ปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี | รับทำเงินเดือน ปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี | รับทำเงินเดือน

ปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัญชี(ข้อมูลจากกรมพัฒนธุรกิจการค้า)

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

1.ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 คือใครบ้าง

แนวคำตอบ

  • ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
  • บริษัทจำกัด
  • บริษัทมหาชนจำกัด
  • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
  • กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
  • บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก เทปเพลง ซีดี วีดีโอ

2.สาขาที่ต้องทำบัญชีแยกออกจากสำนักงานใหญ่ต้องเข้าเงื่อนไขอะไรบ้าง และถ้ากรณีดังต่อไปนี้สาขาต้องทำบัญชีแยกหรือไม่

กรณีที่ 1 สาขาเป็นโกดังเก็บสินค้า ไม่มีการเปิดใบกำกับภาษีขาย มีเพียง ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ และเงินเดือนพนักงานบางคน

กรณีที่ 2 สาขาเป็นเพียงสถานที่ผลิตสินค้า (ในกรณีเป็นโรงงานผลิตสินค้าเพื่อขาย) หรือเป็นเพียงสถานที่พิมพ์งาน (ในกรณีเป็นโรงพิมพ์) แล้วส่งให้สำนักงานใหญ่ เป็นผู้เปิดใบกำกับภาษี-ขาย (ในกรณีขายสินค้า) หรือเป็นผู้เปิดใบกำกับภาษีค่ารับจ้างพิมพ์ (ในกรณีเป็นโรงพิมพ์)

แนวคำตอบ

กรณีสาขาที่ต้องทำบัญชีแยกจากสำนักงานใหญ่ ต้องพิจารณาให้เข้าเงื่อนไข ทั้ง 3 ข้อ ดังต่อไปนี้

  1. มีสถานประกอบการที่ตั้งประจำแยกออกไปจากสำนักงานใหญ่
  2. ต้องมีพนักงานประจำ

3.บุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียน จำเป็นต้องทำบัญชีด้วยหรือไม่

แนวคำตอบ

ขึ้นอยู่กับว่าเป็นธุรกิจที่มีประกาศของกระทรวงพาณิชย์กำหนดให้ต้องจัดทำบัญชีหรือไม่ ในขณะนี้มีประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดให้บุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2544 กำหนดให้บุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจผลิตจำหน่าย นำเข้า ส่งออก เทปเพลง ซีดี วีดีโอต้องทำบัญชีสินค้าตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2544 เป็นต้นไป หากไม่ได้ทำธุรกิจนี้ก็ไม่ต้องจัดทำบัญชี

4.ในกรณีที่บริษัทต่างประเทศเข้ามาเปิดสำนักงานผู้แทนในประเทศไทยโดยเข้ามาวิจัยตรวจสอบตลาดและไม่มีรายได้ จะต้องจัดทำงบการเงินส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือไม่

แนวคำตอบ

จะต้องจัดทำงบการเงินส่งต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เนื่องจากเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศจึงเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543

    ความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

    1. การจัดหาผู้ทำบัญชี

    5.ในกรณีบริษัทไม่มีรายรับ ปลายปีจึงหาผู้ทำบัญชีเพื่อส่งงบดุล จะแจ้งเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี อย่างไร

    แนวคำตอบ

    บริษัทไม่ต้องแจ้งชื่อผู้ทำบัญชีเป็นการล่วงหน้าต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แต่ใน ตอนยื่นงบการเงินเมื่อสิ้นรอบปีบัญชีต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า บริษัทต้องระบุชื่อผู้ทำบัญชีของบริษัทใน แบบ ส.บช.3 ส่วนผู้ทำบัญชีของบริษัทต้องแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชี ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ทำบัญชีโดยใช้แบบ ส.บช. 5 จำนวน 2 ชุด(ต่างจังหวัดใช้ 3 ชุด) พร้อมทั้งแนบหลักฐานประกอบ ดังนี้

