มีนาคม, 2009 | รับทำเงินเดือน มีนาคม, 2009 | รับทำเงินเดือน

ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วน

ตารางค่าธรรมเนียม

ใบสำคัญ การขอตรวจเอกสาร การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรอง
และการขอหนังสือรับรอง ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด

บาท

1.การออกใบสำคัญหรือใบแทนใบสำคัญ

1.1 การขอใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจำกัด

ฉบับละ

100.-

1.2 การขอใบสำคัญหรือใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน บริษัทมหาชนจำกัด

ฉบับละ

200.-

2. การตรวจเอกสาร

2.1 การตรวจคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบของห้างหุ้นส่วน

รายละ

50.-

หรือบริษัทจำกัด

2.2 การตรวจเอกสารของแต่ละบริษัท (บริษัทมหาชนจำกัด)

ครั้งละ

50.-

2.3 การตรวจงบการเงินและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น

รายละ

50.-

3. การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรอง

หน้าละ

50.-

4. การขอหนังสือรับรองข้อความในทะเบียน

รายการละ

40.-

5. การถ่ายข้อมูลที่ได้จัดทำจากระบบคอมพิวเตอร์

ค่าบริการ

ครั้งละ

1,000

ค่าบันทึกข้อมูลซึ่งมีความยาวของระเบียนไม่เกินสองร้อยอักขระ

ระเบียนละ

0.10

กรณีระเบียนมีความยาวมากกว่าสองร้อยอักขระ คิดทุกจำนวน

สองร้อยอักขระ ให้คิดเป็นหนึ่งระเบียน

ระเบียนละ

0.10

เศษของสองร้อยอักขระ ให้คิดเป็นหนึ่งระเบียน

หมายเหตุ ระเบียน หมายความว่า หน่วยงานของรายการข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในโปรแกรมการจัดการฐานข้อมูล ซึ่งแสดงออกในรูปของอักขระในแต่ละบรรดา

จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน

บาท

1. จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน

1.1 ทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนรวมกันไม่เกิน 1,000,000 บาท

1,000.-

1.2 ทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนรวมกันทุก 100,000 บาท ที่กำหนดไว้

100.-

(เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)

1.3 ทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนรวมกันตั้งแต่ 5,000,000 บาท

5,000.-

2. จดทะเบียนควบห้างหุ้นส่วน

2,000.-

3. จดทะเบียนแก้ไขชื่อห้างหุ้นส่วน

400.-

4. จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์

400.-

5. จดทะเบียนแก้ไขที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ และ/หรือสำนักงานสาขา

400.-

6. จดทะเบียนหุ้นส่วนเข้าใหม่

คนละ

300.-

7. จดทะเบียนหุ้นส่วนออก

คนละ

300.-

8. จดทะเบียนแก้ไขทุน

8.1 จดทะเบียนลดทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน

คนละ

300.-

8.2 จดทะเบียนเพิ่มทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน

คิดตามทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนที่เพิ่มขึ้นรวมกันทุก 100,000 บาท

100.-

(เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)

เพิ่มทุนตั้งแต่ 5,000,000 บาท

5,000.-

9. จดทะเบียนเปลี่ยนสิ่งที่นำมาลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วน

คนละ

300.-

10. จดทะเบียนเปลี่ยนจำพวกหุ้นส่วน

คนละ

300.-

11. จดทะเบียนแก้ไขหุ้นส่วนผู้จัดการ

400.-

12. จดทะเบียนข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ

400.-

13. จดทะเบียนแก้ไขตรา

400.-

14. จดทะเบียนรายการอื่น ๆ ซึ่งเห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ

400.-

15. จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน

400.-

16. จดทะเบียนเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี

400.-

17. จดทะเบียนแก้ไขอำนาจผู้ชำระบัญชี

400.-

18. จดทะเบียนแก้ไขสำนักงานชำระบัญชี

400.-

19. จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี

400.-

หมายเหตุ กรณีเพิ่มผู้เป็นหุ้นส่วน ให้คิดค่าธรรมเนียมตามจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วนที่เพิ่ม โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนทุน

จดทะเบียนบริษัทจำกัด

บาท

1. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ

1.1 ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1,000,000 บาท

500.-

1.2 ทุนจดทะเบียนทุก 100,000 บาท ที่กำหนดไว้

50.-

(เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)

