เวลาทำงาน
- ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
- งานอันตรายตามที่กำหนดในกฏกระทรวงไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
เวลาพัก
- ในวันที่มีการทำงานให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง ภายใน 5 ชั่วโมงแรกของการทำงาน
- นาย จ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมง ก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่าครั้งละ 20 นาทีและเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง
- กรณี งานในหน้าที่มีลักษณะต้องทำติดต่อกันไป หรือเป็นงานฉุกเฉินโดยจะหยุดเสียมิได้ นายจ้างจะไม่จัดเวลาพักให้ลูกจ้างก็ได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
วันหยุดประจำสัปดาห์
- ต้องไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน โดยมีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน
- ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ (ยกเว้นลูกจ้างรายวัน รายชั่วโมง หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย)
- นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้า กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้
- งาน โรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร (งานประมงงานดับเพลิง) งานอื่นตามที่กฎกระทรวงฯ กำหนด นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้า สะสมและเลื่อนวันหยุดประจำสัปดาห์ไปเมื่อไดก็ได้แต่ต้องอยู่ในระยะเวลา ไม่เกิน 4 สัปดาห์ติดต่อกัน
- กรณีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่แน่นอน ให้นายจ้างประกาศวันหยุดให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วันและแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานตรวจแรงงานทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ประกาศกำหนด
วันหยุดตามประเพณี
- ต้อง ไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย ถ้าวันหยุด ตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ ให้หยุดชดเชยในวันทำงานถัดไป
- ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณี
วันหยุดพักผ่อนประจำปี
- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่าปีละ 6 วันทำงาน
- ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี
- ถ้าลูกจ้างที่ทำงานยังไม่ครบ 1 ปี จะให้หยุดตามส่วนก็ได้
- ให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าหรือกำหนดตามที่ตกลงกัน
- นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปรวมหยุดในปีอื่นก็ได้
การลาคลอด
ลูกจ้าง ซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาคลอดก่อนและหลังคลอดครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน โดยให้นับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วย และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้าง ซึ่งลาคลอดเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน
การลาเพื่อทำหมัน
ลูกจ้าง มีสิทธิ์ลาเพื่อทำหมันได้และมีสิทธิ์ลาเนื่องจากการทำหมันตามระยะ เวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนด และออกใบรับรองให้โดยลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันลานั้นด้วย
การลากิจ
ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
การลาเพื่อรับราชการทหาร
ลูกจ้าง มีสิทธิ์ลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึก วิชาทหาร หรือเพื่อทดสอบความพรั่งพร้อม โดยลาได้เท่ากับจำนวนวันที่ทางการทหารเรียก และได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 60 วันต่อปี
การลาเพื่อฝึกอบรม
ลูกจ้าง มีสิทธิ์ลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถตามหลักเกณฑ์และวิธี การที่กำหนดในกฎกระทรวงโดยไม่ได้รับค่าจ้างในวันลานั้น
ค่าจ้าง
- เป็น เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตาม สัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุด และวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่มีสิทธิ์ได้รับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
- ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
- ถ้า ไม่มีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในท้องที่ใดให้ถือว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ พื้นฐานเป็นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของท้องที่นั้น (อัตรค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน หมายถึง อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนดเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการกำหนดอัตรา ค่าจ้างขั้นต่ำ)
การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด
- ใน กรณีที่งานมีลักษณะต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะ เสียหายแก่งานหรือเป็นงานฉุกเฉิน นายจ้างอาจให้ลูกจ้าง ทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดเท่าที่จำเป็นก็ได้
- กิจการโรงแรม สถานมหรสพ งานขนส่ง ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม สถานพยาบาล และกิจการอื่นตามที่กระทรวงจะได้กำหนดนายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานใน วันหยุดเท่าที่จำเป็นก็ได้ โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆ ไป
- ใน กรณีที่มีการทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่า สองชั่วโมง นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพัก ไม่น้อยกว่ายี่สิบนาที ก่อนที่ลูกจ้างเริ่ม ทำงานล่วงเวลา (ยกเว้นงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือเป็นงานฉุกเฉิน)
ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด
- ถ้า ทำงานเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา ไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวน ชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วย ในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน
- ถ้า ทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานนายจ้างต้องจ่าย ค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับ ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
- ถ้า ทำงานในวันหยุดในเวลาทำงานปกติ นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุด ให้แก่ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของค่าจ้าง ในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด หรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย สำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของค่าจ้างในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุดหรือตามจำนวนผลงาน ที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
ค่าชดเชย
- ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ดังนี้
- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
- ใน กรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิตการจำหน่าย หรือการบริการอันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่อง จักรหรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนลูกจ้างลง นายจ้างต้องปฏิบัติดังนี้
- แจ้งวันที่จะเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้าง และรายชื่อลูกจ้างที่จะถูกเลิกจ้าง ให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงาน ทราบล่วงหน้าไม่ น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันที่จะเลิกจ้าง
- ถ้าไม่แจ้ง แก่ลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลาหกสิบวัน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างเท่ากับค่า จ้างอัตราสุดท้ายหกสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานหกสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่า จ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
ค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านี้ ให้ถือว่านายจ้างได้จ่ายค่าสินจ้างแทน การบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายด้วย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยปกติดังต่อไปนี้
- ลูกจ้าง ทำงานติดต่อกันครบหกปีขึ้นไป นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชย พิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยปกติซึ่งลูกจ้างนั้นมีสิทธิได้รับอยู่แล้ว ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทำงานครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสิบห้าวันสุดท้ายต่อการทำงาน ครบหนึ่งปีสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
- ค่าชดเชยพิเศษนี้รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อย หกสิบวัน หรือไม่เกินค่าจ้างของการทำงานสามร้อยหกสิบวันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย แต่รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยหกสิบวัน
- เพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าชดเชยพิเศษ เศษของระยะเวลาทำงานที่มากกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ให้นับเป็นการทำงานครบหนึ่งปี
- ในกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่นอันมีผลกระทบ สำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว
- นาย จ้างต้องแจ้งล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อน ย้าย ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วย ลูกจ้างมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าร้อย ละห้าสิบของอัตราค่าชดเชยปกติที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ์ได้รับ
- ถ้านายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบการย้ายสถานประกอบกิจการล่วงหน้า นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษ แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน
ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย : ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้
- ลูกจ้างลาออกเอง
- ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
- จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
- ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
- ฝ่าฝืน ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน ซึ่งหนังสือเตือนนั้นให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
- ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร
- ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
- กรณีการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และนายจ้างเลิกจ้าง ตามกำหนดระยะเวลานั้น ได้แก่งานดังนี้
- 8.1 การจ้างงานในโครงการ เฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือ การค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน
- 8.2 งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว ที่มีกำหนดงานสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน
- 8.3 งานที่เป็นไปตามฤดูกาล และได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้นซึ่งจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี โดยนายจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือ ไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง
การใช้แรงงานหญิง
- ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงทำงานต่อไปนี้
- งาน เหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องในภูเขาเว้นแต่ลักษณะของงาน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือ ร่างกายของลูกจ้างหญิงนั้น
- งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
- งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ
- งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
