รายจ่ายเนื่องจากการทุจริตของกรรมการ | รับทำเงินเดือน รายจ่ายเนื่องจากการทุจริตของกรรมการ | รับทำเงินเดือน

รายจ่ายเนื่องจากการทุจริตของกรรมการ

ขอนำประเด็นรายจ่ายเนื่องจากการทุจริตของกรรมการ มาเป็นประเด็นปุจฉา-วิสัชนา ดังนี้

ปุจฉา นาย ป. ซึ่งเป็นอดีตกรรมการบริษัท ถูกกระทำละเมิดโดยทุจริต ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท เป็นผลให้บริษัทต้องมีภาระชดใช้ให้แก่ธนาคาร และผลเสียหายดังกล่าวไม่อาจได้รับกลับคืนเนื่องจากการประกันหรือสัญญาคุ้ม ครองใดๆ ดังนั้นเป็นกรณีที่บริษัท และการกระทำดังกล่าว

1. บริษัทจะถือว่าผลเสียหายดังกล่าวเป็นรายจ่าย เนื่องจากการประกอบกิจการ และสามารถนำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้หรือไม่ อย่างไร

2. กรณีที่สามารถนำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิได้ บริษัทจะนำไปถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใด

3. ผลสืบเนื่องจากความเสียหายดังกล่าว หากที่ดินของบริษัทต้องถูกนำออกขายทอดตลาด เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร บริษัทจะนำราคาขายทอดตลาดมาถือเป็นรายได้ของบริษัทใช่หรือไม่

4. หากบริษัทได้รับชำระหนี้ จากคำขอรับชำระหนี้บริษัทได้ยื่นไว้ในคดีที่ นาย ป. ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว บริษัทจะต้องนำมาถือเป็นรายได้ของบริษัทใช่หรือไม่

วิสัชนา กรณีดังกล่าว กรมสรรพากรได้วางแนววินิจฉัยไว้ตามหนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0706/7718 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2547 ดังนี้

ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว บริษัท ก. ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดี ซึ่งเป็นศาลชั้นต้นโดยคดีถึงที่สุดแล้วไม่มีการอุทธรณ์หรือฎีกาแต่อย่างใด เป็นเรื่องที่บริษัทต้องรับผิด เนื่องจากกรรมการผู้จัดการของบริษัท ได้นำที่ดินรวม 3 โฉนด พร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นทรัพย์สินของบริษัทไปจดทะเบียนจำนองเพื่อค้ำ ประกันหนี้ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ศาลได้พิพากษาว่า การกระทำของกรรมการผู้มีอำนาจที่ได้ลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราสำคัญของ บริษัทที่ได้กระทำแทนบริษัท ในการค้ำประกันโดยการจดทะเบียนจำนองทรัพย์สินของบริษัท ซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ อันมีผลผูกพันบริษัท จึงพิพากษาให้จำเลยทุกคนร่วมกันชำระเงินตามฟ้องพร้อมดอกเบี้ย หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองในคดีขายทอดตลาดชำระหนี้ หากไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยทั้งหมดขายทอดตลาดชำระหนี้แก่ โจทก์ บริษัทได้เป็นโจทก์ฟ้องกรรมการผู้จัดการของบริษัทในคดีของศาลแพ่งให้ไถ่ถอน ที่ดินรวม 3 โฉนด พร้อมสิ่งปลูกสร้าง หากไม่ไถ่ถอนให้บริษัทไถ่ถอนจำนองเอง

1. บริษัทต้องรับผิดในผลเสียหายในฐานะผู้ค้ำประกัน อันถือได้ว่าเป็นผลเสียหาย อันเนื่องจากการประกอบกิจการ ตามคำพิพากษาของศาล ดังนั้น หากผลเสียหายดังกล่าวมิอาจได้กลับคืน เนื่องจากการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใดๆ บริษัทนำมาถือเป็นรายจ่าย ในการคำนวณ กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากผลเสียหายเกิดขึ้นในปีใด ต้องถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น แต่ตามข้อเท็จจริงในเรื่องนี้บริษัท ไม่สามารถลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผลเสียหายเกิดขึ้นได้ และคดีได้ถึงที่สุดแล้วไม่มีการอุทธรณ์หรือฎีกา จึงให้ลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับหนังสือจากกรมสรรพากร เป็นกรณีเฉพาะรายได้ หากต่อมาภายหลังบริษัทได้รับชำระหนี้ดังกล่าว ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนในรอบระยะเวลาบัญชีใด ก็ให้นำจำนวนหนี้ที่ได้รับชำระแล้วนั้นมาลงเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชี นั้น

2. กรณีธนาคารเจ้าหนี้ ได้บังคับชำระหนี้โดยการขายทอดตลาดทรัพย์ของบริษัท ในการค้ำประกันหนี้ เมื่อบริษัทได้ชำระหนี้แล้ว บริษัทมีสิทธิไล่เบี้ยกับลูกหนี้ตามมาตรา 693 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่บริษัทไม่มีสิทธิไล่เบี้ยผู้จำนองอื่น ตามมาตรา 725 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กรณีนี้จึงไม่อาจนำมาตรา 693 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องค้ำประกันมาบังคับใช้ โดยบริษัทต้องนำเงินที่ได้รับจากการขายทอดตลาดมารวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร

3. กรณีบริษัทยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อบริษัทได้รับชำระหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีใด ก็ให้นำเงินจำนวนที่ได้รับชำระนั้นมาลงเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ด้วย ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร

ที่มา..กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.