เงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย นำมาลดหย่อนภาษีได้ | รับทำเงินเดือน เงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย นำมาลดหย่อนภาษีได้ | รับทำเงินเดือน

เงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย นำมาลดหย่อนภาษีได้

การบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่มต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการบริจาคดังต่อไปนี้

(1) ต้องเป็นการบริจาคโดยมีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่เป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตาม (1) ต้องดำเนินการในลักษณะเป็นสื่อกลางอย่างเปิดเผยเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่ประสบอุทกภัยระหว่างวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553 ถึงวันที่31 ธันวาคม พ.ศ. 2553

(3) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่ดำเนินการในลักษณะเป็นสื่อกลางในการเป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า ตาม (2) ที่มิใช่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล และองค์การหรือสถานสาธารณกุศลตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แจ้งชื่อต่ออธิบดีกรมสรรพากร (ผ่านผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการกำกับและตรวจสอบภาษี หรือผ่านสรรพากรพื้นที่) ว่าเป็นผู้ทำหน้าที่ดำเนินการในลักษณะเป็นสื่อกลางในการเป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าดังกล่าว ตามหนังสือแจ้งที่มีข้อความอย่างน้อยที่แนบท้ายนี้

(4) หลักฐานการบริจาคที่ผู้บริจาคจะนำมาใช้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้ต้องเป็นหลักฐานการรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นตัวแทนในการรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า จัดทำขึ้นเพื่อแสดงการรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า ที่ระบุข้อความที่มีสาระสำคัญว่าเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่ประสบอุทกภัยระหว่างวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553 ถึงวันที่
31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 หรือข้อความอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน

     (ก) กรณีผู้บริจาคเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา : ให้นำหลักฐานแสดงการรับเงินบริจาคที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นตัวแทนรับเงินดังกล่าว
ออกให้ เป็นหลักฐานในการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้งนี้ เงินบริจาคดังกล่าวเมื่อรวมกับการบริจาคอื่นแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้สุทธิ

     (ข) กรณีผู้บริจาคเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล : ให้นำหลักฐานแสดงการรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า ที่บริจาคที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็น
ตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าดังกล่าวออกให้ เป็นหลักฐานในการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้เงินบริจาคดังกล่าวเมื่อรวมกับการบริจาคการกุศลสาธารณะอื่นแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ ทั้งนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่บริจาคทรัพย์สินหรือสินค้า ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือสินค้าที่บริจาค ที่ระบุจำนวนและมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่
บริจาคนั้น เช่น ใบกำกับภาษี ใบรับเงิน ที่ได้ซื้อสินค้าหรือทรัพย์สินมาบริจาค เป็นต้น หรือหลักฐานอื่นที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นผู้ผลิตสินค้าหรือเป็นผู้ขายสินค้าที่บริจาคที่แสดงต้นทุนสินค้านั้นได้ ซึ่งจะต้องเป็นทรัพย์สินหรือสินค้ารายการเดียวกับที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่เป็นตัวแทนในการรับทรัพย์สินหรือสินค้าออกเป็นหลักฐานในการรับบริจาคทรัพย์สินหรือสินค้านั้นให้แก่ผู้บริจาค

(5) ภายหลังจากการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หากยังมีเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าเหลืออยู่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า ที่ได้แจ้งชื่อต่อกรมสรรพากรตาม (3) ต้องส่งมอบเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าดังกล่าวให้แก่ส่วนราชการ หรือองค์การหรือสถานสาธารณกุศลที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากรให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

(6) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นตัวแทนรับเงินทรัพย์สิน หรือสินค้า ที่ได้แจ้งชื่อต่อกรมสรรพากรตาม (3) ต้องจัดส่งเอกสารหลักฐานให้แก่กรมสรรพากร ได้แก่ สำเนาบัญชีการรับเงินบริจาคซึ่งต้องแยกออกจากบัญชีการดำ เนินงานตามปกติสำเนาบัญชีแสดงรายการจ่ายค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และสำเนารายชื่อผู้รับบริจาคโดยให้จัดส่งภายในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

——————————————–
Download คำขอแจ้งเป็นตัวแทนรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
สมัครข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ : RD Call Center โทร.1161

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.