสูญหาย

  • บัญชี หรือ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี สูญหาย หรือเสียหาย ผู้จัดทำบัญชี ต้องแจ้งต่อสารวัตรบัญชีภายใน 15 วันนับแต่ วันที่ทราบ หรือ วันที่ควรทราบ (ม. 15)
  • ใช้แบบ ส. บช. 2 พร้อมหลักฐานผู้จัดทำบัญชี ภาพถ่ายที่เกิดเหตุ (กรณีเสียหาย) หลักฐานที่แสดงว่าสูญหาย/เสียหายจริง
  • ถ้าสารวัตรบัญชีพบว่า มิได้เก็บไว้ในที่ปลอดภัย ให้สันนิษฐานว่ามีเจตนาทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น ทำให้สูญหาย ทำให้ไร้ประโยชน์ (ม. 16)

หน้าที่ของผู้จัดทำบัญชี – ให้มีผู้ทำบัญชี

  • ม. 19 ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
    • ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด
    • ต้องควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดทำบัญชีให้ตรงต่อความเป็นจริงและถูกต้อง
  • ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นบุคคลธรรมดา จะเป็นผู้ทำบัญชี สำหรับกิจการของตนเองก็ได้
  • มาตรา 20 “ผู้ทำบัญชีต้องจัด ทำบัญชี เพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน”
  • การลงรายการในบัญชี ต้องลงเป็นภาษาไทย ถ้าลงเป็นภาษาต่างประเทศต้องมีภาษาไทยกำกับ ถ้าลงรายการเป็นรหัสบัญชีต้องมีคู่มือคำแปลเป็นภาษาไทย จะลงโดยเขียน พิมพ์หรือวิธีใดก็ได้ (มาตรา 21)

ผู้ทำบัญชี

  • ลักษณะการปฏิบัติงานทำบัญชี
  • คุณสมบัติผู้ทำบัญชี
  • หน้าที่ความรับผิดชอบในการทำบัญชี
  • หน้าที่เข้าอบรมพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง

ผู้ทำบัญชี – ลักษณะการปฏิบัติงานทำบัญชี

  • พนักงานของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ผู้ทำบัญชีคือ ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี/สมุห์บัญชี/หัวหน้าแผนกบัญชี/เรียกอย่างอื่นแต่มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
  • สำนักงานบริการรับทำบัญชี ผู้ทำบัญชีคือ หัวหน้าสำนักงาน /ผู้เป็นหุ้นส่วนที่รับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชีของคณะบุคคล / กรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่รับผิดชอบของนิติบุคคล
  • บุคคลธรรมดาผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ
  • ผู้ช่วยผู้ทำบัญชี กรณีที่ผู้ทำบัญชี รับทำบัญชีเกินกว่า 100 ราย ต้องมีผู้ช่วย 1 คน เศษของหนึ่งร้อยถ้าเกินห้าสิบให้นับเป็นหนึ่งร้อย
  • บุคคลอื่นที่รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

ผู้ทำบัญชี – คุณสมบัติของผู้ทำบัญชี

  • มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักร
  • มีความรู้ภาษาไทย
  • ไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายบัญชี/สอบบัญชี เว้นแต่พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
  • คุณวุฒิการศึกษา ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า (กรณีบริษัทมีทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ผู้ทำบัญชีมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า)

ผู้ทำบัญชี – หน้าที่เข้าอบรมพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง

  • อบรม 3 ปี 27 ชั่วโมง (เนื้อหาเกี่ยวกับบัญชีไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง แต่ละปีต้องเข้ารับการอบรมพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง )
  • ความรู้ที่ต้องอบรม ได้แก่ การบัญชี กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการภาษีอากร เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี เรื่องอื่น ๆ ที่อธิบดีกำหนด
  • ต้องแจ้งรายละเอียดการอบรมตามแบบ ส.บช. 7 ต่ออธิบดีภายใน 60 วันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของทุกปี (ภายในมีนาคมของทุกปี)