- ห้าม นายจ้างให้ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 22.00น.-06.00น. ทำงานล่วงเวลาทำงานในวันหยุดหรือทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
- งานเหมืองแร่หรืองาน ก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องในภูเขาเว้นแต่ลักษณะของงาน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือ ร่างกายของลูกจ้างหญิงนั้น
- งานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน
- งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ
- งานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกิน 15 กิโลกรัม
- งานที่ทำในเรือ
- งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
- พนักงาน ตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างเปลี่ยนเวลาทำงานหรือชั่วโมงทำงาน ของลูกจ้างหญิงที่ทำงานในระหว่างเวลา 24.00 น.- 06.00 น. ได้ตามที่เห็น สมควร ถ้าพนักงานตรวจแรงงานเห็นว่างานนั้นอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของลูกจ้างหญิงนั้น
- ลูกจ้างหญิงมี ครรภ์มีสิทธิขอให้นายจ้างเปลี่ยนงานในหน้าที่เดิมเป็นการ ชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอดได้ กรณีที่มีใบรับรองแพทย์ แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง มาแสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมต่อไปได้
- ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหญิงเพราะเหตุมีครรภ์
การใช้แรงงานเด็ก
- ห้ามนายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นลูกจ้าง
- กรณีที่มีการจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นลูกจ้าง นายจ้างต้องแจ้งต่อพนักงาน ตรวจแรงงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่ เด็กเข้าทำงาน และแจ้งการสิ้นสุดการ จ้างเด็กนั้นต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่เด็กออกจากงาน นายจ้างต้องจัดให้มีเวลาพัก 1 ชั่วโมงต่อวันภายใน 4 ชั่วโมงแรกของ การทำงาน และให้มีเวลาพักย่อยได้ตามที่นายจ้างกำหนด
- ห้ามนายจ้างใช้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในระหว่างเวลา 22.00 – 06.00 น. เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี
- ห้ามนายจ้างใช้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานล่วงเวลา
- ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานต่อไปนี้
- งานหลอม เป่า หล่อ หรือรีดโลหะ
- งานปั๊มโลหะ
- งานเกี่ยวกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน เสียงและแสง ที่มีระดับแตกต่างจากปกติอันอาจเป็นอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
- งานเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
- งานเกี่ยวกับจุลชีวันเป็นพิษซึ่งอาจเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา หรือเชื้ออื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
- งานเกี่ยวกับวัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ เว้นแต่งานในสถานี บริการที่เป็นเชื้อเพลิงตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
- งานขับหรือบังคับรถยกหรือปั้นจั่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
- งานใช้เลื่อยเดินด้วยพลังไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์
- งานที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ, ในถ้ำ อุโมงค์ หรือปล่องในภูเขา
- งานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
- งานทำความสะอาดเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่กำลังทำงาน
- งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
- งานอื่นตามที่กำหนดในกระทรวง
- ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในสถานที่ต่อไปนี้
- โรงฆ่าสัตว์
- สถานที่เล่นการพนัน
- สถานที่เต้นรำ รำวง หรือ รองเง็ง
- สถาน ที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่ม อย่างอื่นจำหน่ายและบริการ โดยมีผู้บำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกจ้าง หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอน หรือมีบริการนวดให้แก่ลูกค้า
- สถานที่อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
- ห้ามนายจ้างจ่ายค่าจ้างของลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กแก่บุคคลอื่น
- ห้ามนายจ้างเรียก/หรือรับ เงินประกันจากฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็นเด็ก
- ลูกจ้าง ซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี มีสิทธิลาเพื่อเข้าประชุม สัมมนา รับการอบรม รับการฝึก หรือลาเพื่อการอื่นซึ่งจัดโดยสถานศึกษา หรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ที่อธิบดีเห็นชอบ และให้นายจ้าง จ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างเด็กเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน
หลักฐานการทำงาน
- นาย จ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นภาษาไทย ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้างและ ส่งสำเนาให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
- ข้อ บังคับฯ ต้องระบุเรื่องต่างๆ ดังนี้ วันทำงาน เวลาทำงานปกติ เวลาพัก วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลา และการทำงาน ในวันหยุด วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดวันลาและหลักเกณฑ์การลา วินัยและโทษ การร้องทุกข์ และการเลิกจ้าง
- ทะเบียนลูกจ้างต้องมีชื่อ เพศ สัญชาติ วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ปัจจุบัน วันเริ่มจ้าง ตำแหน่งหรืองานในหน้าที่ อัตราค่าจ้าง และประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ ที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างและวันสิ้นสุดการจ้าง
- เอกสาร เกี่ยวกับการคำนวณค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ต้องระบุ วันเวลาทำงาน ผลงานที่ทำได้สำหรับการจ้างตามผลงาน และจำนวนเงินที่จ่าย โดยมีลายมือชื่อลูกจ้างผู้รับเงิน
การควบคุม
- นายจ้างที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป จะต้องจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นภาษาไทย อย่างน้อยต้องมี รายละเอียดดังนี้
- วันทำงาน เวลาทำงานปกติ และเวลาพัก
- วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด
- หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด
- วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
- วันลาและหลักเกณฑ์การลา
- วินัยและโทษทางวินัย
- การร้องทุกข์
- การเลิกจ้าง ค่าชดเชยและชดเชยพิเศษ
- นายจ้างต้องประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานภายใน 15 วัน นับจากวันที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป
- นายจ้างต้องปิดประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยเปิดเผย ณ สถานที่ ทำงานของลูกจ้าง
- ให้ประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานต่อไปแม้ว่านายจ้างจะมีลูกจ้าง ลดต่ำกว่า 10 คนก็ตาม
การร้องทุกข์ของลูกจ้าง
- ลูกจ้างเรียกร้องสิทธิของตนอันเนื่องมาจากการฝ่าฝืนกฎหมายแรงงาน ของนายจ้างได้โดย
- ลูกจ้างนำคดีไปฟ้องศาลแรงงาน
- ลูกจ้างยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงาน
- การยื่นคำร้องทุกข์ของลูกจ้างหรือทายาท
- ยื่นคำร้องทุกข์ตามแบบที่อธิบดีกำหนด
- ยื่นต่อพนักงานตรวจแรงงานในท้องที่ที่ลูกจ้างทำงานอยู่ หรือที่นายจ้าง มีภูมิลำเนา หรือท้องที่ที่ลูกจ้างมีภูมิลำเนาอยู่ก็ได้
- การพิจจารณาคำร้องทุกข์ของพนักงานตรวจแรงงาน
- เร่งสอบสวนข้อเท็จจริงจากนายจ้าง ลูกจ้าง และพยานโดยเร็ว รวมทั้งการรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้องด้วย
- เมื่อสอบสวนข้อเท็จจริงแล้ว ต้องมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงิน หรือยกคำร้องทุกข์ของลูกจ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง
- การรวบรวมข้อเท็จจริง และการมีคำสั่ง ต้องกระทำให้แล้วเสร็จ ภายใน 60 วัน นับแต่วันรับคำร้องทุกข์ไว้ดำเนินการ
- ถ้า ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน ให้ขอขยายระยะเวลา ต่ออธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดโดยขอขยายระยะเวลาได้ไม่เกิน 30 วัน
- การยุติข้อร้องทุกข์ระหว่างสอบสวนข้อเท็จจริง
- ลูกจ้างสละสิทธิการเรียกร้องทั้งหมด
- ลูกจ้างสละสิทธิเรียกร้องแต่บางส่วน โดยนายจ้างยินยอมจ่ายเงินบางส่วน แก่ลูกจ้าง
- นายจ้างยินยอมจ่ายเงินทั้งจำนวน แก่ลูกจ้าง
บทกำหนดโทษ
- กฏหมายคุ้มครองแรงงานเป็นกฏหมายที่มีบทลงโทษทางอาญา
- นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม
- ขั้นต่ำปรับไม่เกิน 5,000 บาท
- จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- การปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานคดีอาญา เป็นอันระงับ
- การฝ่าฝืนกฏหมาย
- อธิบดีมีอำนาจเปรียบเทียบปรับสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นใน กรุงเทพฯ
- ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจเปรียบเทียบปรับสำหรับความผิด ที่เกิดขึ้นภายในจังหวัด
- ชำระค่าปรับภายใน 30 วัน นับเท่าวันที่ได้รับแจ้งผลคดี คดีอาญา เป็นอันเลิกกัน
- ถ้าไม่ยอมเปรียบเทียบปรับหรือไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนด พนักงานสอบสวน (ตำรวจ) จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฏหมาย ต่อไป
ที่มา..กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ขอถามเรื่องวันหยุดพักผ่อนประจำปี ถ้าทางหจกไม่มีวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้พนักงาน
ถือว่าผิดกฎหมายแรงงานหรือเปล่าค่ะ
คือดิฉันทำงานร้านอาหาร&บาร์นะค่ะ คือดิฉันทำงาน10ชั่วโมงต่อวัน คือจะมี2 กะ คือ 7am – 5 pm
ส่วนกะกลางคืนก็4pm – 2am บางวันต่อโอ ถึง6โมงเช้ายังมี คือว่าปิดร้านไม่ได้ถ้ายังมีลูกค้า เบลคก็ไม่มี คือว่าเบลคในตัว จะให้ไปนั่งพักชิวๆนี่ไม่มีทาง ส่วนกฏที่ร้านอาหารแห่งนี้คือมาสายเกิน10นาที หัก2ชั่วโมง ถ้าขาดงาน1วันหักเป็น2แรง ส่วนถ้าขาดวันเสาร์ก็3แรง และทุกๆเดือนจะหักเงินเดือนเรา10%จากเงินเดือนทุกๆเดือน คือเก็บมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้วแล้วคือเค้าจะให้คืนในปีนี้ ส่วนใครลาออก ต้องลาออกก่อยล่วงหน้าถึง3เดือน ถึงจะได้เงินของเราตรงนี้คืน ดิฉันได้เขียนใบลาออกไว้ตอนเดือนธันวาคมเรียบร้อย หลังจากนั้นกฏใหม่ก็ออกมาคือต้องทำงานถึงเดือนเมษายน ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้เงินส่วนนี้คืน ดิฉันเหนื่อยจริงๆค่ะที่โดนเอาเปรียบอย่างนี้ วานผู้รู้เรื่องเกี่ยวกับประกันสังคม หรือ แรงงาน ช่วยให้คำปรึกษาแนะนำหน่อยนะค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
ขอถามหน่อยค่ะ
งานที่ทำเป็นงานห้างค่ะ เข้างาน 9.30-20.00 รวม 10 ชั่วโมงกว่าๆ ถือว่าบริษัทเอาเปรียบหรือเปล่าค่ะ แล้วสามารถฟ้องหระทรวงแรงงานให้ตรวจสอบบริษัทได้ไหมค่ะ ขอคำแนะนำหน่อยค่ะ
ขอบคุณค่ะ
รบกวนถามเพิ่มอีกหน่อยนะครับ มีวิธีอื่นที่ไม่ต้องฟ้องศาลแรงงาน ให้ให้กรมแรงงานเข้าไปเพื่อตรวจสอบได้ไหม
เพราะถ้าฟ้องศาลไปยังไงก็ต้องเปิดเผยตัวตน แล้วก็โดนไล่ออก แถม บริษัทอาจจะวิธีที่ให้ไม่สามารถสมัครงานที่อื่นได้อีกเลย
แล้วใครจะไปฟ้องละครับ พอจะมีวิธีหรือทางเลือกอื่นไหม
ขอคำแนะนำด้วยนะครับ
ตอบคุณ ao
ค่าจ้าง ค่าลวงเวลา อื่นๆ ต้องจ่ายตาม พรบ.แรงงาน ถ้าไม่เป็นไปตามกฎหมายสามารถยื่นฟ้องต่อศาลแรงงาน ได้ครับ
อยากรบกวนสอบถามเรื่องค่าทำงานล่วงเวลา (OT)
เวลาทำงานวันปกติ 08.30-17.30 และวันเสาร์ 08.30-12.00 หยุดทำงานวันอาทิตย์
อยากถามว่าตอนนี้ทางบริษัทผมทำงานนอกเวลาดังกล่าวแต่ค่าล่วงเวลาไม่ได้เป็นตัวคูณ
แต่ได้ในลักษณะดังนี้ เลยไม่ทราบว่าผิดกฏหมายรึเปล่า ถ้าผิดจะแจ้งใครให้เข้าไปตรวจสอบได้อีกบ้าง เพราะเท่าที่อื่น
ผมว่าบริษัทน่าจะโดนหลายข้อนะ
