กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเตือนนิติบุคคลไม่ส่งงบการเงินอาจเจอโทษปรับสูงสุด | รับทำเงินเดือน กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเตือนนิติบุคคลไม่ส่งงบการเงินอาจเจอโทษปรับสูงสุด | รับทำเงินเดือน

กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเตือนนิติบุคคลไม่ส่งงบการเงินอาจเจอโทษปรับสูงสุด

นายอิทธิพล ช้างหลำ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า จากการที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้มีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ วิธีการรับงบการเงินเพียง 1 ชุด และมีการขยายพื้นที่การให้บริการรับงบการเงินทั่วประเทศนั้นในรอบปี 2554 จำนวนนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งและยังคงดำเนินกิจการอยู่ ต้องนำส่งงบการเงินรอบปีบัญชี 2553 จำนวน 401,000 ราย ปรากฏว่ามีนิติบุคคลนำส่งงบการเงินจนถึงปัจจุบันแล้วมีจำนวน 345,000 ราย คิดเป็นร้อยละ 86 แต่ยังมีนิติบุคคลบางส่วนที่ไม่นำส่งงบการเงินจำนวน 56,000 รายคิดเป็นร้อยละ 14 โดยกฎหมายกำหนดให้นิติบุคคลต้องนำส่งงบการเงิน หากนิติบุคคลไม่ดำเนินการตามกฎหมายย่อมมีความผิด ซึ่งการไม่นำส่งงบการเงิน มีโทษปรับทั้งผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีคือนิติบุคคลและผู้มีอำนาจกระทำแทนนิติบุคคล โดยมีระวางโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะดำเนินคดีกับนิติบุคคลที่ไม่นำส่งงบการเงินทุกราย และหากนิติบุคคลที่ไม่ส่งงบการเงินเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคลดังกล่าวต้องถูกดำเนินคดีและต้องระวางโทษด้วย

รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับงบการเงินที่ได้นำส่งแล้วนั้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะนำมาเผยแพร่แก่สาธารณชน โดยมีช่องทางในการให้บริการข้อมูลงบการเงิน 2 ช่องทางคือ ติดต่อขอคัดสำเนางบการเงินรายนิติบุคคลได้ที่หน่วยงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทุกแห่ง และสามารถดูงบการเงินฉบับย่อรายนิติบุคคล ได้ที่ website ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า www.dbd.go.th โดย Click ที่ ตรวจค้นงบการเงินของนิติบุคคล หรือฐานข้อมูลสู่ธุรกิจ

“จากข้อมูลธุรกิจที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้านำมาเผยแพร่นั้น สามารถทำให้ผู้ใช้งบการเงิน เช่น ผู้บริหาร ผู้ลงทุน สถาบันการเงิน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน นำไปวิเคราะห์ฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมาของนิติบุคคล เพื่อประกอบการตัดสินใจ การวางแผนและควบคุมทางการเงิน เปรียบเทียบและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินในระดับจุลภาคและมหภาค  รวมทั้งผู้สนใจทั่วไป เช่น ประชาชน นิสิตนักศึกษา สามารถนำข้อมูลธุรกิจไปใช้เป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจและเป็นประโยชน์ในการนำไปศึกษาวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับธุรกิจและภาคเศรษฐกิจต่อไป”

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2554

Comments

  1. ตอบคุณ Wan

    1.ไม่ผิดครับ
    2.เงินได้พีงประเมินตามมาตรา 40 (7) ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญ นอกจากเครื่องมือ ครับ

  2. อยากทราบว่าถ้าผู้รับเหมาจดทะเบียนพาณิชย์ที่เดียวกับบริษัทที่ขายสินค้าให้จะผิดมั้ย เพราะมีผู้รับเหมาหลายคนใช้ที่อยู่เดียวกัน
    เนื่องจากผู้รับเหมารับงานผลิตชิ้นงานคอนกรีตอัดแรง เช่น เสา ผนังหนัง โดยที่ใช้สถานที่ของบริษัทที่ซื้อสินค้าเป็นที่ผลิต และผู้รับเหมาจ้างคนงานเอง+ออกวัสดุบางส่วนรวมถึงเครื่องมือบางชนิดในการทำงานจึงอยากทราบว่าเวลายื่นภาษีสิ้นปีต้องยื่นในมาตรา40(7)ใช้มั้ยค่ะ

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.