ภาษีหัก ณ ที่จ่าย | รับทำเงินเดือน ภาษีหัก ณ ที่จ่าย | รับทำเงินเดือน

การหักภาษี ณ ที่จ่าย กับขายคืน RMF LTF ผิดเงื่อนไข

Q…ผมได้ลงทุน ในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ไว้

เพื่อนำไปใช้หักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี  ต่อมาผมมีความเดือดร้อนต้องใช้เงิน  ผมจึงจำเป็นต้องขายคืนเงินลงทุนทั้งใน RMF และ LTF  ซึ่งผมก็จะไปยื่นแก้ไขแบบภาษีเงินได้ประจำปีในแต่ละปีที่ได้เคยใช้สิทธิลด หย่อนอยู่แล้ว  แต่ทำไมบริษัทจัดการ (บลจ.) จึงยังมาหักภาษี ณ ที่จ่ายกับผมอีก  บลจ. มีสิทธิทำแบบนั้นได้ด้วยหรือครับ

A….ผมต้องขอเรียนทำความเข้าใจกับท่านผู้ถามเกี่ยวกับเรื่องภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาว่า ในเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่ละปีที่ผู้ถามได้เคยได้ใช้สิทธินำเงินลง ทุนใน RMF และ LTF ไปหักลดหย่อนเงินได้เพื่อคำนวณภาษีประจำปี  เมื่อผู้ถามมีการขายคืนที่ผิดเงื่อนไขการลงทุนของ RMF หรือ LTF แล้วผู้ถามไปยื่นแก้ไขแบบภาษีเงินได้ประจำปีนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้องตาม หน้าที่แล้วครับ

แต่สำหรับผลประโยชน์ที่ได้รับจากการลงทุนใน RMF และ LTF จะแยกเป็น 2 กรณี คือ

1. หากเป็น LTF ที่มีนโยบายในการจ่ายเงินปันผล  เมื่อ LTF จ่ายเงินปันผลจากการลงทุนให้กับผู้ลงทุน  เงินปันผลดังกล่าวจะถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร  สามารถดูได้จากแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป (ภ.ง.ด. 90) โดยจะถือเป็นเงินส่วนแบ่งกำไรจากกองทุนรวมตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535  ซึ่งหากผู้มีเงินได้ไม่ให้ LTF หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10 หรือยอมให้หักแต่ขอคืนหรือขอเครดิตภาษีที่ถูกหักไว้นั้น  ผู้มีเงินได้จะต้องนำเงินปันผลดังกล่าวมารวมกับเงินได้อื่นเพื่อคำนวณภาษี เงินได้ประจำปีนั้น  แต่หากให้ LTF หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10 แล้วไม่ขอคืนหรือขอเครดิตภาษีที่ถูกหักไว้  ผู้มีเงินได้ก็ไม่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวไปรวมกับเงินได้อื่นเพื่อคำนวณ ภาษีเงินได้ประจำปีนั้น

2. ส่วนกำไรจากการลงทุนใน RMF หรือ LTF  เมื่อมีการขายคืนเงินลงทุนที่ผิดหรือไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการลงทุนตามที่กรม สรรพากรกำหนดไว้นั้น  กำไรดังกล่าวจะถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร  ซึ่งตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่ หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน 2528 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 104/2544
ลงวันที่ 15 กันยายน 2544 ในข้อ 12/1 ได้กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งก็คือ RMF หรือ LTF หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยให้หักไว้ในอัตราร้อยละ 3 ไม่ว่าผู้มีเงินได้จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศ ไทยก็ตาม

ดังนั้น การที่ บลจ. ทำหน้าที่แทน RMF หรือ LTF ในการหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีผู้มีเงินได้ได้รับเงินปันผลจาก LTF และแจ้งให้ LTF หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้  และกรณีที่ผู้มีเงินได้มีกำไรจากการขายคืน RMF หรือ LTF ที่ผิดหรือไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการลงทุนตามที่กรมสรรพากรกำหนดไว้  จึงเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามหน้าที่ครับ