ค่าทำงานนอกเวลาทำงานข้างต้น
วันจันทร์-ศุกร์
ทำงานไม่เกิน 1 ชม. ได้รับ 100 บาท
ทำงานไม่เกิน 2 ชม. ได้รับ 200 บาท
ทำงานไม่เกิน 4 ชม. ได้รับ 300 บาท
ทำงานไม่เกิน 8 ชม.หรือมากกว่า ได้รับ 600 บาท
วันหยุดนักขัตฤกษ์
ทำงานไม่เกิน 1 ชม. ได้รับ 200 บาท
ทำงานไม่เกิน 2 ชม. ได้รับ 400 บาท
ทำงานไม่เกิน 4 ชม. ได้รับ 600 บาท
ทำงานไม่เกิน 8 ชม. หรือมากกว่า ได้รับ 900 บาท
(ราคาดังกล่าว ทุกระดับตำแหน่งได้รับเงินตอบแทนเท่ากันทั้งหมดยกเว้นค่าเบี้ยซึ่งจะน้อยกว่านี้อีก)
ยังไงรบกวนช่วยไขข้อข้องใจด้วยนะครับ เพราะอ้นได้รับให้คุ้มตามกฏหมายนะครับ
ตอบคุณ taweesak
คงต้องทำเรื่องฟ้องร้องผ่านกรมแรงงานครับ
ผมเป็นลูกจ้างประจำแต่ทาง บริษัทให้ไปประชุมในวันหยุดและไม่ได้จ่ายค่าชดเชยทำไง แนะนำด้วยครับ
ตอบคุณ b
ไม่แตกต่างกันครับ ปกติก็ขึ้นอยู่กับกฎหมายแรงงานเหมือนกัน
ขอถามหน่อยครับว่า การหยุด การลา วันหยุดประจำปี ของลูกจ้างระหว่าง ห้างหุ้นส่วนจำกัด กับ บริษัท มีความแตกต่างกันอย่างไรครับ ช่วยรบกวนอธิบายให้หน่อยได้ไหมครับ ขอบพระคุณมากครับ
ตอบคุณ Jeng
ปกติแล้ว ต้องได้รับค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ ตามกฎหมายแรงงาน (ไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ให้มากกว่าได้) แต่เนื่องจากเป็นลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ คงต้องไปดูกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ครับ
ผมทำงานที่รัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง เป็นลูกจ้างโครงการเซ็นต์สัญญาเป็นรายปี ได้รับ เงินเดืน 10,150 บาทต่อเดือน แต่ถ้าทำงานวันหยุดได้วันละ 200 บาท ได้รับแค่สิทธิลาป่วย 12 ครั้งต่อปี และลากิจ6ครั้งต่อปี แค่นั้น ไม่มีสวัสดีการอื่นๆ อีก ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้าง สิทธิลาพักร้อน อยากทราบว่าลูกจ้างโครงการที่เซ็นสัญญารายปี มีสิทธิอื่นๆ อีกไหมครับ หรือผมสามารถเรียกร้องได้หรือไม่ครับ
ขอบคุณมากครับ
ตอบคุณ v
ไม่ต้องจ่ายครับ
ขอถามเรื่องลาคลอด สำหรับพนักงานรายวัน
การลาคลอดได้90วัน จ่าย45วัน พอครบ45วันที่จ่ายแล้ว
อีก45วันหลังที่หยุด มีวันหยุดประเพณีต้องจ่ายให้หรือเปล่า
รบกวนด้วย ขอบคุณมาก
ตอบคุณนฤมล
ต้องดูว่าการขยายเวลาเป็น 45 วัน มีเหตุผลอะไร เหมาะสมหรือไม่ ดีกว่าครับ
ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน พศ. 2541 มาตรา 17 กำหนดว่า สัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้าง หากนายจ้าง/ลูกจ้างต้องการเลิกสัญญาจ้าง ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้า 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง โดยเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
หมายความว่า หากเรารับค่าจ้างเป็นรายเดือน ก็ต้องแจ้งก่อน 30 วัน หาก 15 วันรับค่าจ้าง ก็ต้องแจ้งก่อน 15 วัน
ในทางกลับกัน หากนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ก็ต้องแจ้งล่วงหน้า 1 งวดการจ่ายค่าจ้างเช่นกัน แต่ส่วนมากหากนายจ้างจะเลิกจ้างเขาจะใช้วิธีจ่ายเป็นค่าจ้างให้ 1 งวด เรียกว่า “สินจ้างแทนการบอกล่าวล่วงหน้า”
มีคดีเข้าสู่ศาลแรงงานมากมาย ที่ลูกจ้างฟ้องนายจ้างเรียกร้อง ค่าสินจ้างแทนการบอกล่าวล่วงหน้า แต่คดีที่นายจ้างฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการที่ลูกจ้างไม่ปฎิบัติตาม มาตรา 17 (ซึ่งนายจ้างต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่า นายจ้างได้รับความเสียหายจากการที่ลูกจ้างไม่บอกล่าวล่วงหน้า)นี้มีน้อยมาก แต่ก็เคยมีที่นายจ้างชนะคดี เมื่อคดีในศาลแรงงานนายจ้างชนะ นายจ้างมักจะไปฟ้องร้องในทางแพ่งต่อ และก็มักชนะคดีเช่นกัน
สอบถามเรื่อง การลาออก เปิดปีใหม่บริษัท มีกฎใหม่เรื่องการลาออก ต้องแจ้งล่วงหน้า 45 วัน ซึ่งส่วนใหญ่งานที่ใหม่เค้าก้อรอกันได้แค่ 30 วัน เรามีสิทธิไม่เซ็นต์รับกฎหใหม่ของบริษัท ไหมค่ะ
ตอบคุณสิตา
ลาออกโดยสมัครใจ ไม่ต้องจ่ายชดเชยครับ
กรณีลกกจ้างลาออกเองโดยสมัครใจ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหรือเปล่าคะ
ตอบคุณ Mootoo
ทำถูกต้อง ตามกฎระเบียบบริษัท ไม่มีปัญหาครับ
ส่งใบลาพักร้อนจำนวน 5 วันช่วงปีใหม่ ส่งก่อนวันลา 2 วัน (ซึ่งบริษัทฯ ให้สิทธิพนักงานลาได้ 12 วัน ) แต่เจ้านายเฉยๆ ไม่ตอบรับหรือปฏิเสธ พอถึงวันลาพักร้อนเราก็หยุดตามที่ลา (ไม่มีงานเร่งด่วน เคลียร์งานเรียบร้อยแล้ว) ถามว่าบริษัทจะเอาผิดกับเราได้หรือไม่
รบกวนสอบถามครับ
เรื่องการจัดทำปฎิทินบริษัท หากคณะกรรมการสวัสดิการ (ที่เลือกตั้งตามกฎหมาย) ได้ร่วมประชุม และเสนอเลื่อนวันหยุดตามประเพณีไปให้ตรงกับวันหยุดต่อเนื่องสามารถทำได้หรือไม่ (หากบริษัทยินยอม แต่ต้องได้รับการยินยอมจากพนักงาน) โดยบริษัทต้องการได้ลายเซนต์ของพนักงาน 100% พนักงานสามารถใช่สิทธิของคณะกรรมการได้หรือไม่โดยไม่ต้องเซนต์
ตอบคุณ kae
เรืองวันหยุดพักผ่อน (พักร้อน) กฎหมายกำหนดให้ เมื่อลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนได้ปีละไม่น้อยกว่า 6 วัน
ส่วนการลากิจ ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท (จะมีหรือไม่มีก็ได้)
ที่บริษัทฯ ไม่มีนโยบายให้พนักงานลาพักร้อน, ลากิจ 3 วัน/ปี
แบบนี้ถือว่าผิดกฎหมายมั๊ยคะ
ตอบคุณ Kate
ในกฎหมายแรงงานไม่ได้ระบุไว้ว่าลูกจ้างต้องจ่ายชดเชยให้ แต่ในกรณีงานบางประเภทที่ต้องมีการหักเงินมัดจำ กรณีลูกจ้างทำความเสียหายให้ สามารถนำเงินมัดจำมาหักชดเชยได้ครับ
ตอบคุณอ้อม
กรณีตกงานประกันสังคมจ่ายชดเชยให้ 2 อัตรา คือ
1.ผู้ประกันตนถูกเลิกจ้าง (ไล่ออกหรือให้ออกจากงาน) ได้รับในอัตรา 50% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน
2.ผู้ประกันตนลาออกจากงาน (สมัครใจลาออกจากงานเอง) ได้รับในอัตรา 30% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน
ตอบคุณศิ
1.มีสิทธิครับ
2.ถ้าเป็นกรณีที่นายจ้างให้ออก ต้องจ่ายชดเชยตามกฎหมายแรงงาน และจ่ายค่าบอกกล่าวครับ
ถ้าลูกจ้างเข้าทำงานที่บริษัทใดบริษัทหนึ่ง แต่ไม่เกิน 90 วัน หากต้องการลาออกก่อนครบกำหนด 90 วัน ต้องแจ้งออกอย่างน้อยล่วงหน้า 3 เดือน หากออกก่อนกำหนด ต้องจ่ายเงินเดือนให้บริษัทคืนทั้งหมดเป็นจำนวน 3 เดือน พอดีเพื่อนของดิฉันได้รับเงื่อนไขนี้มาจากบริษัทต่างชาติแห่งหนึ่งค่ะ อยากทราบว่าถ้าเราทำงานไม่ถึง 3 เดือนแล้วต้องการลาออก ตามกฎหมายของไทยระบุไว้ด้วยหรือเปล่าคะว่าเราต้องจ่ายเงินให้บริษัทคืนเป็นจำนวน 3 เดือน เพราะทางผู้ว่าจ้างบอกเงื่อนไขมาอย่างนั้น ยังบอกอีกว่ามีระบุไว้ในก.มไทยอีกด้วย
ใครคำรวนเงินผลประโยชน์ที่เราจะได้จากประกันสังคมได้บ้าง ในกรณีเลิกจ้างเพราะว่าวิกฤติเศรษฐกิจ เงินเดือน 12000 บาทค่ะ
เดือนแรก ได้ 9729 บาท
เดือนที่สอง ได้ 7245บาท
เดิอนที่สาม ได้ 6003 บาท
ขอบคุณค่ะ
กรณีเราเขียนใบลาออกล่วงหน้า 30 วันตามกฎหมาย (เขียนวันที่ 24/10 กำหนดออก 24/11 แต่บริษัทแจ้งให้เราไม่ต้องมาทำงานตั้งแต่วันที่ 2/11 แต่จะทำการจ่ายค่าจ้างให้ถึงวันที่ครบกำหนดออก โดยไม่แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร อยากถามดังนี้
1.เรามีสิทธิขอให้นายจ้าง แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่
2.บริษัทให้เข้ามาเซ็นต์ชื่อทำงานทุกวันจนถึงวันที่ลาออก ที่ป้อมยามแต่ไม่ให้ไม่ให้เข้าไปทำงานกรณีเช่นนี้ เรามีสิทธิเรียกร้องอะไรได้บ้ง
สวัสดีรอบ 2 คะ
วันนี้มาถามใหม่หากลาคลอด 60 วัน เหลือลาอีก 30 วัน แต่มาทำก่อน ก็ไม่ได้เพิ่มหรือ คะ และถ้าได้จะได้แบบไหน และลงบัญชีเป็นค่าอะไรคะ ขอบคุณคะ
ตอบคุณ Katty
ตามกฎหมายลูกจ้างมีสิทธิลาคลอดได้ 90 วัน แต่กฎหมายกำหนดให้จ่ายค่าจ้างไม่เกิน 45 วันครับ
สวัสดีคะ
คืออยากถามเกี่ยวกับเรื่องการลาคลอด ระดับผู้จัดการ ปกติทั่วไปสามารถลาคลอดได้ 90 วัน แต่หากลาเกิน 45 วันและกลับมาทำงาน จะได้ค่าจ้างเพิ่มไหมคะ ซึ่งถามทาง HR บริษัทแล้ว เขาบอกลาเกิน 45 วัน จึงไม่ได้ อยากทราบว่า จริงๆๆแล้วได้ไหมคะ
รบกวนด้วยนะคะ
ขอบพระคุณมาไว้ล่วงหน้าคะ
รบกวนถามอีกเรื่องนะคะ
แล้วมีกฎหมายที่ใช้กับลูกจ้างชั่วคราวของรัฐหรือเปล่า
หรือแล้วแต่ทางโรงเรียนได้กำหนดอย่างเดียว
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
ตอบคุณ lakk
เนื่องจากข้าราชการไม่ขึ้นอยู่กับกฎหมายแรงงาน สังเกตได้วันหยุดแรงงาน ข้าราชการจะไม่หยุดครับ
1. ครูอัตราจ้างอยู่ไม่ถึงหกเดือนแล้วลาป่วย หากถูกหักเงินเดือนผิดกฎหมายแรงงานหรือไม่
2. ทั้งปีถ้าโรงเรียนให้หยุด4 ครั้ง เป็นไปตามกฎหมายแรงงานหรือไม่
ซึ่งตอนสมัครไม่ได้ระบุในสัญญาด้วยซ้ำ (ทั้งสองข้อ) ฝ่ายการเงินเดินมาบอกด้วยปากเปล่าค่ะ ว่าเป็นนโยบายของ ผอ. (ที่นี่เป็นโรงเรียนของรัฐนะคะ)
3. เขียนจดหมายลาออกแล้วหัวหน้าหมวดไม่เซ็นต์ให้ จะออกได้หรือไม่ เพราะต้องให้ทั้งฝ่ายบุคคลและ ผอ.เซ็นต์
ตอบคุณ pueng
ค่าประกันการทำงานต้องคืนให้ครับ โดยต้องคืนให้เต็มจำนวน
อยากถามว่า เราได้ตกลงทำสัญญากับบริษัทที่ทำงานแล้ว แต่ทางบริษัทยังไม่ได้เริ่มให้ทำงาน ให้เริ่มทำตอนต้นเดือน คุลาคมที่จาถึงนี้ แล้วได้จ่ายค่าประกันในการทำงานเริ่มต้นไปแล้ว 5000 บาท แต่ถ้าเราไม่ทำแล้วทางบริษัทจะคืนเงินให้เราไหมค่ะ หรือถ้าคืนจะคืนเต้มจำนวนเงินหรือครึ่งนึงค่ะ ช่วยตอบหน่อยนะค่ะ
ตอบคุณยู่ยี่
บริษัทสามารถเรียกเก็บเงินค้ำประกันได้ ถ้างานที่ลูกจ้างทำต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับเงินหรือทรัพย์สิน ครับ
หนูอยากทราบว่า การยกเลิกการเก็บเงินประกัน ของพนักงานโรงแรม มีจริงหรือไม่คะ ทำไมยังมีบางโรงแรมยังเก็บอยู่ และ เก็บเยอะด้วย
อย่างนี้ โรงแรมทำถูกแล้วหรือไม่คะ
ขอบคุณค่ะ
ตอบคุณรัชดาภรณ์
ได้ครับ กฎหมายให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง แต่ปีหนึ่งลาป่วยได้ไม่เกิน 30 วันโดยได้รับค่าจ้าง ถ้าเกิน 30 วันจะไม่จ่ายค่าจ้างก็ได้
ขอเรียนถามดังนี้ค่ะ
บริษัทฯ มีกฎว่าให้พนักงาน 1 คนสามารถลาได้ดังนี้ ต่อ 1 ปี
1. ลากิจ 7 วัน
2. ลาป่วย 30 วัน
3. ลาพักร้อน 10 วัน
หากมีพนักงานใช้วันลากิจไปแล้ว 3 วัน วันลาพักร้อนไปแล้ว 3 วัน ลาป่วยไปแล้ว 10 วัน แต่มีเหตุต้องผ่าตัด (ซึ่งสามารถรอได้) แต่พนักงานไม่ยอมรอ จะต้องลาพักอีก 45 วัน ดังนี้ เราสามารถที่จะไม่จ่ายเงินบางส่วนได้หรือไม่ค่ะ แล้วคิดอย่างไร รบกวนด้วยค่ะ
ตอบคุณลดา
ถ้าดูแล้วไม่น่าเชื่อถือและไม่เป็นธรรม แนะนำว่าไม่ควรเข้าไปทำงานครับ ส่วนกฎหมายไม่ได้กำหนดเรื่องนี้ไว้ จึงต้องดูที่ระเบียบข้อบังคับของบริษัท
หากลูกจ้างลาออกไม่เป็นไปตามระเบียบแล้วทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย นายจ้างสามารถฟ้องร้องคดีเพื่อเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ค่าเสียหายนั้นได้
เงินค้ำประกันจะเรียกเก็บได้ เมื่อลักษณะหรือสภาพของงานที่ทำนั้นลูกจ้างต้องรับผิดเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้
ตอบคุณ weerasak
กฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลากิจได้ครับ ส่วนรายละเอียดการลากิจให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับบริษัท เพราะฉะนั้นการลากิจจะหักเงินหรือไม่หักเงินก็ได้
ส่วนเรื่องการลาป่วยกับใบรับรองแพทย์เช่นกันให้ดูที่ระเบียบข้อบังคับของบริษัท ในส่วนของกฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง โดยปีหนึ่งไม่เกิน 30 วัน
ส่วนเรื่องใบรับรองแพทย์กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าต้องมีมาแสดงหรือไม่ จึงต้องดูข้อเท็จจริง ถึงไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงแต่ถ้าพิสูจน์ได้ว่าป่วยจริง นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างให้ครับ (แต่ถ้ามีใบรับรองแพทย์มาแสดงก็ใช้เป็นหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าป่วยจริงครับ)
สวัสดีค่ะ คือต้องการทราบว่า ถ้าเราเป็นนายจ้างเรามีสิทธิที่จะร่างข้อตกลงในใบสมัครงานว่าเราจะให้ลูกจ้างทำงานในเวลาที่เราต้องการไหมค่ะ เช่น ต้องทำงานเป็นเวลา 2 ปี หลังจากทดลองงานภายใน 6 เดือน ไหมค่ะ และถ้าลูกจ้างลาออกหรือไม่ทำตามข้อตกลงที่ระบุไว้ในเอกสาร บริษัทจะมีสิทธิฟ้องร้องได้ตามความต้องการ ?