    1. สำเนาทะเบียนบ้าน
    2. สำเนาบัตรประชาชน
    3. สำเนาปริญญาบัตรหรือสำเนาใบรับรองผลการศึกษาตลอดหลักสูตร ( Transcript)
    4. รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป (ต่างจังหวัดใช้ 3 รูป)
    5. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล (ถ้ามี) โดยแจ้งที่ สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จังหวัดนนทบุรี 11000 สำหรับต่างจังหวัดสามารถแจ้งได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนั้นๆ

    1. การจัดทำบัญชี

    6.ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชีต้องเริ่มทำบัญชีเมื่อใด

    แนวคำตอบ

    • ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัดต้องจัดทำบัญชีนับแต่วันที่จดทะเบียน
    • กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรเริ่มทำเมื่อประกอบกิจการ
    • นิติบุคคลต่างประเทศ เริ่มทำเมื่อเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย

    7.บริษัท บันทึกรายการรับและจ่ายโดยใช้ระบบใบสำคัญโดยไม่มีการลงรายการที่เกิดขึ้นใน บัญชีรายวันต่างๆ ตามที่กำหนดและมีการผ่านรายการจากใบสำคัญไปบัญชีแยกประเภท จะถือว่าเข้าเงื่อนไขบัญชีที่ต้องจัดทำครบถ้วนหรือไม่

    แนวคำตอบ

    ไม่เข้าเงื่อนไข กิจการจะต้องจัดทำบัญชีรายวันตามที่กฎหมายกำหนด

    8.กิจการลงรายการในบัญชีเป็นภาษาต่างประเทศโดยมีภาษาไทยกำกับ กิจการต้องขอนุมัติต่ออธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก่อนหรือสามารถทำได้เลย

    แนวคำตอบ

    ไม่ต้องขออนุมัติ

    9.บริษัทลงรายการในบัญชีเป็นรหัสบัญชี และมีคำแปลรหัสบัญชีเป็นภาษาอังกฤษซึ่งถือว่าเป็นภาษากลางแล้ว ไม่ทราบว่าใช้ได้หรือไม่และจำเป็นต้องจัดทำและนำส่งคำแปลรหัสบัญชีที่เป็นภาษาไทยต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอีกหรือไม่

    แนวคำตอบ

    บริษัทต้องจัดทำคำแปลรหัสบัญชีเป็นภาษาไทยไว้ด้วยโดยไม่จำเป็นต้องนำส่งต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

    10.บริษัทจัดทำบัญชีโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการลงบัญชี สมุดรายวันต่างๆที่จัดพิมพ์โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกต้องครบถ้วนตาม พ.ร.บ. การบัญชีหรือไม่

    แนวคำตอบ

    ถ้ามีข้อความและรายการครบตามที่กฎหมายกำหนด ก็ถือว่าเป็นไปตามที่พระราชบัญญัติกำหนดแล้ว

    11.ตามที่กฎหมายบัญชีกำหนดว่าต้องมีการทำบัญชีรายวัน 5 เล่ม บริษัทจัดทำบัญชีโดยคอมพิวเตอร์ บัญชีทุกอย่างจะต้องทำในรายวันทั่วไปเพียงอย่างเดียวแล้วจะ post ไปแยกประเภทเป็นแต่ละรายการ กรณีนี้จะถือว่าจัดทำบัญชีรายวันเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่

    แนวคำตอบ

    กรณีนี้ถือว่าได้จัดทำเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว

    12.เอกสาร ที่ใช้ประกอบการลงบัญชี ตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการใน บัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ในหัวข้อเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี – เอกสาร ที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอก กรณีเอกสารนั้นเป็นหลักฐานในการรับชำระ รับฝาก รับเงิน หรือตั๋วเงิน และข้อ 10(จ) ระบุว่า เอกสารนั้นจะต้องมีลายมือชื่อของผู้รับเงินหรือตั๋วเงิน เว้นแต่เอกสารที่จัดทำและส่งมอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมืออื่น ที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน ต้อง การทราบตัวอย่างของกรณีดังกล่าวและถ้ากิจการรับชำระโดยหักบัญชีเงินฝาก ธนาคารลูกค้า และมีระบบคอมพิวเตอร์ออกใบเสร็จรับเงิน พร้อมกับมีระบบในการคัดแยกและจัดทำเป็นจดหมายพร้อมส่งให้ ลูกค้าทางไปรษณีย์ ในกรณีนี้เข้าข่ายหรือไม่

