การจำหน่ายหนี้สูญทางภาษีอากร | รับทำเงินเดือน การจำหน่ายหนี้สูญทางภาษีอากร | รับทำเงินเดือน

การจำหน่ายหนี้สูญทางภาษีอากร

ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร มาเป็นประเด็นปุจฉา – วิสัชนา ดังนี้

ปุจฉา หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำหน่ายหนี้สูญทางภาษีอากรกำหนดไว้อย่างไร
วิสัชนา หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำหน่ายหนี้สูญทางภาษีอากร ตามมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากรมีดังนี้

1. การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้จะกระทำได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ.2534) ซึ่งออกตามความในมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้ถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว

2. หนี้สูญดังกล่าวที่ได้รับชำระกลับคืนมาในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

3. สำหรับหนี้สูญรายได้ที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด หากได้นำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิให้ปรับปรุงบวกกลับ มาเป็นรายได้ ต่อมาหากได้รับชำระหนี้สูญนั้นกลับคืนก็ไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้อีก

ปุจฉา ลูกหนี้ที่จะนำมาจำหน่ายเป็นหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้มีลักษณะอย่างไร

วิสัชนา ลักษณะของลูกหนี้ที่จะนำมาจำหน่ายเป็นหนี้สูญมีดังนี้
1. ต้องเป็นหนี้จากการประกอบการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการหรือหนี้ที่ได้รวม เป็นเงินได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงหนี้ที่ผู้เป็น หรือเคยเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นลูกหนี้ ไม่ว่าหนี้นั้นจะเกิดขึ้นก่อนหรือในขณะที่ผู้นั้นเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วน ผู้จัดการ

2. ต้องเป็นหนี้ที่ยังไม่ขาดอายุความ และ

3. ต้องมีหลักฐานโดยชัดแจ้งที่สามารถฟ้องลูกหนี้ได้

สำหรับภาษีเงินได้ที่หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้นำไปถือเป็นเครดิตในรอบระยะเวลาบัญชีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย โดยให้มีสิทธิขอคืนภาษีอากรดังกล่าวภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี นั้นๆ ดังนั้น หากกิจการปล่อยปละละเลย ไม่ขอคืนภายในกำหนดเวลา ก็ย่อมหมดสิทธิขอคืนและไม่อาจนำจำนวนภาษีหัก ณ ที่จ่ายมาถือเป็นหนี้สูญได้

ปุจฉา โดยทั่วไปอายุความการติดตามทวงถามให้ได้รับชำระหนี้มีกำหนดเวลากี่ปี
วิสัชนา โดยทั่วไปอายุความการติดตามทวงถามเพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้มี 2 ปี เว้นแต่ ลูกหนี้จะได้มีการกระทำใดๆ ที่เป็นการรับสภาพหนี้ เช่น การชำระหนี้บางส่วน การยืนยันยอดลูกหนี้ (เป็นรายลักษณ์อักษร – เพื่อป้องกันการมีปัญหาการต่อสู้คดีในภายหลัง)

ปุจฉา มีข้อกำหนดเกี่ยวกับกรณีที่เจ้าหนี้ติดตามทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ด้วยตนเอง โดยไม่พึ่งพากระบวนการทางศาล อย่างไร

วิสัชนา    กรณีดังกล่าว สำหรับลูกหนี้ไม่ว่าจะมีมูลหนี้เป็นจำนวนเท่าใดก็ตาม เจ้าหนี้ต้องมีการดำเนินการติดตามทวงถามลูกหนี้ตามสมควรแก่กรณี โดย

1. ต้องมีหลักฐานการติดตามทวงถามอย่างชัดแจ้ง กล่าวคือ เจ้าหนี้ต้องทวงถามเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น การมีจดหมายหรือโนติส (Notice) ให้ลูกหนี้ชำระหนี้ติดต่อกันอย่างน้อยสองครั้ง แต่ละครั้งห่างกันไม่ต่ำกว่าหนึ่งเดือน
หลักฐานการติดตามทวงถามดังกล่าวที่ดี ควรเป็นหลักฐานการส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ซึ่งจะใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณาว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวในคดีล้ม ละลายได้อีกด้วย และ

2. ไม่ได้รับชำระหนี้โดยปรากฏว่า
(1) ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือมีหลักฐานว่าหายสาบสูญไปและไม่มีทรัพย์สินใดๆ จะชำระหนี้ได้
(2) ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่น มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้ อยู่ในลำดับก่อนเป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้

ปุจฉา ในทางภาษีอากรมีการจัดขนาดของลูกหนี้แต่ละรายเพื่อการจำหน่ายหนี้สูญอย่างไร

วิสัชนา  ในทางภาษีอากรมีการจัดขนาดของลูกหนี้แต่ละรายไว้เพียงสองระดับคือ
1. ลูกหนี้ที่มีจำนวนไม่เกิน 500,000 บาท และ
2. ลูกหนี้ที่มีจำนวนเกินกว่า 500,000 บาท

อย่างไรก็ตามสำหรับลูกหนี้ที่มีจำนวนไม่เกิน 500,000 บาทนั้น ยังแยกย่อยเป็นลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 100,000 บาท เว้นแต่ กรณีผู้ประกอบกิจการธนาคารบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เครดิตฟองซิเอร์ลูกหนี้ แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท ที่หากฟ้องลูกหนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้ชำระ กับลูกหนี้ที่หากฟ้องลูกหนี้และเจ้าหนี้พึงจะได้รับชำระหนี้คุ้มกับค่าใช้ จ่ายในการดำเนินคดี

ปุจฉา มีข้อกำหนดในการจำหน่ายหนี้สูญ สำหรับลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 100,000 บาท หรือไม่เกิน 200,000 บาท กรณีเจ้าหนี้เป็นผู้ประกอบกิจการธนาคาร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เครดิตฟองซิเอร์ ที่หากฟ้องลูกหนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้ชำระ อย่างไร

วิสัชนา ลูกหนี้กรณีดังกล่าว  ถ้าปรากฏว่าได้มีหลักฐานการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณีแล้ว แต่ไม่ได้รับชำระหนี้และหากฟ้องลูกหนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ ที่จะได้ชำระ เช่น

