เกร็ดน่ารู้เรื่องภาษี | รับทำเงินเดือน เกร็ดน่ารู้เรื่องภาษี | รับทำเงินเดือน

เปิดร้านออนไลน์ เสียภาษีอย่างไร ?

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราจะเห็นว่าเศรษฐกิจของไทยอยู่ในภาวะตกต่ำโดยเฉพาะผู้ประกอบการ SME ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีธุรกิจหนึ่งที่นอกจากจะไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าวแล้ว กลับมีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกปี นั่นก็คือ “ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” (e-commerce) ยิ่งเมื่ออุปกรณ์สมาร์ทโฟนกับแท็บเล็ตมีราคาที่ต่ำลงจนคนส่วนใหญ่สามารถซื้อหาได้ง่ายบวกกับการเปิดเสรีด้านเทคโนโลยี 3G ทำให้ปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตภายในประเทศไทยพุ่งสูงขึ้น เปิดโอกาสและช่องทางให้เกิดการใช้จ่ายทาง (e-commerce) มากตามไปด้วย

ฉบับนี้เราจึงขอหยิบเอาประเด็นของ “ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับการเสียภาษี” มาเล่าสู่กันฟัง แต่ว่า…แล้ว…อะไรคือ“e-commerce”ล่ะ? คำตอบก็คือ การซื้อขายบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อสินค้า และชำระเงินผ่านบัตรเครดิตหรือโอนเงินให้แก่คนขาย เมื่อคนขายได้รับเงินค่าสินค้าก็จะจัดส่งสินค้าไปถึงมือผู้ซื้อตามสถานที่ที่ตกลงกันไว้ ข้อดีของ e-commerce คือเป็นการซื้อขายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงสามารถเปิดให้ซื้อขายได้อย่างไร้พรมแดนทั่วโลก ตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุด ลงทุนน้อย ไม่ต้องมีหน้าร้าน ไม่ต้องจ้างพนักงานขาย และก็ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบอินเทอร์เน็ต ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบโลจิสติกส์ (logistice) และกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว

..เปิดร้านออนไลน์ เขาเสียภาษีกันอย่างไร ? ขณะนี้เรายังไม่มีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับภาษีธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจด้านนี้จึงต้องเสียภาษีภายใต้กฎหมายประมวลรัษฎากรโดยกรมสรรพากรมองว่า ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การขายสินค้าหรือบริการเหมือนการประกอบกิจการทั่ว ๆ ไป เพียงแต่เป็นการเพิ่มช่องทางซื้อขายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายอีกหนึ่งช่องทางคือทางอินเทอรเ์น็ตเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรม ส่วนการเสียภาษีของร้านค้าออนไลน์ก็อยู่ที่ว่า คุณเปิดขายสินค้า/บริการในรูปแบบใด ประเภทใด ก็จะเสียภาษีตามรูปแบบการประกอบการ ยกตัวอย่างเช่น คุณเปิดร้านขายหนังสือออนไลน์ โดยเปิดในนามบุคคลธรรมดา หากรายได้คุณถึงเกณฑ์ก็จะเสียเฉพาะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะการขายหนังสือได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนวิธีการคำนวณภาษีก็คำนวณจากเงินที่ขายได้ทั้งปีหักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อนต่างๆ เหลือเงินได้สุทธิก็เอาไปคำนวณตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ต่อมาร้านค้าออนไลน์ของคุณเติบโตขึ้นมีรายได้ถึงหลักหลายสิบล้านบาทต่อปี อีกทั้งมีการเพิ่มประเภทสินค้าที่เกี่ยวข้อง เช่น เครื่องเขียน เครื่องคิดเลข กระเป๋า แผ่นซีดี หรือ สินค้าที่ระลึกต่าง ๆ และจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัด คุณก็จะต้องเสียภาษีในนามนิติบุคคล คือภาษีเงินได้นิติบุคคล และเนื่องจากสินค้าที่ขายเพิ่มขึ้นอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม คุณก็ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือน นอกจากนี้หากคุณต้องจ้างพนักงานเพื่อช่วยทำงาน จ่ายค่าโทรศัพท์ ค่าใช้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต คุณก็ยังต้องมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อ คุณจ่ายเงินเดือนหรือจ่ายเงินได้บางประเภท ที่กรมสรรพากรกำหนดให้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอีกด้วย