    แนวคำตอบ

    กรณีที่ถือว่าเป็นเอกสารในการรับชำระ รับฝาก รับเงินหรือตั๋วเงินที่จัดทำ และ ส่งมอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจไม่ต้องมีลายมือชื่อของผู้รับเงินหรือตั๋วเงิน เช่นการออกใบเสร็จรับเงินซึ่งจัดทำโดยระบบคอมพิวเตอร์และสั่งพิมพ์ จากสำนักงานใหญ่ไปยังสาขาเพื่อส่งมอบให้แก่ลูกค้าที่สาขาในสภาพเดียวกับที่ออกและสั่งพิมพ์ที่สำนักงานใหญ่ เป็นต้น สำหรับกรณีของท่านเป็นเพียงการจัดพิมพ์ใบเสร็จรับเงินด้วยคอมพิวเตอร์แล้วจึงจัดส่งให้ลูกค้าทางไปรษณีย์ ดังนั้น ใบเสร็จรับเงินดังกล่าวต้องมีลายมือชื่อของผู้รับเงินจึงจะถือว่าเป็นเอกสารที่สมบูรณ์

    1. การปิดบัญชีและการนำส่งงบการเงิน

    13.การยื่นงบการเงินของบริษัทมหาชนจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ให้ยื่นภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่งบการเงินนั้นได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่ หากมีการประชุมใหญ่วันที่ 31 มีนาคม จะต้องยื่นงบการเงินภายในวันที่ใด

    แนวคำตอบ

    ภายในวันที่ 30 เมษายน

    14.บริษัทที่จดทะเบียนในระหว่างปี เช่น 20 มิถุนายน จะต้องปิดบัญชีเพื่อจัดทำงบการเงินงวดแรกเมื่อไร

    แนวคำตอบ

    ให้พิจารณาจากข้อบังคับของบริษัทว่ามีการกำหนดให้ปิดบัญชีเมื่อใดก็ต้องปิดบัญชีให้เป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท เว้นแต่ในข้อบังคับไม่ได้กำหนดไว้ บริษัทจะเลือกปิดบัญชีเมื่อใดก็ได้แต่ต้องไม่เกิน12 เดือนนับจากวันที่จดทะเบียน และการปิดบัญชีคราวต่อไปให้ปิดในวันเดียวกันกับรอบแรกและต้องปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน

    15.หากต้องการเปลี่ยนรอบบัญชีจะต้องขออนุญาตหรือไม่ มีวิธีการขออนุญาตอย่างไร ที่ไหน

    แนวคำตอบ

    1. ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประสงค์จะขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชีจะต้องขออนุญาตต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี ในการขออนุญาตต้องจัดเตรียมเอกสาร ดังนี้

    1.1. แบบคำขออนุญาต( ส.บช. 4) จำนวน 1 ชุด

    1.2. สำเนาหลักฐานของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

    • สำเนาหนังสือรับรองรายการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล กรณีเป็นนิติบุคคล
    • สำเนาทะเบียนพาณิชย์ กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย หรือบุคคลธรรมดา
    • สำเนาการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กรณีเป็นกิจการร่วมค้า

    1.3. สำเนาหนังสือของกรมสรรพากรที่อนุญาตให้เปลี่ยนรอบปีบัญชี (ถ้ามี)

    1.4. สำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้เปลี่ยนรอบปีบัญชี

    1.5. สำเนารายงานการประชุมจัดตั้งบริษัท หรือสำเนาข้อบังคับของบริษัท อย่างใดอย่างหนึ่ง (ถ้ามี)

    1.6. สำเนาแบบนำส่งงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุน (ส.บช. 3) ครั้งสุดท้ายก่อนการขออนุญาต