กรณีบริษัทมีหนี้ของลูกหนี้ชาวต่างประเทศจำนวนไม่เกิน 100,000 บาท บริษัทได้พยายามติดตามหาลูกหนี้ แต่ไม่พบจึงไปแจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจ และได้ตรวจสอบไปที่แผนกทะเบียนและสถิติกองตรวจคนเข้าเมือง ปรากฏว่าลูกหนี้ได้เดินทางออกนอกประเทศแล้ว  เมื่อบริษัทมีหลักฐานการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณีแล้ว แต่ไม่ได้รับชำระหนี้บริษัทสามารถจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของบริษัท ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการฟ้องลูกหนี้ ทั้งนี้ ตามข้อ 6 วรรคท้าย แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ.2534)

(1)

มาเป็นประเด็นปุจฉา-วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้ครับ

ปุจฉา มีข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญทางภาษีอากร กรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 500,000 บาท รวมทั้งลูกหนี้ที่มีจำนวนไม่เกิน 100,000 บาทหรือไม่เกิน 200,000 บาท กรณีเจ้าหนี้เป็นผู้ประกอบกิจการธนาคารบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เครดิต ฟองซิเอร์ ที่หากฟ้องลูกหนี้จะได้รับชำระหนี้คุ้มกับค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องบังคับคดี อย่างไร

วิสัชนา กรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 500,000 บาท ต้องมีหลักฐานการติดตามทวงถามอย่างชัดแจ้ง ดังนี้

1. ได้ดำเนินการติดตามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ด้วยตนเอง โดยไม่ฟ้องร้องบังคับคดี และการดำเนินการดังกล่าวถึงที่สุด แต่ไม่ได้รับชำระหนี้ โดยปรากฏว่า

(1) ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือมีหลักฐานว่าหายสาบสูญไป และไม่มีทรัพย์สินใดๆ จะชำระหนี้ได้
(2) ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่น มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้ อยู่ในลำดับก่อนเป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้

2. ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งหรือได้ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องหรือรับคำขอ เฉลี่ยหนี้นั้นแล้ว

3. ได้ดำเนินฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลาย หรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้ม ละลาย และศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้อง หรือรับคำขอรับชำระหนี้นั้นแล้ว

ในกรณีตามข้อ 2. และข้อ 3. ข้างต้น กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าหนี้ ต้องมีคำสั่งอนุมัติให้จำหน่ายหนี้สูญภายใน  30  วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

ปุจฉา มีข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญทางภาษีอากร กรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนเกินกว่า 500,000 บาท อย่างไร

วิสัชนา กรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนเกินกว่า 500,000 บาท ให้ดำเนินการติดตามทวงถามจนถึงที่สุดดังนี้
1. ได้ดำเนินการให้ลูกหนี้ชำระหนี้ด้วยตนเอง  โดยไม่ฟ้องร้องบังคับคดี และการดำเนินการดังกล่าวถึงที่สุด โดยไม่ได้รับชำระหนี้ โดยปรากฏว่า

(1) ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือมีหลักฐานว่าหายสาบสูญไป และไม่มีทรัพย์สินใดๆ จะชำระหนี้ได้
(2) ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่น มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้ อยู่ในลำดับก่อนเป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้

2. ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งหรือได้ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งหรือบังคับแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดๆ จะชำระหนี้ได้

3. ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ ในคดีล้มละลาย หรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย

(1) หากมีการประนอมหนี้กับลูกหนี้ และศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้นั้น ก็ให้จำหน่ายหนี้สูญส่วนที่ไม่ได้รับชำระได้ หรือ
(2) หากลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายให้จำหน่ายหนี้สูญ เมื่อได้มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกแล้ว

อย่างไรก็ตาม กรณีจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ในส่วนที่ได้ปลดหนี้หรือประนอมหนี้ให้ ลูกหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบตามกฎหมายว่า ด้วยล้มละลาย ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น

ปุจฉา การจำหน่ายหนี้สูญเนื่องจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มีหลักเกณฑ์อย่างไร

วิสัชนา การจำหน่ายหนี้สูญกรณีดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทบริหารสินทรัพย์การกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ และนิติบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ที่ได้ปลดหนี้ในระหว่าง 1 ตุลาคม 2542 ถึง 31 ธันวาคม 2549 และ 1 มกราคม 2552-31 ธันวาคม 2553 อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศ ไทยประกาศกำหนด รวมทั้งสำหรับลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ในส่วนของหนี้ที่เป็นลูกหนี้จัดชั้นสูญ และลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่ได้กันเงินสำรองครบร้อยละ 100 ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด สำหรับหนี้ในส่วนที่ได้กันเงินสำรองไว้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือ หลังวันที่ 31 ธันวาคม 2540 เป็นต้นไป ให้จำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ปกติทั่วไปใน กฎกระทรวง ฉบับที่ 186

2. การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้ แก่ลูกหนี้ และได้ทำความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน สำหรับหนี้ในส่วนของหนี้ที่ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้ ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยนำหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่ง ประเทศไทยประกาศกำหนดมาใช้อนุโลม ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ปกติทั่วไปในกฎกระทรวง ฉบับที่ 186  ทั้งนี้ เฉพาะการปลดหนี้ที่ได้กระทำในระหว่าง 1 ตุลาคม 2542 ถึง 31 ธันวาคม 2549 และระหว่าง 1 มกราคม 2552-31 ธันวาคม 2553

อนึ่ง "ลูกหนี้" หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ด้วย

(2)

แห่งประมวลรัษฎากร มาเป็นประเด็นปุจฉา-วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้ครับ

ปุจฉา ช่วยสรุปหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญตามเงื่อนไขทางภาษีอากรที่ง่ายๆ ให้ด้วย

วิสัชนา หลักเกณฑ์ทั่วไปในการจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ อาจสรุปเป็นตารางได้ดังนี้

ตารางสรุปหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้

ปุจฉา  มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการติดตามทวงถามหนี้ด้วยตนเองอย่างไร

วิสัชนา โดยทั่วไป ไม่แนะนำให้ดำเนินการติดตามทวงถามหนี้ด้วยตนเอง เพราะมีเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญที่ยุ่งยากมาก โดยเฉพาะการพิสูจน์ว่า ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดๆ จะชำระหนี้ได้ เนื่องจากในภาคเอกชนไม่มีเครื่องมือที่ดีหรือมากพอที่จะพิสูจน์ได้เช่นนั้น เว้นแต่เป็นลูกหนี้ที่คุ้นเคยรู้เส้นสน กลในดีพอ และสามารถพิสูจน์ต่อเจ้าพนักงานประเมินว่า ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดๆ จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้ ก็ได้ดำเนินการ