บทกำหนดโทษตามพ.ร.บ. การบัญชี 2543

  • มาตรา 27 ผู้ใดฝ่าฝืน ม.7(1)(2)(3)(4) ปรับไม่เกิน 10,000 บาท และวันละ 500 บาทจนกว่าจะทำถูกต้อง (ถ้าเสียค่าปรับแล้วให้คดีเลิกกัน)
    • ม.7(1) ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ
    • ม.7(2) ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี
    • ม.7(3) ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี
    • ม.7(4) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี
  • ฝ่าฝืน ม.7(6) ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
    • ม.7(6) คุณสมบัติและเงื่อนไขผู้ทำบัญชี
  • มาตรา 28 ผู้จัดทำบัญชี ไม่ให้ทำบัญชีตามม. 8 , ม. 9 ปรับไม่เกิน 30,000 บาท และวันละ 1,000 บาทจนกว่าจะทำถูกต้อง (ถ้าเสียค่าปรับแล้วให้คดีเลิกกัน)
    • ม.8 – ให้มีการทำบัญชี
      • มีสถานประกอบธุรกิจหลายแห่ง แต่ละแห่งให้มีผู้ทำบัญชี
      • บุคคลธรรมดาตามประกาศให้ทำบัญชีต้องมีผู้ทำบัญชี
    • ม.9 – ให้มีการทำบัญชีเริ่มจากจดทะเบียนนิติบุคคล
      • ตปท./ร่วมค้า เริ่มเมื่อประกอบกิจการ
  • มาตรา 29 ผู้จัดทำบัญชี ไม่ปฎิบัติตาม ม10, 12, 19 ปรับไม่เกิน 10,000 บาท (ถ้าเสียค่าปรับแล้วให้คดีเลิกกัน)
    • ม.10 – ปิดบัญชีทุก 12 เดือน
    • ม.12 – ส่งมอบเอกสารให้ผู้ทำให้ถูกต้องครบถ้วนเป็นจริง
    • ม.19 – ต้องให้มีผู้ทำบัญชีที่มีคุณสมบัติตามก/ม
  • มาตรา 30 ผู้จัดทำบัญชีไม่ปฎิบัติตาม ม.11 วรรคหนึ่ง ปรับไม่เกิน 50,000 บาท (ถ้าเสียค่าปรับแล้วให้คดีเลิกกัน)
    • ม.11 วรรคหนึ่ง- หหส. จดทะเบียน/นิติ ตปท./ร่วมค้า
    • ทำงบยื่นกบช. ภายใน 5 เดือนจากปิดงบ
      • – บริษัทจำกัด/บริษัทมหาชน
    • ทำงบยื่นกบช. ภายใน 1 เดือนจากได้รับ อนุมัติจากที่ประชุมใหญ่
  • มาตรา 31 ผู้จัดทำบัญชีไม่ปฎิบัติตาม ม.11 วรรคสาม ม.13,14,15,17 ปรับไม่เกิน 5,000 บาท (ถ้าเสียค่าปรับแล้วให้คดีเลิกกัน)
    • ม.11 วรรคสาม งบการเงินต้องมีรายการย่อตามกำหนด
    • ม.13 ต้องเก็บรักษาบัญชี ณ สถานที่ทำการ เว้นแต่ขออนุญาต
    • ม.14 ต้องเก็บรักษาบัญชี ไม่น้อยกว่า 5 ปี (อธิบดีมีอำนาจให้ เก็บไม่เกิน 7 ปีกรณีตรวจสอบ)
    • ม.17 เลิกโดยไม่ชำระบัญชี ให้ส่งมอบบัญชีภายใน 90 วันสารวัตรบัญชีเก็บไว้อีก ไม่น้อยกว่า 5 ปี
  • มาตรา 32 ผู้จัดทำบัญชี ไม่ปฎิบัติตาม ม.11 วรรคสี่ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท (ถ้าเสียค่าปรับแล้วให้คดีเลิกกัน)
  • ม.11 วรรคสี่ งบการเงินต้องมีการตรวจสอบและรับรองโดย ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เว้นแต่งบของ หหส.จดทะเบียน ที่
    • มีทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท
    • มีสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
    • มีรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
    • ไม่ต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาต แต่ต้องมี Tax Auditor
  • มาตรา 33 ผู้จัดทำบัญชีแจ้งเท็จกรณีบัญชีสูญหาย หรือเสียหาย ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา 34 ผู้ใดไม่ปฎิบัติตามม. 20 ปรับไม่เกิน 10,000 บาท (ถ้าเสียค่าปรับแล้วให้คดีเลิกกัน)
  • ม.20 ผู้ทำบัญชีต้องทำบัญชีและปิดงบตามความเป็นจริง และตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีเอกสารประกอบให้ถูกต้องครบถ้วน
  • มาตรา 35 ผู้ใด ไม่ปฎิบัติตามม. 21 ปรับไม่เกิน 5,000 บาท(ถ้าเสียค่าปรับแล้วให้คดีเลิกกัน)
  • ม.21 ในการลงบัญชี ผู้ทำบัญชีต้องทำเป็นภาษาไทย ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศต้องมีภาษาไทยกำกับ หรือลงรายการเป็นรหัสบัญชีก็ให้มีคู่มือแปลรหัสเป็นภาษาไทย จะเขียน ตีพิมพ์ พิมพ์ดีด ก็ได้
  • มาตรา 36 ผู้ใดขัดขวางสารวัตรบัญชี ที่จะเข้าไปตรวจ/ค้น/ยึด/อายัด ปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา 36 ;วรรคสอง ถ้าไม่อำนวยความสะดวกในการเข้าไปตรวจหรือไม่มาให้ถ้อยคำหรือไม่ส่งเอกสารตามสั่ง ปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ (ถ้าเสียค่าปรับแล้วให้คดีเลิกกัน)
  • มาตรา 37 ผู้ใด เปิดเผยข้อความที่ทราบจากการปฎิบัติการตรวจค้น/ยึด/อายัด/ให้ถ้อยคำ (เว้นแต่จะมีอำนาจทำได้ตามก/ม) ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือทั้งจำทั้งปรับ
  • สารวัตรบัญชี/เจ้าพนักงาน ทำผิดข้างต้น ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา 38 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น ทำให้สูญหาย ทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ผู้จัดทำบัญชี เป็นผู้ทำผิดข้างต้น ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา 39 ผู้ใดลงรายการเท็จ แก้ไข ละเว้นการลงรายการในบัญชี/งบการเงิน แก้ไขเอกสารที่ใช้ประกอบการลงบัญชีให้ผิดความจริง ปรับไม่เกิน 40,000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ผู้จัดทำบัญชี เป็นผู้ทำผิดข้างต้น ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา 40 นิติบุคคล/กก.ผู้จัดการ/ห ส.ผู้จัดการ/ผู้แทนนิติฯบุคคลใดที่รับผิดชอบในการดำเนินการของนิติฯ ผู้จัดทำบัญชี ต้องรับผิดตามความผิดด้วยเว้นแต่จะพิสูจน์ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นหรือยินยอมในการทำผิด
  • ตามก/ม ผู้จัดทำบัญชี คือ
    • ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
    • บริษัทจำกัด
    • บริษัทมหาชน
    • นิติบุคคลต่างประเทศทำธุรกิจในไทย
    • กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร

ความผิดกรณีผู้ทำบัญชีไม่ใช่ผู้ทำบัญชีตามกฎหมาย

  • พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 ความผิดกรณีผู้ทำบัญชีไม่ใช่ผู้ทำบัญชีตามกฎหมาย
  • ม. 44 ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพเป็นผู้ทำบัญชี เว้นแต่เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี หรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชี
    • หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
  • ม.69 ผู้ใด ฝ่าฝืน ม. 44 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญากรณีลงบัญชีไม่ถูกต้อง

  • ความผิดถ้าลงบัญชีโดยไม่มีหลักฐาน หรือหลักฐานไม่ถูกต้อง เป็นเท็จ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงบัญชีหรือหลักฐานในทางที่ไม่ถูกต้อง
  • มีความผิดตามพ.ร.บ.การบัญชี พ.ศ. 2543
  • มีความผิดตามพ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 แก้ไขเปลี่ยนแปลง พ.ศ. 2535
  • มีความผิดตามพ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
  • มีความผิดตามประมวลรัษฎากร
  • ความผิดตามพ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 แก้ไขเปลี่ยนแปลง พ.ศ. 2535 มาตรา 42
  • บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงาน ของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด กระทำ หรือยินยอมให้กระทำการดั่งต่อไปนี้
    • (1) ทำให้เสียหาย ทำลาย เปลี่ยนแปลง ตัดทอน หรือปลอมบัญชี เอกสาร หรือหลักประกันของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือ
    • (2) ลงข้อความเท็จ หรือไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชี หรือเอกสารของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
  • ถ้ากระทำหรือยินยอมให้กระทำการเพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ความผิดตามพ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 216
  • บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทใดกระทำหรือยินยอมให้กระทำการดังต่อไปนี้
    • (1) ทำให้เสียหาย ทำลาย เปลี่ยนแปลง ตัดทอน หรือปลอมบัญชี เอกสาร หรือหลักประกันของบริษัท หรือที่เกี่ยวกับบริษัท หรือ
    • (2) ลงข้อความเท็จ หรือไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชีหรือเอกสารของบริษัท หรือที่เกี่ยวกับบริษัท
  • ถ้ากระทำหรือยินยอมให้กระทำเพื่อลวงให้บริษัทหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37
  • ผู้ใด
    • (1) โดยรู้อยู่แล้วหรือโดยจงใจแจ้งข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรตามลักษณะนี้ หรือ
    • (2) โดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน หลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรตามลักษณะนี้
  • ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับ ตั้งแต่ 2,000 ถึง 200,000 บาท

