สรุปหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม | รับทำเงินเดือน สรุปหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม | รับทำเงินเดือน

สรุปหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

สรุปหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

รายการกิจกรรมภาษีมูลค่าเพิ่ม

หลักการเกี่ยวกับความรับผิด (Tax Point)

1. การขายสินค้า .
– ขายเสร็จเด็ดขาด สัญญาจะขาย – เมื่อมีการส่งมอบสินค้า เว้นแต่มีการโอนกรรมสิทธิ์ / รับชำระราคา / ออกใบกำกับภาษี
– เช่าซื้อ/ ขายผ่อนชำระ ที่กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อ – ตามงวดที่ถึงกำหนดชำระ เว้นแต่มีการรับชำระราคา / ออกใบกำกับภาษีก่อนถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด
– การฝากขายที่เป็นไปตามเงื่อนแห่งประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 8) – เมื่อตัวแทนส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า เว้นแต่ตัวแทนได้โอนกรรมสิทธิ์/รับชำระราคา/ออกใบกำกับภาษี/ตัวแทนนำสินค้า ไปใช้ก่อนส่งมอบให้แก่ลูกค้า
– การส่งออก – เมื่อมีการผ่านพิธีการทางศุลกากร
– การขายกระแสไฟฟ้า น้ำประปา หรือสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง – เมื่อรับชำระราคา เว้นแต่มีการออกใบกำกับภาษีก่อนรับชำระราคา
– การขายสินค้าด้วยเครื่องอัตโนมัติ – เมื่อนำเงินออกจากเครื่องอัตโนมัติ
– กรณีจำหน่าย จ่าย โอนสินค้าโดยไม่มีค่าตอบแทน – เมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่มีการโอนกรรมสิทธิ์ก่อนส่งมอบสินค้า
– กรณีนำสินค้าไปใช้ในกิจการอื่น – เมื่อนำไปใช้
– กรณีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ – เมื่อตรวจพบ
– กรณีมีสินค้าหรือทรัพย์ในวันเลิกกิจการ – เมื่อเลิกกิจการ
– กรณีรับโอนกรรมสิทธิ์สินค้าที่เคยเสีย VAT อัตรา 0% – เมื่อโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า
2. การให้บริการ .
– การให้บริการโดยมีค่าตอบแทน เมื่อมีการรับชำระราคา เว้นแต่มีการออกใบกำกับภาษีก่อนรับชำระราคา
– ให้บริการโดยไม่มีสิ่งตอบแทน เมื่อมีการใช้บริการ ไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น
– การให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและใช้บริการนั้นในไทย -เมื่อชำระราคาค่าบริการ (นำส่ง VAT อัตรา 7% โดยยื่น แบบ ภ.พ.36 )
– การให้บริการด้วยเครื่องอัตโนมัติ – เมื่อนำเงินออกจากเครื่อง (กรณีการ์ดโฟน ถือว่าชำระราคาก่อนให้บริการ)

– การรับชำระราคาค่าบริการด้วยบัตรเครดิต                                      

– เมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต
– กรณีรับโอนกรรมสิทธิ์ ในบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 0% – เมื่อชำระราคาค่าบริการ
3. การนำเข้า .
– การนำเข้าสินค้าทุกกรณี – เมื่อผ่านพิธีการทางศุลกากร
– การขายของตกค้าง (โดยกรมศุลกากร) – เมื่อได้ขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีการอื่น
– การณีผิดเงื่อนไขเกี่ยวกับสินค้านำเข้าที่จำแนกผระเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า – เกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดตามกฏหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร

 

ที่มา..http://www.jarataccountingandlaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=418225&Ntype=6

เพิ่มเติมการให้บริการโดยไม่มีสิ่งตอบแทน

คำว่า “ได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น” ซึ่งจะเป็นเหตุให้ tax point เกิดขึ้นตามมาตรา 78/1(1)(ข)  ตรงนี้จะไม่รวมถึงบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับผู้ให้บริการนะครับ   แต่หมายถึงผู้ให้บริการนำบริการไปใช้เอง หรือนำไปให้บริการแก่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่คู่สัญญากับผู้ให้บริการ   เช่นผู้ให้บริการเช่ารถยนต์นำรถยนต์ไปให้บุคคลภายนอกใช้โดยไม่คิดค่าตอบแทน   อย่างนี้ บุคคลภายนอกนั้นไม่ถือเป็นคู่สัญญากับผู้ให้บริการ  ฉะนั้น tax point ก็จะเกิดขึ้นทันทีที่บุคคลภายนอกได้ใช้รถยนต์คันนั้น   หรือหนังสือพิมพ์ลงโฆษณาให้แก่ผู้มีพระคุณโดยไม่คิดค่าตอบแทน   tax point ก็จะเกิดขึ้นทันทีที่ได้ลงโฆษณานั้น (หนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากร เลขที่ กค 0802 (ก)/6631 ลว. 14 ก.ย. 2535)

แต่ถ้าเป็นคู่สัญญากับผู้ ให้บริการ  อย่างนี้ ถึงแม้คู่สัญญานั้นจะได้ใช้บริการก่อนที่จะชำระค่าบริการ  tax point ก็ยังไม่เกิดขึ้น  แต่จะเกิดต่อเมื่อผู้ให้บริการได้รับชำระค่าบริการแล้ว (หรือได้ออก tax invoice ก่อนได้รับค่าบริการ)  เช่น กรณีผู้ประกอบกิจการสระว่ายน้ำให้บริการแก่สมาชิกสระที่จ่ายค่าบริการเป็น รายเดือน  อย่างนี้ ถึงแม้สมาชิกจะได้ใช้บริการว่ายน้ำไปก่อน แล้วจ่ายเงินทีหลัง   tax point ก็ยังไม่เกิดในตอนที่ลงไปว่ายน้ำ แต่จะเกิดเมื่อชำระค่าบริการรายเดือน (หนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากร เลขที่ กค 0802/พ.2295 ลว.8 ก.พ. 36)   หรืออย่างกรณีที่ผู้ให้บริการเช่ารถบรรทุก ได้ทำสัญญาให้เช่ารถบรรทุกแก่ องค์การ ร.ส.พ.  ตกลงชำระเงินค่าเช่าภายใน 10 วันนับแต่วันที่ได้รับใบแจ้งหนี้   กรณีนี้ เจ้าพนักงานประเมินกรมสรรพากรเคยจะเล่นงานผู้ให้บริการในฐานที่ออกใบกำกับ ภาษีล่าช้าไม่ตรงกับ tax point มาแล้วโดยอ้างว่า tax point เกิดขึ้นแล้วในตอนที่ ร.ส.พ. ได้นำรถบรรทุกไปใช้งาน     แต่ผู้ให้บริการทำหนังสือหารือเข้าไปที่กรมสรรพากร  ซึ่งตอบว่า องค์การ ร.ส.พ. เป็นคู่สัญญากับผู้ให้บริการ  ฉะนั้น  tax point ก็ยังไม่เกิดทันทีในตอนที่ ร.ส.พ. นำรถบรรทุกไปใช้  แต่จะเกิดเมื่อได้รับชำระค่าเช่า หรือได้ออก tax invoice ก่อน (หนังสือตอบข้อหารือ เลขที่ กค 0811/พ.01760)

ที่มา..http://topicstock.pantip.com/social/topicstock/2007/07/U5578306/U5578306.html

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.