คือเรื่องมันมาจาก เพื่อนดิฉันไปสมัครงานที่บริษัทชิปปิ้งแห่งหนึ่ง แล้วเขาก็กรองใบสมัครไปทั้งหมดแล้ว แต่ในข้อตกลงของทางบริษัท คือ ต้องทดลองงาน 6 เดือน และหลังจากนั้นต้องทำงานให้บริษัทต่ออีก 2 ปี และต้องจ่ายเงินค้ำประกัน 10,000 บาท ค่ะ และ ไม่ทราบว่าถ้าเพื่อนดิฉันต้องการลาออกจะต้องถูกฟ้องไหมค่ะ อย่างไร ประมาณไหน ค่ะ
อยากสอบถามว่า การลากิจ ,การลาป่วย ทั้งมีใบรับรองแพทย์และไม่มีใบรับรองแพททย์ ทำงานพนักงานรายเดือนต้องโดนหักค่าจ้างหรื่อเปล่าครับ
ต้องดูก่อนว่า ได้รับเงินเดือนล่าช้าแบบนี้เป็นประจำหรือไม่
ผมเข้าใจว่า บริษัทอาจจะมีปัญหาทางการเงินอยู่ ก็เลยทำให้จ่ายเงินเดือนล่าช้า
ส่วนการไม่มาทำงาน ก็มีความผิดอยู่แล้วครับ
อยากขอคำปรึกษาค่ะ บริษัทจ่ายเงินเดือนช้าบางเดือน 4-5 วันบางเดือน 10-11 วัน แต่สลิปเงินเดือนได้รับตั้งแต่สิ้นเดือนของทุกเดือนระบุวันที่ สิ้นเดือน พอสอบถามไปเค้าแจ้งว่ารอไปก่อน แบบนี้จะทำได้อย่่างไรได้บ้างคะ เดือนร้อนมากค่ะ แล้วถ้าเราไม่มาทำงานจนกว่าเงินเดือนจะออกเราจะมีความผิดไหม ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
ตอบคุณลัย
ปกติ ก็ไม่ผิดครับ แต่อาจดูไม่เหมาะสมมากกว่า ในเรื่องความซื่อสัตย์ จรรยาบรรณ ทั้งนี้ คงต้องดูในสัญญาจ้างประกอบด้วยว่า มีระบุเรื่องนี้ไว้หรือเปล่า
บริษัทได้อนุญาติให้ลาหยุดพักผ่อนประจำปีแล้วคะ แต่ได้ให้พร้อมกับวันหยุดประจำปีสะสมจากปีที่แล้วด้วย รวมกันแล้วเป็นระยะเวลา สิบสองวัน และนำเวลาสิบสองวันนี้ ดิฉันได้ไปลองทำงานที่อื่นดู แล้วนายจ้างที่จ่ายเงินค่าวันหยุดพักผ่อนนี้ให้มาเจอและจะไม่รับหนูเข้าทำงานอีกเมื่อครบวันลานั้น หนูผิดด้วยหรือคะ
ตอบคุณหญิง
1.ไม่ผิดครับ
2.ผมเห็นหลายบริษัทเค้าก็ทำแบบนี้
3.ใช่ครับ
4.ไม่ผิดครับ
ขอสอบถามคุณ เกียรติชัยค่ะ
ทางบริษัทเค้ามีจัดหั้ยพนักงานไปเที่ยวท่องประจำปี แต่เราไม่ไป
1. ผิดกฎหมายมั้ยค่ะ
2. กรณ๊ที่เราไม่ไปเราต้องทำงานหรอค่ะ
3.นายบอกว่าทุกบริษัทเค้าก็เป็นอย่างนี้คือหั้ยไปเที่ยวถ้าคุณไม่ไปคุณก็ต้องทำงาน
4. ถ้าเราไม่ไปต่างประเทศแต่เราขอลากลับบ้านต่างจังหวัดมันผิดกฎหมายด้วยหรือค่ะ
ตอบคุณ pop
ปกติถ้านายจ้างบอกเลิกจ้างเรา เค้าต้องแจ้งเราก่อนล่วงหน้า 30 วัน ถ้าบอกวันนี้แล้วให้เราออกในวันพรุ่งนี้ แบบนี้นายจ้างต้องจ่ายชดเชยให้เรา 1 เดือน (นอกจากเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน)
เช่นเดียวกันในระเบียบการจ้าง (สัญญาจ้าง) นอกจากจะมีเรื่องข้างต้นแล้ว เค้ามักจะระบุไว้ด้วยว่า ลูกจ้างต้องแจ้งลาออกก่อนล่วงหน้า 30 วันเช่นกัน ครับ แต่ส่วนใหญ่ผมไม่เคยได้ยินว่า ถ้าลาออกออก จะมีการปรับเงิน
กรณีที่ลาออกจากงานต้องแจ้งล่วงหน้า30วันแต่ว่าออกก่อน เช่นยื่นใบลาออก30 มี ค แล้วออก 8 เม ย แต่นายจ้างให้เราจ่ายเงินในส่วนของวันที่หายไปคือ9-31เม ย เนื่องจากไม่แจ้งล่วงหน้า30วันแบบนี้ใครถูกใครผิดคะแล้วต้องจ่ายเงินวันที่เราไม่มาทำงานด้วยหรคะอส่วนวันที่มาทำไมไม่ได้คะช่วยด้วยค่ะ
ไม่รู้ออกมาทำไมกฎหมายห้ามใช้แรงงานเด็กทำให้เด็กไม่มีงานทำและไม่มีเงินไว้ใช้ตอนเปิดเทอม เพราะต้องช่วยแบ่งเบาภาระครอบครัวต้องหางานทำเลี้ยงครอบครัวไม่เห็นใจกันบ้างเลยไปหางานที่ไหนก็ไม่ได้เงินก็ไม่มีจะได้เรียนหรือป่าวก็ไม่รู้เพราะสาเหตุนี้จึงทำให้เด็กสมัยนี้เป็นขโมย ขายตัวบ้างเพราะเหตุนี้และไม่รู้ออกมาทำไมกฎหมายห้ามใช้แรงงานเด็ก
ตอบคุณ littlesa
ผิดกฎหมายครับ ทั้งนี้บริษัทต้องจัดวันหยุดนักขฤกษ์ให้ไม่น้อยกว่า 13 วัน วันหยุดนักขฤกษ์นี้ สามารถปรับได้นะครับ เช่น บางคนไม่หยุดสงกรานต์ แล้วไปหยุดวันตรุษจีนแทน ก็สามารถทำได้ แต่วันหยุดประจำปี บริษัทต้องจัดให้ไม่น้อยกว่า 13 วัน
ถ้าบริษัทไม่หยุดให้ เราสามารถเรียกร้องให้ชดเชยค่าจ้างได้ครับ
รบกวนสอบถามค่ะ ในกรณีที่วันแรงงานตรงกับวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุด แล้วทางบริษัทไม่ชดเชยให้ ผิดกฏหมายรึป่าวค่ะ แล้วสมควรทำอย่างไร
ขอบพระคุณมากค่ะ
ตอบคุณชาย JR
ลดเงินเดือนลงไม่ได้ครับ แต่อาจจะตัดค่าน้ำมัน ค่าโทรศัพท์ ค่าที่พัก ได้
เมื่อปีที่แล้วผมอยูในตำแหน่งผู้จัดการศูนย์บริการ เงินเดือน2x,xxx แต่มาปีนี้ถูกปรับเปลี่ยนตำแหน่งมาเป็นพนักงานฝ่ายเคลม ผมอยากทราบว่าในช่วงที่เป็นผู้จัดการเงินเดือนสูงพอสมควร และถูกย้ายตำแหน่งมาเงินเดือนทางบริษัทสามารถลดเราเงินเดือนเราได้หรือไม่ครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
ตอบคุณหญิง
ถ้าทำงานเกินเวลาในวันทำงานปกติ นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้ไม่น้อยกว่า 1.5 เท่า ถ้าทำงานในวันหยุดเวลาปกติ (เวลางาน) จะได้ค่าเพิ่มอีก 1 เท่า ยกเว้นว่าทำงานเกินเวลาปกติในวันหยุดจะได้เพิมอีก 2 เท่า
(พนักงานรายเดือน ปกติวันหยุดจะได้ค่าจ้างอยู่แล้ว เนื่องจากนายจ้างมักจะกำหนดวันทำงานเป็น 30 วัน)
ทำงานโรงพยาบาล แผนกท่ีทำเปิด8.00-20.00น.เสาร์ อาทิตย์ เปิดครึ่งวัน
เดิมได้ OT 17.00-20.00 น. 1.5 เท่า ตอนน้ีให้ทำ 4 วัน 11 ช่ัวโมง วันหยุด 3 วัน ให้เป็น OT 1 เท่า (จากเดิม 15 ชั่วโมง 1.5 เท่า เป็น 15 ชั่วโมง 1 เท่า)
อยากทราบว่า นายจ้างสามารถทำเช่นนี้ได้หรือไม่ ผิดกม.หรือไม่
ขอบคุณค่ะ คุณเกียรติชัย ^^
ตอบคุณ Num
1.สายก็คือสายครับ บางแห่งก็อนุโลมให้ทำชดเชย หรือใช้วีิธีหักพักร้อน ครับ
2.ผิดครับ
3.ระเบียบข้อบังคับการทำงาน ต้องส่งกรมแรงงาน
4.ต้องดูเหตุผลครับ
ตอบคุณณรงค์
ผมยกตัวอย่างพนักงานขายที่ได้รับค่าน้ำมันประจำ กรณีเปลี่ยนตำแหน่งและไม่ได้เป็นพนักงานขายแล้ว ก็จะไม่ได้รับค่าน้ำมันรถแล้ว หรือ พนักงานที่ไปปฏิบัติงานต่างจังหวัดและได้รับค่าที่พัก เมื่อย้ายกลับมาแล้วก็จะไม่ได้รับค่าที่พักเช่นกัน ส่วนค่าตำแหน่ง ถ้าเค้าไม่ได้ลดตำแหน่งคุณ ก็ควรจะไ้ด้รับเช่นเดิมครับ
ก่อนหน้านี้ พนักงานมีตำแหน่งเป็นหัวหน้างานฝ่ายผลิต ได้ค่าตำแหน่ง แต่ได้มีการยุบแผนก,ยุบหัวหน้าไลน์ผลิต ทั้งนี้การยุบหัวหน้าไลน์ผลิตนี้ อยากทราบว่า ค่าตำแหน่งที่ได้รับจะได้เหมือนเดิมหรือไม่
ขอสอบถาม K” เกียรติชัย ค่ะ
1. กรณีพนักงานเข้าทำงานสาย แต่ในวันที่สายนั้นพนักงานได้ทำงานให้เลยเวลางานโดยไม่ได้รับ OT ซึ่งถ้าคิดเป็น 8 ชั่วโมงต่อวันได้มัยค่ะ เวลาทำงานปกติคือ เข้างาน 8.30 น.- 9.00 น. ซึ่งเลยเวลาเข้างานประมาณ 10-15 นาทีค่ะ แต่ไม่เกิน 9.00 โมง
2. บริษัทฯ ไม่มีการจ่าย OT แก่พนักงาน และให้ชั่วโมงที่เข้าทำงานเป็นวันหยุดแทน โดยที่ไม่มีการประกาศเรื่องนี้ แต่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ทำต่อๆ กันมา ถือว่าผิด พรบ. คุ้มครองแรงงานหรือป่าวค่ะ
3. ระเบียบของบริษัทเกีึ่ยวกับค่าตอบแทนหรือสวัสดิการที่ให้กับพนักงานนั้น ต้องมีการแจ้งต่อหน่วยงานราชการหรือป่าว เพื่อป้องกันการไม่เป็นธรรมต่อแรงงาน และบริษัทฯ สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยที่พนักงานไม่ทราบได้หรือป่าว
4. การคำนวณควรใช้ฐานเงินเดือนปัจจุบัน กรณีนายจ้างไม่ใช้ฐานเงินเดือนปัจจุบันสำหรับการจ่ายเงินทดแทนวันหยุด และไม่มีการแจ้งล่วงหน้าให้ทราบแต่อย่างใด ถือว่าผิดตาม พรบ. คุ้มครองแรงงานหรือป่าวค่ะ
ตอบคุณ Num
วันหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นสิทธิของลูกจ้างที่จะหยุดหรือไม่ก็ได้ และแม้ลูกจ้างทำงานไม่ครบ 1 ปี นายจ้างก็อาจให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนได้ ตามมตรา 30 วรรคท้าย แห่งพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ฯ
วันหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อกฎหมายกำหนดไว้ว่าเป็นสิทธิของลูกจ้าง หากนายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีไว้ตามระเบียบข้อบังคับ ฯ แล้ว แต่ลูกจ้างไม่หยุด ถือว่าลูกจ้างนั้นสละสิทธิ