ทั้งนี้ ในกรณีเมื่อผู้มีเงินได้นำเงินได้ซึ่งเป็นเงินปันผลที่ได้รับจาก LTF กรณีที่ไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่ายหรือขอเครดิตภาษีที่ถูกหักไว้  หรือเงินได้ซึ่งเป็นกำไรที่ได้รับจากการลงทุนใน RMF หรือ LTF ที่ผิดหรือไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด  ไปรวมกับเงินได้อื่นเพื่อคำนวณภาษีเงินได้ประจำปีแล้วมีการหักภาษีไว้เกิน กว่าภาษีที่ต้องชำระ  ผู้มีเงินได้ก็มีสิทธิที่จะขอคืนเงินภาษีที่ถูกหักไว้เกินนั้นได้ครับ

อย่างไรก็ดี บลจ. ซึ่งทำหน้าที่แทน RMF หรือ LTF มีสิทธิที่จะพิจารณาไม่หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ก็ได้  สำหรับกรณี บลจ. เห็นหรือพิสูจน์ได้ว่าผู้มีเงินได้มีกำไรจากการลงทุนใน RMF หรือ LTF ที่เป็นไปตามเงื่อนไขการลงทุนซึ่งมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีกำไรจากการลงทุน นั้น  แต่หากในข้อเท็จจริงไม่เป็นไปตามนั้นแล้วกรมสรรพากรมาตรวจพบในภายหลัง บลจ. ซึ่งทำหน้าที่แทน RMF หรือ LTF จะต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนดโดยนอก จากอาจจะต้องรวมจ่ายภาษีหากผู้มีเงินได้ไม่มีเงินจ่ายและยังมีโทษปรับต่าง หากอีกด้วยนะครับ  ดังนั้น ผมจึงใคร่ขอความเห็นใจจากผู้ลงทุนสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ในการหักภาษี ณ ที่จ่ายของ บลจ. ตามที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ด้วยครับ

ที่มา..กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีรับจ้างพิมพ์แบบฟอร์ม

เลขที่หนังสือ : กค 0702/3687

วันที่ : 1 มิถุนายน 2553

เรื่อง : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีรับจ้างพิมพ์แบบฟอร์มสำนักงาน

ข้อกฎหมาย : คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528ฯ

ข้อหารือ
          บริษัทฯ ประกอบกิจการขายส่ง ขายปลีก และรับจ้างพิมพ์เอกสารต่างๆ ตามคำสั่งของลูกค้า บริษัทฯ จึงขอทราบว่า
          1. กรณีบริษัทฯ รับจ้างพิมพ์แบบฟอร์มสำนักงาน (design form) โดยจะพิมพ์งานตามคำสั่งของลูกค้า ซึ่งแบบพิมพ์ จะแตกต่างกันตามที่ลูกค้าสั่ง โดยลูกค้าจะมีตัวอย่างมาให้ บริษัทฯ จะถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายหรือไม่
          2. กรณีแบบพิมพ์ (design form) บางงานของลูกค้าที่มาว่าจ้างบริษัทฯ พิมพ์ แต่ทางบริษัทฯ ไม่สามารถพิมพ์ได้ตาม ตัวอย่างงานที่ลูกค้าสั่ง บริษัทฯ จึงไปว่าจ้างบริษัทอื่นพิมพ์ให้ แล้วนำไปให้ลูกค้าที่มาสั่งพิมพ์ บริษัทฯ จะถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หรือไม่
          3. กรณีลูกค้าสั่งกระดาษต่อเนื่องที่ไม่มีการพิมพ์ (stock form) โดยบริษัทฯ เป็นผู้ผลิตกระดาษต่อเนื่องนั้น บริษัทฯ จะถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หรือไม่

