Company | รับทำเงินเดือน - Part 2 Company | รับทำเงินเดือน - Part 2

เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของของการเลือกรูปแบบองค์กร

รูปแบบธุรกิจข้างต้นต่างมีทั้งส่วนดีส่วนเสีย ขึ้นกับความเหมาะสมของขนาดและประเภทธุรกิจ ดังนั้นก่อนการเริ่มต้นธุรกิจ เจ้าของธุรกิจควรตัดสินใจว่า ควรจะจัดตั้งธุรกิจแบบใดจึงจะเหมาะสมกับธุรกิจของท่าน เพื่อให้กิจการมีต้นทุนต่ำและมีกำไรสูงสุด

  1. ธุรกิจบุคคลธรรมดา  เป็นเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ไม่ได้ร่วมลงทุนกับบุคคลอื่น ทำให้มีอิสระในการดำเนินงานและการตัดสินใจได้อย่างเต็มที่ ผลกำไรที่เกิดขึ้นก็ไม่ต้องแบ่งให้ใคร แต่เจ้าของธุรกิจจะต้องรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการที่เกิดขึ้นไม่จำกัดจำนวน
    • การจัดทำบัญชีและเสียภาษี   ข้อดีของธุรกิจบุคคลธรรมดาคือไม่ต้องยุ่งยากในการจัดทำบัญชี แต่ต้องเสียภาษีในอัตราก้าวหน้าตามฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญ  เป็นการตกลงทำกิจการร่วมกันและแบ่งกำไรกันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน หุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในหนี้สินของกิจการโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งห้างหุ้นส่วนชนิดนี้กฏหมายไม่ได้บังคับให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จึงเสมือนมีสภาพเป็นคณะบุคคล ซึ่งหากเลือกจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจะเรียกว่า "ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล" ซึ่งความรับผิดในหนี้ของหุ้นส่วน จะจำกัดเพียง 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ออกจากการเป็นหุ้นส่วนเท่านั้น
    • การจัดทำบัญชีและเสียภาษี   ไม่ต้องยุ่งยากในการจัดทำบัญชี เหมือนกรณีบุคคลธรรมดา แต่การเสียภาษีเงินได้ของคณะบุคคลจะเสียภาษีเงินได้เหมือนกับบุคคลธรรมดาที่แยกออกจากตัวบุคคล ถือเป็นบุคคลอีกคนหนึ่งตามมาตรา 56 วรรค(2) ของประมวลรัษฏากร นอกจากนี้เงินส่วนแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ด้วย
  3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด  การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนชนิดนี้จะต้องจดทะเบียนนิติบุคคลตามกฏหมาย ผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถโอนหุ้นให้บุคคลอื่นได้ไม่เหมือนกับห้างหุ้นส่วนประเภทแรก ลักษณะของห้างหุ้นส่วนประเภทนี้จะมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภทด้วยกัน คือ หุ้นส่วนที่เป็นต้องรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการไม่จำกัดจำนวน และหุ้นส่วนที่รับผิดชอบในหนี้สินของกิจการจำกัดจำนวนไม่เกินจำนวนเงินที่ตนได้ลงทุนไป
    • การจัดทำบัญชีและเสียภาษี มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีเหมือนกรณีตั้งบริษัท และเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
  4. บริษัทจำกัด  การจัดตั้งกิจการจะต้องมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 7 คน โดยการแบ่งเงินลงทุนออกเป็นหุ้น มีมูลค่าหุ้นละเท่าๆกัน ผู้ถือหุ้นจำกัดความรับผิดไม่เกินจำนวนค่าหุ้นที่ยังส่งไม่ครบ ดำเนินโดยคณะกรรมการบริษัท ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือมากกว่า
    • การจัดทำบัญชีและเสียภาษี มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี และเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