    1.7. หนังสือมอบอำนาจที่ติดอาการครบถ้วนพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลมอบหมายให้ผู้อื่นทำการแทน)

    ทั้งนี้ สำเนาเอกสารประกอบคำขออนุญาตทุกฉบับจะต้องลงลายมือชื่อรับรองสำเนาโดยผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลพร้อมประทับตราสำคัญ(ถ้ามี) หรือโดยผู้รับมอบอำนาจแล้วแต่กรณี

    กรณี บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่มีข้อบังคับระบุเรื่องรอบปีบัญชีให้ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชี พร้อมกับการขอจดทะเบียนข้อบังคับ โดยยื่นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท

    2. สถานที่ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชี

    2.1. กรณี เป็นนิติบุคคลที่มีสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครให้ ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชีต่อสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำ ท้องที่กรุงเทพมหานครหรือยื่นต่อสารวัตรใหญ่บัญชีสำนักงานกลางบัญชี ณ สำนักกำกับดูแลธุรกิจกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

    2.2. กรณี เป็นนิติบุคคลที่มีสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัด อื่นให้ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชีต่อสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานประจำ ท้องที่จังหวัด ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดที่นิติบุคคลดังกล่าวตั้งอยู่หรือจะยื่น ต่อสารวัตรใหญ่บัญชี สำนัก งานกลางบัญชี ณ สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะเปลี่ยนรอบปีบัญชีได้ต่อเมื่อ ได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีแล้วจึงจะเปลี่ยนรอบปี บัญชีได้ ซึ่งในทางปฏิบัติเมื่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีอนุญาตแล้วจะมี หนังสือแจ้งให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร

    16.นิติบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้แก่นิติบุคคลประเภทใด

    แนวคำตอบ

    ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่มีทุนไม่เกิน 5 ล้านบาทสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาทและรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท แต่ยังต้องส่งงบการเงินให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าตามกำหนดคือภายใน 5 เดือนนับแต่วันปิดบัญชี ส่วนงบการเงินที่ส่งกรมสรรพากรยังต้องได้รับการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีภาษีอากร( TAX AUDITOR )

    1. การเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

    17.ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตาม พ.ร.บ. การบัญชี ต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้

    ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ใด และเก็บรักษาไว้นานเท่าใด

    แนวคำตอบ

    • สถานที่
      • สถานที่ทำการ
      • สถานที่ทำการผลิต
      • สถานที่เก็บสินค้า
      • สถานที่ทำงานเป็นประจำ
    • ระยะเวลา

    ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันปิดบัญชีและเมื่อเก็บไว้ครบ 5 ปี หากจะไม่จัดเก็บต่อไปก็ไม่ต้องขออนุญาตต่อสารวัตรบัญชี แต่ควรพิจารณากฎหมายอื่นที่ธุรกิจเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่ว่ามีกฎเกณฑ์ใดที่กำหนดให้เก็บนานกว่ากฎหมายบัญชีหรือไม่ หากมีต้องคำนึงถึงกฎหมายนั้นๆ ด้วย

    18.บัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ที่เก็บไว้เกิน 5 ปี สามารถทำลายได้เลย หรือต้องขออนุญาตก่อนที่จะทำลาย

    แนวคำตอบ

    สามารถทำลายได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต

    19.บัญชีและเอกสารเก่าที่เก็บมาครบ 5 ปีหรือนานกว่านั้น ยังต้องขออนุญาตในการจัดเก็บไว้นอกสถานประกอบกิจการด้วยหรือไม่ และถ้าจะทำลายต้องขออนุญาตหรือไม่

    แนวคำตอบ

    ไม่ต้องขออนุญาต หากเก็บไว้ครบ 5 ปี แล้ว

    20.จัดเก็บเอกสารในรูปอื่นได้หรือไม่ สถานที่จัดเก็บเอกสารไม่เพียงพอเป็นไปได้หรือไม่ จะจัดเก็บในรูปmicrofilm หรือจัดเก็บเอกสารในรูปอื่น

