เบี้ยประกันชีวิต | รับทำเงินเดือน - Part 3 เบี้ยประกันชีวิต | รับทำเงินเดือน - Part 3

นิติบุคคลซื้อประกันชีวิตให้กรรมการ (0706/6949)

เลขที่หนังสือ กค 0706/6949

วันที่ 17 สิงหาคม 2549

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีกรรมการบริหารกระทำการแทนนิติบุคคลในการซื้อประกันชีวิตเพื่อประโยชน์ ของนิติบุคคล

ข้อกฎหมาย

ข้อหารือ

       บริษัทฯ ได้ออกกรมธรรม์แบบใหม่ที่จะให้ความคุ้มครองบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ("นิติบุคคล") ที่มีภาระหนี้สินกับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งบริษัทฯ ในฐานะเป็นบริษัทประกันชีวิต ไม่สามารถเอาประกันชีวิตกับนิติบุคคลได้ บริษัทฯ จึงแนะนำให้นิติบุคคลคัดเลือกกรรมการหรือผู้บริหารที่เป็นผู้บริหารสำคัญของ องค์กรกระทำการเอาประกันชีวิตแทนในนามนิติบุคคล และกำหนดให้ที่ประชุมกรรมการมีมติให้กรรมการหรือผู้บริหารดังกล่าวกระทำการ แทนนิติบุคคลในการซื้อประกันชีวิตเพื่อประโยชน์ของนิติบุคคล ซึ่งกรรมการหรือผู้บริหารดังกล่าวจะถูกระบุให้เป็นผู้เอาประกันชีวิตในสัญญา ประกันชีวิตในฐานะตัวแทนนิติบุคคล ทั้งนี้ นิติบุคคลจะเป็นผู้สมัครเอาประกันชีวิตและชำระเบี้ยประกันชีวิต และหากผู้เอาประกันเสียชีวิตในระหว่างที่สัญญาประกันชีวิตยังมีผลบังคับ บริษัทฯ จะต้องจ่ายเงินเอาประกันชีวิตให้กับธนาคารผู้ปล่อยสินเชื่อเพื่อชำระหนี้แทน นิติบุคคลเป็นลำดับแรก และหากมีเงินเอาประกันชีวิตหลังชำระหนี้สินแทนนิติบุคคลเหลืออยู่ บริษัทฯ ต้องจ่ายผลประโยชน์ที่เหลือดังกล่าวให้แก่นิติบุคคลทั้งหมด เนื่องจากลักษณะการคุ้มครองชีวิตเพื่อชำระหนี้สินของนิติบุคคลดังกล่าวส่งผล ให้มูลค่าการเอาประกันชีวิตมีมูลค่าสูงกว่าภาวะปกติสำหรับการเอาประกันชีวิต ในรูปแบบของบุคคลธรรมดา โดยหนี้สินที่ได้รับความคุ้มครองอาจมีมูลค่าสูงถึง 200 – 300 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนที่สอดคล้องกับมูลค่าหนี้สินที่นิติบุคคลมีอยู่กับธนาคาร ระดับความคุ้มครองดังกล่าวมิใช่ระดับความคุ้มครองที่ปรากฏเป็นปกติของการเอา ประกันชีวิตแบบทั่วไปสำหรับบุคคลธรรมดา บริษัทฯ จึงขอทราบว่า

       1. กรณีนิติบุคคลตกลงจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตเพื่อประกันชีวิตกรรมการหรือผู้ บริหารเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจของนิติบุคคล นิติบุคคลมีสิทธินำค่าเบี้ยประกันชีวิตดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณ กำไรสุทธิได้หรือไม่ อย่างไร

       2. กรณีกรรมการหรือผู้บริหารของนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้เอาประกันชีวิตแทน นิติบุคคลตามมติที่ประชุม และไม่มีผลประโยชน์จากค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ กรรมการหรือผู้บริหารดังกล่าวต้องนำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่นิติบุคคลชำระให้ แก่บริษัทฯ มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ อย่างไร

       3. กรณีค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากการเสียชีวิตของกรรมการหรือผู้บริหารที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่ธนาคารผู้ปล่อยสินเชื่อเพื่อชำระหนี้แทนนิติบุคคล ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวถือเป็นการชำระหนี้ตามการค้าปกติของธนาคารหรือไม่ อย่างไร

        4. กรณีค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากการเสียชีวิตของกรรมการหรือผู้บริหารที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่ธนาคารผู้ปล่อยสินเชื่อเพื่อชำระหนี้แทนนิติบุคคล และส่วนที่จ่ายโดยตรงให้นิติบุคคล (ถ้ามี) ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวถือเป็นรายได้ของนิติบุคคลที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่ อย่างไร