1.3 ทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 50,000,000 บาท

25,000.-

2. จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิก่อนจัดตั้งบริษัท

2.1 จดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิทุกข้อ(นอกจากการเพิ่มทุน)

400.-

2.2 จดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิเพื่อเพิ่มทุน

(1) ทุนจดทะเบียนที่เพิ่มไม่เกิน 1,000,000 บาท

500.-

(2) ทุนจดทะเบียนทุก 100,000 บาท ที่เพิ่มขึ้น

50.-

(เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)

(3) ทุนจดทะเบียนที่เพิ่มตั้งแต่ 50,000,000 บาท

25,000.-

3. จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด

3.1 ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1,000,000 บาท

5,000.-

3.2 ทุนจดทะเบียนทุก 100,000 บาท ที่กำหนดไว้

500.-

(เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)

3.3 ทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 50,000,000 บาท ขึ้นไป

250,000.-

4. จดทะเบียนควบบริษัทจำกัด

5,000.-

5. จดทะเบียนการแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือ

ห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัทจำกัด

5.1 ทุนจำนวนไม่เกิน 1,000,000 บาท

5,000.-

5.2 ทุนจดทะเบียนทุก 100,000 บาท ที่กำหนดไว้

500.-

(เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)

5.3 ทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 50,000,000 บาท ขึ้นไป

250,000.-

6. จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมบริษัท

6.1 จดทะเบียนมติพิเศษ (เพิ่มทุน/ลดทุน/ควบบริษัท)

400.-

6.2 จดทะเบียนเพิ่มทุน

คิดตามทุนที่เพิ่มทุก 100,000 บาท

500.-

(เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)

เพิ่มทุนตั้งแต่ 50,000,000 บาท ขึ้นไป

250,000.-

6.3 จดทะเบียนลดทุน

400.-

6.4 จดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิทุกข้อ

400.-

6.5 จดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับทุกข้อ

400.-

6.6 จดทะเบียนกรรมการเข้าใหม่ คนละ

400.-

6.7 จดทะเบียนกรรมการออก (ไม่กำหนดจำนวนคน)

400.-

6.8 จดทะเบียนแก้ไขอำนาจกรรมการ

400.-

6.9 จดทะเบียนแก้ไขสำนักงานแห่งใหญ่ และ/หรือสำนักงานสาขา

400.-

6.10 จดทะเบียนแก้ไขดวงตรา

400.-

6.11 จดทะเบียนรายการอื่น ๆ ซึ่งเห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ

400.-

7. จดทะเบียนเลิกบริษัทและชำระบัญชี

400.-

8. จดทะเบียนเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี

400.-

9. จดทะเบียนแก้ไขอำนาจผู้ชำระบัญชี

400.-

10. จดทะเบียนแก้ไขสำนักงานผู้ชำระบัญชี

400.-

11. จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี

400.-

จดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด

บาท

1. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ

1.1 ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1,000,000 บาท

1,000.-

1.2 ทุนจดทะเบียนทุก 1,000,000 บาท ที่กำหนดไว้

1,000.-

(เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท)

1.3 ทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 50,000,000 บาท ขึ้นไป

50,000.-

2. จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิก่อนจัดตั้งบริษัท

2.1 จดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิทุกข้อก่อนจัดตั้งบริษัท

500.-

(นอกจากการเพิ่มทุน)

2.2 จดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิเพื่อเพิ่มทุน

(1) ทุนจดทะเบียนที่เพิ่มไม่เกิน 1,000,000 บาท

1,000.-

(2) ทุนจดทะเบียนทุก 1,000,000 บาท ที่เพิ่มขึ้น

1,000.-

(เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท)

(3) ทุนจดทะเบียนที่เพิ่มตั้งแต่ 50,000,000 บาท ขึ้นไป

50,000.-

3. จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด

3.1 ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1,000,000 บาท

1,000.-

3.2 ทุนจดทะเบียนทุก 1,000,000 บาท ที่กำหนดไว้

1,000.-

(เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท)

3.3 ทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 250,000,000 บาท ขึ้นไป