    แนวคำตอบ

    ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 มาตรา 13 อนุญาตให้จัดทำบัญชี ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ดังนั้น หาก การจัดเก็บข้อมูลการลงรายการในบัญชีด้วยสื่ออื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำบัญชีด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ บริษัทฯสามารถเก็บรักษาบัญชีในลักษณะดังกล่าวได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต และถ้าหากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีเรียกบัญชีมาตรวจสอบ บริษัทฯ ไม่สามารถนำบัญชีมาให้ตรวจสอบ และ ไม่สามารถพิสูจน์ให้เชื่อได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังรอบคอบตามสมควรแก่ กรณี แล้ว เพื่อป้องกันมิให้บัญชีสูญหายหรือเสียหายตามมาตรา 16 จะถือว่าบริษัทฯ มีเจตนาทำให้บัญชีสูญหายหรือเสียหาย ซึ่งมีโทษตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 สำหรับการเก็บรักษาเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีด้วยสื่ออิเลคทรอนิค ในขณะนี้ยังไม่สามารถกระทำได้

    21.อยากทราบว่าหากกิจการจะนำบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไปไว้ที่อื่น จะต้องขออนุญาตหรือไม่ และหากต้องขออนุญาตต้องดำเนินการอย่างไร

    แนวคำตอบ

    จะต้องขออนุญาตจัดเก็บบัญชีและเอกสารไว้ ณ สถานที่อื่น ต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี โดยใช้แบบ ส.บช.1 และแนบเอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาต ดังนี้

    1. สำเนาหลักฐานของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีและผู้ให้ความยินยอมใช้สถานที่ ดังนี้

    • สำเนาหนังสือรับรองรายการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลกรณีเป็นนิติบุคคล
    • สำเนาทะเบียนพาณิชย์ กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย หรือบุคคลธรรมดา
    • สำเนาการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กรณีเป็นกิจการร่วมค้า

    2. เอกสารสำคัญแสดงสิทธิการใช้สถานที่

    • สำเนาสัญญาเช่าสถานที่ กรณีใช้บริการของธุรกิจรับฝากเก็บบัญชีฯ (บริการคลังสินค้า)
    • สำเนาทะเบียนบ้าน โฉนดที่ดิน สัญญาเช่า สัญญาซื้อ/ขายที่ดิน กรณีธุรกิจเป็นเจ้าของสถานที่ที่นำบัญชีไปเก็บ
    • หนังสือให้ความยินยอมใช้สถานที่ กรณีสถานที่นำบัญชีฯ ไปจัดเก็บ เป็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ (เป็นกรรมการ , ผู้ถือหุ้น) หรือเป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชี

    3. แผนที่โดยสังเขปและภาพถ่ายของสถานที่ที่ขออนุญาตนำบัญชีและเอกสารฯไปจัดเก็บไว้

    4. หนังสือมอบอำนาจที่ติดอากรครบถ้วนพร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้มอบอำนาจ กรณีผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลมอบหมายให้ผู้อื่นทำการแทน

    สำเนาเอกสารประกอบคำขออนุญาตทุกฉบับจะต้องลงลายมือชื่อรับรองสำเนาโดยผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลพร้อมประทับตราสำคัญ(ถ้ามี) หรือโดยผู้รับมอบอำนาจแล้วแต่กรณี

    กรณีนิติบุคคลขออนุญาตเก็บรักษาบัญชีฯ ไว้ที่อื่นโดยมีสัญญา หรือการให้ความยินยอมมีกำหนดเวลา เมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าว จะต้องยื่นคำขออนุญาตพร้อมแนบหลักฐานใหม่ทั้งหมด ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงสัญญาเพิ่มเติมหรือต่อท้ายต้องแนบมาพร้อมการยื่นแบบคำขอด้วย

    สถานที่ยื่นคำขออนุญาต

    1. กรณีเป็นนิติบุคคลที่มีสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชีต่อสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชี ประจำท้องที่กรุงเทพมหานครหรือยื่นต่อสารวัตรใหญ่บัญชี สำนักงานกลางบัญชี ณ สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