การสะสม เลื่อนวันหยุด หรือขอเปลียนวันหยุดเป็นค่าตอบแทน จะทำได้ก็ต่อเมื่อก็ต่อเมื่อมีกำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับการทำงาน เป็นไปตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง สอง สาม และวรรคท้าย แห่งพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ฯ
เว้นแต่ หากลูกจ้างมีความประสงค์จะหยุดพักผ่อนประจำปีแล้ว แต่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างหยุด หรือไม่สามารถจัดวันหยุดให้แก่ลูกจ้างได้ เช่นนี้ นายจ้างจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง ตามมาตรา 64
ส่วนการคำนวณก็ควรใช้ฐานเงินเดือนปัจจุบันครับ
ขอสอบถามเกี่ยวกับเงินชดเชยจ่ายให้พนักงานกรณีพนักงานเข้าทำงานในวันหยุดค่ะ
เนื่องจากดิฉันทำงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง กำหนดว่า หากพนักงานเข้าทำงานให้วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ หรือ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และทำงานครบ 8 ชั่วโมง (หลังจากหักพัก 1 ชม.) จะสามารถนำวันหยุดที่ได้รับมาใช้ในวันธรรมดาได้ (ขออนุมัติและพิจารณาจากหัวหน้างานตามปกติ) ดิฉันมีวันหยุดชดเชยที่สะสมมาจำนวน 33 วัน แต่ดิฉันไม่ได้ใช้วันหยุดแต่ขอเป็นเงินชดเชยแทนการหยุดในวันธรรมดา และดิฉันได้ยื่นลาออกตามระเบียบบริษัทล่วงหน้า 30 วัน คำถามคือ
1. เนื่องจากระหว่างทำงานดิฉันมีเข้างานสายด้วยไม่เกิน 5-10 นาที ทางนายจ้างสามารถหักเงินเดือนของเดือนสุดท้ายที่จะได้รับได้มัยค่ะ และเป็นไปตามกฎหมายแรงานหรือป่าวค่ะ ซึ่งปกตินายจ้างไม่เคยหักในเดือนที่มีการเข้างานทำงานสายเลย
2. วันหยุดชดเชยที่สะสมมาบางส่วนเป็นปี 52 จำนวน 10 วันและปี 53 จำนวน 23 วัน ซึ่งฐานเงินเดือนของปี 52 และ ปี 53 ไม่เท่ากันเพราะมีการปรับฐานของแต่ละปี โดย ณ วันที่ลาออก วันหยุดดังกล่าวนายจ้างได้จ่ายเป็นเงินชดเชยให้ ปัญหาคือ นายจ้างคำนวณจากฐานเงินเดือนของวันหยุดชดเชยตามช่วงเวลาที่เข้าทำงานในแต่ละปี เช่น
ดิฉันมีวันหยุดชดเชยจากการเข้าทำงานในปี 52 จำนวน 10 วัน เงินเดือน 15000 บาท = 15000 / 30 วัน @ 500.- x 10 วัน = 5000 บาท
และปี 53 จำนวน 23 วัน เงินเดือน 20000 บาท = 24000 / 30 วัน @ 800.- x 23 วัน = 18400 บาท รวมได้รับเงินชดเชยเป็น 23400 บาท ซึ่งถ้าหากดิฉันใช้วันหยุดก่อนลาออกดิฉันก็จะได้เงินเดือนของฐานเดืิอนเท่ากับ 24000 บาท และ 3 วันที่เกิน (33 – 30) อีกจำนวน 2400 บาท รวมเป็น 26400 บาท คำถามคือ นายจ้างสามารถคำนวณตามกรณีแรกได้หรือป่าว และถ้านายจ้างแจ้งว่าเป็นระเบียบใหม่ของบริษัทฯ นั้นถูกต้องตามกฎหมายแรงงานหรือป่าวค่ะ เพราะว่า ดิฉันไม่เคยได้เซ็นหรือยินยอมสำหรับข้อตกลงดังกล่าว เนื่องจากดิฉันสอบถามจากรุ่นก่อนที่ออกก่อนหน้าดิฉันนั้นใช้ฐานเงินเดือนปัจจุบันในการคำนวนค่ะ ซึ่งนายจ้างเอาเปรียบและไม่ให้ความชัดเจนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงระเบียบใหม่ที่ลูกจ้างทั้งบริษัทฯ ไม่รับทราบ
ตอบคุณ aomsang
ปกติจะดูที่ตั้งกิจการเป็นหลักครับ ส่วนลูกจ้างที่ไปทำงานต่างจังหวัดต้องดูว่า ไปทำงานชั่วคราวหรือประจำ
ถ้ามีสาขาประจำต่างจังหวัด จดทะเบียนสาขา แบบนี้ก็ให้จ่ายค่าแรงขั้นต่ำ ตามสาขาที่อยู่ในจังหวัดนั้นครับ
ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 5) อยากทราบว่า ในหลักเกณฑ์การปรับนั้น จะยึดถือ ณ จังหวัดที่ตั้งของบริษัท หรือจังหวัดที่ตัวลูกจ้างปฎิบัติงานอยู่ค่ะ สมมุติว่า นาย ก ทำงานอยู่จังหวัดภูเก็ต ได้ค่าแรงวันละ 210 บาท ซึ่งบริษัทตั้งอยู่ กทม. ยังงี้จะมองว่าค่าแรงของนาย ก นั้นต้องปรับขึ้นให้เท่าที่ กทม. คือ 215 บาทหรือเปล่า ขอบคุณค่ะ
ตอบคุณจีจี้
กฎหมายกำหนดไว้ สัปดาห์หนึ่งต้องมีวันหยุดไม่น้อยกว่า 1 วันครับ
ทำงาน1 เดือนได้หยุดแค่ 2 วันจะเอาผิดกับนายจ้างได้หรืไม่
ตอบคุณกมลชนก
คำนวณจากฐานเงินเดือนอย่างเดียวครับ
รบกวนสอบถามวิธีคำนวณเงินชดเชยเนื่องจากพนักงานไม่ได้ใช้วันลาพักร้อนครบค่ะ
พนักงานได้รับเงินเดือน 50,000 บาท มีค่าโทรศัพท์และภาษีที่บริษัทออกให้อีกเดือนละ 9,200 บาท อยากทราบว่า
หากสิ้นปีพนักงานท่านนี้เหลือวันพักร้อน 5 วัน จะคำนวณจ่ายอย่างไรคะ
(คำนวณจากเงินเดือนอย่างเดียวต้องนำประโยชน์อื่นๆมารวมคำนวณด้วย)
ขอบคุณมากค่ะ
ตอบคุณอัล
1.เพื่อไม่ให้งงนะครับ สิทธิพักร้อน 6 วันจะเป็นรอบสำหรับวันที่ 27 กค.53-27 กค.54 คุณอัญคิดว่าแผนกบุคคลจะจำได้ไหม๊ครับ แล้วปีถัดไปอีก แล้วพนักงานแต่ละคนก็เข้างานไม่พร้อมกันอีก เพราะฉะนั้นเค้าก็เลยตัดรอบเป็น 31 ธค.แต่ให้ลาให้หมดในเดือน พย.ซึ่งก็ดีเหมือนกัน ง่ายต่อการสรุปยอดปลายปี เพราะฉะนั้นคำนวณรอบที่เหลือ 27 กค.53 -31 ธค.53 ได้ประมาณ 2 วัน ส่วนรอบพักร้อนปีถัดไป 1 มค.-31 ธค.ก็จะกลายเป็น 6 วัน
2.สิทธิพักร้อน กรณีต้องการยกยอดหรือจ่ายเป็นเงินแทน ต้องได้รับความยินยอมจากนายจ้างและลูกจ้างครับ ถ้าลูกจ้างไม่ยอมก็ทำไม่ได้ หรือถ้านายจ้างไม่ยอมก็ทำไม่ได้เช่นกัน
รบกวนสอบถามเกี่ยวกับ วันหยุดพักผ่อนประจำปี ตามรายละเอียดดังนี้นะคะ
– ดิฉันเข้าทำงาน วันที่ 27 ก.ค.52 ปัจจุบันทำงานอยู่
– ดิฉันเคยใช้สิทธิพักร้อนไปแล้ว 1 วัน เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 53
– ฝ่ายบุคคล มีการติดประกาศรายชื่อพนักงานที่มีการหยุดงาน หรือลาต่าง ๆ ที่บอร์ดของบริษัท และแจ้งว่า ดิฉันเหลือวันลาพักร้อน 1 วัน
– บริษัทกำหนดให้ใช้วันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แล้วเสร็จภายในเดือน พฤศจิกายน ของทุกปี และสะสมวันหยุดไม่ได้
– เมื่อประมาณวันที่ 15 พฤศจิกายน 53 ดิฉันได้สอบถามจากฝ่ายบุคคลของบริษัทฯ ว่าดิฉันเหลือจำนวนวันพักร้อน กี่วัน บริษัทแจ้งว่า ดิฉันสามารถพักร้อนได้ 2 วัน และตอนนี้เหลือ 1 วัน เพราะเคยใช้ไปแล้ว 1 วัน
คำถาม
1. จริง ๆ แล้ว ดิฉัน ต้องได้วันลาพักร้อนสำหรับปีนี้ ทั้งหมดกี่วันคะ
2. หากคำตอบมีมากกว่า 2 วัน และเนื่องจากใกล้ครบกำหนดที่ต้องใช้สิทธิ์ให้แล้วเสร็จแล้ว แต่ดิฉันยังไม่สามารถใช้สิทธิให้หมดได้ บริษัทจะต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ให้ดิฉันหรือไม่คะ (ที่ไม่ใช้วันพักร้อน เนื่องจากคิดว่ามีวันพักร้อนเพียง 2 วัน ตามที่ผ่ายบุคคลแจ้ง)
ขอบพระคุณสำหรับคำตอบค่ะ
ตอบคุณออลพร
กฎหมายกำหนดเป็นต่อวันกับต่อสัปดาห์ถูกต้องแล้วครับ วันหนึ่งทำงานไม่เกินกี่ชั่วโมง สัปดาห์หนึ่งไม่เกินกี่ชั่วโมง คุณจะได้มีเวลาพักในแต่ละวัน และมีวันหยุดในแต่ละสัปดาห์ครับ
หลายบริษัททำงานวันเสาร์เต็มวัน เพราะฉะนั้นบริษัทจะกำหนดให้วันเสาร์เป็นวันหยุดหรือวันทำงานก็ได้ครับ
อยากทราบเรื่องกฎหมายแรงงาน สำหรับพนักงานบริษัทนะคะ คือแต่เดิมบริษัทให้พนักงานทำงานตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00 – 17.00 น. และวันเสาร์เวลา 08.00 – 12.00 น. โดยวันเสาร์นั้นมาทำงานสลับกันเป็นเสาร์เว้นเสาร์และคิดล่วงเวลาสำหรับทำงานวันเสาร์ให้ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นตันไป ถ้าหากงานไม่แล้วเสร็จ แต่ปัจจุบันบริษัทจะเปลี่ยนนโยบายใหม่สำหรับการทำงานวันเสาร์คือถ้าหากทำงานหลัง 12.00 น. ไปแล้ว บริษัทจะไม่นำมาคิดค่าล่วงเวลาในการทำงานให้ และถ้าหากมีการลาในวันเสาร์ให้ถือว่าเป็นการลาเต็มวันแทนการลาครึ่งวันแทนค่ะ ไม่ทราบว่าแบบนี้พนักงานกับบริษัทมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบอย่างไรบ้างคะ
และรบกวนสอบถามเรื่องจำนวนรวมของวันและเวลาในการทำงานต่อปี ไม่ทราบว่าตามกฎหมายระบุเป็นเท่าไหร่คะ เพราะค้นข้อมูลแล้วเจอแต่ต่อวันและต่อสัปดาห์ค่ะ
หมายเหตุ วันเสาร์บริษัทจะเปลี่ยนเป็นทำงานปกติโดยคิดล่วงเวลาหลัง 17.00 น.