แนววินิจฉัย

       1. กรณีตาม 1. บริษัทฯ ได้ออกกรมธรรม์เพื่อคุ้มครองนิติบุคคลซึ่งมีภาระหนี้สินกับธนาคารพาณิชย์ และเพื่อให้นิติบุคคลสามารถชำระหนี้ธนาคารพาณิชย์ได้ภายในกำหนดเวลา นิติบุคคลจึงต้องมีกรรมการหรือผู้บริหารที่มีความรู้ ความชำนาญในการบริหารงานของนิติบุคคล ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงของนิติบุคคล บริษัทฯ จึงให้นิติบุคคลคัดเลือกกรรมการหรือผู้บริหารสำคัญเพื่อเป็นผู้เอาประกัน ชีวิตแทนนิติบุคคล โดยนิติบุคคลตกลงจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตเพื่อประกันชีวิตกรรมการหรือ ผู้บริหารตามมติที่ประชุมกรรมการเพื่อผลประโยชน์ของบริษัทฯ การจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อ กิจการโดยเฉพาะและไม่ใช่รายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือการให้โดย เสน่หา นิติบุคคลฯ จึงมีสิทธินำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ(13) แห่งประมวลรัษฎากร

       2. กรณีตาม 2. เนื่องจากนิติบุคคลมิได้เป็นผู้เอาประกันชีวิต หากแต่เป็นกรณีกรรมการหรือผู้บริหารของนิติบุคคลเป็นผู้เอาประกันชีวิตตาม มติที่ประชุมของนิติบุคคล โดยนิติบุคคลตกลงจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการหรือผู้บริหาร และธนาคารผู้ให้สินเชื่อและนิติบุคคลเป็นผู้รับประโยชน์จากกรมธรรม์ ค่าเบี้ยประกันชีวิตที่นิติบุคคลจ่ายแทนกรรมการหรือผู้บริหารดังกล่าวเข้า ลักษณะเป็นประโยชน์ใด ๆ อันเนื่องจากการจ้างแรงงานหรือเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร กรรมการหรือผู้บริหารจึงต้องนำค่าเบี้ยประกันชีวิตไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร

       3. กรณีตาม 3. บริษัทฯ จ่ายเงินผลประโยชน์จากกรมธรรม์อันเนื่องจากการเสียชีวิตของกรรมการและผู้ บริหารของนิติบุคคลให้แก่ธนาคารผู้ให้สินเชื่อ กรณีดังกล่าวจะถือว่าเป็นการชำระหนี้ของนิติบุคคลที่มีต่อธนาคารผู้ให้สิน เชื่อหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างธนาคารผู้ให้สินเชื่อและนิติบุคคล

        4. กรณีตาม 4. บริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินผลประโยชน์จากกรมธรรม์อันเนื่องจากการเสียชีวิตของกรรมการและ ผู้บริหารของนิติบุคคลให้แก่ธนาคารผู้ให้สินเชื่อเพื่อชำระหนี้แทนนิติบุคคล และหากเงินผลประโยชน์เหลืออยู่ บริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่นิติบุคคล ผลประโยชน์ที่ธนาคารผู้ให้สินเชื่อและนิติบุคคลได้รับตามกรมธรรม์ดังกล่าว ถือเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ธนาคารผู้ให้สินเชื่อและ นิติบุคคลต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร

เลขตู้ 69/34432

ที่มา..http://www.rd.go.th/publish/32673.0.html

จ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้พนักงาน (0706/397)

เลขที่หนังสือ กค 0706/397

วันที่ 17 มกราคม 2549

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีนายจ้างจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้พนักงาน

ข้อกฎหมาย มาตรา 40(1) และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ

บริษัท ศ. ประกอบกิจการให้คำปรึกษาทางการเงินแก่บริษัทอื่นๆ บริษัทฯ ได้จัดทำโครงการประกันชีวิตพนักงานเสนอให้แก่บริษัทลูกค้า โดยโครงการประกันชีวิตพนักงานดังกล่าว นายจ้างจะต้องเป็นผู้จ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้พนักงานจนครบกำหนดอายุกรมธรรม์ และถือเป็นสวัสดิการของพนักงาน กรมธรรม์ประกันชีวิตดังกล่าว เป็นแบบชนิดสะสมทรัพย์ซึ่งนายจ้างจะเป็นผู้ถือกรมธรรม์ จ่ายเบี้ยประกัน และเป็นผู้รับประโยชน์ทุกอย่างตามกรมธรรม์ มีระยะเวลาการชำระเบี้ยประกันและระยะเวลาการให้ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ 10 ปี ครบกำหนดอายุกรมธรรม์เมื่อผู้เอาประกันมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อผู้เอาประกันมีอายุครบเกษียณตามที่บริษัทฯ กำหนดไว้ในระเบียบพนักงาน เมื่อนายจ้างรับประโยชน์ตามกรมธรรม์แล้ว ก็จะยกผลประโยชน์ให้แก่พนักงานในกรณีที่พนักงานเกษียณอายุ หรือมอบให้แก่ทายาทของพนักงานในกรณีที่พนักงานเสียชีวิต ซึ่งเป็นไปตามที่ระบุไว้ในระเบียบสวัสดิการพนักงาน แต่ถ้าหากพนักงานลาออกก่อนกำหนดหรือก่อนครบกำหนดเกษียณอายุ นายจ้างสามารถยกเลิกกรมธรรม์ และจะได้รับเงินจากมูลค่าการคืนกรมธรรม์ พร้อมเงินปันผลหรือดอกเบี้ย โดยไม่จำต้องยกประโยชน์ดังกล่าวให้แก่พนักงานแต่อย่างใด บริษัทฯ จึงขอทราบว่า
1. ค่าเบี้ยประกันชีวิตของพนักงานที่นายจ้างจ่ายแทนดังกล่าวนั้น นายจ้างมีสิทธินำไปเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลได้หรือไม่ และพนักงานต้องนำค่าเบี้ย
ประกันที่นายจ้างออกให้มารวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่
2. ผลประโยชน์ที่นายจ้างได้รับตามกรมธรรม์และได้ส่งมอบให้แก่พนักงานหรือทายาท แล้วแต่กรณี จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้หรือไม่ และพนักงานที่ได้รับผลประโยชน์ดังกล่าวจะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่