    2. กรณี เป็นนิติบุคคลที่มีสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัด อื่นให้ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชีต่อสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานประจำ ท้องที่จังหวัด ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดที่

    นิติบุคคลดังกล่าวตั้งอยู่หรือจะยื่นต่อสารวัตรใหญ่บัญชี สำนักงานกลางบัญชี ณ สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

    1. ปัญหาอื่นๆ

    22.บริษัทได้จ้างให้สำนักงานบัญชีจัดทำบัญชีให้ โดยได้จัดส่งเอกสารต่างที่ใช้ในการลงบัญชีทั้งหมดให้กับสำนักงานรับทำบัญชี แต่สำนักงานไม่ได้จัดทำบัญชีให้จึงไปขอเอกสารคืนเพื่อให้คนอื่นทำบัญชีให้แต่ได้รับเอกสารคืนไม่ครบถ้วน เมื่อทวงถามทางสำนักงานบัญชีก็จะบอกว่าทางบริษัทส่งให้เท่าที่คืนไป (ตอนส่งเอกสารให้กันไม่ได้ทำหลักฐานว่าส่งอะไรบ้าง) บริษัทจะทำอย่างไร

    แนวคำตอบ

    ใน การจัดส่งเอกสารเพื่อให้สำนักงานบัญชีหรือผู้ทำบัญชีอิสระทำบัญชีให้ควรที่ การทำหลักฐานการส่งมอบเอกสารให้กันเพื่อป้องกันข้อโต้เถียง ซึ่งในกรณีนี้ หากไม่สามารถหาเอกสารที่สูญหายไปได้ บริษัทควรแจ้งเอกสารสูญหายต่อสารวัตรบัญชีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบหรือควรทราบถึงการสูญหาย โดยยื่นแบบแจ้งบัญชีหรือเอกสารประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหายตามแบบ ส.บช. 2 กรณีเป็นนิติบุคคลที่มีสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครให้ยื่นแบบ ส.บช. 2 จำนวน 2 ชุด และเป็นนิติบุคคลที่มีสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดอื่นให้ยื่นแบบ ส.บช. 2 จำนวน 3 ชุด พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบ ดังนี้

    1. สำเนาหลักฐานของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ดังนี้

    • สำเนาหนังสือรับรองรายการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล กรณีเป็นนิติบุคคล
    • สำเนาทะเบียนพาณิชย์ กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย หรือบุคคลธรรมดา
    • สำเนาการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กรณีเป็นกิจการร่วมค้า

    2. ภาพถ่ายสถานที่เกิดเหตุ

    3. หลักฐานที่แสดงได้ว่ามีการสูญหาย ( ใบแจ้งความ)

    4. หนังสือ มอบอำนาจที่ติดอากรครบถ้วนพร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบ อำนาจ กรณีผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลมอบหมายให้ผู้อื่นทำการแทน

    สำเนาเอกสารประกอบคำขออนุญาตทุกฉบับจะต้องลงลายมือชื่อรับรองสำเนาโดยผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลพร้อมประทับตราสำคัญ (ถ้ามี) หรือโดยผู้รับมอบอำนาจแล้วแต่กรณี

    สถานที่ยื่นคำขออนุญาต

    1. กรณีเป็นนิติบุคคลที่มีสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชีต่อสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่กรุงเทพมหานครหรือยื่นต่อสารวัตรใหญ่บัญชี สำนักงานกลางบัญชี ณ สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

    2. กรณี เป็นนิติบุคคลที่มีสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัด อื่นให้ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชีต่อสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานประจำ ท้องที่จังหวัด ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดที่นิติบุคคลดังกล่าวตั้งอยู่หรือจะยื่น ต่อสารวัตรใหญ่บัญชี สำนักงานกลางบัญชี ณ สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

    ที่มา..http://www.fap.or.th/mission/detail.php?id=411&type=003&memu_id=3.1.1

    Speak Your Mind

    *

    This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.