เตรียมรับมือกับการถูกตรวจสอบอย่างไร

  • ถูกตรวจสอบสภาพกิจการ (มีหนังสือนำตัว)
  • เตรียมตัว : ทำตามแบบ/ตามกฎ/ทันเวลา/กระทบยอดได้/เอกสารรับจ่ายครบถ้วนถูกต้อง เช่น
    • vat/stock -ปกอ19 การทำรายงานvatซื้อ/ขาย/รายงานStock
    • บัญชีพิเศษ – โรงสีข้าว/ สถานพยาบาลที่มีเตียงค้างคืน/ ค้ารถยนต์เก่า/ ผู้ผลิตรับจ้างผลิตซีดี/ บัญชีพิเศษการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย/
  • หนังสือแจ้งผลการตรวจสอบสภาพกิจการ : เสร็จสิ้น/หรือไม่ได้ปรับปรุงการชำระภาษีตามข้อเท็จจริงจะดำเนินการตรวจปฏิบัติการหรือออกหมายเรียก
  • ถูกตรวจบัญชีจากการยื่นแบบภงด 50
  • เตรียมตัว : คำนวณตามเกณฑ์ที่ระบุในมาตรา 65 มาตรา 65ทวิ มาตรา 65 ตรีรวมทั้งกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องตามประกาศต่างๆ /มีรายละเอียดประกอบและสามารถกระทบยอดได้ทุกบัญชี /มีเอกสารและหลักฐานถูกต้อง/เกี่ยวข้องกับกิจการและหากำไร/ไม่มีรายจ่ายต้องห้าม
  • ตรวจพบข้อผิดพลาดด้วยตนเอง/ตรวจพบโดยเจ้าหน้าที่
  • การตรวจค้น ยึด อายัด บัญชีเอกสารหลักฐาน : กรณีเชื่อว่ามีการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรหรือกรณีถึงกำหนดชำระไม่ชำระมีภาษีอากรค้าง(ยึด/อายัด/ขายทอดตลาด)

การยื่นเสียภาษีตามแบบ ตามกำหนดเวลา

  • สิ่งที่กำหนดให้ยื่น เช่น แบบเสียภาษี งบดุลงบกำไรขาดทุน บัญชีพิเศษ
  • วันเวลาที่ครบกำหนดต้องยื่นแบบต่าง ๆ
  • ยื่นผิดยื่นใหม่
  • ยื่น- ไม่ถูก/ไม่สมบูรณ์
    • เตรียมพบกับ – เรียกไต่สวน+เอกสาร(ภายใน 2 ปีนับแต่วันยื่น)(ขยายได้ ไม่เกิน 5 ปี) ปรับ 1 เท่า + 1.5% ต่อเดือน
  • ไม่ยื่น
    • เตรียมพบกับ – เรียกไต่สวน+เอกสาร ภายใน 7 วัน (ย้อนได้ 10 ปี) ปรับ 2 เท่า + 1.5% ต่อเดือน

ประโยชน์การเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบ

  • ช่วยอำนวยความสะดวกในการตรวจของเจ้าหน้าที่
  • ช่วยให้การตรวจสอบง่าย เนื่องจากได้มีการจัดเตรียมหลักฐาน เอกสาร อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตามประมวลรัษฎากร มีการจัดทำรายงานกระทบยอดแต่ละบัญชี มีรายงานการยื่นแบบต่าง ๆ อย่างเป็นระเบียบ เป็นต้น
  • ช่วยลดความเสี่ยงในการถูกปรับ ถ้าปรับก็อาจเป็นเพียงความบกพร่องเล็กน้อย หรือไม่มีเจตนา ทำให้ลดค่าใช้จ่ายเบี้ยปรับ เงินเพิ่มได้
  • ช่วยให้ประหยัดต้นทุนในการประกอบธุรกิจ
  • ช่วยให้กิจการได้ประโยชน์ในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เมื่อต้องเตรียมรับการตรวจ ก็ต้องเตรียมพร้อมในความถูกต้อง ทำให้ต้องวางแผนงานธุรกิจควบคู่กันไปด้วย

โดย พรรณี วรวุฒิจงสถิต

ที่มา..สำนักงานสงเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

เงินได้จากการขายตรงถือเป็นเงินได้ประเภทใด

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 387-389/2551

นางจริยา มุนินทร์สาคร กับพวก โจทก์ กรมสรรพากร จำเลย

ข้อเท็จจริง

โจทก์ ทั้งสามได้รับสินค้าเครื่องสำอาง พ. จากบริษัท ท. จำกัด ไปขายแก่บุคคลทั่วไป โดยโจทก์ทั้งสามได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ในลักษณะเป็นส่วนลดขั้นที่หนึ่งอัตราร้อยละ 40 ของราคาสินค้าที่บริษัทกำหนด และส่วนลดพิเศษเมื่อมียอดซื้อสินค้าตามเกณฑ์ที่บริษัทกำหนดตามสัญญาและ เงื่อนไขการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ พ. เอกสารหมาย ล.2 แผ่นที่ 41 ถึง 43 และ ล.3 แผ่นที่ 93 ถึง 97 ในปีภาษี 2542 โจทก์ที่ 1 ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นส่วน ลดและส่วนลดพิเศษเป็นเงินจำนวน 389,362.30 บาท โจทก์ที่ 2 ได้รับส่วนลดและส่วนลดพิเศษ รวมทั้งเปอร์เซ็นต์จากลูกทีมและค่าอบรมเป็น เงินจำนวน 988,058.50 บาท และโจทก์ที่ 3 ได้รับส่วนลดและส่วนลดพิเศษเป็นเงินจำนวน 363,287.89 บาท โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ไม่ได้นำเงินได้ดังกล่าวไปยื่นรายการและชำระภาษี ส่วนโจทก์ที่ 2 แสดงรายการไม่ถูกต้องครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินว่าเงินได้ของโจทก์ทั้งสามจากผลประโยชน์ตอบแทน ในลักษณะเป็นส่วนลดจากบริษัทดังกล่าวเป็นเงินได้จากการที่โจทก์ทั้งสามรับทำ การงานให้ในการเป็นตัวแทนขายสินค้าของบริษัทและรับสินค้าจากบริษัทไปขายเป็น เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร จึงแจ้งการประเมินให้โจทก์ทั้งสามชำระภาษีพร้อมทั้ง เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม

