การคิดภาษีกับเงินมัดจำ | รับทำเงินเดือน การคิดภาษีกับเงินมัดจำ | รับทำเงินเดือน

การคิดภาษีกับเงินมัดจำ

ใน แต่ละวันแต่ละคืนที่เวลาหมุนเวียนเปลี่ยนไปการแข่งขันกันในทางธุรกิจก็ยิ่ง ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เมื่อภาวะเศรษฐกิจผันผวนต้องแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันเพื่อความอยู่รอดของ ธุรกิจ สิ่งที่ธุรกิจจะอยู่รอดได้นั้นอยู่ที่การวางแผนทางธุรกิจเตรียมรับมือในภาวะ เศรษฐกิจผันผวน ระบบบริหารการจัดการที่ดีก็จะทำให้ธุรกิจมั่นคงแข็งแรงสามารถอยู่ในโลกของ ธุรกิจได้อย่างยาวนาน ในระยะนี้เรามักจะได้ยินเรื่องของ "เงินมัดจำค่าถังแก๊ส" หรือเงินมัดจำภาชนะบรรจุสินค้าที่ได้รับจากผู้ซื้อหรือลูกค้าจะถือเป็นรายได้หรือเจ้าหนี้เงินมัดจำ (หนี้สิน) หากถือเป็นรายได้ก็จะมีผลทำให้กำไรของกิจการเพิ่มสูงขึ้น แต่หากถือเป็นเจ้าหนี้เงินมัดจำหรือหนี้สินจะไม่มีผลต่อรายได้หรือกำไรของ กิจการ
สิ่งที่ต้องพิจารณาใน การดำเนินธุรกิจทุกวันนี้มักจะมีอยู่สองประเภทใหญ่ ๆ ก็คือ ธุรกิจขายสินค้า กับ ธุรกิจให้บริการ ซึ่งมีลักษณะการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น
       1. ธุรกิจขายสินค้าเป็นธุรกิจที่ต้องมีสินค้าไว้เพื่อจำหน่ายให้แก่ลูกค้าซึ่งจะต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ หรือ Stock Card แต่ในขณะที่ธุรกิจให้บริการไม่มีตัวสินค้า แต่มีบริการไว้ให้กับลูกค้า และไม่ต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
       2. ปัญหา การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของธุรกิจขายสินค้าจุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่า เพิ่มจะเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า แต่ในขณะที่ธุรกิจให้บริการจุดความรับผิดจะเกิดขึ้นเมื่อได้รับเงินจาก ลูกค้า
       3. ธุรกิจให้บริการ เมื่อมีการรับชำระเงินจากลูกค้า หากลูกค้าผู้จ่ายเงินเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเมื่อมีการชำระ เงินจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายจากผู้ให้บริการ แต่ธุรกิจขายสินค้าไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
ธุรกิจ ขายสินค้าบางประเภทได้มีการเรียกเก็บเงินมัดจำ เงินประกัน เงินล่วงหน้า จากภาชนะบรรจุสินค้าที่ได้มีการจำหน่ายให้กับลูกค้า เช่น เงินมัดจำถังน้ำดื่ม เงินมัดจำถังแก๊ส เงินมัดจำขวดหรือลังน้ำอัดลม ซึ่งเงินมัดจำดังกล่าวจะคืนให้กับลูกค้าต่อเมื่อมีการคืนภาชนะบรรจุสินค้า
ปัญหา ในการปฏิบัติทางภาษีอากรกำหนดหลักเกณฑ์การเรียกเก็บเงินมัดจำ เงินล่วงหน้า เงินประกัน หรือเงินจองจากการขายสินค้าและภาชนะบรรจุสินค้าไว้ดังต่อไปนี้
1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ให้ ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่เรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ เงินจอง หรือเงินอื่นที่เรียกเก็บในลักษณะทำนองเดียวกัน ปฏิบัติดังนี้
       (ก) ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าต้องนำมูลค่าทั้งหมดที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการ ขายสินค้าไม่ว่าจะเรียกเก็บในลักษณะเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน ฯลฯ มารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย โดยถือว่าความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายสินค้าเกิดขึ้นในขณะ ที่มีการส่งมอบสินค้า เว้นแต่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์สินค้า ได้รับชำระราคาสินค้า หรือได้ออกใบกำกับภาษีก่อนส่งมอบสินค้า ก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น ๆ ด้วย
       (ข) ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ปฏิบัติตาม (ก) แล้ว ต่อมาหากได้มีการคืนเงินจ่ายล่วงหน้า หรือเงินประกัน ฯลฯ ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าตามข้อตกลงหรือสัญญา ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนออกใบลดหนี้ให้แก่ผู้ซื้อสินค้า
2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

เมื่อ ผู้ขายได้รับเงินมัดจำ เงินประกัน เงินจอง หรือเงินล่วงหน้าจากผู้ซื้อสินค้าจะยังไม่ถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ ซึ่งในทางบัญชีจะถือเป็นหนี้สินหรือเจ้าหนี้เงินมัดจำ จนกว่าจะมีการส่งมอบสินค้าทั้งนี้ไม่ว่าจะได้รับเงินจากผู้ซื้อสินค้าหรือ ไม่ก็ตาม โดยยึดเกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิจะต้องนำมูลค่าของสินค้าทั้งหมดไปถือ เป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้มีการส่งมอบสินค้า
3. ข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี
เงิน ประกัน หรือเงินมัดจำในกรณีดังต่อไปนี้ไม่อยู่ภายใต้บังคับที่ต้องเสียภาษีอากร ซึ่งก็คือกรณีเงินประกัน หรือเงินมัดจำภาชนะบรรจุสินค้าที่
       (ก) โดยขนบธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจ ได้มีการเรียกเก็บเงินประกันหรือเงินมัดจำภาชนะบรรจุสินค้า และ
       (ข) ต้องมีการคืนเงินประกัน หรือเงินมัดจำให้แก่ผู้ซื้อสินค้าทันทีที่มีการคืนภาชนะบรรจุสินค้าโดยไม่มีเงื่อนไข
กรณี ดังกล่าวไม่รวมถึงกรณีที่มีการเรียกเก็บเงินเป็นการชดใช้ความชำรุดเสียหาย หรือสูญหายของภาชนะบรรจุสินค้า ซึ่งถือเป็นการขายสินค้าต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องนำมูลค่าที่ได้รับไปถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี เงินได้นิติบุคคลอีกด้วย
ดังนั้นเมื่อมีการเรียกเก็บเงินมัดจำ เงินประกันจากภาชนะบรรจุสินค้าหากเข้าหลักเกณฑ์ในข้อ 3. (ก) และ (ข) ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อมีการเรียกเก็บ เงินจากลูกค้า ซึ่งเงินมัดจำ เงินประกันดังกล่าวจะถือเป็นหนี้สินของกิจการหรือเจ้าหนี้เงินมัดจำ

ที่มา..ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์ วันที่ 23 กันยายน 2548 13:16 น. http://www.manager.co.th/mgrWeekly/ViewNews.aspx?NewsID=9480000130503

สรุปอีกที ถ้ากิจการรับเงินมัดจำต้องออกใบกำกับภาษีในทันทีไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมตามประกาศของกรมสรรพากรได้ที่ ป. 73/2541 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ หรือเงินจอง

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.