ตอบคุณแปบซี่
ส่วนใหญ่ที่ผมเห็นมา เสื้อฟอร์มบริษัทเป็นคนจัดหาให้ครับ เว้นแต่ว่า พนักงานทำเสื้อหาย หรือมีเสื้อไม่พอใส่ อาจขอซื้อเพิ่มเติมได้
อยากรบกวนสอบถามค่ะ คือทางบริษัทบังคับให้ใส่เสื้อของทางบริษัท ซึ่งไม่ใส่ไม่ได้ ถือว่าเป็นการทำผิดอย่างร้ายแรง แต่ทางบริษัทไม่แจกเสื้อให้และบังคับให้ซื้อเสื้อของทางบริษัท ตัวละ 180 บาท แต่ให้ใส่ 5 วันทำงาน อย่างงี้ ทำไมทางบริษัทถึงไม่ทำการแจกเสื้อให้พนักงานค่ะ เงิน 180 บาท ซื้ออย่างน้อย 3 ตัว ก็เป็นเงินหลายบาทแล้ว เงินเดือนพนักงานก็ไม่มาก อย่างนี้ทางบริษัท ผิดไหมค่ะ
ตอบคุณ Yan
จะมีปัญหาอื่นๆ ตามมา ที่ทำงานเก่าผม (เป็นโรงงานอุตหสาหกรรม) เดิมที่ก็จะเอามาใช้ ทำงานเพิ่มวันธรรมดาแล้วหยุดวันเสาร์แทน สุดท้ายก็ไม่ได้เอามาใช้
การนับวันหยุดต้องนำมาจริงครับ จะเป็น 1 วันกับอีก 45 นาที
รบกวนสอบถามครับ อย่างกรณีคุณnok ถ้าลากิจ ป่วย หรือ พักร้อน จะต้องคิดวันยังไงครับ เช่น ถ้าลากิจ 1 วัน คิด 8ชั่วโมง 45 นาที่ เลยหรือมีวิธีคิดที่ง่ายต่อการคำนวณวันยังไงบ้างครับ แล้วกฏหมายแรงงานกำหนดให้มีวันลากิจได้กี่วันต่ออาทิตย์หรือต่อปีครับกี่วันครับ ขอบคุณครับ
ตอบคุณ aomsang
ถ้าลาป่วยมีใบรับรองแพทย์ตามกฎหมายต้องจ่ายครับ แต่ก็ควรตักเตือนพนักงานด้วย
ตอบคุณ Nok
บางทีเค้าก็ไม่สนใจเรื่องกฎหมาย เค้าก็ทำงานเกิน 8 ชั่วโมง เป็น 9 ชั่วโมง เพื่อที่จะหยุดวันเสาร์ แต่เพื่อความสบายใจก็ไม่ควรทำครับ
ขอรบกวนสอบถามในเรื่องเกี่ยวกับการจ้างพนักงานรายวันค่ะ
คือบริษัททำงานในรูปแบบรับเหมาก่อสร้าง จึงมีพนักงานรายวันจำนวนมาก แต่ยังสับสนในเรื่องการจ่ายค่าจ้างในกรณีลาป่วย (มีใบรับรองแพทย์) อย่างที่รู้ก็คือพนักงานรายวันทำก็ได้ ไม่ทำก็ไม่ได้ ค่ะ แรก ๆ ทางบริษัทจะช่วยเป็นกรณีไป หากบาดเจ็บจากการทำงานทางบริษัทก็ช่วย (คือจ่าย) แต่มาระยะหลัง ๆ พนักงานรายวันเริ่มหยุดมีใบรับรองแพทย์กันมาเรื่อย ๆ จนรู้สึกว่า อย่างไรถูกกันแน่ และหากเป็นใบรับรองแพทย์ระบุว่าเป็นไข้, ตัวร้อน ล่ะค่ะ จะสรุปยังไงดี
ว่าต้องจ่ายหรือไม่ต้องจ่าย อยากทำให้ถูำกต้องค่ะ เลยอยากได้คำแนะนำ
รบกวนสอบถามเกี่ยวกับวัน-เวลาทำงานหน่อยค่ะ
คือตอนนี้ที่บริษัท ทำงานจันทร์-เสาร์ 8.00-17.00 น. แต่ทางพนักงานกำลังจะร้องขอให้ปรับเปลี่ยนเวลาทำงานใหม่เป็น ทำงานเสาร์เว้นเสาร์ 7.15-17.00 น. แทนค่ะ แต่ทราบมาว่าตาม กม.แรงงานจะให้ทำงานได้ไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชม. ซึ่งถ้าเพิ่มเวลาทำงานต่อวันขึ้นมาจะทำให้เสาร์ที่ทำงานมีเวลาเกินมา 4ชม.ครึ่ง ถ้าเป็นอย่างนี้จะมีวิธีแก้ไขหรือจัดการอย่างไรให้สามารถหยุดเสาร์เว้นเสารได้ โดยที่พนักงานและบริษัทไม่มีการได้เปรียบเสียเปรียบต่อกัน
ขอบพระคุณมากมายเลยคะ คราวหน้าจะมาใช้บริการอีกนะคะ
ตอบคุณแจน
สิทธิพักร้อนจะเป็น 6 วัน ถูกต้องแล้วครับ แต่จะเป็นทุกรอบสิ้นสุดที่ 2 Nov ของปีถัดไป จะนับแบบนี้ก็ได้จะได้ไม่งง
ก็ยังง อยู่ดีคะกับคำถามแรก แสดงว่าแจนทำงาน ครบหนึ่งปี แล้วแจนก็พักร้อนได้แค่ 1 วัน ถ้าแจนจะได้ 6 วัน แจนควรทำงานไปจนถึง 2 NOV 2011 ใช่ไหมคะแจนถึงจะได้
ส่วนข้อสอง โดยทั่วไป เด้กจะใช้พักร้อนแต่บริษํทไม่มีคน ก็จะให้น้องทำงานจนไม่ได้มีโอกาสใช้พักร้อนของตัวเองคะ
ยังไงก็ขอบพระคุณนะคะที่ตอยคำถามให้ เพราะแจนทำงานด้าน นี้คะ เลยอยากได้ข้อมูลที่แน่นอนไปตอบน้องๆหน้าร้านคะ
ตอบคุณแจน
เค้าน่าจะตัดพักร้อนให้ตรงกับปีมากกว่าครับ อธิบายดังนี้
สิทธิพักร้อน 6 วันจะเป็น 2 Nov 2010 – 2 Nov 2011 ดังนั้นถ้าคำนวณตามเดือนที่เหลืออยู่ของปีปัจจุบัน (Nov-Dec) จะใช้ได้ 1 วัน ส่วนปี 2011 ก็จะใช้สิทธิได้ตามปกติคือ 6 วัน
ส่วนข้อ 2 สิทธิการลาพักร้อนสะสมไปยังปีถัดไปได้ ถ้านายจ้างกับลูกจ้างตกลงยินยอมกัน (ถ้านายจ้างไม่ยินยอมก็สะสมไม่ได้ หรือถ้าลูกจ้างไม่ยินยอมก็สะสมไม่ได้เช่นกัน) การลาพักร้อน กรณีนายจ้างกำหนดให้ลาพักร้อน แล้วพนักงานไม่ใช้สิทธิ แบบนี้ก็ขอชดเชยไม่ได้ เว้นแต่นายจ้างไม่จัดให้มีการลาพักร้อน แบบนี้ถึงจะขอเงินชดเชยพักร้อนได้ครับ
ข้อรบกวนถามสักสองคำถามนะคะ
คือแจนเริ่มงานวันที่ 2 Nov 2009 และจะคบปีในวันที 2 Nov 2010 แต่ทางบริษัทแจ้งว่าแจนจะได้พักร้อนแค่ 1 วัน หลังจากคบหนึ่งปี แจนงงมากและสงสัยว่าทำไหมได้แค่ 1 วัน เพราะตามกฏหมายแล้ว ต้องได้ 6 -7 วันไม่ใ่ช่หรอคะ
ข้อสอง น้องๆที่ทำงานหน้าร้านบางคนทำงานมา 2 ปี ไพึงได้พักร้อน 6 วันแต่ไม่เคยได้ใช้เลย พอครบปีที่ 3 วันพักร้อนที่ได้เขาก็ไม่ได้จ่ายให้เป็นเงิน หรือก็ไม่สามารถนำไปสะสมกับปีถัดไปได้ อยากสอบถามว่าบริษัททำถูกหรือผิดคะ และเราจะเรียกร้องคืนได้ไหม แสดงว่าเราก็โดนเอาเปรียบใช่ไหมคะ
รบกวนช่วยตอบด้วยนะคะ
ตอบคุณแพร
การลาคลอด 90 วันเป็นสิทธิตามกฎหมายแรงงานครับ
ทำงานอยู่สถาบันการเงินแห่งหนึ่ง หัวหน้างานให้ลาคลอดเพียง 45วัน แต่โทรถามส่วนสวัสดิการพนักงานเค้าให้ลา90วัน แต่(บางครั้งเค้าก้อจะบอกว่าอยู่ที่ดุจพินิจของ ผจก.)เราจะทำอย่างไรดีค่ะ
ตอบคุณธรม
ปกติแล้วบริษัท มักจะจัดชุดฟอร์มมาให้ครับ ผมเคยเห็นพนักงานได้ชุดฟอร์มมาแล้วไม่ใส่ก็มี ถ้าเป็นสำนักงานมักจะไม่ค่อยจริงจัง แต่ถ้าเป็นโรงงาน เค้าจะจริงจังมาก ชุดฟอร์มที่ให้แล้ว ถ้าไม่ใส่มา (โดยไม่มีเหตุอันควร) ก็อาจจะถูกตัดคะแนนประเมินผลได้
ส่วนชุดที่ไม่ได้มา แต่ขอความร่วมมือ เราก็ควรให้ความร่วมมือนะครับ แต่ถ้าเราไม่ให้ความร่วมมือ เค้าก็ทำอะไรเราไม่ได้ครับ
ทาง HR ให้ผมซื้อเสื้อสีชมพูมาใส่ประวันเสาร์ เพราะว่าในวันเสาร์พนักงาน ออฟฟิตทุกคน จะต้องใส่เสื่อสีชมพู โดยทาง HR แจกให้ทุกคนช่วงที่ มีม็อบเสื้อเหลืองและเสื้อแดง แต่ผมเพิ่งมาทำงานได้ 5 เดือนโดยได้รับชุด ฟอร์มสีขาว เสื้อ 3 ตัว กางเกง 2 ตัวแต่เสื้อสีชมพูที่ให้ใส่มาในวันเสาร์นั้นไม่ได้รับแจก พอวันเสาร์ผมใส่เสื้อสีขาวมา ทาง HR ก็โทรมาบอกทำไมไม่ใส่เสื้อสีชมพู ผมก็บอกว่าไม่ได้รับแจก ทาง HR ก็บอกว่า ทางบริษัทไม่ได้แจกแล้ว ต้องไปหาซื้อมาใส่เอง แล้วผมก็ถามกลับว่า ถ้าจะให้ใส่มาตลอดทุดวันเสาร์อย่างนี้ทางบริษัทต้องจัดหาให้ไม่ใช่หรือครับแล้วอยางนี้คนที่ใส่มานานแล้วมันเก่า หรือขาดจะให้ทำยังไง HR ก็ตอบมาว่าที่ตลาดมีเสื้อสีชมพูขาย ผมไม่ทราบว่าทางบริษัทเข้าข่ายเอาเปรียบพนักงานหรือเปล่าครับ แล้วผมต้องทำยังไงดีช่วยตอบข้อสงสัย หรือว่ามีข้อกฎหมายอะไรที่เกี่ยวข้องผมจะได้ นำไปเสนอให้ทาง HR เค้ารับทราบ ขอขอบคุณมากครับ
ขอแก้ไขค่ะ
ถ้าดิฉันบอกกับหัวหน้างานก่อนเค้าก็คงจะไม่อนุญาติ ก็เลยแจ้งกับผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า เลยกลายเป็นการหักหน้าหัวหน้างาน ค่ะ
อยากทราบค่ะว่าพนักงานมีสิทธิ์ขอย้ายแผนกหรือไม่คะ ขออธิบายก่อนนะคะ ก่อนหน้านี้ทำงานในแผนกนี้ หัวหน้างานก็รักและเอ็นดู สอนหลายสิ่งหลายอย่างให้รับรู้ และก็ชื่นชมตัวดิฉันมาโดยตลอด สามารถทำงานได้ดี คล่องแคล่ว เรียนรู้เร็ว แต่มีสิ่งที่หน้าเรามีความคิดไม่ตรงกัน ในเรื่องของการทำงาน เช่นดิฉันแจ้งความประสงค์ว่าต้องการทำงานที่เป็นเรื่องราวเป็นตำแหน่งเป็นหน้าที่ เนื่องจากที่ผ่านมามีประสบการณ์หลายอย่างเกี่ยวกับการสมัครงาน แต่เค้าก็ยืนยันในความคิดของเค้าว่าการทำงานแบบที่เค้าเป็นเนี่ยก็สามารถเติบโตได้ ซึ่งดิฉันไม่สามารถหาเหตุผลใดมาลบล้างเค้าได้ เค้าเป็นคนที่สามารถหาเหตุผลต่างๆ มาเพื่อช่วยให้ตัวเองถูกเสมอ ไม่เคยคิดจะพยายามเข้าใจความคิดของคนอื่นเลย และถึงวันนี้ที่มีอีกแผนกรับสมัครพนักงาน ดิฉันเพียงแต่ต้องการจะก้าวหน้ามากกว่า นี้และไม่กล้าที่จะบอกหัวหน้างานก่อนเพราะเค้าคงอนุญาต จีงได้มีการปรึกษาผู้ที่มีอำนาจเยอะกว่า กลายเป็นเหมือนหักหน้าหัวหน้างาน อย่างแรงครั้งแรกที่เข้าคุยเค้าตกลงและบอกว่าอยากไปก็เชิญ แต่ต่อมาเค้าแจ้งยกเลิกพร้อมกับยังไม่ให้ไปที่แผนกอื่น และต้องรออีก ครึ่งปีเพื่อประเมิณในหลายๆ ส่วน เหมือนถูกเค้ากลั่นแกล้ง ไม่มีกฎหมายแรงงาน ในเรื่องแบบนี้บ้างหรือคะ เพราะไม่อยากทำงานกับหัวหน้างานคนนี้แล้ว รู้สึกเหมือนไม่มีความยุติธรรม ปากก็เคยบอกว่าอยากให้น้องๆ ก้าวหน้า แต่พอแบบนี้กลับเห็นแก่ตัวไม่ยอมให้ไปโดยไม่แคร์อะไรเลย แล้วแผนกอื่นเค้าจะรอเราอีก ครึ่งปีได้ยังไงคะ รบกวนปรึกษาด้วย ไม่รู้ว่าจะเข้าใจหรือเปล่า สรุปให้เป็นข้อๆ นะคะ
1.ถ้าพนักงานต้องการย้ายแผนก หัวหน้างานมีอำนาจตัดสินใจเด็ดขาดเลยหรือเปล่าคะ
2.หัวหน้างานสามารถอ้างเหตุผลเพื่อกักตัวไม่ให้ไปแบบนี้เป็นเวลา 6 เดือน ได้หรือไม่คะ เพราะเคยเห็นบริษัทอื่นไม่เห็นเค้าทำกันแบบนี้เลย น่าจะมีกฏหมายเรื่องพนักงานขอย้ายแผนกบ้างนะคะ
รบกวนช่วยตอบด้วยนะคะ อาจยาวไปหน่อย แต่มันอัดอั้นไม่รู้จะทำอย่างไรจริงๆ ค่ะ
ตอบคุณ ladda
1.ตามกฎหมายลูกจ้างมีสิทธิ์ลากิจเพื่อกิจธุรจำเป็นครับ แ่ต่สามารถหักค่าจ้างได้ (บางแห่งพ้นทดลองงานแล้วไม่หักเงินก็มี) แต่อันนี้ไม่เกี่ยวกับวันอาทิตย์นะครับ
2.ลากิจหักเงินได้ครับ
3.ปกติส่วนใหญ่ที่เห็นมา ก็มีการกำหนดเวลาไว้ ถ้าน้อยกว่าครึ่งชั่วโมง หรือหนึ่งชั่วโมงไม่จ่าย ก็มี การทำโอทีต้องได้รับการยินยอมจากนายจ้างด้วย ต้องมีแบบฟอร์มขอทำโอที ถ้าไม่ได้ขอทำโอทีไว้แล้วมาทำ อย่างนี้ไม่จ่ายก็ได้ (แต่ถามว่าถูกต้องไม่ ไม่ถูกครับต้องจ่ายตามเวลาที่ทำงานจริงและตามเวลาที่ขอทำโอทีไว้ด้วย)
ตอนนี้ที่บริษัทเปลี่ยนผู้บริหารใหม่และออก ระเบียบใหม่ๆซึ่งเราไม่แนใจว่ามันจะถูกต้องนะค่ะ รบกวนช่วยตอบและถ้าสามารถมีเอกสารยืนยันได้รบกวนแจ้งด้วยค่ะ
ทังหมดเป็นลูกจ้างรายเดือนค่ะ
1.กรณีที่พนักงานลากิจ บริษัทจะหักเงินในวันที่ลากิจ และหักเงินวันอาทิตย์ด้วย และถ้าลาอีกในอาทิตย์ต่อไป ก็จะหักเงินในวันที่ลาและหักเงินวันอาทิตย์อีก แบบนี้สามารถทำได้มั้ยค่ะ
2.กรณีลากิจบริษัทจะหักเงินทุกกรณี
3.กรณีทำโอ.ที. ถ้าทำไม่ถึง 2 ชม. บริษัทจะไม่คิดเงินค่า โอ.ที. ให้
และโอ.ที. ที่เป็นครึ่งชม. 2.5ชม. บริษัทจะคิดโอ.ที.ให้แค่ 2ชม.