250,000.-

4. จดทะเบียนแปรสภาพบริษัท

4.1 ทุนจำนวนไม่เกิน 1,000,000 บาท

1,000.-

4.2 ทุนจดทะเบียนทุก 1,000,000 บาท ที่กำหนดไว้

1,000.-

(เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท)

4.3 ทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 50,000,000 บาท ขึ้นไป

50,000.-

5. จดทะเบียนควบบริษัท

10,000.-

6. จดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท

6.1 ทุนจดทะเบียนที่เพิ่มไม่เกิน 1,000,000 บาท

1,000.-

6.2 ทุนจดทะเบียนทุก 1,000,000 บาท ที่เพิ่มขึ้น

1,000.-

(เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท)

6.3 ทุนจดทะเบียนที่เพิ่มตั้งแต่ 250,000,000 บาท

250,000.-

7. จดทะเบียนลดทุนบริษัท

500.-

8. จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิบริษัทนอกจากกรณีเพิ่มทุน

500.-

9. จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ

500.-

10. จดทะเบียนตั้งกรรมการเข้าใหม่ คนละ

500.-

11. จดทะเบียนกรรมการออก (ไม่กำหนดจำนวนคน)

500.-

12. จดทะเบียนเลิกบริษัท

500.-

13 จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี

500.-

14. จดทะเบียนเรื่องอื่น ๆ เรื่องละ

500.-

ลืมรหัสผ่านยื่นแบบ ภงด.90/91 ทางอินเตอร์เน็ต

ผมยื่นแบบเสียภาษีทางอินเตอร์เน็ตมาหลายปี เพราะทำงานทางด้านบัญชีการเงิน และมีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีเงินเดือน จำได้ว่าเมื่อก่อนเวลาลืมรหัส เราสามารถขอรหัสใหม่ได้โดยกรอกวันเดือนปีเกิดลงไป ระบบก็จะส่งรหัสมาให้ใหม่ เนื่องจากผมต้องยื่นแบบเสียภาษีให้พนักงานหลายคน บางทีก็ลืมจดรหัสเอาไว้

มาปีนี้การขอรหัสใหม่ ต้องถ่ายสำเนาบัตรประชาชนเซ็นรับรองเพื่อแจ้งขอยกเลิกการลงทะเบียน เพื่อให้สรรพากรยกเลิกการลงทะเบียนแล้วจึงจะสามารถลงทะเบียนขอรหัสใหม่ได้ ผมว่ามันค่อนข้างยุ่งยากมาก เชื่อว่ามีคนจำนวนมากจำรหัสไม่ได้เพราะปีหนึ่งยื่นครั้งหนึ่ง การแจ้งขอรหัสใหม่แบบนี้ยุ่งยาก และเป็นการเพิ่มภาระให้สรรพากรต้องมาคอยรับเรื่องและยกเลิกรหัสให้

มาตอนนี้เราสามารถยกเลิกรหัสเองได้แล้ว โดยเข้าไปสู่หน้าจอการยื่นแบบ ภงด.90 หรือ 91 ที่มุมล่างซ้ายจะมีคำว่า ลืมรหัส ให้คลิ๊ก แล้วจะเข้าสู่หน้าจอใหม่ ให้สังเกตที่มุมล่างขวาอีกทีจะมีคำว่า ขอรหัสผ่านใหม่ กดเลือกแล้วจะเข้าสู่หน้าจอถัดไป ให้กรอกรายละเอียดลงไป เมื่อกรอกเสร็จแล้ว โปรแกรมก็จะส่งรหัสผ่านมาให้ใหม่ หลังจากได้รหัสใหม่มาแล้ว เราสามารถเปลี่ยนรหัส โดยติ๊กคำว่า เปลี่ยนรหัสผ่าน เพื่อขอตั้งรหัสเอง

รูปภาพประกอบการขอรหัสผ่านใหม่

LOST PASSWORD - 1

LOST PASSWORD - 2

LOST PASSWORD - 3

LOST PASSWORD - 4

LOST PASSWORD - 6

เบี้ยยังชีพคนชรา

(จากคำถามที่ถามมาก็เลยไปหาข้อมูลมาลงให้ครับ)