โจทก์ทั้งสามอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการการพิจารณาอุทธรณ์

คณะ กรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมาย แต่มีเหตุอันสมควรผ่อนผันจึงลดเบี้ยปรับที่เรียกเก็บไปแล้วคงเหลือเรียกเก็บ เพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย ส่วนเงินเพิ่มตามการประเมินเป็นเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดให้ได้

ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยมิให้ นำเงินส่วนลดและส่วนลดพิเศษมารวมคำนวณภาษี

จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

คำวินิจฉัยศาลฎีกา

ศาล ฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยมีว่า ผลประโยชน์ตอบแทนในลักษณะเป็นส่วนลดที่โจทก์ทั้งสามได้รับจากบริษัท ท. จำกัด เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวล-รัษฎากรหรือไม่ โดยจำเลยอุทธรณ์ว่า สัญญาที่บริษัท ท. จำกัด ทำกับโจทก์ทั้งสามไม่ได้ระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขาย แต่สัญญาได้ระบุชัดเจนว่าเป็นสัญญาจำหน่ายสินค้าในลักษณะขายตรง จำหน่ายในระบบบุคคลต่อบุคคลให้ผู้บริโภคโดยตรง ในสัญญาระบุเงื่อนไขผูกพันโจทก์ทั้งสามตลอดเวลาของสัญญาว่า โจทก์ทั้งสามไม่สามารถจำหน่ายสินค้าในลักษณะเดียวกันหรือมีกลุ่มเป้าหมาย เดียวกันกับบริษัท ท. จำกัด ส่วนราคาสินค้าก็ถูกกำหนดให้ขายในอัตราลดได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบของราคา สินค้าที่บริษัทตั้งไว้ โจทก์ทั้งสามกำหนดราคาขายเองไม่ได้ โจทก์ทั้งสามต้องทำรายงานสรุปการขายประจำเดือนรายงานการขายให้สมาชิกพร้อม รายงานประวัติสมาชิกที่ตนเองรับผิดชอบ ต้องหาสมาชิกมาเพิ่มทุกเดือน หากโจทก์ทั้งสามไม่ปฏิบัติตามสัญญาบริษัทมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ทั้ง สาม และสามารถเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ทั้งสาม โจทก์ทั้งสามจะไม่มีสิทธิเป็นสมาชิก และไม่มีสิทธิรับประโยชน์ต่างๆตามที่บริษัทกำหนด เงื่อนไขของสัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไขตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ แต่มีลักษณะที่โจทก์ทั้งสามเป็นตัวแทนจำหน่ายของบริษัท ท. จำกัด เงินได้จากส่วนลดจึงมิใช่เงินได้จากการซื้อมาขายไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) แต่เป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(2) และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 29/2538 ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2538