รบกวนตอบด้วยนะค่ะ
นายจ้างกดขี่ไม่มีโอทีให้แถมให้เรายืนทำงานเกินเวลามาทำงาน
สิบโมงครึ่งเลิกงานสามทุ่มบ้างสี่ทุ่มบ้างทีแลกบอกว่าจะให้โอที
อยู่อยู่ก็บอกว่าไม่ให้แล้ว ซะงั้นน่าสงสารพวกพนักงานอย่าเรา
จังทำงานทั้งวันโอทีกฟ้ไม่ได้เงินเดือนก็น้อย
หนูทำงานกับบริษัทแห่งหนึ่งมาปีกว่าแล้วและมีวันหนึ่งหนูเขียนใบลากิจล่วงหน้า3 วัน แต่นายไม่เซ็นให้หนูเข้าไปถามเขาบอกต้องเขียนล่วงหน้า 3 วันเพราะช่วงที่เขียนมันเป็นต้นสัปดาห์พอดีกรณีนี้หนูมีสิทธิ์เรียกร้องความเป็นธรรมใหมและอีกกรณีหนึ่งเรื่องงานหนูทำเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์มันมีเคสหนึ่งที่ลูกค้าไม่ยอมจ่ายเงินให้และนายจ้างก็ได้หักเงินเดือนหนูเดือนละ 4222 บาททั้งๆที่เงินเดือนหนูได้เดือนละ 7000 หักประกันสังคมก็เหลือ 6650 หักหนูตั้ง 3 เดือนหนูเข้าไปคุยให้หักเดือนละ 1500 ได้ใหมนายจ้างไม่ยอมกรณีนี้หนูได้รับความเป็นธรรมหรือเปล่าค่ะและอีกกรณีสุดท้ายผลพวงมาจากกรณีที่ 2 นายจ้างตกลงกับหนูว่าถ้าหางานมาชดเชยได้เขาจะจ่ายเงินที่หักไปให้และหนูก็หางานมาได้เคสหนึ่งแต่งานมันมีปํญหาและหนูต้องไปเคลียร์กับลูกค้าแล้วลูกค้าโอเคจ่ายตังตามที่วางบิลแล้วส่วนที่หนูต้องได้เขาก็ต้องจ่ายให้หนูแต่เขาถามว่าวันที่หนูไปหาลูกค้าหนูกลับมาเบิกค่ารถหรือเปล่าถ้าเบิกค่ารถเขาก็จะไม่จ่ายเงินให้หนูเป็นฝ่ายขายหนูสามารถเบิกตังค่ารถได้แล้วเขาจะมาหักแบบนี้มันเป็นธรรมสำหรับเราที่เป็นลูกจ้างใหมค่ะเหมือนเขาบีบเราให้เขียนใบลาออกเพราะยอดขายหนูก็พอถูๆไถไปเรื่อยๆถ้าเขียนใบลาออกเขาก็จะไ้ด้ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้ออกหนูขอความเป็นธรรมค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ ถ้าดิฉันอยากได้เป็นข้อมูลภาษาอังกฤษรบกวนแนะนำด้วยค่ะ
ตอบคุณหนูนา
นับได้ 9 วันไม่นับเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขฤกษ์ ถือเป็นการลาตามระเบียบบริษัทปกติ ต้องเป็นการลาพักร้อนตามสิทธิที่ได้จริงนะครับ แต่ถ้าไม่ได้ใช้สิทธิพักร้อนตามระเบียบ แต่ขอลางานไปทำธุรสักครึ่งเดือนหรือเดือนหนึ่งแบบนี้ถึงจะนับวันเสาร์อาทิตย์ด้วย
ลองนึกตัวอย่างดูนะครับ ถ้าผมลาพักงานสัก 1 เดือน ผมก็ควรจะไม่ได้รับเงินเดือนทั้งเดือน ไม่ใช่ยังได้รับเงินวันเสาร์-อาทิตย์อยู่อีก
ต้องการลาพักร้อน ตั้งแตวันที่ 02สิงหาคม2510 แล้วกลับมาเริ่มงานวันที่16สิงหาคม2510 ตามกฏหมายแรงงานจะต้องนับเป็นกี่วันลาพักร้อน
(วันเสาร์-อาทิตย์เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์) ทำงานประจำและมากกว่า 1ปีแล้วขอบคุณมากค่ะ
อยากจะสอบถามเกี่ยวกับการเลิกจ้างครับ เนื่องจากผมทำงานเป็นสมุห์บัญชี และทำงานกับบริษัทดังกล่าวมา 11 เดือนจนถึงเดือน พ.ค. ซึ่งกำลังจะครบ 1 ปีเต็มในอีกประมาณ 20 วัน ในเดือน มิ.ย. และเดือน พ.ค. นายจ้างได้เรียกไปคุยว่า จะยื่นจดหมายยกเลิกสัญญาจ้างผม ซึ่งเค้าบอกกับผมตามตรงว่าเค้าไม่ต้องการที่จะจ่ายเงินชดเชย 3 เดือนตามกฏหมาย ถ้าหากผมมีอายุงานครบ 1 ปี ดังนั้นจึงจะให้ผมออกจากงาน โดยทำจดหมายบอกกล่าวล่วงหน้าในวันที่ 23 พ.ค.เพื่อให้ครบ 30 วัน ก่อนวันจ่ายเงินเดือนในงวดถัดไปคือวันที่ 25 มิ.ย. ซึ่งวันสุดท้ายตามจดหมายบอกกล่าวล่วงหน้าคือวันที่ 23 มิ.ย. แต่วันที่ครบ 1 ปีเต็มของผมคือวันที่ 25 มิ.ย. ซึ่งทำให้ผมต้องออกจากงานก่อนวันที่จะครบ 1 ปีเพียง 2 วัน ซึ่งเหตุผลในการเลิกจ้าง นายจ้างระบุในหนังสือเลิกจ้างว่า “ทำงานไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่บริษัทกำหนด” อยากจะสอบถามว่า ในกรณีนี้ถือว่านายจ้างเจตนาให้ลูกจ้างไม่ได้รับสิทธิตามกฏหมายหรือไม่ครับ และผมจะสามารถฟ้องร้องนายจ้างได้หรือไม่ครับ พอจะมีโอกาสที่จะชนะคดีหรือเปล่าครับ ผมกลุ้มใจมาก เพราะผมมีภาระที่ต้องดูแลครอบครัว และหนี้สินที่ยังต้องจ่ายให้กับธนาคารอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งถ้าหากผมทำงานครบ 1 ปี ผมก็จะได้รับค่าชดเชย 3 เดือน รบกวนช่วยตอบคำถามให้ผมด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
ตอบคุณพีรดา
อธิบายหลักเกณฑ์ในการเรียกเก็บเงินประกันการทำงานนะครับ โดยทั่วไปแล้วนายจ้างจะเรียกเงินประกันการทำงานจากลูกจ้างไม่ได้ เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานที่ลูกจ้างทำนั้นต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9,10 และตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกัน ความเสียหายในการทำงานของลูกจ้างลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541
และเมื่อนายจ้างเรียกรับเงินประกันความเสียหายในการทำงานของ ลูกจ้าง และหากลูกจ้างได้ทำความเสียหายให้แก่นายจ้าง นายจ้างมีสิทธิหักเงินประกันการชำระหนี้ได้ แต่ถ้าลูกจ้างมิได้ก่อความเสียหายให้แก่นายจ้างในระหว่างการทำงาน เมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลง นายจ้างมีหน้าที่คืนเงินประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน นับแต่สัญญาสิ้นสุดลง หากไม่คืนต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี และหากจงใจไม่คืนเงินประกันโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จะต้องรับผิดใช้เงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้างอีกร้อยละ 15 ของเงินที่ค้างชำระทุก 7 วัน
มีข้อสงสัยสอบถามค่ะ แต่ขอเล่าลักณะของการทำงานก่อนนะคะ
ทำงานมาเป็นเวลา 1 ปีกว่า ร้านที่เราทำงานอยู่ เป็นลูกจ้างรายวันในลักษณะ ฟรีแลนซ์ คือ มาทำงานวันไหนก็จะลงชื่อไว้ในปฎิทินของร้านแล้วสิ้นเดือนก็จะจ่ายเงินตามนั้น (วันละ 500 บาท) นายจ้างให้ความอิสระกับการมาทำงานคือ ถ้าวันไหนมีธุระ หรืองานอย่างอื่นก็สามารถหยุดได้เลย หลายวันก็ได้เพราะที่ร้านจะมีลูกจ้างลักษณะนี้ประมาณ 8 คน จะจัดตารางกันเอง ซึ่งแต่ละเดือนทุกคนจะมีรายได้จากร้านนี้ประมาณ 7500-12000 บาท โดยได้เงินเต็มจำนวนไม่มีการหักภาษี (การจ้างงานไม่ได้มีการทำสัญญา เพราะเค้าใช้คำว่าทำงานเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน)
มี 2 คนที่ทำเป็นงานประจำ คือ ได้เงินเป็นเดือน และมีวันหยุดอาทิตย์ละ 1 วัน แต่มีแค่ผู้จัดการร้านคนเดียวที่มีประกันสังคม คนอื่น ๆ ทางนายจ้างไม่ได้ทำให้เลย ทั้ง ๆ ที่เคยมีการคุยกันแล้วเมื่อประมาณปลายปีว่าอยากให้มีการทำประกันสังคมให้ แต่ทางนายจ้างและผู้จัดการก็บอกว่า เค้าให้เงินเดือนเต็ม ๆ ไม่ได้หักอะไร และพวกเราแต่ละคนก็มีรายได้ไม่น่นอน ช่วงนั้นงานที่ร้านค่อนข้างยุ่ง เรื่องนี้ก็เลยเงียบไป
ก่อนหน้านั้นทางร้านเคยมีกรณี เพื่อนร่วมงานลาออกโดยไม่จ้งล่วงหน้า คือ รับเงินเดือนแล้วอีกวันก็ไม่มาทำนเลย ทำให้หลังจากนั้นนายจ้างก็เลยคุยกับพวกเราว่าจะขอหักเงินเดือน เดือนละ 1000 บาท 5 เดือน เป็นจำนวน 5000 บาทไว้ อ้างว่าเป็นเงินประกันห้ามออกโดยไม่บอกล่วงหน้า และบอกว่าถ้าจะออกให้บอกก่อน 1 เดือนแล้วจะคืนให้ (ไม่มีการทำสัญญา )
ร้านตั้งอยู่ที่เซ็นทรัล เวิล์ด ไม่ได้ไปทำงานตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน – ปัจจุบัน
