ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | รับทำเงินเดือน - Part 2 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | รับทำเงินเดือน - Part 2

การหักลดหย่อนค่าซ่อมบ้านและค่าซ่อมรถที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม

คำชี้แจง

การหักลดหย่อนค่าซ่อมบ้านและค่าซ่อมรถที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555
เนื่องด้วยเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือ
และฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย กรณีการหักลดหย่อนค่าซ่อมบ้านและค่าซ่อมรถ และขณะนี้ร่างกฎหมาย
ตามมาตรการภาษีดังกล่าวอยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กรมสรรพากรจึงขอชี้แจงเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว ดังนี้

กรณีค่าซ่อมบ้าน
๑. ยกเว้นเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์ที่
ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยที่เป็นอาคาร หรือที่อยู่ในเขตอาคาร หรือห้องชุดในอาคารชุด หรือทรัพย์สินที่มี
การประกอบติดตั้งติดกับตัวอาคารหรือในเขตอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน
100,000 บาท
ตัวอย่างเช่น
     (๑) ค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร เช่น ค่าสี
ทาบ้าน ห้องชุดในอาคารชุด หรือตึกแถว ค่ากระเบื้อง ค่าฝ้าเพดาน ค่าหลังคา ค่าอิฐ ค่าปูน ที่ใช้ในการซ่อมแซม
และค่าแรงในการซ่อมแซม
     (๒) ค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่มีการประกอบติดตั้งติดกับ
ตัวอาคารหรือห้องชุด เช่น ค่าซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์ built-in
     (๓) ค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่มีการประกอบติดตั้งติดอยู่ใน
เขตอาคาร เช่น ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมรั้ว ประตูรั้ว กำแพง โรงรถ สระว่ายน้ำ บ่อเลี้ยงปลา รวมทั้งค่าแรง
๒. การยกเว้นภาษีตาม ๑. ให้คำ นวณหักเสมือนเป็นค่าลดหย่อน โดยกรอกในแบบ
ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 ในส่วนของ “รายการลดหย่อนและยกเว้นหลังหักค่าใช้จ่าย” ใน “ข้อ ๑๒. อื่นๆ”
๓. ต้องเป็นการซ่อมแซมทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่เกิด
อุทกภัย
๔. กรณีผู้มีเงินได้จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่ได้รับความ
เสียหายจากเหตุอุทกภัยจำนวนหนึ่งแห่ง หรือเกินกว่าหนึ่งแห่ง ให้ได้รับสิทธิหักลดหย่อนภาษีสำหรับค่าซ่อมแซม
ทรัพย์สินนั้นทุกแห่งตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันแล้วไม่เกิน 100,000 บาท
๕. เอกสารหลักฐาน
     (๑) ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานที่แสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือห้องชุดใน
อาคารชุดที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย หรือหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้เช่าอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดที่ได้รับ
ความเสียหายจากเหตุอุทกภัย หรือหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดที่ได้รับ
ความเสียหายจากเหตุอุทกภัยนั้นเป็นที่อยู่อาศัยหรือใช้ประกอบกิจการหรือใช้ประโยชน์อื่น
     (๒) ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานเอกสารการจ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุอุปกรณ์ในการ
ซ่อมแซมทรัพย์สินที่แสดงตัวผู้รับเงินและผู้จ่ายเงิน วัน เดือน ปี ที่จ่าย รายการที่จ่าย จำนวนเงินที่จ่าย และลายมือชื่อ
ของผู้รับเงิน
๖. ผู้มีเงินได้ต้องใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในปีที่ได้จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุอุปกรณ์ในการ
ซ่อมแซม โดยให้ใช้สิทธิได้ในปีภาษี 2554 และปีภาษี 2555 และหากผู้มีเงินได้จ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุ
อุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินดังกล่าว ทั้งสองปีภาษี ให้ได้รับลดหย่อนภาษีตามที่ได้จ่ายจริงในแต่ละปีภาษี
แต่รวมกันสองปีภาษีแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท

กรณีค่าซ่อมรถ
๑. ยกเว้นเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถที่ได้รับความ
เสียหายจากน้ำท่วม แต่รวมกันทั้งหมดแล้ว ไม่เกิน 30,000 บาท
ตัวอย่างเช่น ค่าซ่อมแซมสีรถ เบาะรถ ล้อรถ ระบบแอร์ในรถ หรืออุปกรณ์ที่ติดกับตัวรถซึ่ง
เสียหายจากการถูกน้ำท่วม
๒. การยกเว้นภาษีตาม ๑. ให้คำ นวณหักเสมือนเป็นค่าลดหย่อน โดยกรอกในแบบ
ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 ในส่วนของ “รายการลดหย่อนและยกเว้นหลังหักค่าใช้จ่าย” ใน “ข้อ ๑๒. อื่นๆ”
๓. ต้องเป็นการซ่อมแซมรถที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยในระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นเจ้าของรถต้องอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการ
ประกาศให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย
๔. กรณีผู้มีเงินได้จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถที่ได้รับความเสียหาย
จากเหตุอุทกภัย จำนวนหนึ่งคันหรือเกินกว่าหนึ่งคัน ให้ได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับค่าซ่อมแซมรถทุกคันตาม
จำนวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันแล้วไม่เกิน 30,000 บาท
๕. เอกสารหลักฐาน
     (๑) ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานที่แสดงความเป็นเจ้าของรถหรือหลักฐานแสดงการ
เช่าซื้อรถ ซึ่งได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและมีการจ่ายค่าซ่อมแซมรถนั้น
     (๒) ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานเอกสารการจ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุอุปกรณ์ในการ
ซ่อมแซมรถที่แสดงตัวผู้รับเงินและผู้จ่ายเงิน วัน เดือน ปี ที่จ่าย รายการที่จ่าย จำนวนเงินที่จ่าย และลายมือชื่อของ
ผู้รับเงิน
๖. ผู้มีเงินได้ต้องใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในปีที่ได้จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุอุปกรณ์ในการ
ซ่อมแซมรถ โดยให้ใช้สิทธิได้ในปีภาษี 2554 และปีภาษี 2555 และหากผู้มีเงินได้จ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือ
ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถดังกล่าวทั้งสองปีภาษี ให้ได้รับลดหย่อนภาษีตามที่ได้จ่ายจริงในแต่ละปีภาษี
แต่รวมกันสองปีภาษีแล้วต้องไม่เกิน 30,000 บาท
——————————————-

แบบฟอร์มภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2554

แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2554
 
2554
ลำดับ ชื่อย่อ ชื่อเต็ม ดาวน์โหลด
1. ภ.ง.ด. 90 

ปีภาษี 2554
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90 

ปีภาษี 2554

สำหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป

Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file แบบ ภ.ง.ด.90  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file แบบ ภ.ง.ด.90
2. วิธีกรอก ภ.ง.ด. 90 

ปีภาษี 2554
วิธีกรอกแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90

ปีภาษี 2554 สำหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป
Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file คำแนะนำแบบ ภ.ง.ด.90  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file วิธีกรอกแบบ ภ.ง.ด.90
3. ภ.ง.ด. 91

ปีภาษี 2554
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 91 

ปีภาษี 2554

สำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน
ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ประเภทเดียว

Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file แบบ ภ.ง.ด.91  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file แบบ ภ.ง.ด.91
4. วิธีกรอก
ภ.ง.ด. 91

ปีภาษี 2554
วิธีการกรอกแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 91 

ปีภาษี 2553

สำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน

Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file คำแนะนำแบบ ภ.ง.ด.91  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file วิธีกรอกแบบ ภ.ง.ด.91
5. ใบแนบ 
ภ.ง.ด. 90
ภ.ง.ด. 91

ปีภาษี 2554
ใบแนบแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91

ปีภาษี 2553

(กรณีคำนวณเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานเฉพาะที่เลือก เสียภาษีโดยไม่นำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่น ๆ )

Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file ใบแนบ  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file ใบแนบแบบ ภ.ง.ด.90 ,91
6. หักลดหย่อน
ภ.ง.ด. 90 
ภ.ง.ด. 91

ปีภาษี 2554
การหักลดหย่อนเงินบริจาค และรายชื่อสถานพยาบาล สถานศึกษา และสถานสาธารณกุศล ที่ผู้มีเงินได้มีสิทธิขอหักลดหย่อนเงินบริจาค ภ.ง.ด. 90/91

ปีภาษี 2553
Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file คำแนะนำแบบ ภ.ง.ด.90/91  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file การหักลดหย่อน ภ.ง.ด.90 ,91
7. ภ.ง.ด. 94