เห็น ว่า แม้จะมีข้อความในสัญญาตามที่จำเลยอุทธรณ์มาเช่นนั้นจริงก็ตาม แต่ในส่วนเรื่องสินค้าที่ซื้อไปจากบริษัทนั้น สัญญาระบุว่า ผู้จำหน่ายอิสระต้องชำระราคาสินค้าเป็นเงินสดทันที หรือตามระยะเวลาที่บริษัทกำหนด ผลิต ภัณฑ์ที่ผู้จำหน่ายอิสระซื้อไปหากเสื่อมคุณภาพหรือเสื่อมเพราะเหตุจากตัว สินค้าผู้จำหน่ายอิสระสามารถนำมาคืนหรือเปลี่ยนได้เท่านั้น แสดงให้เห็นว่าสินค้าที่โจทก์ทั้งสามซื้อจากบริษัท ท. จำกัด ไปแล้วไม่สามารถส่งคืนได้แม้โจทก์ทั้งสามจะขายไม่ได้ก็ตาม สอดคล้องกับทางนำสืบของโจทก์ทั้งสามที่เบิกความว่าสินค้าที่โจทก์ทั้งสามรับ ไปจากบริษัทเป็นสินค้าที่บริษัทขายให้โจทก์ ทั้งสามในลักษณะขายขาด โดยบริษัทได้ออก ใบส่งของและใบกำกับภาษีตามเอกสารหมาย จ.1 จ.5 จ.10 และ จ.12 ในนามของโจทก์ทั้งสามเป็นลูกค้า ไม่ได้ออกในนามของบุคคลอื่นที่แสดงว่าบุคคลอื่นซื้อสินค้าจากโจทก์ทั้งสามใน ฐานะเป็นตัวแทนขายสินค้าของบริษัท โจทก์ทั้งสามต้องรับผิดชอบกำไรขาดทุนเอง ข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของโจทก์ทั้งสามดังกล่าวจำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งคัด ค้าน ลักษณะการประกอบการเช่นนี้จึงเป็นการซื้อขายธรรมดา เงื่อนไขตามสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสามกับบริษัท ท. จำกัด ตามที่จำเลยอุทธรณ์มานั้น เป็นเงื่อนไขที่กำหนดให้โจทก์ทั้งสามปฏิบัติเพื่อคงคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ ซื้อสินค้าจากบริษัทไปขายได้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 29/2538 ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2538 นั้น เป็นการวินิจฉัยสำหรับกรณีที่วิธีการสั่งซื้อและการจ่ายเงินค่าสินค้ามีหลัก เกณฑ์ว่าผู้จำหน่ายทุกระดับต้องจ่ายเงินสดในการซื้อเป็นจำนวนเงินเท่ากับ ราคาขายปลีกตามที่บริษัทขายตรงกำหนดทุกครั้งโดยไม่มีการหักส่วนลดใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งไม่ตรงกับลักษณะการประกอบกิจการขายสินค้าของบริษัท ท. จำกัด กับโจทก์ทั้งสาม เนื่องจากบริษัท ท. จำกัด ให้ส่วนลดในทันทีที่โจทก์ทั้งสามซื้อสินค้าไป คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรดังกล่าวจึงนำมาใช้แก่กรณีของโจทก์ ทั้งสามไม่ได้ เงินส่วนลดที่โจทก์ทั้งสามได้รับจากบริษัท ท. จำกัด จึงเป็นเงินได้จากธุรกิจการขายสินค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) มิใช่เงินได้ พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แต่อย่างใด ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษามา ศาลฎีกาแผนก คดีภาษีอากรเป็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของจำเลย ฟังไม่ขึ้น

ส่วน ที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 แก้อุทธรณ์ว่า ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้แก้ไขการประเมินในส่วนของโจทก์ที่ 2 โดยมิได้พิพากษาให้เพิกถอนการประเมินเสียทั้งหมดเป็นการ ไม่ถูกต้อง และโจทก์ที่ 3 จะต้องได้รับคืนเงินภาษีอากรที่โจทก์ที่ 3 ได้ชำระไปแล้วพร้อมดอกเบี้ย แต่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 3 ไม่ยื่นคำร้องขอคืนตามที่กฎหมายกำหนดจึงไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้องต่อศาล อันเป็นการไม่ชอบนั้น โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ชอบที่จะอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางในปัญหาดังกล่าว โดยทำเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ขึ้นมา จะเพียงแต่กล่าวอ้างมาในคำแก้อุทธรณ์ไม่ได้ ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่รับวินิจฉัยให้

อนึ่ง เมื่อเงินส่วนลดที่โจทก์ทั้งสามได้รับจากบริษัท ท. จำกัด เป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) โจทก์ทั้งสาม จึงมีหน้าที่ต้องชำระภาษีจากเงินได้จำนวนดังกล่าว ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วน ของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 และให้แก้ไขการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนของโจทก์ที่ 2 โดยมิให้นำเงินส่วนลดและส่วนลดพิเศษมารวมคำนวณภาษี จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

พิพากษา แก้เป็นว่า ให้แก้ไขการประเมินตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เลขที่ 6700040/100490 ลงวันที่ 9 เมษายน 2546 เลขที่ 6700070/1/100982 ลงวันที่ 23 เมษายน 2545 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์เลขที่ รบ/18/2546 เลขที่ รบ/19/2546 และเลขที่ รบ/20/2546 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2546 โดยให้คำนวณเงินส่วนลดและส่วนลดพิเศษที่โจทก์ทั้งสามได้รับเป็นเงินได้พึง ประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวล-รัษฎากร นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ทั้งสามสำนวนให้เป็นพับ

ข้อคิดเห็น

เงิน ได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) หัก ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ส่วนเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่กำหนดไว้ในพระราช-กฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8 และมาตรา 8 ทวิ ซึ่งบางรายการจะเลือกหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาหรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำ เป็นและสมควรก็ได้ แต่บางรายการต้องหัก ค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรเท่านั้น เช่น เงินได้จากการขายสินค้าที่ผู้ขายมิได้เป็น ผู้ผลิต หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 80 หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรก็ได้ (มาตรา 8(25)) เงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(8) จึงมีโอกาสหักค่าใช้จ่ายได้ มากกว่า ดังนั้น เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) จึงมีโอกาสเสียภาษีน้อยกว่าเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2)