        นับเป็นอีกหนึ่งข่าวใหญ่ ที่หลายคนให้ความสนใจกันอย่างมาก หลังกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ออกประกาศ ว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ไฟเขียวจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุทั่วประเทศ เดือนละ 500 บาท เป็นเวลา 6 เดือน และยังให้วาระดังกล่าวเป็นประเด็นเร่งด่วนอีกด้วย ทั้งนี้เพราะนอกจากจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทางหนึ่งแล้ว ยังถือเป็นการตอบแทนผู้สูงอายุที่ทำงานเพื่อบ้านเมืองมาทั้งชีวิตด้วย
        สำหรับเบี้ยยังชีพคนชรา ถือเป็นบริการสวัสดิการสังคมประเภทหนึ่ง ที่รัฐบาลจัดสรรให้กับคนชราอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป แม้จะดูเหมือนไม่มีบทบาทสักเท่าไหร่ในหลายยุคที่ผ่านมา แต่เวลานี้ได้ถูกชุบให้กระชุ่มกระชวยขึ้นอีกครั้งด้วยแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจของ รัฐบาลอภิสิทธิ์ ที่แจกจ่ายนโยบายประชานิยมอย่างทั่วถึง ไม่เว้นแม้แต่ผู้สูงอายุ โดยแต่เดิมนั้นจะจ่ายให้เฉพาะผู้ที่มีฐานะยากไร้ รายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ถูกทอดทิ้ง หรือขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ ราว 1.8 ล้านคนเท่านั้น
แต่จุดต่างของเบี้ยยังชีพคนชราในรัฐบาลชุดนี้ คือ การจ่ายให้ผู้สูงอายุทั่วประเทศทุกคน เว้นเฉพาะรายที่เป็นราชการเท่านั้น อย่างไรก็ดี การจ่ายเบี้ยยังชีพเดือนละ 500 บาท ครอบคลุมผู้สูงอายุทั่วประเทศที่ว่านี้ จะมีระยะเวลาสั้นๆ เพียง 6 เดือน โดยเริ่มเดือนเมษายนจะจ่ายเงินเป็นงวดแรก ไปจนถึงเดือนกันยายน 2552 ซึ่งหลายคนอาจเกิดคำถามต่อว่า เมื่อหมดจาก 6 เดือนนี้ จะเป็นอย่างไรต่อไป คำตอบคือ คงต้องรอดูผลจาก ร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่ ที่รัฐบาลลั่นประกาศิตว่าจะจัดสรรงบประมาณลงไปในงบประจำปีตาม พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ (ที่จะออกมาใหม่) ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุทุกคนได้รับเบี้ยยังชีพ
        ทางด้าน นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้ข้อมูลว่า รัฐบาลได้อนุมัติวงเงินงบประมาณกลางปีจำนวน 9 พันล้านบาท เพื่อเตรียมจ่ายให้กับผู้สูงอายุทั้งสิ้น 7.1 ล้านคน โดยผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนด ให้ไปลงทะเบียนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 15 มีนาคม 2552 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ
        1. ผู้มีสิทธิต้องมีสัญชาติไทย
        2. ผู้มีสิทธิต้องมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยต้องเกิดก่อนวันที่ 31 มีนาคม 2492 ส่วนผู้สูงอายุที่ทราบเพียงปีเกิด แต่ไม่ทราบวันและเดือนเกิด ให้ถือว่าเกิดวันที่ 1 มกราคมของปีนั้นๆ
        3. ต้องไม่เป็นผู้ได้รับเงินเดือน สวัสดิการ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากรัฐ ทั้งบำเหน็จ บำนาญ เบี้ยยังชีพ หรือผลประโยชน์อื่นใดจากรัฐ ทั้งรายวันและรายเดือน
        4. ต้องไม่เป็นผู้อยู่ในสถานสงเคราะห์คนชราที่รัฐดูแลอาหารและที่พักให้อยู่แล้ว

ขั้นตอนการยื่นคำขอรับเงิน
        1. ผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติครบตามรายละเอียดข้างต้น สามารถยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ด้วยตนเอง
        2. ในกรณีที่ผู้สูงอายุมีความจำเป็นที่ไม่สามารถมาลงทะเบียนยื่นคำขอรับเงิน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้ สูงอายุแทนได้ (สามารถขอรับแบบฟอร์มได้ที่สำนักงานเขต องค์การบริหารส่วนตำบล หรือใช้หนังสือมอบอำนาจทั่วไปก็ได้)
        3. การยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552-15 มีนาคม 2552