แต่ในเบื้องต้น เจ้าหนี้ต้องมีหลักฐานการติดตามทวงถามอย่างชัดแจ้งและไม่ได้รับชำระหนี้ เช่น จดหมายทวงถามที่ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับอย่างน้อย 2 ฉบับ โดยมีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า 1 เดือน นอกจากจะมีหลักฐานในการจำหน่ายหนี้สูญแล้ว ยังใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีลูกหนี้ในทั้งคดีแพ่งและคดีล้มละลาย ซึ่งตามกฎหมายล้มละลายถือกรณีดังกล่าวเป็นเหตุแห่งการล้มละลาย เนื่องจากลูกหนี้เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ด้วยไม่ชำระหนี้ที่เจ้าหนี้ได้ทวงถาม

ปุจฉา มีข้อพิจารณาเกี่ยวกับการจำหน่ายหนี้สูญสำหรับลูกหนี้รายขนาดเล็กอย่างไร

วิสัชนา จำนวนหนี้ของลูกหนี้ขนาดเล็กต้องไม่เกิน 100,000 บาท เว้นแต่กรณีผู้ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ จำนวนลูกหนี้แต่ละรายเป็นจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท หากฟ้องลูกหนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับชำระ

ปุจฉา มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการฟ้องล้มละลาย อย่างไร

วิสัชนา ในกรณีลูกหนี้จะถูกฟ้องล้มละลายนั้น ตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้เบื้องต้นดังนี้

1. ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
2. กรณีลูกหนี้เป็นบุคคลตามธรรมดาต้องเป็นหนี้ของเจ้าหนี้รายเดียวหรือหลายราย รวมกันเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท กรณีลูกหนี้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นต้องเป็น หนี้ของเจ้าหนี้รายเดียวหรือหลายรายรวมกันเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท

3. หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม

(3)

ปุจฉา การจำหน่ายหนี้สูญเนื่องจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มีหลักเกณฑ์อย่างไร

วิสัชนา การจำหน่ายหนี้สูญเนื่องจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 ดังนี้ ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ทั่วไปของการจำหน่ายหนี้สูญออก จากบัญชีลูกตามในข้อ 4 ข้อ 5 หรือข้อ 6 ที่กำหนดให้ต้องดำเนินการติดตามทวงถามหนี้จากลูกหนี้จนถึงที่สุด หรือมีการฟ้องร้องบังคับคดี หรือพิจารณาว่าเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มที่จะฟ้องร้องบังคับคดีแก่ลูกหนี้

ข้อ 6 จัตวา  การจำหน่ายหนี้สูญจาก บัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2552 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2553 อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยนำหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้าง หนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดมาใช้โดยอนุโลม

“สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) ธนาคารออมสินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารออมสิน
(2) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
(3) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(4) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
(5) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(6) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืม เงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม
(7) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ได้แก่ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย

“เจ้าหนี้อื่น” หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงินซึ่งได้ดำเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินใน การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทำความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน

“ลูกหนี้” หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้วยและให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ด้วย

ข้อ 6 เบญจ การจำหน่ายหนี้สูญจาก บัญชีลูกหนี้ของสถาบันการเงินในส่วนของหนี้ที่เป็นลูกหนี้จัดชั้นสูญและ ลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่ได้กันเงินสำรองครบร้อยละ 100 ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด สำหรับหนี้ในส่วนที่ได้กันเงินสำรองไว้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือ หลังวันที่ 31 ธันวาคม 2540 เป็นต้นไป

ข้อ 6 ฉ การจำหน่ายหนี้สูญจาก บัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดัง กล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบธรณีพิบัติภัยในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2548 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549 อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้าง หนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด

“ลูกหนี้ที่ประสบธรณีพิบัติภัย” หมายความว่า ลูกหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายจากธรณีพิบัติภัย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547 ในท้องที่จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล ที่ได้ลงทะเบียนกับศูนย์หรือหน่วยงานช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยของทางราชการ และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกันของลูกหนี้นั้นด้วย
ตามข้อ 6 อัฏฐ การจำหน่ายหนี้สูญจาก บัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่เกษตรกร ทั้งนี้ สำหรับการปลดหนี้ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 เป็นต้นไป

“เกษตรกร” หมายความว่า เกษตรกรตามที่กฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่เข้ากระบวนการ ฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กำหนด

“คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและ พัฒนาเกษตรกร

(4)

ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร มาเป็นประเด็นปุจฉา-วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้ครับ

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ในส่วนที่ได้ปลดหนี้หรือประนอมหนี้ให้ลูกหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ อย่างไร

วิสัชนา ตามข้อ 6 ตรี ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) กำหนดให้เจ้าหนี้สามารถจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ในส่วนที่เจ้าหนี้ได้ ปลดหนี้หรือประนอมหนี้ให้ลูกหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ศาลล้ม ละลายได้มีคำสั่งเห็นชอบกับการปลดหนี้หรือประนอมหนี้ดังกล่าว ทั้งนี้  โดยเจ้าหนี้ไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไปเกี่ยวกับการ จำหน่ายหนี้สูญในข้อ 4 ข้อ 5 หรือข้อ 6 แต่อย่างใด

ปุจฉา  การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้คืออะไร

วิสัชนา การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นกระบวนการทางศาล โดยผู้ร้องขอต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลต่างหากจากคดีแพ่ง หรือคดีล้มละลายธรรมดา เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาทางการเงินของลูกหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้กลับมาบริหารกิจการได้อีกครั้ง และเป็นการเริ่มต้นใหม่ โดยปราศจากหนี้สินทั้งปวง

การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ บัญญัติอยู่ในหมวดที่ 3 ของพระราชบัญญัติล้มละลาย ซึ่งมีการเพิ่มเติมขึ้นใหม่ทั้งหมดโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 ทั้งนี้ สืบเนื่องจากเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ ครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งประเทศไทย เพื่อเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ และปัญหาทางการเงินโดยระบบศาลตามแนวความคิดของกฎหมายล้มละลายสมัยใหม่ ซึ่งยอมรับว่า การแก้ไขปัญหาทางการเงิน ตามสภาพทางธุรกิจโดยลำพังนั้น มีข้อจำกัดหลายประการ ที่สำคัญ คือ ไม่อาจให้หลักประกันแก่นักลงทุนที่จะเข้ามาช่วยกู้สถานะทางการเงินบริษัทได้ ว่าจะได้รับเงินคืนก่อนเจ้าหนี้ทั่วไป