หากคุณมีข้อสงสัยหรือต้องการคู่มือเกี่ยวกับการเสียภาษีของ e-commerce เรามี e-book มาให้Download ฟรี ที่ http://download.rd.go.th/fileadmin/download/insight_pasi/e_commerce.pdf หรือโทรศัพท์สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ RD Call Center 1161

ที่มา..วารสารสรรพากร เดือนมิถุนายน 2556

บัตรภาษี คืออะไร

หลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินคาว่า “บัตรภาษี” มาก่อนว่าคืออะไร แต่อาจจะเป็นที่คุ้นเคยกับผู้ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ

บัตรภาษี นั้น เป็นเงินที่จ่ายชดเชยค่าภาษีอากรซึ่งมีอยู่ในต้นทุนการผลิตสินค้าส่งออกให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยซึ่งได้แก่

  1. ผู้ทำการส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร หรือการขายสินค้าภายในประเทศให้แก่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ และการขายสินค้าให้แก่องค์การระหว่างประเทศหรือหน่วยงานที่มีสิทธินำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยได้รับการยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
  2. ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยจะต้องไม่ได้รับคืนหรือยกเว้นหรือลดหย่อนอากรตามพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ.2524

บัตรภาษีจึงเป็นการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรเพื่อส่งเสริมการส่งออกรูปแบบหนึ่งที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ.2514 ด้วยวิธีเครดิตภาษีแทนการจ่ายเป็นตัวเงินโดยออกเป็นบัตรภาษีเพื่อที่จะนำไปชำระค่าภาษีอากรที่ผู้นั้นจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย หรือมีหน้าที่ต้องนำส่งตามประมวลรัษฎากรรวมทั้งภาษีเทศบาลและภาษีอากรอื่น

มาตรการชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกนี้เป็นมาตรการส่งเสริมการส่งออกมาตรการเดียวที่สามารถใช้สิทธิจากการใช้ปัจจัยการผลิตในประเทศ สามารถใช้สิทธิได้สะดวกและมีต้นทุนไม่สูงเมื่อเทียบกับมาตรการสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรอื่นๆ และทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถใช้สิทธิได้ เนื่องจากจะเป็นการขอใช้สิทธิในขั้นตอนการส่งออกและไม่มีข้อจากัดในสถานที่ตั้งโครงการและประเภทกิจการ ทั้งนี้ พระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรพ.ศ.2524 ได้บัญญัติให้กรมศุลกากรรับผิดชอบในการออกบัตรภาษีให้แก่ผู้ส่งออกสินค้าหรือที่ถือว่าเป็นการส่งออกสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร

เรียบเรียงโดย นางสาวศศิวิมล ถาวรพงศ์สถิตย์ นิติกร
สำนักกฎหมำย สำนักงำนเศรษฐกิจกำรคลัง กระทรวงการคลัง

วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี

“วันนี้…คุณยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปี 2552 หรือยัง”เป็นคำถามสุดฮิต        

วันที่ 15 ก.พ. มีความสำคัญอย่างไรกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด. โดยเฉพาะท่านที่มีเงินได้เป็นเงินเดือนค่าจ้างอย่างเดียว  คือ วันที่ 15 ก.พ 53 นี้ เป็นวันสุดท้ายที่นายจ้างต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายให้แก่พนักงานลูกจ้างที่ทำงานกับตนมาจนตลอดปี 52 ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ตามมาตรา 50 ทวิ กำหนดให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ได้หักไว้แล้วในปีภาษีให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2 ฉบับ มีข้อความตรงกันในกรณีและตามกำหนดเวลาดังต่อไปนี้

1. ในกรณีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร หรือตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 อาทิ ค่าเช่าทรัพย์สิน เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้ค่าบริการ และการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (2) (3) หรือ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ออกในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย

2. ในกรณีตามมาตรา 50 (1) อาทิ การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับเงินเดือนค่าจ้าง เบี้ยประชุม ค่านายหน้า ให้ออกภายในวันที่ 15 ก.พ.ของปีถัดจากปีภาษี หรือภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายออกจากงานในระหว่างปีภาษีหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ใช้ตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด  หากผู้จ่ายเงินได้ฝ่าฝืน ไม่ออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หรือไม่จัดทำหนังสือรับรองฯ ให้เป็นไปตามที่กำหนด อาจต้องรับผิดเสียค่าปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาทต่อกระทงความผิด ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งในทางปฏิบัติ กรมสรรพากรลดหย่อนโทษให้เหลือเพียง 500 บาทต่อกระทง ครับ.

 

ที่มา..http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=470&contentID=48780