เบี้ยประกันชีวิต | รับทำเงินเดือน - Part 4 เบี้ยประกันชีวิต | รับทำเงินเดือน - Part 4

จ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ (0811/408)

เลขที่หนังสือ กค 0811/408

วันที่ 21 มกราคม 2543

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการผู้จัดการ

ข้อกฎหมาย มาตรา 42 (13), มาตรา 65 ตรี (3), (6), (13)

ข้อหารือ

บริษัทฯ จ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการผู้จัดการ ตามมติที่ประชุมของบริษัทฯ เพื่อเป็น
สวัสดิการและการตอบแทนคุณความดีที่บริหารธุรกิจจนประสบความสำเร็จด้วยดีตลอดมา จึงหารือว่า
1. เบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้กรรมการผู้จัดการตามมติที่ประชุมนี้ หักเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ
ได้หรือไม่มีข้อจำกัดอย่างไร
2. เบี้ยประกันชีวิตนี้จะถือเป็นรายได้พึงประเมินนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ของกรรมการผู้จัดการหรือไม่ มีข้อจำกัดอย่างไร
3. กรณีที่บริษัทฯ จ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งหมดแทนกรรมการผู้จัดการตามมติ
ที่ประชุมและเจตนารมณ์ของบริษัทฯ จะต้องดำเนินการอย่างไร
4. เงินสินไหมทดแทนกรณีการสูญเสียชีวิตของกรรมการผู้จัดการ ที่บริษัทฯ ยกให้แก่
ครอบครัวหรือทายาท มีภาระภาษีใดมาเกี่ยวข้องบ้าง
5. บริษัทฯ จะบันทึกบัญชีอย่างไร กรณีต่อไปนี้
(1) บริษัทฯ จ่ายเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการผู้จัดการให้บริษัทประกันฯ
(2) บริษัทฯ รับเงินค่าสินไหมทดแทนกรณีการสูญเสียชีวิตจากบริษัทประกัน
(3) บริษัทฯ ยกผลประโยชน์จากเงินสินไหมทดแทนให้แก่ครอบครัวหรือทายาทของ
กรรมการผู้จัดการ กรณีเสียชีวิต

แนววินิจฉัย

1. เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ จ่ายให้กรรมการผู้จัดการตามมติที่ประชุมของบริษัทฯ
หากเป็นกรณีที่บริษัทฯ ต้องจ่ายให้กับกรรมการทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบของบริษัทฯ แล้ว บริษัทฯ
มีสิทธินำเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้นมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร และเพื่อความสะดวกใน
การแสดงหลักฐาน ให้บริษัทประกันภัยหมายเหตุไว้ในใบเสร็จรับเงินให้มีข้อความว่าเบี้ยประกันชีวิตที่รับนี้
จ่ายโดยบริษัท…
2. เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตและเงินค่าภาษีอากรที่บริษัทฯ ออกให้ เข้าลักษณะเป็นประโยชน์
เพิ่มที่พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทฯ ได้รับ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่ง
ประมวลรัษฎากร ซึ่งพนักงานจะต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 48 (1)
แห่งประมวลรัษฎากร
3. เงินค่าภาษีอากรที่บริษัทฯ ออกให้ ถือเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการ
ประกอบกิจการ บริษัทฯ สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสีย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร
4. ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดหรือเงินได้จากการประกันภัย เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้
รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42 (13) แห่งประมวลรัษฎากร
5. การบันทึกบัญชีของบริษัทฯ ให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป

เลขตู้ 63/28838

ที่มา..http://www.rd.go.th/publish/23827.0.html

จ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ (0706/5334)

เลขที่หนังสือ กค 0706/5334

วันที่  22 มิถุนายน 2549

เรื่อง  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต

ข้อกฎหมาย  มาตรา 48(1) มาตรา 56 มาตรา 65 ตรี (3)(13) และ (19) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ 

บริษัท ฟ. จำกัด ได้จ่ายเบี้ยประกันชีวิต ดังนี้
             1. กรณีบริษัทฯ ได้จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตให้กับกรรมการของบริษัทฯ ตามมติที่ประชุมของบริษัทฯ ซึ่งบริษัทฯ มีสิทธินำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายแทนไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไร สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล บุคคลธรรมดาที่เป็นกรรมการมีสิทธินำค่าเบี้ยประกันชีวิตดังกล่าวไปหักลด หย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้หรือไม่
             2. กรณีข้อกำหนดหรือมติที่ประชุมของบริษัทฯ กำหนดให้มีการจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ตลอดจนพนักงาน บิดามารดา สามี ภริยา และบุตรของพนักงาน บริษัทฯ จะนำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายแทนดังกล่าว ไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้หรือไม่
             3. กรณีบริษัทฯ มีมติให้จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตให้แก่กรรมการทุกคน หรือพนักงานเป็นการทั่วไป และมีมติให้จ่ายกับกรรมการของบริษัทอื่นที่มาเข้ามาถือหุ้นในบริษัทฯ ในอัตราร้อยละ 25 อีกประมาณ 3-10 ท่าน บริษัทฯ จะต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตให้ด้วย หรือไม่
             4. กรณีบริษัทฯ มีผลกำไรจากการประกอบกิจการ หากบริษัทฯ จะทำประกันชีวิตให้กับพนักงานของบริษัทฯ โดยคำนวณจากกำไรสุทธิ 100 บาท ทำประกันชีวิต 50 บาท ค่าเบี้ยประกันชีวิตดังกล่าวจะลงรายจ่าย ได้หรือไม่

