เบี้ยประกันชีวิตตามหลักเกณฑ์ใหม่ | รับทำเงินเดือน เบี้ยประกันชีวิตตามหลักเกณฑ์ใหม่ | รับทำเงินเดือน

เบี้ยประกันชีวิตตามหลักเกณฑ์ใหม่

สรุปหลักเกณฑ์และวิธีการ

1. กรมธรรม์ประกันชีวิตต้องมีระยะเวลาสัญญาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
2. กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีการรับเงินคืน หรือผลประโยชน์ตอบแทนในระหว่างสัญญาต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
2.1 กรณีรับเงินคืนหรือเงินประโยชน์ตอบแทนคืนทุกปี จะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี หรือ
2.2 กรณีรับเงินคืนหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนตามช่วงระยะเวลา เช่น ราย 2 ปี 3 ปี หรือ 5 ปี ต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมของแต่ละช่วงเวลาที่ผู้มีรับประกันภัยกำหนดให้มีการ จ่ายเงินคืนหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืน หรือ
2.3 กรณีได้รับเงินคืนหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนไม่เป็นไปตาม (2.1) หรือ (2.2) ผลรวมของเงินคืนผลประโยชน์ตอบแทนสะสมตั้งแต่ปีแรกถึงปีที่มีการจ่ายเงินคืน หรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนจะต้องไปเกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมทั้งหมดในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ทั้งนี้เงินคืนหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนตามข้อ (2.1), (2.2) และ (2.3) ไม่รวมเงินปันผลตามกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ได้รับตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ ประกันชีวิต หรือเงินคืน หรือผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายเมื่อสิ้นสุดการจ่ายเบี้ยประกันแล้ว แต่ผู้เอาประกันภัยยังคงได้รับความคุ้มครองตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา ประกันชีวิต หรือเงินคืนหรือผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายเมื่อสิ้นสุดอายุกรมธรรม์
3. กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติม ไม่สามารถนำเบี้ยประกันภัยมาหักลดหย่อนภาษีได้
4. การได้รับการยกเว้นภาษีผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานผู้รับประกันภัยที่พิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายเบี้ยประกัน
5. ให้มีผลบังคับใช้สำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ได้เริ่มสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป

ถ้าค่าเบี้ยประกันชีวิตไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ค่าเบี้ยประกันชีวิตจะไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนทางภาษีได้นะครับ

ค่าเบี้ยประกันภัยที่จ่ายสำหรับความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติมในกรมธรรม์ประกันชีวิตไม่สามารถยกเว้นภาษีสำหรับเบี้ยประกันภัยได้

ขอนำประเด็นค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตใน การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 47 (1) (ง) แห่งประมวลรัษฎากร และการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเบี้ยประกันชีวิตในส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (61) มาเป็นประเด็นปุจฉา-วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับการหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับลงวันที่ 30 ธันวาคม 2551 อย่างไร

วิสัชนา ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 172) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2551 นั้น โดยทั่วไปกำหนดขึ้นเพื่อให้ยกเลิกและใช้บังคับแทนที่ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 112) ลงวันที่ 30 กันยายน 2545 เว้นแต่ในสองประเด็นต่อไปนี้ ให้ใช้บังคับสำหรับกรมธรรม์ที่ทำขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป โดยไม่ไปกระทบกระเทือนกรมธรรม์ที่ทำมาก่อนหน้านี้ ตามหลักกฎหมายเป็นโทษไม่มีผลย้อนหลัง

1. ค่าเบี้ยประกันภัยที่จ่ายสำหรับความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติมในกรมธรรม์ประกัน ชีวิตที่มีความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติม โดยไม่สามารถยกเว้นภาษีสำหรับเบี้ยประกันภัยดังกล่าวได้ ซึ่งที่ผ่านมา กรมสรรพากรมิได้มีข้อกำหนดให้บริษัทผู้รับประกันต้องแยกค่าเบี้ยประกันชีวิต กันเบี้ยประกันภัยสำหรับความคุ้มครองอื่น เช่น ประกันอุบัติเหตุ หรือประกันสุขภาพ เป็นต้น

2. กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีการรับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนในระหว่างอายุ กรมธรรม์ เกินกว่าร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิต ซึ่งในปี 2551 ได้เกิดกรณีการออกกรมธรรม์ประกันชีวิตที่กำหนดให้ผู้รับประกันชีวิตได้รับ เงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนในระหว่างอายุกรมธรรม์ถึง 80% ของเบี้ยประกันชีวิต อันเป็นเหตุให้กรมสรรพากรลุกขึ้นมาแก้เงื่อนไขตามประกาศฉบับดังกล่าวข้างต้น

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็น เบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ สำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่กระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป เฉพาะกรณีที่มีกำหนดเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไป และเป็นการประกันชีวิตที่ได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการ ประกันชีวิตในราชอาณาจักร ตามจำนวนที่จ่ายจริงในส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท อย่างไร

วิสัชนา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

1. กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติม ค่าเบี้ยประกันภัยที่จ่ายสำหรับความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติมดังกล่าวไม่สามารถยกเว้นภาษีสำหรับเบี้ยประกันภัยดังกล่าวได้

2. กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีการรับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนในระหว่างอายุกรมธรรม์ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้

(1) กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนทุกปี จะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี หรือ

(2) กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนตามช่วงระยะเวลาที่ผู้รับประกันภัย กำหนดนอกจาก (1) เช่น ราย 2 ปี 3 ปี หรือ 5 ปี เป็นต้น จะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมของแต่ละช่วงระยะเวลาที่ผู้รับประกันภัยกำหนดให้มี การจ่ายเงิน หรือผลประโยชน์ตอบแทนคืน หรือ

(3) กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนที่ไม่เป็นไปตาม (1) หรือ (2) ผลรวมของเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนสะสมตั้งแต่ปีแรกถึงปีที่มีการจ่ายเงิน หรือผลประโยชน์ตอบแทนคืน ต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมทั้งหมดในช่วงระยะเวลาดังกล่าว

ทั้งนี้ เงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนตาม (1) และหรือ (2) และหรือ (3) ไม่รวมเงินปันผลตามกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ได้รับตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ ประกันชีวิต หรือเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายเมื่อสิ้นสุดการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต แล้ว แต่ผู้เอาประกันภัยยังคงได้รับความคุ้มครองตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา ประกันชีวิต หรือเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายเมื่อสิ้นสุดอายุกรมธรรม์

3. การได้รับยกเว้นภาษีตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากผู้รับประกันภัยที่พิสูจน์ได้ว่า มีการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต

(1) กรณีกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติม ต้องระบุจำนวนเบี้ยประกันชีวิตและเบี้ยประกันภัยที่จ่ายสำหรับความคุ้มครอง อื่นเพิ่มเติมแยกออกจากกัน

(2) กรณีกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีการรับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนในระหว่างอายุกรมธรรม์ ต้องระบุเงื่อนไขตามข้อ 2 ด้วย

4. กรณีผู้มีเงินได้ ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้แล้ว และต่อมาได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับปีภาษีที่ได้นำเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตไปหัก ออกจากเงินได้ เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้มาแล้วนับตั้งแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงิน ได้ของปีภาษีนั้นๆ จนถึงวันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม เพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร

ที่มา…กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

Speak Your Mind

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.