  
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการเลือกรูปแบบองค์กร

  รายละเอียด เจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด
1. เงินลงทุน มีเงินทุนจำกัด ระดมทุนได้มากขึ้น ระดมทุนได้ง่ายและมาก
2. การบริหารงาน มีอำนาจเต็มที่ ต้องปรึกษากับหุ้นส่วน บริหารโดยคณะกรรมการบริษัท
3. ความรับผิดในหนี้สิน เต็มจำนวน เต็มจำนวน/จำกัด เฉพาะมูลค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบ
4. ผลกำไรขาดทุน ไม่ต้องแบ่งใคร เฉลี่ยให้ผู้เป็นหุ้นส่วน จ่ายเป็นเงินปันผลตามจำนวนหุ้นที่ถือ
5. ภาษีเงินได้ ตามอัตราก้าวหน้า สูงถึง 37% ตามอัตราก้าวหน้า สูงถึง 37% ถ้าจดเป็นนิติฯ จะเสีย 15%-30% กรณีขาดทุนไม่ต้องเสียภาษี อัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ (SME เสียภาษีตามอัตราก้าวหน้า 15%-30%) ในกรณีขาดทุนไม่ต้องเสียภาษี
6. ความน่าเชื่อถือ น้อย ปานกลาง มาก

การนัดประชุมผู้ถือหุ้นและลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์มีอะไรบ้าง

การแก้ไขกฏหมายหุ้นส่วนบริษัทฯ ซึ่งมีผลต่อทุกกิจการ (เริ่มใช้ 1 ก.ค. 2551)
สรุปสิ่งสำคัญที่บริษัทฯ ที่ต้องลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น (ต้องกระทำตั้งแต่ 1 ก.ค. 2551 )
การเรียกประชุมผู้ถือหุ้น (มาตรา 1175)
(ข้อสังเกตุ หากมีการเปลี่ยนแปลง ดังต่อไปนี้ต้องออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น/คณะกรรมการ)
   
บริษัท
1.การเปลี่ยนแปลงกรรมการหรืออำนาจกรรมการ
เช่น ลาออก ตาย ล้มละลาย ไร้ความสามารถ
ประชุมสามัญประจำปี
ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว
ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
2.การเพิ่มทุน (มติพิเศษ) ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว
ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
3.การแก้ไขชื่อและตราสำคัญบริษัทฯ (มติพิเศษ) ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว
ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
4.การแก้ไขวัตถุประสงค์บริษัทฯ (มติพิเศษ) ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว
ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
5.การแก้ไขที่ตั้งสำนักงานใหญ่เฉพาะข้ามจังหวัด (มติพิเศษ) ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว
ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
6.การแก้ไขข้อบังคับของบริษัท (มติพิเศษ) ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว
ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
7.การลดทุน (มติพิเศษ) มี 2 ขั้น ที่ต้องลงโฆษณา
ขั้นที่ 1 จะมีการประชุมมติพิเศษออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น

ขั้นที่ 2 หลังจากจดทะเบียนมติพิเศษแล้ว ทำหนังสือแจ้งเจ้าหนี้

ไม่ต้องลงก็ได้

โฆษณาหนังสือพิมพ์ 7 ครั้ง

ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว
ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ(เฉพาะขั้นที่ 1)

ลงเมื่อไร ก็ได้ เพราะต้องนับวัน ถ้าปล่อยค้างไว้ 1 ปี มติยกเลิกตามกฏหมาย

8.แก้ไขเพิ่มดวงตราสำคัญ
(จะประชุมหรือไม่ก็ได้)
ไม่ต้องลงก็ได้ (ถ้าประชุม)ลงพิมพ์โฆษณา 1
คราวในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่
ก่อน วันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
9.การควบบริษัท (มติพิเศษ)
มี 2 ขั้น ที่ต้องลงโฆษณา
ขั้นที่ 1 ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น

ขั้นที่ 2 หลังจากจดทะเบียนพิเศษให้ควบบริษัท ทำหนังสือแจ้งเจ้าหนี้

ไม่ต้องลงก็ได้

โฆษณาหนังสือพิมพ์ 7 ครั้ง

ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราวใน
ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ(เฉพาะขั้นที่ 1)

10.เลิกบริษัท
มี 2 ขั้น ที่ต้องลงโฆษณา
ขั้นที่ 1 ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น (ช่วงขอจดทะเบียนเลิก)

ขั้นที่ 2 เมื่อจดทะเบียนเลิกเสร็จ

ไม่ต้องลงก็ได้

โฆษณาหนังสือพิมพ์ 2 ครั้ง

ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราวใน
ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน

ประกาศโฆษณาเลิกในหนังสือพิมพ์ท้องที่ อย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 14 วันนับจากวันที่เลิก

11.การชำระบัญชี
ออกหนังสือนัดประชุมเพื่อยืนยันตัวผู้ชำระบัญชีและอนุมัติงบการเงิน ณ วันเลิก

ออกหนังสือนัดประชุมเพื่อพิจารณาการชำระบัญชี

ไม่ต้องลงก็ได้

ไม่ต้องลงก็ได้

ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราวใน
ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ

ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราวใน
ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ

การแจ้งการจ่ายเงินปันผล (มาตรา 1204) ไม่ต้องลงก็ได้ ในกรณีมีหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ
ให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อย 1 คราวด้วย
ห้างหุ้นส่วน
1.การแปลงสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทฯ จำกัด (เพิ่มส่วนที่12 ในหมวด4 มาตรา 1246/1-1246/7)

2.เลิกห้างหุ้นส่วน
เมื่อจดทะเบียนเลิกเสร็จ

ไม่ต้องลงก็ได้

โฆษณาหนังสือพิมพ์ 2 ครั้ง

ต้องโฆษณาหนังสือพิมพ์ 1 คราว

ประกาศโฆษณาเลิกใน
หนังสือพิมพ์ท้องที่ อย่างน้อย 1 ครั้ง
ภายใน 14 วันนับจากวันที่เลิก

ตัวอย่าง บริษัท ก. ต้องการประชุมสามัญประจำปี วันที่ 29 เมษายน 2552 ดังนั้นบริษัทฯ ก จะต้องลงประกาศ ออกหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นในหนังสือพิมพ์ท้องที่ 1 คราว ในระหว่างวันที่ 4 – 21 เมษายน 2552 โดยจะลง ก่อน หรือหลัง จากช่วงนี้ไม่ได้ (ลงก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน แต่ไม่เกิน 24 วัน)

ตัวอย่าง บริษัท ก. มีมติพิเศษ การแก้ไขชื่อและตราสำคัญของบริษัท โดยจะประชุมผู้ถือหุ้น วันที่ 30 มกราคม 2552 ดังนั้น บริษัท ก. ต้องลงประกาศออกหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นในหนังสือพิมพ์ท้องที่ 1 คราว ในระหว่างวันที่ 18 – 31 ธันวาคม 2551 และ1 – 15 มกราคม 2552 (ลงก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน แต่ไม่เกิน 42 วัน) การนับวัน รวมหมด ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดราชการ หรือ วันเสาร์ อาทิตย์

สรุป พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด
ที่ไม่โฆษณาหนังสือพิมพ์

1 การประชุมผู้ถือหุ้น,การแจ้งการจ่ายเงินปันผล,การเลิกห้างหุ้นส่วนและบริษัทฯ มาตรา ๑๗* บริษัทจำกัดใด ไม่ลงพิมพ์ โฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ ไม่ส่ง คำบอกกล่าวไปยังผู้ถือหุ้น หรือไม่ระบุสถานที่ วัน เวลา และสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุม ปรึกษากันในคำบอกกล่าวตามมาตรา ๑๑๗๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้อง ระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
2 การลดทุน มาตรา ๒๒* บริษัทจำกัดใดไม่โฆษณา หรือไม่มีหนังสือบอกกล่าวความประสงค์จะลด ทุนตามมาตรา ๑๒๒๖ วรรคหนึ่ง แห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือจัดการลดทุน โดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๒๒๖ วรรคสาม แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย ต้อง ระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
3 การควบบริษัท มาตรา ๒๔* บริษัทจำกัดใด ไม่โฆษณา หรือไม่ส่งคำบอกกล่าวให้ทราบรายการที่ประ สงค์จะควบบริษัทเข้ากันตามมาตรา ๑๒๔๐ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ หรือจัดการควบบริษัทเข้าด้วยกันโดย ฝ่าฝืนมาตรา ๑๒๔๐ วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้อง ระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
4 การแปลสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทฯ จำกัด มาตรา ๓๑/๑ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัดใดไม่โฆษณาหรือไม่มีหนังสือ บอกกล่าวความประสงค์จะแปรสภาพตาม มาตรา ๑๒๔๖/๑ (๒) หรือจัดการแปรสภาพ โดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๒๔๖/๑ วรรคสอง แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้อง ระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

นัดประชุมผู้ถือหุ้น ส่งคำบอกกล่าวได้ 2 วิธี

คำชี้แจง
เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด


ตามที่ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2551 ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัทเกี่ยวกับการบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ ถือหุ้น ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 นั้น

รากฏว่า การบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดตามมาตรา 1175 ที่ปรับปรุงแก้ไขใหม่ ซึ่ง ได้กำหนดให้บริษัทจำกัดทุกบริษัทต้องส่งคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนของ บริษัทและต้องนำคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นนั้นลงประกาศหนังสือ พิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวนั้นก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติต่อผู้ประกอบธุรกิจ 2 ประการดังนี้