แนววินิจฉัย

1. เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่นายจ้างจ่ายแทนพนักงานทุกคนเป็นการทั่วไปตาม ระเบียบสวัสดิการพนักงานของบริษัท สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี(3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร และผลประโยชน์ที่นายจ้างได้รับตามกรมธรรม์ นายจ้างจะต้องบันทึกบัญชีเป็นรายได้ และเมื่อนายจ้างได้ส่งมอบผลประโยชน์ให้พนักงานตามระเบียบสวัสดิการพนักงานของบริษัท อันถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างแล้ว นายจ้างมีสิทธินำผลประโยชน์ที่ส่งมอบให้พนักงานมาถือเป็นรายจ่ายได้
2. เบี้ยประกันชีวิตที่นายจ้างจ่ายแทนพนักงาน และผลประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับจากนายจ้าง เข้าลักษณะเป็นประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน
ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งพนักงานต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร

เลขตู้ 69/33829

ที่มา..http://www.rd.go.th/publish/30689.0.html

จ่ายเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการ (0706/4227)

เลขที่หนังสือ กค 0706/4227

วันที่ 30 เมษายน 2547

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการ

ข้อกฎหมาย มาตรา 42(13), มาตรา 65 ตรี (3), มาตรา 65 ตรี (13)

ข้อหารือ

บริษัท ม. หารือว่า กรณีที่สำนักงานสรรพากรภาคได้มีหนังสือตอบข้อหารือกรณีเบี้ยประกันชีวิต
ที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการตามมติที่ประชุมของบริษัทว่า หากผู้รับประโยชน์คือบริษัท เงินค่าเบี้ยประกันที่
บริษัทจ่ายแทนกรรมการผู้เอาประกันไม่ถือเป็นเงินได้ของกรรมการ แต่หากผู้รับประโยชน์จากกรมธรรม์
เป็นครอบครัวหรือญาติพี่น้องของกรรมการ เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายแทนถือเป็น
เงินได้พึงประเมินของกรรมการ ต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้ของกรรมการ ประเด็นดังกล่าวตัวแทน
ประกันชีวิตเห็นว่า
1. เบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการบริษัทตามมติที่ประชุมของบริษัทถือว่าเป็นระเบียบ
วางไว้ให้จ่ายได้ เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการของบริษัทซึ่งถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
ได้ และหากผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์คือบริษัท เงินค่าเบี้ยประกันที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการ
ผู้เอาประกันก็ไม่ถือเป็นเงินได้ของกรรมการ
2. ผลประโยชน์ที่บริษัทประกันชีวิตจ่ายคืนระหว่างอายุกรมธรรม์ทุก 5 ปีหรือทุกปี ถือเป็น
เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42(13)
แห่งประมวลรัษฎากร เพราะผลประโยชน์มิใช่สินไหมเสียชีวิตหรือครบกำหนดอายุกรมธรรม์ บริษัท
ประกันชีวิตจะจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันเท่านั้น ไม่จ่ายให้แก่บริษัทซึ่งเป็นผู้จ่ายเบี้ยประกันและเป็นผู้รับ
ผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ ย่อมถือเป็นประโยชน์เพิ่มของกรรมการที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา
42(13) ที่กล่าวถึงข้างต้นบริษัทฯ หารือว่าความเห็นของตัวแทนประกันชีวิตในกรณีดังกล่าวถูกต้องหรือไม่

แนววินิจฉัย

1. เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการบริษัทตามมติที่ประชุมของบริษัท หากเป็น
กรณีที่บริษัทต้องจ่ายให้กรรมการทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบของบริษัทแล้ว บริษัทมีสิทธินำ
เบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้นมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร ถึงแม้ผู้รับประโยชน์ตาม
กรมธรรม์คือบริษัท เงินค่าเบี้ยประกันที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการก็ต้องถือเป็นประโยชน์เพิ่มของกรรมการ
เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร
2. ผลประโยชน์ที่บริษัทประกันชีวิตจ่ายคืนระหว่างอายุกรมธรรม์ 5 ปี หรือทุกปีให้แก่
ผู้เอาประกันภัยถือเป็นเงินที่ได้จากการประกันภัย ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสีย
ภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(13) แห่งประมวลรัษฎากร

เลขตู้ 67/32909

ที่มา..http://www.rd.go.th/publish/24443.0.html