ทางนายจ้างไม่ได้ติดต่อมาเลย จนกระทั่งพวกเราโทรไปหาเมื่อหลายวันก่อนและบอกว่าจะขอเงินประกันที่เคยหักไปออกมาใช้ก่อนเพราะค่อนข้างเดือดร้อน และยังไม่รู้ว่าร้านจะเปิดได้เมื่อไหร่(เพราะอยู่ในโซนที่ไม่โดนไฟไหม้) แต่ทางนายจ้างกลับบอกว่าเค้าเองก็ยังต้องจ่ายค่าเช่าร้านอยู่ และเงินส่วนนั้นก็เป็นเงินประกัน เอาออกมาใช้ไม่ได้
อยากสอบถามว่า
1. พวกเรามีสิทธิ์ในเงิน จำนวน 5000 นั้นมากแค่ไหน และถ้าไม่ได้คืนแล้วจะต้องทำอย่างไรบ้าง สามารถฟ้องร้องนายจ้างที่ไม่ให้ความเป็นธรรมได้หรือไม่
2. พวกเราได้ไปยื่นเรื่องกับทางกระทรวงแรงงานแล้ว ในส่วนที่รัฐบาลจะช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการทางการเมือง แต่พวกเราเป็นทั้งลูกจ้างรายวันและไม่มีประกันสังคม จะได้รับความช่วยเหลือมากน้อยแค่ไหน เพราะนายจ้างเพิกเฉยต่อพวกเรามาก
กรุณาตอบค้วยนะคะ เพราะไม่รู้กฎหมายแรงงานเลย
ขอบคุณมากค่ะ
แล้วถ้าหากเป็นกิจการโรงแรมแล้วหัวหน้างานอยากให้น้องเขาได้SVด้วยคือเราต้องจ่ายดังนี้
1.หากน้องเขาออก25/05/10 จ่ายประเพณีคือ ค่าจ้าง6500 รายวัน216.66+7=1516 บาท
2.ออกวันที่4/06/10 216.66*7=1516 SVวันละ100 =2216
เป็นคนทำเงินเดื่อน แต่เพิ่งเรียนจบ และสับสนเพราะผู้จัดการบอกว่าให้ทำแบบที่2
แต่ตัวดิฉันคิดว่าจะต้องจ่ายแบบที่1เพราะน้องเขาออก25/05/10นี้แล้ว
ตอบคุณนัทตี้
1.กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจัดวันหยุดตามประเพณีไว้ในหนึ่งปีไม่น้อยกว่า 13 วัน (มากกว่านี้ก็ได้) โดยได้รับค่าจ้าง
2.การลาออก ต้องนับจนถึงวันที่ลาออก กรณีตรงกับวันหยุดหรือวันอาทิตย์ก็ต้องให้ (ไม่ก็เปลี่ยนวันที่ลาออกให้ออกก่อน) เรื่องการตัดงวดไม่ได้เกี่ยวข้องกับการนับวัน ถึงไม่จ่ายงวดนี้ก็ต้องไปจ่ายงวดหน้าอยู่ดี
ถ้าหากพนักงานไม่ได้แจ้งลาออกเรามีสิทธฺ์จ่ายเงินที่เหลือในวันหยุดประเพณีได้ไหมค่ะ
2.พนักงานเขียนใบลาออกมีกำหนดวันที่4/06/10 แต่ออกวันที่25/05/10 เราตัดงวดวันที่25 พนงขอใช้ประเพณีกับวันหยุดถึงวันที่4/06/10ได้ไหมค่ะ
ตอบคุณเจี๊ยบ
ปกติบริษัทจะต้องจัดวันหยุดให้สัปดาห์ละ 1 วันตามกฎหมาย กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องเป็นวันไหน แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นวันอาทิตย์ ผมไม่แน่ใจว่าคุณใช้วันหยุดสะสมเกินไปหรือเปล่า
ขอสอบถามค่ะ
ในกรณีการลาออก แล้วใช้สิทธิลาอื่นๆชดเชย ยกตัวอย่างเช่น
วันลาออก วันที่ 30 มิถุนายน ใน ช่วงก่อนวันที ลาออก บริษัทอนุญาตให้ใช้วันหยุด ชดเชย เช่น ลาพักร้อน วันหยุดประจำปี และโอที ซึ่งปกติบริษัทอนุญาตให้มาทำงานในวันหยุดประจำปี และทำโอที เพื่อเป้นวันหยุดสำรอง )
แต่ หลังจากที่นำวันหยุดต่างๆเพื่อนำไปลาระหว่าง 8 มิถุนายน จนถึง 30 มิถุนายน ฝ่ายบุคคลแจ้งว่า ในวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่สามารถหยุดได้ และต้องหาวันหยุดอื่นๆเป็นการลาทดแทนในวันหยุดประจำสัปดาห์ของเราเอง จึงสงสัยว่าตามกกหมายจำเป็นต้องทำการลาในวันหยุดประจำสัปดาห์รึป่าวค่ะ หรือมีข้อกำหนดอื่นที่ระบุเฉพาะ รบกวนไขข้อสงสัยด้วยค่ะ ขอบคุรมากค่ะ
รบกวนสอบถามค่ะ
ในกรณีที่บริษัทได้มอบหมายให้ไปทำงานต่างประเทศ เช่นไปมาเลเซีย เดินทางเช้า เย็นกลับ ทางบริษัทต้องจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงหรือไม่ค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ
มีปัญหาเกี่ยวกับการจ้างทำของกับคนต่างชาติ
เมื่อเดือนธันวาปีที่แล้ว มีร้านอาหารซึ่งคนอเมริกันเป็นเจ้าของได้ประกาศรับสมัครพนักงาน
โทรเข้าไปถาม เค้านัดมาสัมภาษณ์ มีตำแหน่งบาร์เทนเดอร กับ พนักงานเสริพ
จริงๆแล้วข้าพเจ้ามีอาชีพออกแบบ เลยถามว่าเค้าอยากจะออกแบบใบปลิวสำหรับร้านเปิดใหม่มั้ย เค้าว่าถ้าข้าพเจ้าทำงานที่นี่ เค้าจะทำใบปลิวด้วย คิดราคาแยกกัน ข้าพเจ้ากำลังมองหางานทำอยู่ในระหว่างที่ทำงานฟรีแลนเลยตอบตกลง แต่การออกแบบต้องจ้างเป็นคนละส่วนกัน
เวลางาน หกวันต่อสับดาห์ วันละสิบชั่วโมง คือแทบไม่มีเวลานอน ไม่รู้ว่าเกินที่กฏหมายกำหนดหรือเปล่า
ช่วงที่ลูกค้ายังไม่เข้าร้้าน เลยเอาโน้ตบุคตัวเองมาเปิดเพื่อที่จะทำงานของเค้าให้เสร็จ
เนื่องจากเค้ารีบ อยากแจกเร็วๆ มาทำที่ร้านประมาณ สองวัน
ที่เหลือทำจากที่บ้าน ติดต่อโรงพิมพให้ แต่เค้าคิดใบล่ะ สี่บาท
ซึ่งมีพนักงานคนอื่นในร้านติดต่อได้ในราคาถูกกว่าเพียง สองบาท
ข้าพเจ้าเลยบอกเค้าว่า งั้นก็พิมพกับคนนี้เถอะได้ราคาดีกว่าคุณจะได้ประหยัด
ตอนนั้นเค้าก็ไม่ได้พูดอะไร ทำงานส่งซีดีไปตั้งแต่ช่วงปีใหม่
ประมาณ อาทิตย์กว่างานพิมพ์ก็เสร็จเค้าก็เริ่มแจก ใช้งาน
ข้าพเจ้าเอาบิลไปเรียกเก็บซึ่งความจริงเรียกเก็บได้ตั้งแต่งานออกแบบเสร็จ
เค้าว่ายังไม่มีไว้สิ้นเดือนมกราจะให้พร้อมเงินเดือน วันที่ หนึ่งกุมภา เข้าไปเอาเงิน เค้าให้มาแต่เงินเดือน บอกว่าค่าออกแบบ จะให้ภายในเดือนกุมภา เค้าจะโทรบอก เพราะเค้าต้องจ่ายค่าต่างๆ ก็เลย รอ
ช้าพเจ้าก็เห็นว่าเงินมันแค่ หกพัน สำหรับชาวต่างชาติ เดี๋ยวสิ้นเดือนค่อยมาเอาใหม่ก็ได้
จนเมื่อวานนี้สิ้นเดือน ไม่เห็นเค้าติดต่อมา เลยอีเมลไปด้วยอารมณไม่พอใจ เพราะเหมือนว่าเค้าไม่เคยคิดที่จะให้เลย บอกเค้าว่าข้าพเจ้ามีสิทธิ์ที่จะแจ้งความ
เค้าว่ามีปัญญาก็ไปฟ้องเอา คืนเมื่อวานนี้เลยลองเข้าไปพูดกับเค้าดีๆ ว่าเงินแค่นี้สำหรับคุณมันไม่เยอะหรอก แต่สำหรับคนไทยที่ตกงานอยู่มันเยอะมาก
เค้าว่าให้ออกไปจากร้านไม่งั้นจะแจ้งตำรวจข้อหาบุกรุก เค้ายังว่าข้าพเจ้าเอางานมาทำในเวลางาน และไม่รับผิดชอบในการพิมพ์
ซึ่งข้าพเจ้าก็ได้อธิบายไปว่า อยากให้งานเสร็จเร็วๆอย่างที่คุณต้องการ แต่เวลาจะนอน ยังแทบไม่มี กว่าจะถึงบ้าน ตีสอง ตีสาม บางคืนเค้าว่าจะให้พิเศษ ชั่วโมงละร้อยที่เกินเวลางาน แต่ก็ไม่มี ซึ่งข้าพเจ้าก็ไม่ได้ว่าอะไร เล็กน้อย อยากได้เงินค่าแรงออกแบบมากกว่า
เลยอยากจะสอบถามว่าจะมีวิธีอะไรที่จะให้ได้เงินกลับมาบ้าง
สอบถามคนที่เค้าพอรู้เรื่องกฏหมาย เค้าว่า ฟ้องได้เป็นการจ้างทำของ แต่มันไม่คุ้นกับค่าทนาย ข้าพเจ้าตกงานไม่มีเงินที่จะจ้างใครให้ว่าความให้ เลยอยากสอบถามว่าจะมีวิธีอะไรได้มั้ย ที่ไม่ให้ชาวต่างชาติเอาเปรียบคนไทย ในประเทศของเราเอง
ไม่แน่ใจว่าเค้าหลบเลี่ยงภาษีและขออนุญาติใช้เสียง เนื่องจากเค้ามีดนตรีเล่นตอนกลางคืน พนักงานไม่มีประกันสังคม
ขอบพระคุณอย่างสูง
สุนทริยา
อยากจะรบกวนถามปัญหา กม.แรงงาน ท่านอาจารย์ เพื่อเป็นวิทยาทานดังนี้;
เนื่องจากทางบริษัท(ขอสงวนนามนะครับ) ของผมได้คำนวญสิทธิได้รับวันหยุดประจำปีผิดพลาด กล่าวคือ พนักงานจะไม่ได้รับวันหยุดประจำปีในปีแรกเลยซึ่งขัดต่อ พรบ.คุ้มครองแรงงาน2551 มาตรา 30 (ซึ่งต้องกำหนดวันหยุดให้กับพนักงานอย่างน้อยปีละ 6 วัน) แต่ทางผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาแล้วก็มิได้นิ่งนอนใจ ได้สั่งให้กระผมซึ่งทำงานเป็นแผนก HR หาวิธีการชดเชยความเสียหายดั่งกล่าวให้เหมาะสมที่สุด แต่ผมพยายามหาแนวทางต่างๆตามอินเตอร์เนตแล้วก้อยังไม่พบ ก็เลยคิดว่าน่าจะลองถามผู้รู้ดูว่ามีวิธีการจัดการกับปัญหาแบบนี้อย่างไรบ้าง หากไม่ดูเป็นการรบกวนอาจารย์เกินไปกรุณาช่วยตอบด้วยนะครับ
ขอแสดงความนับถือ