หลักฐานประกอบการยื่นคำขอ
        – บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ ที่มีรูปถ่ายพร้อมสำเนา
        – สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร พร้อมสำเนาสำหรับในกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุประสงค์ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร (ทุกธนาคาร)

สถานที่ลงทะเบียน
        – เขตภูมิภาค ยื่นได้ที่เทศบาล/อบต. ที่ผู้สูงอายุมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
        – เขตกรุงเทพมหานคร  ยื่นได้ที่สำนักงานเขต ที่ผู้สูงอายุมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ระหว่างเวลา 08.00 – 16.00 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
        การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้แก่ผู้มีสิทธิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ่ายเป็นรายเดือนๆ ละ 1 ครั้ง ในอัตราเดือนละ 500 บาท โดยรัฐบาลกำหนดจ่ายงวดแรกในวันที่ 13 เมษายน ดังนี้
        – จ่ายเป็นเงินสด หรือโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
        – จ่ายเป็นเงินสด หรือโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากผู้มีสิทธิได้รับ เงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นลายลักษณ์อักษร
        อย่างไรก็ดี หลังจากที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศได้เปิดรับลง ทะเบียนผู้สูงอายุรับเบี้ยยังชีพเป็นวันแรก ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ปรากฎว่า ปัญหาที่พบมากที่สุด คือ เรื่องเอกสารไม่ครบ และผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเขียนหนังสือไม่ได้ จึงขอแนะนำว่าผู้สูงอายุที่จะมาลงทะเบียนให้นำบุตรหลานมาด้วยจะเป็นการดี ทั้งนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมด้านเอกสารให้เรียบร้อย นอกจากนี้ จะเป็นการช่วยดูแลเรื่องรายละเอียดในการลงทะเบียน หากผิดพลาดอะไรก็สามารถแก้ไขได้ทันทีอีกด้วย
        อย่าลืมนะคะ เริ่มลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ตั้งแต่วันนี้  – 15 มีนาคม 2552 ดังนั้น ครอบครัวไหนที่มีผู้สูงอายุ ตามคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น ก็ยังเหลือเวลาให้ได้มาแสดงสิทธิ์กันค่ะ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
        – ศูนย์ประชาบดี  โทร. 1300
        – ศูนย์ดำรงธรรม โทร. 1567 ตลอด 24 ชั่วโมง
        – ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน โทร.1111 ตลอด 24 ชั่วโมง
        – สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร โทร 0-2245-5166 ในวันและเวลาราชการ (เฉพาะกรุงเทพมหานคร)

คลายข้อสงสัย
ถาม : ผู้ที่ได้รับสวัสดิการ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายถึงใครบ้าง?
ตอบ : ผู้รับเงินบำนาญ ผู้ได้รับเงินเบี้ยยังชีพตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำหรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่น จัดให้เป็นประจำ
ถาม : ในกรณีบุตรรับราชการหรือสามีรับราชการ หรือภรรยารับราชการ สามารถยื่นค่าขอขึ้นทะเบียน รับสิทธิได้หรือไม่?
ตอบ : หากผู้ยื่นค่าขอรับเงินเบี้ยยังชีพไม่ได้รับบำนาญ และมีคุณสมบัติตามคำตอบในคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ สามารถยื่นค่าขอรับเงินเบี้ยยังชีพได้
ถาม : รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ได้ตั้งแต่เมื่อไหร่?
ตอบ : เมื่อผ่านการตรวจสอบสิทธิว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติ โดยรับได้ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน 2552 เป็นต้นไป
ถาม : การรับเงินเบี้ยยังชีพผ่านธนาคาร ใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนเงิน?
ตอบ : ผู้สูงอายุเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมในการโอนเข้าบัญชีธนาคาร ยกเว้นธนาคารกรุงไทยในส่วนภูมิภาค ที่ผู้สูงอายุไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร
ถาม : การยื่นค่าขอขึ้นทะเบียน เพื่อรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สามารถให้ผู้อื่นยื่นค่าขอแทนได้หรือไม่?
ตอบ : ได้ แต่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ

ระเบียบคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2552 
แบบคำขอขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

ที่มา..www.kapook.com

ที่มา..กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์