ปุจฉา มีหลักการทั่วไปเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อย่างไร

วิสัชนา ในแต่ละประเทศมีหลักการทั่วไปเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้
1. มีหลักการ Automatic Stay หรือ Moratorium คือ การจำกัดมิให้มีการยกเลิกกิจการหรือฟ้องร้องทางศาลต่อลูกหนี้ และยังรวมไปถึงการห้ามมิให้หน่วยงานที่ให้บริการสาธารณูปโภคหยุดการให้ บริการ หรือหน่วยงานของรัฐเพิกถอนใบอนุญาตของลูกหนี้ตามกฎหมายได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นเกราะคุ้มครองสถานะกิจการและรักษามูลค่าทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ให้ มากที่สุด

2. หลักการจัดหาผู้ดำเนินการฟื้นฟูกิจการโดยบุคคลตามกฎหมาย
การฟื้นฟู กิจการของลูกหนี้ ปัจจัยด้านการทำแผนฟื้นฟูให้เกิดความเป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของเจ้าหนี้ ตลอดจนการมีมาตรการที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูกิจการ นั้นเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น การทำแผนและการบริหารแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ จึงนิยมให้กระทำผ่านคนกลาง ซึ่งได้แก่ ผู้ทำแผนและผู้บริหารแผน โดยบางประเทศอาจให้โอกาสแก่ลูกหนี้เป็นทำแผนและผู้บริหารแผนได้ด้วย หรือเป็นผู้ดำเนินการเป็นลำดับต้น เช่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น แต่บางประเทศก็เน้นเรื่องความเป็นกลาง โดยนำองค์กรควบคุมพิเศษเป็นผู้ดำเนินการดูแลหรือจัดทำแผน เช่น ประเทศอังกฤษ ใช้การแต่งตั้ง Administrator ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ และได้รับใบอนุญาต เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการแต่ผู้เดียว หรือประเทศสิงคโปร์ ศาลเป็นผู้แต่งตั้ง Judical Manager ขึ้น เป็นผู้ดำเนินการ เป็นต้น หลักการสำคัญไม่ว่าผู้ใดจะเป็นผู้จัดการแผนฟื้นฟูกิจการก็ตาม แผนที่จัดทำขึ้นนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากบรรดาเจ้าหนี้และศาล โดยศาลจะมีอำนาจในการตรวจสอบการทำแผนและการบริหารแผนได้อย่างกว้างขวาง

3. มีหลักการในการทำแผนและการจัดลำดับการชำระหนี้ ตลอดจนการมีบุริมสิทธิในเงินที่ผู้ให้ความช่วยเหลือในการเข้าฟื้นฟูกิจการ แก่ลูกหนี้ ดังต่อไปนี้

3.1 การจัดลำดับของเจ้าหนี้ตามประเภทสิทธิ  เช่น เจ้าหนี้ธรรมดา เจ้าหนี้บุริมสิทธิ เจ้าหนี้ด้อยสิทธิ เป็นต้น เป็นสิ่งที่ต้องคำนึง เพื่อจัดลำดับก่อนหลังในการชำระหนี้เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ และสามารถยอมรับแผนดังกล่าวได้
3.2 ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งอาจเลือกทำได้หลายวิธี เช่น
– การให้กู้เพิ่มเติม (Debt injection)
– การยืดระยะเวลาชำระหนี้ (Rescheduling)
– การลดเงินต้น/ลดดอกเบี้ย (Debt Write off)
– การแปลงหนี้เป็นทุน (Debt / Equity Swap)
– การออกตราสารกึ่งหนี้ กึ่งทุน (Quasi Equity)
– การออกหุ้นใหม่ให้กับผู้ถือหุ้นเดิม (Right issue)
– การหาผู้ร่วมทุนใหม่ (White Knight)
– การขายสินทรัพย์ของบริษัท (Sale of Assets)
– การโอนทรัพย์สินใช้หนี้

ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการหลายประการผสมผสานกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลูกหนี้มีสภาพคล่องเกิดขึ้นที่อาจฟื้นฟูกิจการได้ โดยกฎหมายต้องมีหลักประกันต่อการดำเนินการในหัวข้อดังกล่าวเพื่อให้ผู้ที่จะ เข้ามาร่วมลงทุนใหม่หรือให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ลูกหนี้ ในการฟื้นฟูกิจการได้รับความมั่นใจ เช่น การให้ผู้ลงทุนและให้กู้เงินทุนเพิ่มเติมภายหลังมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ สามารถยื่นขอรับชำระหนี้ได้ และได้รับบุริมสิทธิในการได้รับชำระหนี้ก่อน เจ้าหนี้ทั่วไป เป็นต้น

(5)

ปุจฉา การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มีวัตถุประสงค์อย่างไร

วิสัชนา ตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายกำหนดให้มีมาตรการเกี่ยวกับการประนอมหนี้และการ ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เพื่อช่วยเหลือธุรกิจที่ประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินจนถึงขนาดมีหนี้สิน ล้นพ้นตัวให้ สามารถทำความตกลงในเรื่องหนี้สินได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการมีโอกาสดำเนินธุรกิจได้ต่อไป อันจะมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยรวมได้ทางหนึ่ง และเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้มากกว่าที่จะให้ลูกหนี้ล้มละลาย

ปุจฉา ลูกหนี้ได้รับผลดีจากการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อย่างไร

วิสัชนา ลูกหนี้ได้รับผลดีจากการฟื้นฟูกิจการหลายประการ เช่น ลูกหนี้สามารถหลุดพ้นจากหนี้ และผูกพันตามแผนฟื้นฟูกิจการแทน เช่น กรณีอยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ นับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้พิจารณาจนถึงวันครบกำหนดระยะเวลา ดำเนินการตามแผนหรือวันที่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอหรือจำหน่ายคดีหรือยกเลิกคำ สั่งให้ฟื้นฟูกิจการหรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการหรือพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ เด็ดขาด

ช่วงเวลาดังกล่าว ถือเป็นช่วงพักชำระหนี้ จึงห้ามมิให้เจ้าหนี้ดำเนินการดังต่อไปนี้

– ฟ้องหรือร้องขอให้ศาลพิพากษาหรือสั่งให้เลิกนิติบุคคล
– ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่ง
– ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลาย
– ห้ามมิให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้
– ห้ามมิให้เจ้าหนี้มีประกันบังคับชำระหนี้แก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน

และห้ามมิให้ลูกหนี้จำหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า ชำระหนี้ ก่อหนี้หรือกระทำการใดๆ ที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้ ครั้นเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกให้ฟื้นฟูกิจการ มีผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากการชำระหนี้ทั้งปวง