การ นำสินค้าของผู้อื่นไปขายให้แก่ลูกค้า ซึ่งเป็นผู้บริโภคโดยตรงที่เรียกกันว่าการขาย ตรงนั้น ผู้นำสินค้าไปขายจะได้รับผลประโยชน์ ในรูปของส่วนลด ส่วนลดนี้จะถือเป็นเงินได้ พึงประเมินตามมาตรา 40(2) หรือมาตรา 40(8) ย่อมแล้วแต่ว่าการขายสินค้านั้นเป็นการขายในลักษณะตัวแทนของเจ้าของสินค้า หรือเป็นการขายในลักษณะซื้อมาขายไป หากเป็นการขายในลักษณะตัวแทนของเจ้าของสินค้าแล้ว ส่วนลด ที่ได้รับจะถือเป็นเงินได้จากการรับทำงานให้ อันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แต่ถ้าเป็นการขายในลักษณะซื้อมาขายไปแล้ว ส่วนลดที่ได้รับจะถือเป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจ อันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) จะเป็นเงินได้ประเภทใดจึงต้องพิจารณาจากข้อ เท็จจริงเป็นกรณีๆ ไป

การ ที่โจทก์รับสินค้าเครื่องสำอางจากบริษัท ท. จำกัด ไปขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงนั้น โจทก์จะต้องชำระราคาเป็นเงินสดทันทีหรือตามระยะเวลาที่บริษัทกำหนด แม้โจทก์ขายไม่ได้โจทก์ก็ส่งสินค้าคืนไม่ได้ ทั้งใบส่งของและใบกำกับภาษีก็ออกในนามของโจทก์เป็นลูกค้า ไม่ได้ออกในนามของบุคคลอื่นที่แสดงว่าบุคคลอื่น ซื้อสินค้าจากโจทก์ในฐานะเป็นตัวแทนขายสินค้าของบริษัท นอกจากนี้โจทก์ต้องรับผิดชอบกำไรขาดทุนเอง ข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงว่า โจทก์ซื้อสินค้าจากบริษัทไปขายต่อเป็นการซื้อมาขายไป มิใช่เป็นตัวแทนขายสินค้าของบริษัท ส่วนลดที่โจทก์ได้รับจึงถือเป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจอันเป็นเงินได้พึง ประเมินตามมาตรา 40(8) มิใช่เงินได้จากการรับทำงานให้อันเป็นเงินได้ พึงประเมินตามมาตรา 40(2) การ ประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ที่ถือว่าส่วนลด ที่โจทก์ได้รับเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) จึงไม่ชอบ

 

ที่มาสรรพกรสาร์น..http://www.sanpakornsarn.com/page_article_detail.php?aID=224

สรุปหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

สรุปหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

รายการกิจกรรมภาษีมูลค่าเพิ่ม

หลักการเกี่ยวกับความรับผิด (Tax Point)

1. การขายสินค้า .
– ขายเสร็จเด็ดขาด สัญญาจะขาย – เมื่อมีการส่งมอบสินค้า เว้นแต่มีการโอนกรรมสิทธิ์ / รับชำระราคา / ออกใบกำกับภาษี
– เช่าซื้อ/ ขายผ่อนชำระ ที่กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อ – ตามงวดที่ถึงกำหนดชำระ เว้นแต่มีการรับชำระราคา / ออกใบกำกับภาษีก่อนถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด
– การฝากขายที่เป็นไปตามเงื่อนแห่งประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 8) – เมื่อตัวแทนส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า เว้นแต่ตัวแทนได้โอนกรรมสิทธิ์/รับชำระราคา/ออกใบกำกับภาษี/ตัวแทนนำสินค้า ไปใช้ก่อนส่งมอบให้แก่ลูกค้า
– การส่งออก – เมื่อมีการผ่านพิธีการทางศุลกากร
– การขายกระแสไฟฟ้า น้ำประปา หรือสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง – เมื่อรับชำระราคา เว้นแต่มีการออกใบกำกับภาษีก่อนรับชำระราคา
– การขายสินค้าด้วยเครื่องอัตโนมัติ – เมื่อนำเงินออกจากเครื่องอัตโนมัติ
– กรณีจำหน่าย จ่าย โอนสินค้าโดยไม่มีค่าตอบแทน – เมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่มีการโอนกรรมสิทธิ์ก่อนส่งมอบสินค้า
– กรณีนำสินค้าไปใช้ในกิจการอื่น – เมื่อนำไปใช้
– กรณีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ – เมื่อตรวจพบ
– กรณีมีสินค้าหรือทรัพย์ในวันเลิกกิจการ – เมื่อเลิกกิจการ
– กรณีรับโอนกรรมสิทธิ์สินค้าที่เคยเสีย VAT อัตรา 0% – เมื่อโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า
2. การให้บริการ .
– การให้บริการโดยมีค่าตอบแทน เมื่อมีการรับชำระราคา เว้นแต่มีการออกใบกำกับภาษีก่อนรับชำระราคา
– ให้บริการโดยไม่มีสิ่งตอบแทน เมื่อมีการใช้บริการ ไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น
– การให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและใช้บริการนั้นในไทย -เมื่อชำระราคาค่าบริการ (นำส่ง VAT อัตรา 7% โดยยื่น แบบ ภ.พ.36 )
– การให้บริการด้วยเครื่องอัตโนมัติ – เมื่อนำเงินออกจากเครื่อง (กรณีการ์ดโฟน ถือว่าชำระราคาก่อนให้บริการ)