ปีภาษี 2554
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีสำหรับผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (5) (6) (7) (8) แห่งประมวลรัษฎากร Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file แบบ ภ.ง.ด.94  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file การหักลดหย่อน ภ.ง.ด.90 ,91
8. วิธีการกรอก
ภ.ง.ด. 94

ปีภาษี 2554
วิธีการกรอกแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ครึ่งปี

สำหรับผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (5) (6) (7) (8) แห่งประมวลรัษฎากร

Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file คำแนะนำการกรอกแบบ ภ.ง.ด.94  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file การหักลดหย่อน ภ.ง.ด.90 ,91
9. ภ.ง.ด. 95

ปีภาษี 2554
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับคนต่างด้าวผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file แบบ ภ.ง.ด.95  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file การหักลดหย่อน ภ.ง.ด.90 ,91
       

เอกสารประกอบการยื่นแบบ
ลำดับ ชื่อย่อ ชื่อเต็ม ดาวน์โหลด
1.
ใบแสดงสิทธิการได้รับยกเว้นเงินได้ฯ ใช้สำหรับยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ปัภาษี …
สำหรับคนพิการที่มีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์และผู้มีเงินได้ (รวมถึงคนพิการ) ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file แบบ ล.ย.01
2.
ใบแสดงเงินได้ฯ ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ใช้สำหรับยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 .ในปี….
Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file คำแนะนำการกรอกแบบ ภ.ง.ด.94
3.
ใบแสดงสิทธิการได้รับยกเว้นเงินได้ฯ ใช้สำหรับยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สำหรับคนพิการที่มีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์และผู้มีเงินได้ (รวมถึงคนพิการ) ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file แบบ ล.ย.01
4.
ใบแสดงเงินได้ฯ ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ใช้สำหรับยื่นแบบ ภ.ง.ด.94
Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file คำแนะนำการกรอกแบบ ภ.ง.ด.94

การยกเว้นภาษีเงินได้แก่คนพิการ

รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้ดีขึ้น และสามารถพึ่งตนเองได้ จึงได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 281 (พ.ศ.2554)

โดย ที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้ดีขึ้น และสามารถพึ่งตนเองได้ จึงได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 281 (พ.ศ.2554) กำหนดให้เงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตาม กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาทเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษีนั้นเพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่คนพิการ

อันจะทำให้มีเงินเพื่อใช้ดำรงชีพเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มรายการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็น ข้อ 2 (81) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2553 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ซึ่งได้แก่ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 197) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตร ประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2554 จึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา – วิสัชนา ดังนี้

ปุจฉา กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) เพิ่มเติมรายการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่คนพิการไว้อย่างไร
วิสัชนา ตาม (81) ของข้อ 2 ในกฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) พ.ศ.2509 กำหนดให้รายการเงินได้ดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร

“(81) เงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่า ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้ รับเฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาท สำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2553 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด”

ปุจฉา ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 197) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตร ประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2554
วิสัชนา อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตร ประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีที่ได้รับ ดังต่อไปนี้

1. เงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่า ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีที่ได้รับ จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะเงินได้พึงประเมินที่ได้รับส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาทในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ หากผู้มีเงินได้ที่มีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ในปีภาษีใด ได้ใช้สิทธิยกเว้นตามข้อ 2 (72) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นตามข้อ 2 (81) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ในปีภาษีนั้นอีก

2. ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ต้องเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
กรณีสามีภริยามีเงินได้ร่วมกัน โดยความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

3. ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 1 ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษีใดหลายประเภท ผู้มีเงินได้จะเลือกใช้สิทธิยกเว้นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับประเภทใด ประเภทหนึ่ง หรือจะเลือกใช้สิทธิยกเว้นเงินได้พึงประเมินหลายประเภท และแต่ละประเภทจะยกเว้นจำนวนเท่าใดก็ได้ แต่เมื่อรวมจำนวนเงินได้พึงประเมินที่ใช้สิทธิยกเว้นดังกล่าวทั้งหมดแล้ว
ต้องไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาทในปีภาษีนั้น

4. ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 1 ให้ถือตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) กรณีสามีภริยามีเงินได้ร่วมกัน โดยความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของสามี ให้สามีเป็นผู้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้รับร่วมกัน
(2) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ ให้สามีภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ส่วนที่ตนได้รับ

5. ผู้มีเงินได้ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 1 ต้องแสดงรายการเงินได้พึงประเมินและจำนวนเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้น ภาษี พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ที่มา..กรุงเทพธุรกิจออนไลน์