แนววินิจฉัย
          1. กรณีบริษัทฯ รับจ้างพิมพ์แบบฟอร์มสำนักงาน (design form) ซึ่งแบบพิมพ์จะแตกต่างกันตามที่ลูกค้าสั่ง กรณีจึงเป็น การมุ่งหวังผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ เข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากลูกค้าเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น จ่ายเงินค่าจ้างทำของให้แก่บริษัทฯ ลูกค้ามีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
          2. กรณีบริษัทฯ ไม่สามารถพิมพ์งานได้ บริษัทฯ จึงไปว่าจ้างบริษัทอื่นพิมพ์ให้ แล้วนำผลงานดังกล่าวไปให้ลูกค้า ถือว่า ลูกค้าได้ว่าจ้างบริษัทฯ ให้พิมพ์งาน โดยเป็นการมุ่งหวังผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ เข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของ ตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากลูกค้าเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น จ่ายเงินค่าจ้างทำของ ให้แก่บริษัทฯ ลูกค้ามีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว
          3. กรณีลูกค้าสั่งซื้อกระดาษต่อเนื่องที่ไม่ต้องมีการพิมพ์ (stock form) โดยบริษัทฯ เป็นผู้ผลิตกระดาษต่อเนื่องนั้นขายเป็นปกติอยู่แล้ว เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้า จึงไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว

เลขตู้ : 73/37314

รับจ้างผลิตเครื่องจับยึดชุดโลหะ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีรับจ้างทำ ผู้จ่ายมีหน้าที่หักในอัตราร้อยละ  3% ในบางครั้งการพิจารณาว่าสินค้า(ชิ้นส่วน) ที่ซื้อว่าเป็นการรับจ้างทำของ หรือเป็นการขาย เป็นเรื่องยุ่งยากพอสมควร ถ้าดูจากที่สรรพากรตอบไว้จะเห็นว่าการขายสินค้าที่ผู้ซื้อเป็นผู้กำหนดแบบให้ เป็นการรับจ้างทำของ แม้ว่าผู้ขายจะเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบเองก็ตาม

เลขที่หนังสือ กค 0702/5561 

วันที่ : 22 กรกฎาคม 2553

เรื่อง : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการผลิตเครื่องจับยึดชุดโลหะ

ข้อกฎหมาย : มาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ข้อหารือ
          บริษัทฯ ประกอบกิจการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ปั๊มชิ้นส่วนรถยนต์ และรับจ้างจุ่มสีชิ้นส่วนรถยนต์ บริษัทฯ ได้จ่ายค่าจ้างผลิตอุปกรณ์ที่ใช้จับยึดชิ้นงานให้กับบริษัท ว. แต่ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยชี้แจงว่าบริษัท ว. จะผลิตตามคำสั่งและแบบของลูกค้า ลูกค้าให้ผลิตอุปกรณ์จับยึดชุดโลหะตามแบบที่ลูกค้ากำหนด หรือแบบที่ผู้ผลิตเป็นผู้ออกแบบให้ โดยในการผลิตจะใช้วัตถุดิบของ ผู้ผลิต กรณีดังกล่าวอยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 หรือไม่

แนววินิจฉัย
          การพิจารณาข้อตกลงทางการค้าว่า เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าหรือการจ้างทำของจะต้องพิจารณาตามเจตนาที่แท้ จริงของคู่สัญญาว่าคู่สัญญามุ่งที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือมุ่งถึง การทำงานและผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญกรณีปรากฏข้อเท็จจริงว่า การประกอบกิจการของบริษัท ว. จะผลิตสินค้าตามคำสั่งของลูกค้าเท่านั้นโดยไม่มีการวางจำหน่ายเป็นการทั่วไป ไม่ว่าจะใช้วัตถุดิบของบริษัท ว. หรือของผู้ว่าจ้างก็ตามและไม่สามารถผลิตแม่พิมพ์ที่จับยึดชิ้นงานตามแบบของ ลูกค้ารายหนึ่งไปจำหน่ายให้กับลูกค้าอีกรายหนึ่งได้ เนื่องจากเป็นความลับทางการค้าของลูกค้ารายนั้นๆ จึงเป็นการมุ่งถึงผลสำเร็จของงานที่ทำ ถือเป็นการรับจ้างทำของตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่าจ้างให้แก่บริษัท ว. ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 8 (2) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

เลขตู้  : 73/3742