แนววินิจฉัย

             1. กรณีตาม 1. บริษัทฯ ได้จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการและพนักงานของบริษัทฯ รวมทั้งผลประโยชน์ที่จะได้รับเป็นการทั่วไปตามระเบียบและสวัสดิการของ บริษัทฯ โดยมติที่ประชุมของบริษัทฯ เข้าลักษณะเป็นประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งกรรมการและพนักงานต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 48(1) และมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร โดยกรรมการและพนักงานสามารถนำใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัท รับประกันชีวิตออกให้นั้น มาใช้เป็นหลักฐานในการหักลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปีได้เฉพาะในปีที่มีการ จ่ายเงินค่าเบี้ยประกันชีวิต และรายจ่ายดังกล่าว ถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะและไม่ใช่รายจ่ายที่มี ลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หา บริษัทฯ มีสิทธินำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ(13) แห่งประมวลรัษฎากร
             2. กรณีตาม 2. บริษัทฯ ได้จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแทนผู้ถือหุ้น บิดามารดา สามี หรือภริยา และบุตรของพนักงาน เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายที่เป็นการส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หา มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ บริษัทฯ ไม่มีสิทธินำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร
             3. กรณีตาม 3. บริษัทฯ จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการของบริษัทอื่นที่เข้ามาถือหุ้นในบริษัทฯ ในอัตราร้อยละ 25 ประมาณ 3-10 ท่าน เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายที่เป็นการส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หา มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ บริษัทฯ ไม่มีสิทธินำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร
             4. กรณีตาม 4. บริษัทฯ ทำประกันชีวิตให้กับพนักงานโดยนำกำไรสุทธิมาจ่ายเป็นค่าเบี้ยประกันชีวิต ถือเป็นการจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว บริษัทไม่มีสิทธินำค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (19) แห่งประมวลรัษฎากร

เลขตู้  69/34313

ที่มา..http://www.rd.go.th/publish/31945.0.html

เบี้ยประกันชีวิตกรณีมีเบี้ยอื่นรวมอยู่ด้วย

ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นไป ค่าลดหย่อยเบี้ยประกันชีวิตได้ปรับจาก 50,000 บาทไปเป็น 100,000 บาท เมื่อ 2-3 วันก่อนไปเห็นข่าวเกี่ยวกับกรมสรรพากรเป็นห่วงว่า ผู้ประกันตนไม่ทราบถึงหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการหักลดหย่อนทางภาษี จนเป็นเหตุให้มีการเสียภาษีผิดพลาด โดยเฉพาะการทำประกันชีวิตควบคู่กับประกันอื่น เช่น ประกันสุขภาพ ประกันอุับัติเหตุ หรือบางทีก็พ่วงเรื่องของออมทรัพย์เข้ามาด้วย ก็มี

ผมเองก็พอรู้เรื่องนี้อยู่ เคยถามไปทางบริษัทประกัน ให้ช่วยแยกระหว่างประกันชีวิต กับประกันอื่นออกมาได้หรือไม่ เค้าก็บอกมาว่าทำไม่ได้ แบบฟอร์มถูกกำหนดมาเป็นแบบนี้ไม่สามารถแก้ไขได้ ผมก็เลยลองถามคนทำประกันดูเผื่อจะรู้ บางคนก็ทำไว้เยอะมาก ถามเค้าไปว่า เป็นประกันชีวิตเท่าไหร่ ประกันสุขภาพเท่าไหร่ รู้หรือเปล่า เค้าก็ตอบผมมาว่า ไม่รู้ (จำไม่ได้) แล้วเค้าก็ถามผมกลับว่า เค้าจะรู้ได้ไงว่าแบ่งเป็นอะไรบ้าง ตัวเค้าเองก็อยากรู้เหมือนกัน ใบเสร็จเอามาให้ผมดูก็ไม่ได้แยกไว้ หนังสือรับรองการหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตก็ไม่ได้แยกไว้ให้

ผมเองในฐานะที่ต้องยื่นแบบเสียภาษีให้ เมื่อไม่สามารถแยกให้ได้ ก็ต้องใช้ตามหลักฐานตามที่มีอยู่ เบี้ยประกันถึงจะรวมเบี้ยอื่นก็ต้องยื่นไปตามนั้น มาปีนี้ ไม่รู้ว่าสรรพากรนึกยังไง ถึงอยากจะให้บริษัทประกันช่วยแยกด้วยว่ากรมธรรม์ที่ลูกค้าซื้อไป เป็นส่วนของค่าเบี้ยประกันชีวิตเท่าไหร่ เป็นส่วนของค่าประกันประเภทอื่นเท่าไหร่ เช่น สุขภาพ เท่าไหร่ เพื่อให้ลูกค้าทราบว่าวงเงินที่ผู้เอาประกันภัย จะสามารถนำไปใช้หักเป็นค่าลดหย่อนทางภาษีได้เป็นจำนวนเท่าใด

อ่านข่าวสรรพากรคลิ๊กที่นี่