ในทางภาษีอากรกำหนดสิทธิประโยชน์ให้แก่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ตามพระราช กฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 340) พ.ศ. 2541 โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นไป ดังนี้

1. ให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้แก่ลูกหนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการปลดหนี้หรือการประนอมหนี้ ตามคำขอประนอมหนี้หรือแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย (มาตรา 3)

2. ให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้าหรือการให้บริการ และการกระทำตราสารอันเนื่องมาจาก การดำเนินการตามคำขอประนอมหนี้หรือแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ศาลได้มีคำ สั่งเห็นชอบ ตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย (มาตรา 4)

ปุจฉา เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้วมีผลอย่างไร

วิสัชนา เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้วมีผลดังนี้
1. ห้ามมิให้ฟ้องหรือร้องขอให้ศาลพิพากษาสั่งให้เลิกนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้
2. ห้ามนายทะเบียนมีคำสั่งให้เลิกหรือจดทะเบียนเลิกนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้
3. ห้ามธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรมการ ประกันภัย หรือหน่วยงานของรัฐ แล้วแต่กรณี สั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการของลูกหนี้ หรือสั่งให้ลูกหนี้หยุดประกอบกิจการ
4. ห้ามฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ และห้ามฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลาย
5. ห้ามเสนอข้อพิพาทที่ลูกหนี้อาจต้องรับผิด หรือได้รับความเสียหายให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด ถ้ามูลหนี้นั้นเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน
6. ห้ามเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ ถ้ามูลหนี้ตามคำพิพากษานั้นเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน
7. ห้ามเจ้าหนี้มีประกันบังคับคดีเอากับทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
8. ห้ามมิให้เจ้าหนี้ที่บังคับชำระหนี้ได้บังคับได้เองตามกฎหมายยึดทรัพย์สินหรือขายทรัพย์สินของลูกหนี้

ปุจฉา การยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการมีเงื่อนไขเกี่ยวกับลูกหนี้อย่างไร?

วิสัชนา มีเงื่อนไขเกี่ยวกับลูกหนี้ดังนี้
1. ลูกหนี้ต้องเป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด หรือนิติบุคคลอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ซึ่งมีหนี้สินล้นพ้นตัว และเป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกัน โดยหนี้มีจำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
2. มีเหตุสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
3. ลูกหนี้ยังไม่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว
4. ลูกหนี้ยังไม่ได้ถูกศาลหรือนายทะเบียนมีคำสั่งให้เลิกหรือเพิกถอนทะเบียน นิติบุคคล และยังมีมีการจดทะเบียนเลิกนิติบุคคลนั้น หรือนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้ต้องไม่เลิกกันด้วยเหตุอื่น ไม่ว่าการชำระบัญชีของนิติบุคคลดังกล่าวจะเสร็จแล้วหรือไม่ก็ตาม

(6)

ปุจฉา  กำหนดผลแห่งการสิ้นสุดของการฟื้นฟูกิจการอย่างไร

วิสัชนา  หากการฟื้นฟูกิจการประสบผลสำเร็จ  ก็ให้ลูกหนี้กลับมาบริหารกิจการอีกครั้งเพื่อเป็นการเริ่มต้นใหม่โดยปราศจาก หนี้สินทั้งปวง แต่หากไม่ประสบผลสำเร็จตามแผน ก็จะต้องมีมาตรการกำหนดรองรับไว้ ซึ่งส่วนใหญ่จะยอมรับหลักการว่า กรณีนี้ควรให้กิจการนั้นล้มละลายไป และนำเอาทรัพย์สินของลูกหนี้ มาจำหน่ายแบ่งให้แก่บรรดาเจ้าหนี้โดยเปลี่ยนขบวนการไปสู่การดำเนินคดีล้ม ละลายต่อไป

ปุจฉา มีขั้นตอนการดำเนินคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อย่างไร

วิสัชนา ขั้นตอนการดำเนินคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2541 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2541 โดยสังเขป ดังนี้

1. การร้องขอฟื้นฟูกิจการ
2. ผลของคำสั่งฟื้นฟูกิจการ
3. การแต่งตั้งผู้ทำแผน
4. การขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ
5. การประชุมเจ้าหนี้และลงมติ
6. ศาลให้ความเห็นชอบตามแผน
7. การดำเนินการตามแผนและการยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ

ปุจฉา บุคคลที่มีสิทธิได้รับการฟื้นฟูกิจการ ได้แก่บุคคลใด

วิสัชนา บุคคลที่มีสิทธิได้รับการฟื้นฟูกิจการ ได้แก่ ลูกหนี้ที่เป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน หรือนิติบุคคลอื่นตามที่กฎกระทรวงกำหนด (มาตรา ๙๐/๑ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย) เว้นแต่ ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนิติบุคคลนั้นไปก่อนที่จะมีการฟื้นฟูกิจการ หรือ สิ้นสภาพนิติบุคคลไปก่อนแล้ว (มาตรา ๙๐/๕ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย)

ดังนั้น บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จึงไม่อาจขอฟื้นฟูกิจการได้

ปุจฉา บุคคลที่มีสิทธิร้องขอฟื้นฟูกิจการ ได้แก่ บุคคล

วิสัชนา บุคคลที่มีสิทธิร้องขอฟื้นฟูกิจการ ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้

1. เจ้าหนี้ ที่มีหนี้ต่อลูกหนี้ไม่น้อยกว่า ๑๐ ล้านบาท
2. ลูกหนี้ ที่เป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนไม่น้อยกว่า ๑๐ ล้านบาท และมีหนี้สินล้นพ้นตัว

อนึ่ง กรณีลูกหนี้เป็นผู้ประกอบกิจการในกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย, กลต. หรือ กรมการประกันภัย ต้องได้รับอนุมัติจากหน่วยงานดังกล่าวก่อน

3. ธนาคารแห่งประเทศไทย กรณีลูกหนี้เป็นสถาบันการเงิน
4. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรณีลูกหนี้ประกอบกิจการเกี่ยวกับหลักทรัพย์
5. กรมการประกันภัย กรณีลูกหนี้ประกอบกิจการเกี่ยวกับการประกันภัย
6. หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจกำกับดูแลกิจการของลูกหนี้ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนดไว้ในกฎกระทรวง

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์ การร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการกำหนดไว้อย่างไร
วิสัชนา หลักเกณฑ์การร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการเป็นไปตามมาตรา ๙๐/๓ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ดังนี้
1. ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
2. ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกัน เป็นจำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า ๑๐ ล้านบาท
3. มีเหตุอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้