– การรับชำระราคาค่าบริการด้วยบัตรเครดิต                                      

– เมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต
– กรณีรับโอนกรรมสิทธิ์ ในบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 0% – เมื่อชำระราคาค่าบริการ
3. การนำเข้า .
– การนำเข้าสินค้าทุกกรณี – เมื่อผ่านพิธีการทางศุลกากร
– การขายของตกค้าง (โดยกรมศุลกากร) – เมื่อได้ขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีการอื่น
– การณีผิดเงื่อนไขเกี่ยวกับสินค้านำเข้าที่จำแนกผระเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า – เกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดตามกฏหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร

 

ที่มา..http://www.jarataccountingandlaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=418225&Ntype=6

เพิ่มเติมการให้บริการโดยไม่มีสิ่งตอบแทน

คำว่า “ได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น” ซึ่งจะเป็นเหตุให้ tax point เกิดขึ้นตามมาตรา 78/1(1)(ข)  ตรงนี้จะไม่รวมถึงบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับผู้ให้บริการนะครับ   แต่หมายถึงผู้ให้บริการนำบริการไปใช้เอง หรือนำไปให้บริการแก่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่คู่สัญญากับผู้ให้บริการ   เช่นผู้ให้บริการเช่ารถยนต์นำรถยนต์ไปให้บุคคลภายนอกใช้โดยไม่คิดค่าตอบแทน   อย่างนี้ บุคคลภายนอกนั้นไม่ถือเป็นคู่สัญญากับผู้ให้บริการ  ฉะนั้น tax point ก็จะเกิดขึ้นทันทีที่บุคคลภายนอกได้ใช้รถยนต์คันนั้น   หรือหนังสือพิมพ์ลงโฆษณาให้แก่ผู้มีพระคุณโดยไม่คิดค่าตอบแทน   tax point ก็จะเกิดขึ้นทันทีที่ได้ลงโฆษณานั้น (หนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากร เลขที่ กค 0802 (ก)/6631 ลว. 14 ก.ย. 2535)

แต่ถ้าเป็นคู่สัญญากับผู้ ให้บริการ  อย่างนี้ ถึงแม้คู่สัญญานั้นจะได้ใช้บริการก่อนที่จะชำระค่าบริการ  tax point ก็ยังไม่เกิดขึ้น  แต่จะเกิดต่อเมื่อผู้ให้บริการได้รับชำระค่าบริการแล้ว (หรือได้ออก tax invoice ก่อนได้รับค่าบริการ)  เช่น กรณีผู้ประกอบกิจการสระว่ายน้ำให้บริการแก่สมาชิกสระที่จ่ายค่าบริการเป็น รายเดือน  อย่างนี้ ถึงแม้สมาชิกจะได้ใช้บริการว่ายน้ำไปก่อน แล้วจ่ายเงินทีหลัง   tax point ก็ยังไม่เกิดในตอนที่ลงไปว่ายน้ำ แต่จะเกิดเมื่อชำระค่าบริการรายเดือน (หนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากร เลขที่ กค 0802/พ.2295 ลว.8 ก.พ. 36)   หรืออย่างกรณีที่ผู้ให้บริการเช่ารถบรรทุก ได้ทำสัญญาให้เช่ารถบรรทุกแก่ องค์การ ร.ส.พ.  ตกลงชำระเงินค่าเช่าภายใน 10 วันนับแต่วันที่ได้รับใบแจ้งหนี้   กรณีนี้ เจ้าพนักงานประเมินกรมสรรพากรเคยจะเล่นงานผู้ให้บริการในฐานที่ออกใบกำกับ ภาษีล่าช้าไม่ตรงกับ tax point มาแล้วโดยอ้างว่า tax point เกิดขึ้นแล้วในตอนที่ ร.ส.พ. ได้นำรถบรรทุกไปใช้งาน     แต่ผู้ให้บริการทำหนังสือหารือเข้าไปที่กรมสรรพากร  ซึ่งตอบว่า องค์การ ร.ส.พ. เป็นคู่สัญญากับผู้ให้บริการ  ฉะนั้น  tax point ก็ยังไม่เกิดทันทีในตอนที่ ร.ส.พ. นำรถบรรทุกไปใช้  แต่จะเกิดเมื่อได้รับชำระค่าเช่า หรือได้ออก tax invoice ก่อน (หนังสือตอบข้อหารือ เลขที่ กค 0811/พ.01760)

ที่มา..http://topicstock.pantip.com/social/topicstock/2007/07/U5578306/U5578306.html