ประการแรก การที่ให้บริษัทจำกัดต้องนำคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นลงโฆษณา หนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ทำให้เกิดปัญหาและเป็นภาระในทางปฏิบัติ กล่าวคือ บริษัทในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นบริษัทในครอบครัว การบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นจึงมักจะทำกันอย่างง่าย ๆ โดยการส่งจดหมายแจ้ง โทรศัพท์แจ้ง หรือส่งจดหมายนัดประชุมให้ถึงตัวผู้ถือหุ้นโดยตรง ดังนั้นการที่กฎหมายกำหนดให้ต้องนำคำบอกกล่าวลงโฆษณาหนังสือพิมพ์จึงเป็นการ สร้างภาระเกินความจำเป็น อีกทั้งในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปีที่บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัดซึ่งมี อยู่กว่า 200,000 รายต้องจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีพร้อมกัน หนังสือพิมพ์มีเนื้อที่ไม่เพียงพอรองรับการลงโฆษณาคำบอกกล่าวได้ ทำให้บริษัทเป็นจำนวนมากเกรงว่าการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้ลงโฆษณาคำ บอกกล่าวนัดเรียกประชุมผู้ถือหุ้นจะเสียไป และอาจต้องถูกดำเนินคดีอาญาที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายด้วย ซึ่งปัญหาดังกล่าวกรมพัฒนาธุรกิจการค้าไม่ได้นิ่งนอนใจ ขณะนี้ได้ทำการยกร่างกฎหมายเพื่อปรับปรุงแก้ไขประเด็นที่เป็นปัญหาแล้วโดย หลักเกณฑ์การบอกกล่าวจัดประชุมผู้ถือหุ้นตามร่างที่จะปรับปรุงแก้ไขใหม่นั้น จะยึดหลักเกณฑ์เดียวกันกับการบอกกล่าวการจ่ายเงินปันผล กล่าวคือ คำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นให้ส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้น ทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนของบริษัท แต่การลงโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นนั้นจะลงโฆษณาก็แต่เฉพาะ กรณีที่บริษัทจำกัดใดมีการออกใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือเท่านั้น กรณีที่ออกใบหุ้นชนิดระบุผู้ถือหุ้นทั้งหมดไม่ต้องนำคำบอกกล่าวเรียกนัด ประชุมผู้ถือหุ้นนั้นลงโฆษณาหนังสือพิมพ์อีกต่อไป ขณะนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านขั้นตอนของการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ เกี่ยวข้องแล้ว คาดว่าจะนำเสนอกระทรวงพิจาณาได้ภายในต้นเดือนกรกฎาคม ศกนี้

ประการที่สอง เรื่องเกี่ยวกับการส่งคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุม ซึ่งมีปัญหาว่าจะดำเนินการอย่างไรจึงจะถือว่าได้ส่งคำบอกกล่าวเรียกนัด ประชุมให้กับผู้ถือหุ้นโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เนื่องจากเรื่องการส่งคำบอกกล่าวประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหุ้นส่วน บริษัทได้กำหนดไว้ 2 แห่งคือ มาตรา 1175 (ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้เฉพาะเกี่ยวกับการส่งคำบอกกล่าวเรียกนัด ประชุมผู้ถือหุ้น) และมาตรา 1244 (ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปสำหรับการส่งคำบอกที่บริษัทต้องส่งให้แก่ผู้ถือ หุ้น) เรื่องนี้เพื่อให้มีความชัดเจน กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงขอเรียนชี้แจงแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งคำ บอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นที่ถูกต้องดังนี้ การส่งคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นอาจทำได้ 2 วิธี กล่าวคือ ส่งจดหมายทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นที่มีชื่อในทะเบียน บริษัท หรือส่งคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นให้ถึงตัวผู้ถือหุ้นที่มีชื่อใน ทะเบียนโดยตรง แต่ในกรณีหลังหากผู้ถือหุ้นนั้นไม่ยอมรับ บริษัทก็จะต้องดำเนินการส่งคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นใหม่โดยส่ง จดหมายทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปรษณีย์ตอบรับ

จึงขอเรียนชี้แจงมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
3 กรกฎาคม 2552

ที่มา..กระทรวงพาณิชย์