ช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการได้นั้น ต้องดูเป็นกรณีไปตามสภาพแห่งธุรกิจของลูกหนี้ โดยผู้ร้องขอจะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นตามขั้นตอนการปรับโครงสร้างหนี้ว่า สามารถแก้ไขสภาวะทางการเงินและหนี้สินให้อยู่ในฐานะที่จะดำเนินกิจการต่อไป ได้และอาจชำระหนี้ตามแผนแก่เจ้าหนี้ทั้งปวงได้   หากไม่อาจพิสูจน์ในข้อนี้ได้ศาลก็จะยกคำร้องขอ เช่น

คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๔๒๘/๒๕๔๔ ในการฟื้นฟูกิจการนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กิจการของลูกหนี้ซึ่งประสบ ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราวได้มีโอกาสฟื้นฟูกิจการหรือปรับโครงสร้าง กิจการของลูกหนี้ เพื่อให้กิจการของลูกหนี้กลับคืนสู่สภาพที่สามารถดำเนินกิจการตามปกติต่อไป การที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของกิจการและโรงงานผลิตกระดาษและกล่องกระดาษ ลูกหนี้ให้ผู้คัดค้านเช่าโรงงานดังกล่าวมีกำหนด 3 ปี ขณะยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ สัญญาเช่ายังไม่ครบกำหนด ผู้คัดค้านเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่า เช่นนี้ เมื่อลูกหนี้มีกิจการเฉพาะโรงงานกระดาษและผลิตกล่องกระดาษดังกล่าว แต่โรงงานดังกล่าวอยู่ระหว่างสัญญาเช่ากับผู้คัดค้าน

ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในโรงงานดังกล่าวในขณะที่ยื่น คำร้องขอ      ลูกหนี้จึงยังไม่อาจปรับปรุงฟื้นฟูกิจการในการประกอบกิจการโรงงานดังกล่าว ได้ ทั้งการให้เช่าโรงงานของลูกหนี้ก็ปรากฏว่ามีสัญญาเช่าเพียงรายเดียว กรณีหาใช่ลูกหนี้ประกอบกิจการทำเป็นธุรกิจให้เช่าทรัพย์สิน อันจะต้องมีการจัดการบริหารดำเนินงานในธุรกิจการค้าแต่อย่างใด กรณี จึงไม่มีเหตุผลอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ตามมาตรา ๙๐/๑๐ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย

(7)

ในส่วนที่เกี่ยวกับแผนฟื้นฟูกิจการแบบสำเร็จรูปคืออะไร ซึ่งเป็นบทความของ คุณอนิรุทธ์ พิริยศักดิ์มนตรี (ทนายความ) จาก www.fpmconsultant.com ได้อ่านแล้วเห็นว่าต่อเนื่องเชื่อมโยงกับเรื่องที่กำลังนำเสนออยู่ จึงขอนำเผยแพร่ต่อ ดังนี้ ครับ

เรื่องที่ 1262 ทนายสอนน้อง …?

ผลดีของการมีแผนฟื้นฟูกิจการ (ซึ่งก็คือแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้) ก่อนที่จะมีการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ มีอยู่ด้วยกันหลายประการ ได้แก่ อะไรบ้าง ในวันนี้ เราก็จะมาดูกันต่อนะครับ

ผลดีของการมีแผนฟื้นฟูกิจการ หรือแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ได้แก่

(ก) ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ได้รู้แนวทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หรือการฟื้นฟูกิจการเป็นการล่วงหน้า และสามารถที่จะกำหนดนโยบายภายในของตนได้ว่าจะให้ความเห็นชอบต่อแผนหรือไม่ หรือจะมีข้อที่จะขอแก้ไขอย่างไรบ้าง ซึ่งดีกว่าการที่รับทราบแผนในภายหลัง ซึ่งจะมีเวลาพิจารณาน้อยเนื่องจากถูกบีบด้วยระยะเวลาตามกฎหมาย และทุกฝ่ายสามารถคาดหมายได้ล่วงหน้าว่าแผนจะได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม เจ้าหนี้หรือไม่ หากแผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้รับความเห็นชอบ ก็เป็นที่คาดหมายได้ว่าเมื่อแปรแผนดังกล่าวเป็นแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว ก็น่าที่จะได้รับความเห็นชอบ เนื่องจากผู้ที่ให้ความเห็นชอบเป็นบุคคลกลุ่มเดียวกันทั้งหมดหรือเกือบทั้ง หมด

(ข) สามารถลดระยะเวลาในการดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นการฟื้นฟูกิจการได้ โดยผู้ทำแผนที่ได้รับแต่งตั้งจากศาลสามารถยื่นแผนได้เกือบจะทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาทำแผนอีก 3-5 เดือน

(ค) สามารถลดหรือบรรเทาความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ล่วงหน้า ในชั้นการฟื้นฟูกิจการในศาล ความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งระหว่างเจ้าหนี้ด้วยกันเองและระหว่างเจ้าหนี้ กับลูกหนี้ เช่น ขัดแย้งกันในเรื่องควรฟื้นฟูกิจการหรือไม่ ขัดแย้งในเรื่องตัวผู้ทำแผนว่าใครสมควรเป็นผู้ทำแผน ขัดแย้งในเรื่องแผนว่าจะไปในแนวทางใด มีการลดยอดหนี้มากน้อยเพียงใด มีการแปลงหนี้เป็นทุนหรือไม่เพียงใด เป็นต้น การที่ทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงเรื่องแผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้ เป็นการล่วงหน้า จะสามารถลดหรือบรรเทาข้อขัดแย้งดังกล่าวข้างต้นได้เกือบทั้งหมด ทำให้กระบวนการฟื้นฟูกิจการสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น

ในขณะนี้ เจ้าหนี้และลูกหนี้จำนวนมากคงยังไม่ทราบว่ากระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ที่มีสถาบันการเงินหลายรายเป็นเจ้าหนี้จะจบลงด้วยการฟื้นฟูกิจการเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ลูกหนี้เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่ว่าการปรับปรุงโครงสร้างหนี้นั้นจะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ เพราะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จะมีผลผูกพันเจ้าหนี้ทุกราย รวมทั้งเจ้าหนี้ผู้ที่มิได้เข้ามามีส่วนร่วมในการประชุม เจรจา และตกลงด้วยในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ก็ต่อเมื่อแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวได้กลายมาเป็นแผนฟื้นฟูกิจการ ที่ได้รับความเห็นชอบจากศาล ส่วนในกรณีที่การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่สำเร็จ การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ในศาลก็ดูจะเป็นทางเดียวที่เหลืออยู่สำหรับเจ้า หนี้นอกเหนือไปจากการฟ้องคดีแพ่งและคดีล้มละลาย

ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้การแปรเปลี่ยนแผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นแผนฟื้นฟูกิจการ สามารถทำได้ง่ายขึ้น แผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ทำไว้ในชั้นการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จึงควรมีเนื้อหาและสาระที่สอดคล้องกับแผนการฟื้นฟูกิจการตามที่กฎหมาย บัญญัติไว้ กล่าวคือ ต้องมีความตกลงในเรื่องต่อไปนี้เป็นอย่างน้อยไม่ว่าจะระบุไว้ในแผนการปรับ ปรุงโครงสร้างหนี้หรือไม่ก็ตาม

(1) หลักการและวิธีการฟื้นฟูกิจการ

(ก) ขั้นตอนของการฟื้นฟูกิจการ

(ข) การชำระหนี้ การยืดกำหนดเวลาชำระหนี้ การลดจำนวนหนี้ลง และการจัดกลุ่มเจ้าหนี้

(ค) การลดทุนและเพิ่มทุน

(ง) การก่อหนี้และระดมเงินทุน รวมตลอดถึงแหล่งของเงินทุนและเงื่อนไขแห่งหนี้สินและเงินทุนดังกล่าว

(จ) การจัดการและการหาประโยชน์จากทรัพย์สินของลูกหนี้

(ฉ) เงื่อนไขการจ่ายเงินปันผลและประโยชน์อื่นใด

(2) การไถ่ถอนหลักประกันในกรณีที่มีเจ้าหนี้มีประกันและความรับผิดของผู้ค้ำประกัน

(3) แนวทางแก้ปัญหาในกรณีขาดสภาพคล่องชั่วคราวระหว่างการปฏิบัติตามแผน

(4) วิธีปฏิบัติในกรณีที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องหรือโอนหนี้

(5) การไม่ยอมรับทรัพย์สินของลูกหนี้หรือสิทธิตามสัญญา ในกรณีที่ทรัพย์สินของลูกหนี้หรือสิทธิตามสัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ ที่จะพึงได้

ต้องขอขอบคุณ "คุณอนิรุทธ์ พิริยศักดิ์มนตรี" เป็นอย่างยิ่ง สำหรับบทความดีๆ ที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย มา ณ โอกาสนี้

(8)

กรณีเงินสำรองของกิจการ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์มาเป็นประเด็นปุจฉา – วิสัชนา ดังนี้ ครับ

ปุจฉา ตามมาตรา 65 ตรี (1) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2540 อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์นำเงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญ หรือหนี้สงสัยจะสูญ สำหรับหนี้จากการให้สินเชื่อที่ได้กันไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ แล้วแต่กรณี เฉพาะส่วนที่ตั้งเพิ่มขึ้นจากเงินสำรองประเภทดังกล่าวที่ปรากฏในงบดุลของรอบ ระยะเวลาบัญชีก่อนมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามกฎหมายการให้เช่าซื้อของบริษัทเงินทุนไม่ถือเป็นการให้สินเชื่อ เพราะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ ไม่มีนิยามคำว่าการให้สินเชื่อ ได้อิงกฎหมายการธนาคารพาณิชย์ ซึ่งกำหนดนิยามคำว่าการให้สินเชื่อไว้ ซึ่งตามนิยามดังกล่าวการให้สินเชื่อไม่รวมถึงการให้เช่าซื้อ ดังนั้นการกันเงินสำรองฯ สำหรับลูกหนี้เช่าซื้อ จึงไม่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้

1. การให้เช่าซื้อเป็นธุรกรรมอย่างหนึ่งของการประกอบธุรกิจเงินทุนประเภทกิจการ เงินทุน เพื่อการจำหน่ายและบริโภค และกิจการเงินทุนเพื่อการเคหะ และเป็นธุรกรรมอย่างหนึ่งของการประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ การทำธุรกรรมดังกล่าวถือเป็นการให้สินเชื่อประเภทหนึ่ง การประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ และการประกอบธุรกิจเงินทุนมีข้อแตกต่างกันข้อหนึ่งคือธนาคารพาณิชย์ไม่ สามารถประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อได้ การให้เช่าซื้อจึงไม่อยู่ในนิยามการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์

2. โดยที่กฎเกณฑ์ในการจัดชั้นลูกหนี้และการกันเงินสำรองฯ ที่ธนาคารกำหนดมีผลบังคับใช้กับลูกหนี้จากการให้เช่าซื้อของบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ด้วย ธนาคารจึงขอให้กระทรวงการคลังโปรดพิจารณาให้การกันเงินสำรองฯ สำหรับลูกหนี้เช่าซื้อดังกล่าวสามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไร สุทธิได้เต็มจำนวนด้วย

3. นอกจากกรณีลูกหนี้เช่าซื้อดังกล่าวแล้วยังมีเงินสำรองฯ ที่สถาบันการเงินต้องกันไว้ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนดฯ แต่ไม่สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ได้แก่ ทรัพย์สินที่ได้จากการชำระหนี้และเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด กำหนดให้ต้องกันเงินสำรองร้อยละร้อยสำหรับส่วนของราคาตามบัญชีที่สูงกว่า ราคายุติธรรม ซึ่งเป็นภาระที่ค่อนข้างหนักสำหรับสถาบันการเงินในช่วงที่กำลังประสบภาวะ วิกฤติทางเศรษฐกิจ ธนาคารจึงขอเรียนเสนอกระทรวงการคลังพิจารณาให้สถาบันการเงินสามารถนำเงิน สำรองฯ ดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ด้วย

วิสัชนา กรณีดังกล่าวกรมสรรพากรได้ตอบข้อหารือธนาคารตามหนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0811/2418 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2542 ดังนี้

1. ตามมาตรา 65 ตรี (1) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2540 บัญญัติว่า "(ค) เงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญ สำหรับหนี้จากการให้สินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนบริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้กันไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ตั้งเพิ่มขึ้นจากเงินสำรองประเภทดังกล่าว ที่ปรากฏในงบดุลของรอบระยะเวลาบัญชีก่อน……"

