กฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบประกันสังคม ปี 2555 | รับทำเงินเดือน กฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบประกันสังคม ปี 2555 | รับทำเงินเดือน

กฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบประกันสังคม ปี 2555

กฎกระทรวง

กำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกับสังคม พ.ศ.2555

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ และมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซี่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับ การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซี่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี่ให้ใช้บังคับตั้งแต่,วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2555 เป็นต้นไป

ข้อ ๒ ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๕๒

ข้อ ๓ ให้รัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ ออกเงินสมทบเข้ากองทุน เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรีอเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ ตามบัญชีอัตราเงินสมทบท้ายกฎกระทรวงนี้ ดังต่อไปนี้

(๑) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ค. 2555 ให้เป็นไป ตามอัตราในบัญชี ก.

(๒) ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ให้เป็นไป ตามอัตราในบัญชี ข.

(๓) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ให้เป็นไปตามอัตราในบัญชี ค.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕

(นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

บัญชีอัตราเงินสมทบ บัญชี ก.

ผู้ออกเงินสมทบ อัตราเงินสมทบเป็นร้อยละของค่าจ้าง ของผู้ประกันตน
๑.เงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บปวย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีคลอดบุตร(๑) รัฐบาล  0.5
(๒) นายจ้าง 0.5
(๓) ผู้ประกันตน 0.5
๒. เงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีขราภาพ(๑) รัฐบาล 2.0
(๒) นายจ้าง 2.0
(๓) ผู้ประกันตน 2.0

 

บัญชีอัตราเงินสมทบ บัญชี ข.

ผู้ออกเงินสมทบ อัตราเงินสมทบเป็นร้อยละของค่าจ้าง ของผู้ประกันตน
๑.เงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บปวย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีคลอดบุตร(๑) รัฐบาล  0.5
(๒) นายจ้าง 0.5
(๓) ผู้ประกันตน 0.5
๒. เงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีขราภาพ(๑) รัฐบาล  2.0
(๒) นายจ้าง 3.0
(๓) ผู้ประกันตน 3.0

 

บัญชีอัตราเงินสมทบ บัญชี ค.

ผู้ออกเงินสมทบ อัตราเงินสมทบเป็นร้อยละของค่าจ้าง ของผู้ประกันตน
๑.เงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บปวย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีคลอดบุตร(๑) รัฐบาล  1.5
(๒) นายจ้าง 1.5
(๓) ผู้ประกันตน 1.5
๒. เงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีขราภาพ(๑) รัฐบาล  1.0
(๒) นายจ้าง 3.0
(๓) ผู้ประกันตน 3.0

 

กฎกระทรวง

กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทน

ในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการลดอัตราเงินลมทบ (ฉบับที่ ๒)

พ.ศ. ๒๕๕๕

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ค. ๒๕๓๓ ซี่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ โดยอาคัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นตันไป

ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๒/๑ แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะใบช่วงเวลาที่มีการลดอัตราเงินสมทบ พ.ศ. ๒๕๕๒

“ข้อ ๒/๑ การจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพให้แก่ผู้ประกันตนซี่งออกเงินสมทบเข้ากองทุนในช่วงเวลา ที่มีการลดอัตราเงินสมทบตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ค. ๒๕๕๕ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้คำนวณจากอัตราเงินสมทบเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ ๑ ของค่าจ้างที่มีตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เพื่อจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้นจากอัตราที่กำหนดในข้อ ๖ (๒) แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พ.ศ. ๒๕๕๐”

ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕

(นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

ดูกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบประกันสังคมปี 2555

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.