จะเห็นได้ว่าตามบทบัญญัติข้างต้น เงินสำรองฯ ที่จะนำมาถือเป็นรายจ่ายทางภาษีอากรได้ต้องเป็นเงินสำรองที่กันไว้เป็นค่า เผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญสำหรับหนี้จากการให้สินเชื่อเท่านั้น และการให้เช่าซื้อของการประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ดัง กล่าว ถือเป็นการให้สินเชื่อประเภทหนึ่ง ดังนั้น บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ จึงสามารถนำเงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญสำหรับลูกหนี้เช่าซื้อมา ถือเป็นรายจ่ายได้ตามมาตรา 65 ตรี (1) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร

2. กรณีการกันเงินสำรองสำหรับทรัพย์สินที่ได้จากการชำระหนี้และเงินลงทุนในหลัก ทรัพย์ไม่ถือว่าเป็นหนี้จากการให้สินเชื่อจึงไม่มีสิทธินำเงินสำรองฯ ดังกล่าว มาถือเป็นรายจ่ายได้ตามมาตรา 65 ตรี (1) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร

(9)

กรณีเงินสำรองของกิจการ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์มาเป็นประเด็นปุจฉา – วิสัชนา ดังนี้ ครับ

ปุจฉา
บริษัทฯ หารือเกี่ยวกับการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534 กรณีที่บริษัทฯ ได้ฟ้องลูกหนี้ ในคดีล้มละลายหรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่น ฟ้องในคดีล้มละลายและลูกหนี้มีหนี้กับบริษัทฯ เกินกว่า 500,000 บาทขึ้นไป กรณีดังกล่าวศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และคดีอยู่ในระหว่างการประชุมเจ้าหนี้เพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ ล้มละลาย หากปรากฏข้อเท็จจริงจากรายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่นใด ที่จะทำการแบ่งให้กับเจ้าหนี้ได้ และลูกหนี้ไม่แสดงความประสงค์จะขอประนอมหนี้ บริษัทฯ สามารถจำหน่ายหนี้สูญของลูกหนี้ รายนั้น ออกจากบัญชีลูกหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รายงาน สถานะของลูกหนี้ให้กับที่ประชุมเจ้าหนี้ ทราบได้หรือไม่ หากไม่สามารถดำเนินการจำหน่ายหนี้สูญในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวได้ บริษัทฯ จะสามารถใช้สิทธิดำเนินการ ขอจำหน่ายหนี้สูญได้เมื่อใด
วิสัชนา กรณีที่หนี้ของลูกหนี้มีจำนวนเกิน 500,000 บาทขึ้นไป และบริษัทฯ ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลาย หรือได้ยื่น คำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย บริษัทฯ มีสิทธิจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ได้ จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่า ลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย และได้มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกแล้ว ตามข้อ 4 (3) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0702/1685 ลงวันที่ 4 มีนาคม 2552)

ปุจฉา กลุ่มบริษัทพร้อมด้วยผู้ค้ำประกันซึ่งจดจำนอง ที่ดินเป็นประกัน ได้ทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2548 ด้วยการชำระหนี้คืนให้ บสท. โดยผู้ค้ำประกันที่เป็นผู้จำนองที่ดินตกลงขายที่ดินที่จำนองไว้เป็นประกัน การชำระหนี้แทนกลุ่มสยามให้แก่ผู้อื่น เพื่อนำเงินได้มาชำระหนี้ให้แก่ บสท. ซึ่งต่อมาในปี 2552 ผู้ค้ำประกันได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์หลักประกันให้ผู้จะ ซื้อซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โดยมีเงื่อนไขว่าเมื่อมีการทำสัญญาซื้อขายกันผู้จะซื้อสามารถให้บุคคลอื่นมา เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญาซื้อขายได้ โดยผู้จะซื้อได้ชำระเงินมัดจำบางส่วนซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาซื้อขาย ที่ดินให้แก่ผู้จะขายในวันทำสัญญาจะซื้อจะขาย และผู้ค้ำประกันได้นำเงินได้ดังกล่าวไปชำระหนี้ให้แก่ บสท. เพื่อชำระหนี้แทนกลุ่มบริษัทและไถ่ถอนจำนองจาก บสท. แล้ว ต่อมาผู้ค้ำประกันได้ทำสัญญาขายที่ดินและตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ให้แก่บุคคลภายนอกที่ผู้จะซื้อกำหนด ภายในปี 2552 จึงได้หารือว่า

1. กลุ่มบริษัทและผู้ค้ำประกันจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีเงินได้ ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 483) พ.ศ. 2552 หรือไม่
2. กรณีผู้จะซื้อได้ให้บุคคลอื่นมาเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญาซื้อขาย โดยกำหนดราคาโอนเท่ากับเงินมัดจำที่ผู้จะซื้อได้ชำระให้แก่ผู้จะขาย ผู้จะซื้อมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่ อย่างไร
3. หากกลุ่มบริษัทและผู้จะซื้อได้รับสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีในกรณีดัง กล่าว จะต้องมีเอกสารหลักฐานใด เพื่อประกอบการพิจารณาใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

วิสัชนา กรณีกลุ่มบริษัทได้ทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับ บสท. เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2548 หากการปรับปรุงโครงสร้าง หนี้ดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด และผู้ค้ำประกันได้โอนที่ดินที่จดจำนองเป็นประกันหนี้ให้แก่ผู้อื่นใน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552 โดยนำเงินได้นั้นไปชำระหนี้แก่ บสท. ตามสัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว ผู้ค้ำประกันซึ่งถือเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 483) พ.ศ. 2552 ย่อมได้รับสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับดังกล่าวด้วย โดยจะต้องแสดงหลักฐานสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และหนังสือรับรองหนี้ที่ต้องดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ซึ่งมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณี หนี้ที่ต้องดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครง สร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนด ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2552 แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดิน และอธิบดีกรมสรรพากรในการขอรับสิทธิประโยชน์ด้วย

สำหรับกรณีผู้จะซื้อให้บุคคลอื่นมาเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญาซื้อ ขาย โดยกำหนดราคาโอนเท่ากับเงินมัดจำที่ผู้จะซื้อ ได้ชำระให้แก่ผู้จะขาย เข้าลักษณะเป็นการโอนสิทธิในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน หากผู้จะซื้อโอนสิทธิดังกล่าวโดยมีค่าตอบแทน ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทนจากการโอนสิทธิตามราคาตลาด ในวันที่โอนได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร  (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0702/8317 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2552)

(10)

ที่มา..กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

รับจดทะเบียนบริษัท

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.